วันสากลแห่งความหลากหลายทางชีวภาพ 22 พ.ค

22 พฤษภา” วันสากลแห่งความหลากหลายทางชีวภาพ
องค์การสหประชาชาติได้ประกาศเมื่อเดือน ธ.ค. 2000 ให้วันที่ 22 พ.ค. ของทุกปี เป็น “วันสากลแห่งความหลากหลายทางชีวภาพ” (International Day for Biological Diversity : IDB) เพื่อรำลึกถึงวันที่อนุสัญญาว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพ (Convention on Biological Diversity : CDB) เริ่มมีผลบังคับใช้คือ วันที่ 22 พ.ค. 1992 โดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่ออนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพ ใช้ประโยชน์องค์ประกอบของความหลากหลายทางชีวภาพอย่างยั่งยืน และการแบ่งปันผลประโยชน์ที่เกิดจากการใช้ทรัพยากรพันธุกรรมอย่างเท่าเทียมและยุติธรรม

[box type=”note”]ความหลากหลายทางชีวภาพ หมายถึง สิ่งมีชีวิตนานาชนิด เช่น พืชและสัตว์รวมทั้งสิ่งมีชีวิตต่างๆ ที่มีความแตกต่างกันตามหน่วยของพันธุกรรมและสภาพถิ่นที่อยู่อาศัย สิ่งมีชีวิตเหล่านี้มีความหลากหลายทางพันธุกรรมเป็นสายพันธุ์  หากถิ่นที่อยู่อาศัยมีความแตกต่างกันมากเพียงใดก็ยิ่งมีสิ่งชีวิตหลากหลายมากยิ่งขึ้นเพียงนั้น[/box]

Dialogue on the Environment in the International Community

[quote arrow=”yes”]ประวัติความเป็นมา[/quote]

เรื่องความหลากหลายทางชีวภาพได้นำมาพิจารณากัน โดยโครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ (Unites Nation Environment Programme – UNPE) มาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2531 และ UNPE ได้ตั้งคณะกรรมการเจรจาระหว่างรัฐบาลเกี่ยวกับอนุสัญญาว่าด้วยความหลากหลายทางชึวภาพ (Intergovernmental Committee on the Convention on Biological Diver : ICCBD) เพื่อมาดำเนินการเตรียมการในการยกร่างอนุสัญญาดังกล่าว ซึ่งได้รับการรับรองในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2535 ณ กรุงไนโรบี ประเทศสาธารณรัฐเคนยา ต่อมาอนุสัญญาว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพได้ถูกนำเสนอต่อที่ประชุมสมัชชาสหประชาชาติว่าด้วยสิ่งแวดล้อมและการพัฒนา (The United Nations Conference on Environment Development : UNCED) หรือการประชุม The Earth Summit ที่กรุงริโอเดอเจนาโร ประเทศสหพันธ์สาธารณรัฐบราซิล ระหว่างวันที่ 3 – 14 มิถุนายน พ.ศ. 2535 เพื่อให้ที่ประชุมดังกล่าวได้มีการพิจารณาร่วมลงนามและรับรองอย่างเป็นทางการ ซึ่งขณะนั้นมีประเทศนี้ที่ได้ร่วมลงนามและรับรองทั้งสิ้น 157 ประเทศ แต่ในกรณีการให้สัตยาบัน เพื่อเข้าร่วมเป็นภาคีอนุสัญญาฯ ที่จะมีผลบังคับในทางกฏหมายและมีพันธกรณีผูกมัดที่จะต้องปฏิบัติตามอนุสัญญานั้น ปรากฏว่า วันที่ 19 กรกฏาคม พ.ศ. 2538 มี 120 ประเทศ ได้ให้สัตยาบันเพื่อร่วมเป็นภาคีอนุสัญญาแล้ว คณะผู้แทนไทยที่เข้าร่วมประชุมสหประชาชาติว่าด้วยสิ่งแวดล้อมและการพัฒนาระหว่างวันที่ 3 – 14 มิถุนายน พ.ศ. 2535 ที่กรุงริโอเดอจาเนโร ซึ่งสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี เป็นองค์หัวหน้าคณะผู้แทนไทย และผู้แทนส่วนพระองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในการประชุมครั้งนั้นฝ่ายไทยได้ลงนามในอนุสัญญาฯ ดังกล่าว แต่การให้สัตยาบันเพื่อเข้าร่วมเป็นภาคีอนุสัญญาฯ ที่จะมีผลบังคับในทางกฏหมายและมีพันธกรณีที่จะต้องปฏิบัติตามอนุสัญญาฯ นั้น ขณะนี้อยู่ระหว่างการพิจารณาที่จะลงนามให้สัตยาบัน แต่อย่างไรก็ตามคาดว่าในอนาคตประเทศไทยคงจะให้สัตยาบันต่ออนุสัญญาฯ ฉบับนี้ โดยการจัดทำกรอบแนวทางการพัฒนาด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ และการพัฒนาอย่างยั่งยืน ซึ่งเป็นกรอบหนึ่งในด้านการพัฒนาการเกษตร ในช่วงแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 8 นั้น ได้มีการบรรจุเรื่องการจัดการปัญหาดูแลรักษาในเรื่องความหลากหลายทางชีวภาพไว้ด้วยแล้วที่ประชุมสมัชชาสหประชาชาติ ได้มีมติให้วันที่ 29 ธันวาคม ของทุกปี เป็นวันสากลแห่งความหลากหลายทางชีวภาพ (International Day for Biological Diversity)

(International Day for Biological Diversity

[quote font_size=”18″ color=”#ffdf42″ bgcolor=”#339933″ bcolor=”#ffdf42″ arrow=”yes”]คุณค่าทางความหลากหลายทางชีวภาพ[/quote]
  1. ทำให้มนุษย์มีปัจจัย 4 ที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิต
  2. เกิดความสมดุลธรรมชาติ สิ่งแวดล้อมที่เอื้ออำนวยต่อการดำรงชีวิตความปกติสุข
  3. ทำให้คุณภาพชีวิตมนุษย์ดีขึ้น ทั้งด้านโภชนาการ การแพทย์
  4. เป็นแหล่งเรียนรู้สำคัญในธรรมชาติ เพื่อการอนุรักษ์และพัฒนาสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน
  5. เป็นแหล่งทรัพยากรที่มีคุณค่าเชิงพาณิชย์ที่ก่อให้เกิดการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ
[quote font_size=”18″ color=”#ffdf42″ bgcolor=”#996633″ bcolor=”#ffdf42″ arrow=”yes”]การอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพ[/quote] [dropcap font=”Arial” color=”#cc0033″]1[/dropcap]จัดระบบนิเวศให้ใกล้เคียงตามธรรมชาติ ดดยฟื้นฟูหรือพัฒนาพื้นที่เสื่อมโทรมให้คงความหลากหลายทางชีวภาพไว้มากที่สุด
[dropcap font=”Arial” color=”#ffdf42″]2[/dropcap]จัดให้มีศูนย์อนุรักษ์หรือพิทักษ์สิ่งมีชีวิตนอกถิ่นกำเนิด เพื่อเป็นที่พักพิงชั่วคราวที่ปลอดภัย ก่อนนำกลับไปสู่ธรรมชาติ เช่น สวนพฤกศาสตร์ ศูนย์เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำเค็ม เป็นต้น
[dropcap font=”Arial” color=”#cc0033″]3[/dropcap]ส่งเสริมการเกษตรแบบไร่นาสวนผสม และใช้ต้นไม้ล้อมรั้วบ้านหรือแปลงเกษตร เพื่อให้มีพืชและสัตว์หลากหลายชนิดมาอาศัยอยู่ร่วมกัน ซึ่งเป็นการอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพได้

Biodiversity-สิ่งแวดล้อมสัตว์ป่าและพันธุ์พืช

 


พูนศักดิ์ สักกทัตติยกุล.  (2547).  ความหลากหลายทางชีวภาพ.  เข้าถึงได้จาก http://www.thaigoodview.com/library/studentshow/2547/5-6/no37-40-41-42-43/sec01/sec01p01.html

สำนักหอสมุดกลาง มหาวิทยาลัยรามคำแหง.  (2549).  วันอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพระหว่างประเทศ.  เข้าถึงได้จาก http://www.lib.ru.ac.th/journal/dec/dec29-DayForBiologicalDiversity.html

วันสากลแห่งความหลากหลายทางชีวภาพ The international day of biological diversity