วันรัฐวิสาหกิจไทย 20 กันยายน

จากการประชุมคณะรัฐมนตรีได้มีมติลงวันที่ 28 สิงหาคม 2544 กำหนดให้วันคล้ายวันพระราชสมภพ ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวมหาราช  รัชกาลที่ 5 คือ วันที่ 20 กันยายน ของทุกปีเป็น วันรัฐวิสาหกิจไทย ในฐานะที่ทรงเป็น “พระบิดาแห่งรัฐวิสาหกิจไทย” มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นการประสานความร่วมมือร่วมใจของพนักงานรัฐวิสาหกิจระหว่าง รัฐกับองค์กร  รวมถึงเพื่อให้พนักงานรัฐวิสาหกิจได้มีกิจกรรมประกอบพิธีเทิดพระเกียรติแด่พระองค์ท่านที่ทรงสถาปนาหน่วยงานรัฐวิสาหกิจขึ้นในประเทศไทย

ประวัติรัฐวิสาหกิจ

รัฐวิสาหกิจไทย คือ องค์กรของรัฐบาล หรือหน่วยงานธุรกิจที่รัฐบาลเป็นเจ้าของหรือบริษัท หรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ส่วนราชการหรือวิสาหกิจมีทุนรวมอยู่ด้วยเกินร้อยละ 50 เช่น บริษัทลูกของรัฐวิสาหกิจ (สุนทร คุณชัยมัง, 2552 อ้างถึงใน พัชรวีร์ ชั้วทอง, 2554)

รัฐวิสาหกิจ เป็นองค์การของรัฐบาล หรือหน่วยงานธุรกิจที่รัฐบาลเป็นเจ้าของ หรือเป็นบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ส่วนราชการมีทุน (ผู้ถือหุ้น) รวมอยู่ด้วยเกินกว่าร้อยละห้าสิบ หน่วยงานใดก็ตามไม่ว่าจะเป็นของรัฐหรือเอกชน หากรัฐถือหุ้นมากกว่าร้อยละห้าสิบแล้วจะถือว่าเป็นรัฐวิสาหกิจ ด้วยเหตุนี้จึงทำให้รัฐวิสาหกิจมีจำนวนขึ้นลงไม่แน่นอนในปีที่รัฐเกิดถือหุ้นน้อยกว่าร้อยละห้าสิบ (พระราชบัญญัติวิธีการงบประมาณ พ.ศ. 2502)

รัฐวิสาหกิจ เป็นองค์การที่รัฐบาลเป็นเจ้าของหรือเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ อาจมีโครงสร้างเช่นเดียวกับ หน่วยธุรกิจเอกชน หรือมีโครงสร้างอย่างหน่วยงานของราชการ แต่มีวัตถุประสงค์เพื่อแสวงหาผลกำไร

ภาพถังน้ำประปาแม้นศรี และถนนวรจักร สมัยรัชกาลที่ ๖
ถังน้ำประปาแม้นศรี เริ่มก่อสร้างในสมัยรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (ร.5) แล้วเสร็จในสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (ร.6) และเปิดเป็นสำนักงานการประปากรุงเทพฯ เมื่อปี พ.ศ. 2475

ภายหลังจากการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ.2475 เป็นต้นมา คณะราษฎรได้กลายเป็นชนชั้นปกครองใหม่ที่ควบคุมอำนาจทางการเมืองทางการทหารและทรัพยากรทั้งหมดของรัฐในฐานะที่เป็นผู้ควบคุมทุนของรัฐ และเป็นผู้ที่ออกกฎหมายต่างๆ เพื่อสนับสนุนให้เกิดความชอบธรรมแก่การจัดสรรทรัพยากรเหล่านั้น คณะราษฎร ได้นำทุนของรัฐไปสร้างรัฐวิสาหกิจ และบริษัทกึ่งราชการขึ้นจำนวนหนึ่งโดยรัฐบาลเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ และอยู่ ภายใต้การบริหารงานของข้าราชการที่มาจากคณะราษฎร หรือบุคคลที่ใกล้ชิดกับคณะราษฎร

การใช้ทรัพยากรทางการเงินของรัฐมาสร้างรัฐวิสาหกิจขึ้นนี้ คณะราษฎรได้สร้างรัฐวิสาหกิจทางการเงิน อันได้แก่ ธนาคารเอเชีย ธนาคารมณฑล และบริษัทไทยเศรษฐกิจประกันภัย รัฐวิสาหกิจทางอุตสาหกรรม อันได้แก่ บริษัทข้าวไทย บริษัทประมงไทย บริษัทเดินเรือไทย และบริษัทไทยเดินเรือทะเล ส่วนรัฐวิสาหกิจทางด้านพาณิชย กรรม ได้แก่ บริษัทค้าพืชผลไทย และบริษัทพืชกสิกรรม เป็นต้น รัฐวิสาหกิจต่างๆ เหล่านี้ไม่ว่าจะเป็นภาคการเงิน ประกันภัย การเดินเรือ หรือพาณิชยกรรม

รัฐวิสาหกิจไทย

หลังสงครามโลกครั้งที่สอง รัฐบาลจัดตั้งรัฐวิสาหกิจขึ้นเป็นจำนวนมากเพื่อบูรณะฟื้นฟูเศรษฐกิจ และสังคม ให้เจริญ ก้าวหน้าเพื่อจัดทำกิจการที่เป็นสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐาน และกิจการที่มีผลโดยตรงต่อความมั่นคงของ ประเทศเพื่อดำเนินการด้านอุตสาหกรรม และพาณิชยกรรม เพื่อตอบสนองความต้องการในด้านอุปโภคบริโภค ของประชาชนให้เพียงพอเพื่อประกอบกิจการที่เกี่ยวข้องกับสงคราม เช่น เชื้อเพลิง เป็นต้น  รวมทั้งเพื่อดำเนิน กิจการที่เป็นการบริการประชาชน ที่ภาคเอกชนยังไม่มีความพร้อมทั้งในด้านเงินทุน และความสามารถมีการตรา กฎหมายสำคัญฉบับหนึ่งในปี พ.ศ.2496 เพื่อเปิดโอกาสให้ฝ่ายบริหารจัดตั้งองค์กร หรือหน่วยงานขึ้นมาทำหน้า ที่จัดทำบริการสาธารณะพระราชบัญญัติจัดตั้งองค์กรหรือ หน่วย งานขึ้นมาทำหน้าที่จัดทำบริการสาธารณะ พระราชบัญญัติว่าด้วยการจัดตั้งองค์การของรัฐบาล พ.ศ.2496 ที่ได้จัดตั้งหน่วยงานต่างๆ ขึ้นมาหลายแห่งซึ่งมี สถานภาพเป็นรัฐวิสาหกิจ ได้แก่ องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ  องค์การแบตเตอรี่  องค์การแก้ว  องค์การจัดการ น้ำเสีย เป็นต้น

จากนั้นมาก็มีรัฐวิสาหกิจเกิดขึ้นอีกเป็นจำนวนมาก จนกระทั่งปัจจุบันมีรัฐวิสาหกิจที่ กระทรวงการคลัง เป็นผู้กำกับดูแล (ไม่รวม “บริษัทลูก” ของ รัฐวิสาหกิจเหล่านี้) รวมทั้งสิ้น 56 แห่ง รัฐวิสาหกิจจัดตั้งขึ้นมาก็ด้วย เหตุผลหลายประการแตกต่างกันไป เช่น เหตุผลทางเศรษฐกิจการคลัง ความมั่นคงในบางกรณีอาจ เป็นเหตุผลที่ กล่าวมานี้หลายประการรวมกันก็เป็นได้ เหตุผลในการมีรัฐวิสาหกิจสามารถแยกเป็น 2 กรณี คือ เหตุผลทั่วไป และเหตุผลเฉพาะสำหรับประเทศไทย

รัฐวิสาหกิจไทยมีหลักการในการจัดตั้ง 7 ประการ  คือ

  1. เพื่อเป็นเครื่องมือในการดำเนินธุรกิจแทนรัฐ
  2. เพื่อเป็นตัวอย่างแก่เอกชนในการดำเนินธุรกิจ
  3. เพื่อความมั่นคงของประเทศ เช่น กิจการที่เป็นสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐาน ไฟฟ้า น้ำประปา รวมถึงยุทธปัจจัยในการสงคราม อาทิ องค์การแบตเตอรี่ องค์การแก้ว องค์การฟอกหนัง องค์การเชื้อเพลิง
  4. เพื่อส่งเสริมสังคมและวัฒนธรรม
  5. เพื่อจัดทำบริการสาธารณะ
  6. เพื่อประโยชน์ในด้านการคลังและเสริมรายได้ให้แก่รัฐ
  7. เพื่อควบคุมสินค้าอันตราย[divide icon=”circle” width=”medium”]
วันรัฐวิสาหกิจไทย
โรงไฟฟ้าพระนครเหนือ กฟผ. การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย
[quote arrow=”yes”]ประเภทของรัฐวิสาหกิจ  รัฐวิสาหกิจอาจแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ[/quote] [dropcap font=”Arial” color=”#e67e22″]1[/dropcap]รัฐวิสาหกิจที่เป็นนิติบุคคล
นิติบุคคล หมายถึง การเป็นบุคคลตามกฎหมาย ซึงได้แก่ องค์การและหน่วยงานที่จัดตั้งขึ้น มีฐานะเป็นบุคคลตามกฎหมาย มีการดำเนินงานที่แยกออกจากผู้ถือหุ้น หรือเจ้าของกิจการโดยเฉพาะ สำหรับกิจการที่เป็นนิติบุคคลนี้ยังแบ่งประเภทย่อยๆ ได้อีก 4 ประเภท คือ
1.1 กิจการธุรกิจที่ได้รับการจัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติ ให้อำนาจสำหรับจัดตั้งรัฐวิสาหกิจนั้นๆ ขึ้นโดยเฉพาะ โดยที่ทุนดำเนินกิจการนั้นเป็นของรัฐ กิจการประเภทนี้ได้แก่ การรถไฟแห่งประเทศไทย การท่าเรือแห่งประเทศไทย การปิโตเลียมแห่งประเทศไทย การท่าอากาศยานแห่งประเทศไทยเป็นต้น
1.2 กิจการธุรกิจที่จัดตั้งโดยพระราชกฤษฎีกา ซึ่งออกตามความในพระราชบัญญัติว่าด้วยการจัดตั้งองค์การรัฐบาล พ.ศ. 2496 กิจการเหล่านี้ใช้ทุนรัฐบาลทั้งหมด ตัวอย่างของรัฐวิสาหกิจเหล่านี้ ได้แก่ องค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ องค์การสวนสัตว์ องค์การสะพานปลา องค์การเภสัชกรรม และองค์การแบตเตอรี่เป็นต้น
1.3 กิจการธนาคาร รัฐบาลได้มีบทบาทในการจัดตั้งและดำเนินการธนาคาร จำนวนหลายๆแห่ง กิจการธนาคารแบ่งออกได้เป็น 2 ชนิดคือ
– ธนาคารที่จัดตั้งขึ้นโดยมีพระราชบัญญัติเป็นเอกเทศ มีทนดำเนินการทั้งสิ้นเป็นของรัฐ เช่น ธนาคารแห่งประเทศไทย ธนาคารออมสิน ธนาคารอาคารสงเคราะห์ เป็นต้น
– ธนาคารซึ่งรัฐมีหุ้นอยู่ เช่น ธนาคารกรุงไทย จำกัด
1.4 บริษัทจำกัด รัฐได้จัดตั้งบริษัทจำกัด หรือถือหุ้นในบริษัทจำกัดเพื่อดำเนินธุรกิจหลาย ๆ ประเภท ดังนี้
– บริษัทจำกัดที่รัฐลงทุนดำเนินกิจการทั้งหมด เช่น บริษัท ไทยเดินเรือทะเล จำกัด บริษัทไม้อัดไทย จำกัด บริษัทวิทยุการบินแห่งประเทศไทยจำกัด และ บริษัทการบินไทยจำกัด
– บริษัทที่รัฐมีส่วนถือหุ้นเกินร้อยละ 50 เช่น บริษัทขนส่งจำกัด และบริษัทจังหวัดพาณิชย์จำกัด เป็นต้น[divide icon=”circle” width=”medium”] [dropcap font=”Arial” color=”#cc0033″]2[/dropcap]รัฐวิสาหกิจที่ไม่เป็นนิติบุคคล  กิจการบางอย่างรัฐจัดตั้งขึ้นโดยใช้ทุนดำเนินการทั้งสิ้นของรัฐบาล สังกัดอยู่กับหน่วยราชการที่เป็นผู้ก่อตั้งขึ้น แต่ไม่มีฐานะเป็นนิติบุคคล เช่น องค์การเหมืองแร่ สำนักงานสลากกินแบ่ง โรงงานยาสูบ เป็นต้น[divide icon=”circle” width=”medium”]

ในวันรัฐวิสาหกิจไทยครั้งแรก ได้รับเกียรติ จาก พณฯ ท่านรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เป็นประธานในพิธีบวงสรวงสักการะ ณ อนุสาวรีย์พระบรมรูปทรงม้า ในส่วนภูมิภาคโดยทั่วไปยังดูไม่ค่อยคึกคักเนื่องจากเป็นครั้งแรก และยังทราบไม่ทั่วถึงก็เป็นได้ ที่การไฟฟ้านครหลวง 3 ได้ขึ้นป้ายผ้าไว้ที่ตึกอาคาร การไฟฟ้านครหลวง 3 มีข้อความว่า “20 กันยายน วันรัฐวิสาหกิจไทย รวมใจประชาปกป้องรักษาพัฒนารัฐวิสาหกิจไทย”


ประเภทของรัฐวิสาหกิจ.  (ม.ป.ป.).  เข้าถึงได้จาก http://www.thaieditorial.com//ประเภทของรัฐวิสาหกิจ/

พัชรวีร์  ชั้วทอง.  (2554).  การสร้างความคิดใหม่ในการใช้ระบบสนับสนุนการจัดการที่มีอยู่ในองค์กรรัฐวิสาหกิจไทย.  วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี.  (ม.ป.ป.).  รัฐวิสาหกิจไทย.  เข้าถึงได้จาก  https://th.wikipedia.org/wiki

วันรัฐวิสาหกิจไทย Thai State Enterprises Day