หอสมุด ม.เกษตร จัดเสวนาออนไลน์เรื่อง “ความท้าทายในการออกแบบพื้นที่ห้องสมุดสำหรับ Social Distancing”

26 พ.ค. 63 เวลา 10.00-12.00 น. เสวนาออนไลน์ “ความท้าทายในการออกแบบพื้นที่ห้องสมุดสำหรับ SOCIAL DISTANCING”  ผ่าน โปรแกรมวีดีโอคอล Cisco Webex (คลิดดาวน์โหลดติดตั้งก่อนจ๊ะ..) จากนั้นก็ลงทะเบียนเข้าร่วมฟังเสวนาออนไลน์ เรื่อง “ความท้าทายในการออกแบบพื้นที่ห้องสมุดสำหรับ SOCIAL DISTANCING”  คลิกที่นี่เปิดหน้าลงทะเบียน..
ความท้าทายในการออกแบบพื้นที่ห้องสมุดสำหรับ SOCIAL DISTANCING
บทสรุปจากการเข้าร่วมสัมนาในครั้งนี้  เรียงตามลำดับความสำคัญที่สุดที่ ห้องสมุด ม.สยาม ต้องทำ!
  1. ห้องสมุดต้องสมัครแอปพลิเคชั่น ไทยชนะ เพราะการที่จะเปิดให้บริการห้องสมุดถือเป็นสถานบริการที่ต้องปฏิบัติตามกฎหมายอย่างเคร่งครัด โดยจะต้องขึ้นทะเบียน ผูกบัญชีกับแอปพลิเคชั่น ไทยชนะ ซึ่งจะใช้ช่วยในการอ้างอิงทางระบาดวิทยา ให้
    เจ้าหน้าที่สาธารณะสุขติดตามได้ เป็นข้อบังคับของการเปิดให้บริการเลยทีเดียว
  2. เจ้าหน้าที่และบรรณารักษ์ไม่จำเป็นต้องสวมชุด PPE แต่บรรณารักษ์ต้องใช้ Face Shield เพราะต้องเจอกับผู้คนมากมาย
  3. ไม่ควรสวมถุงมือยางในการให้บริการ! เพราะจะทำให้เราไม่ขยันล้างมือทำความสะอาดด้วยแอลกอฮอล์เจล หรือสเปรย์อนามัยล้างมือ หากใช้ถุงมือยาง เชื้อก็อาจติดบนถุงมือยางอาจไปติดหนังสือเล่มอื่นๆ ได้อยู่ดี
  4. การแสกนคนเข้าใช้บริการห้องสมุดด้วยเครื่องเทอร์โมแสกนตรวจวัดอุณหภูมิ แม้ว่าจะไม่สามารถกรองคนป่วยติดเชื้อออกได้อย่าง 100% แต่อย่างน้อยมันก็เป็นวิธีที่ช่วยคัดกรองคนป่วยจริง ๆ ได้ การตรวจด้วยเทอร์โมแสกนจึงยังคงมีประโยชน์ในการป้องกันคนที่มีไข้สูงเกินกว่า 38 องศาฯ ไม่ให้เข้า
  5. การคำนวณจำนวนคนเข้าใช้ห้องสมุดที่เหมาะสม คือ ต้องมีระยะห่าง 2 เมตร/คน หรือคิดเป็น 4 ตารางเมตร /คน ถ้ามาด้วยกัน ก็ให้นั่งแบบกลุ่มด้วยกันก็ได้ แต่จะต้องให้ใส่หน้ากากอนามัยทุกคน
  6. สำหรับผู้ป่วยติดเชื้อที่ไม่แสดงอาการ ย่อมแสดงว่าเชื้อยังไม่มีปริมาณมาก เมื่อถูกตรวจวัดอุณหภูมิแล้วผ่านเข้ามาในห้อสมุดที่ทุกคนได้ใส่หน้ากากอนามัยหมด ก็จะไม่มีผลมากนักกับผู้ใช้ห้องสมุด
  7. พาร์ติชั่นฉากกั้น Social Distancing แบบขึงด้วยพลาสติกกันละอองน้ำ ยังไม่มีการยืนยันว่าจะช่วยป้องกันอะไรได้มาก หากคิดถึงหลักอากาศไหลเวียนในห้องนั้น ๆ ละอองที่มีเชื้อก็หมุนเวียนไปได้ทั่วห้องอยู่ดี ดังนั้นสิ่งที่สำคัญคือ สวมหน้ากากอนามัย บรรณารักษ์ที่ต้องเจอผู้ใช้มากมาย ก็ควรใส่ Face Shield เพิ่ม ให้ตระหนักเรื่องการเว้นระยะห่าง 2 เมตร และขยันล้างมือบ่อย ๆ จะดีที่สุด
  8. แนะนำให้เปิดประตูห้องสมุดกว้างๆ เปิดทิ้งไว้เลย เพื่อให้อากาศถ่ายเทได้สะดวก
  9. หนังสือที่เป็นลักษณะกระดาษแข็ง เชื้อโรคจะมีชีวิตอยู่ได้ประมาณ 1 วัน ในห้องที่มีอากาศถ่ายเทสะดวก
  10. ถ้าหนังสือที่ห่อปกด้วยพลาสติก เชื้อโรคจะอยู่ได้ 2-3 วัน แต่ข้อดี คือ สามารถเช็ดทำความสะอาดด้วย แอลกอฮอล์เจล ได้ง่ายและรวดเร็ว เชื้อตายทันที
  11. เชื้อโรคที่ติดอยู่บนกระดาษ จะมีชีวิตอยู่ได้ประมาณ 24 ชม. – 72 ชม. หรือ อาจ 5-7 วัน เชื้อจึงจะตายขึ้นอยู่กับสถานที่เก็บ สำหรับในห้องที่เป็นแบบเปิด ไม่เปิดแอร์ เชื้อก็จะตายเร็ว
  12. การจัดการขยะในห้องสมุด ต้องแยกขยะเสี่ยงติดเชื้อ เป็นถังสีแดง รองรับพวกหน้ากากอนามัย ทิชชู่โดยเฉพาะ และให้ความรู้วิธีเก็บแก่บุคลากรที่มาทำความสะอาดด้วย
  13. ให้จัดหา แรป หรือฟิลม์ถนอมอาหาร (Wrap) มาให้บริการ ตรงจุดใช้คอมพิวเตอร์ คีย์บอร์ด อุปกรณ์เครื่องไม้เครื่องมือต่างๆ ให้ผู้ใช้ดึงและนำไปพันรอบๆ จุดสัมผัส เช่น วางทับบนคีย์บอร์ดได้ เป็นต้น
  14. กรณีถ้ามีอ่างล้างมือในห้องสมุด มือจะยังเปียกชื้นเป็นที่ชื่นชอบของเชื้อโรคอยู่ดี ก็ต้องหากระดาษสำหรับใช้เช็ดให้แห้งด้วย ซึ่งจะสิ้นเปลืองมาก ๆ แนะให้ใช้แอลกอฮอล์เจล หรือสเปรย์อนามัยล้างมือ ในห้องสมุด ดีที่สุด หมอยืนยันให้ใช้แอลกอฮอล์เจล หรือสเปรย์อนามัย ล้างมือในห้องสมุด ดีที่สุด เชื้อตายใน 30 วินาที
  15. ห้องน้ำชักโครก เวลาขับถ่ายเสร็จแล้ว ให้ลุกขึ้นก่อนแล้วจึงค่อยกดชักโครก จากนั้นปิดชักโครก เพราะถ้าเปิดทิ้งไว้ เชื้อมันจะกระจายได้ 1 เมตร ควรติดป้ายแนะนำที่ประตูส้วม เพื่อให้เกิดความตระหนัก และระวังเรื่อง เสมหะ น้ำลาย น้ำมูก เหล่านี้จะมีเชื้อมากที่สุด
  16. กรณี ใช้แสง UV-C ต้องใช้หลอดยูวี ชนิด UV-C ขนาด 8-12 Watts เป็นอย่างน้อย มีระยะห่าง 5 ซม. ใช้เวลา 20 นาที หากใช้ขนาดมากกว่านี้ อาจมีรอยไหม้
    หลักการทำงานคือจะต้องให้แสง UV-c จะต้องสัมผัสอากาศแช่ค้างไว้ 20 นาที และต้องปิดกักในกล่องไม่ให้อากาศหมุนเวียนได้ (Contact Plan) ถึงจะฆ่าเชื้อได้  จะทำให้เกิดก๊าซโอโซนร่วมด้วยประมาณ 258 นาโนเมตร หรือ 3-5% สังเกตได้จากเมื่อเวลาที่เปิดตู้อบออกมาก ก็จะมีกลิ่นกาซโอโซนหลุดออกมาด้วย สำหรับการเปิดไฟ UV-C เพื่อฆ่าเชื้อในห้องที่ได้ติดตั้งหลอดไฟไว้ตามจุดต่างๆ ต้องไม่มีคนอยู่ในห้องนั้นจึงจะเปิดไฟ ห้ามมิให้คนสัมผัส หรือมองเห็นแสง UV-C เด็ดขาด
  17. ห้องแรงดันสำหรับเจ้าหน้าที่ คือ การปรับอากาศเติมลมแอร์เข้าไปในตู้พื้นที่แคบ ๆ สำหรับคนที่ต้องคอยให้บริการรับสิ่งของหรือสัมผัสผู้คน ช่วยได้จริง แต่ต้องคำนึงถึงการรักษาบรรยากาศความเป็นห้องสมุดเอาไว้ มิเช่นนั้น มันจะดูเหมือนเป็นโรงพยาบาลมากเกินไป
  18. ความชื้นสัมพัทธ์ที่เหมาะสมกับการช่วยให้เชื้อโรคอยู่ได้ยาก จะอยู่ที่ 50-55% และต้องไม่เกิน 60 % จึงจะไม่เกิดเชื้อรา
  19. Filter กรองอากาศ (ถ้ามี) ใช้ค่ากรองขนาด F8-F9 ก็เพียงพอ
  20. ห้องสมุดที่อยู่ในอาคารที่ก่อสร้างด้วยกำแพงหนา ๆ หรือลักษณะปิดทึบจะไม่ดี ควรให้ห้องสมุดมีอากาศไหลเวียน ปลอดโปร่งจะดีกว่า ควรให้มีค่าความเร็วของลม Air Change สามารถถ่ายเถหมุนเวียนอากาศออกได้
  21. ห้องสมุดในประเทศจีนมีการกำหนดศูนย์การคืนหนังสือ เพื่อจัดการฆ่าเชื้อแบบ Deep Infected หนังสือทุกเล่ม สำหรับในประเทศไทยยังไม่พบว่ามี
  22. ไม่ควรใช้วิธีการฉีดพ่นน้ำยาฆ่าเชื้อในขณะที่มีคนอยู่ (ไฮเตอร์) ไฮโดรเจนเปอร์ออกไซต์ อันตราย หมอแนะให้ใช้น้ำยาเจลแอลกอฮอล์ หรือสเปรย์อนามัยล้างมือ เช็ดถูบ่อย ๆ กับให้ห้องสมุดมีอากาศถ่ายเท จะดีกว่า
  23. กรณีการใส่หน้ากากอนามัยธรรมดาทั่วไป ก็จะไม่มีการกักคาร์บอนไดออกไซด์ไว้ ถ้าหากรู้สึกอึดอัดที่ต้องใส่หน้ากากอนามัยเป็นเวลานาน ก็ให้หาที่โล่งแจ้งแล้วปลดหน้ากากอนามัยออกชั่วครู่
  24. เราต้องอยู่กับเหตุการณ์นี้ต่อไปอีกนานเท่าใด ขึ้นอยู่กับผลการทดลองวัคซีน อย่างเร็วคือ 1 ปี ถึง ปีครึ่ง (นับจากเดือน พ.ค.63)

https://www.facebook.com/kulibpr/videos/2134035320076490/

จัดลำดับ และเรียบเรียงโดย เจ้าหน้าที่ตุ๊กห้องสมุดมารวย@ม.สยาม