วันเต่าโลก World Turtle Day 23 พ.ค.

23 พฤษภาคม พ.ศ. 2543 (ค.ศ. 2000) กำหนดให้เป็น “วันเต่าโลก” World Turtle Day  โดยองค์กรที่ไม่แสวงผลกำไรชื่อ “American Tortoise Rescue” ซึ่งเป็นองค์กรที่ได้จัดตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 23 พฤษภาคม ค.ศ. 1990 โดย “ซูซาน เทลเล็ม” และ “มาร์แชล ธอมสัน” ที่รัฐแคลิฟอเนียร์ สหรัฐอเมริกา มีวัตถุประสงค์เพื่อทำการอนุรักษ์และช่วยเหลือเต่าบกและเต่าทะเล ที่ถูกทำร้ายนำมาช่วยเหลือจนอยู่ในสภาพปกติแล้วปล่อยกลับสู่ธรรมชาติ จนถึงปัจจุบันสามารถช่วยชีวิตเต่าได้มากกว่า 3,000 ตัว รวมทั้งมีการให้บริการความรู้แก่ประชาชนเกี่ยวกับเต่า มาอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ประชาชนทั่วโลกได้ตระหนักและร่วมกันอนุรักษ์เต่าอย่างจริงจัง

Dialogue on the Environment in the International Community

[box type=”note”]เต่าเป็นสัตว์ที่จัดอยู่ในอันดับ Testudines อยู่ในจำพวกสัตว์เลือดเย็น ในชั้นสัตว์เลื้อยคลาน เต่าเป็นสัตว์โบราณที่มีชีวิตตั้งแต่ในยุคไตรแอสสิคจนถึงยุคปัจจุบัน สาเหตุที่เต่ามีอายุยืน เป็นเพราะเต่ามีระบบกลไกการทำงานที่ทำให้เซลล์ในร่างกายเต่าทำงานน้อยลง เช่น เต่ามีการเคลื่อนที่ช้า หายใจช้า และยังมีความสามารถในการอดอาหารได้นาน ทำให้ร่างกายมีอัตราการเผาผลาญต่ำ เต่าจึงกลายเป็นสัตว์ที่มีอายุยืน โดยเต่าที่อายุยืนมากที่สุด คือ “เต่ายักษ์อัลดราบร้า” ซึ่งเป็นเต่าที่มีอายุมากถึง 255 ปี[/box]

กระดอง เป็นอวัยวะสำคัญของเต่าที่ทำให้เต่าแตกต่างจากสัตว์เลื้อยคลานอื่น ๆ กระดองเต่าเป็นกระดูกแข็งที่คลุมบริเวณหลังและท้อง กระดองเต่าเป็นโครงสร้างที่ช่วยค้ำจุนร่างกาย และป้องกันอันตรายจากสิ่งแวดล้อมภายนอก  โดยจะหดหัวและขา เข้าไปในกระดอง (ยกเว้น เต่าทะเลที่ไม่สามารถหดหัวและขาเข้าไปในกระดองได้)

นักวิทยาศาสตร์เชื่อว่า “กระดอง” เป็นส่วนอวัยวะที่ถูกวิวัฒนาการขึ้นมาภายหลัง เนื่องจากได้ค้นพบซากฟอสซิลของเต่า Odontochelys semistestacea ซึ่งมีอายุประมาณ 220 ล้านปี โดยเป็นเต่าที่ไม่มีกระดอง จึงมีการสันนิษฐานว่า เต่าค่อย ๆ พัฒนากระดองขึ้นมาเพื่อป้องกันการถูกไล่ล่า โดยเกิดจากการขยายตัวของกระดูกที่อยู่บริเวณผิวหนังเมื่อเวลาผ่านไปกระดูกได้ขยายใหญ่ขึ้นและหลอมรวมกับผิวหนังภายนอกจนกลายเป็นกระดองในที่สุด

กระดองเต่าไม่ได้มีประโยชน์ไว้เพื่อป้องกันอันตรายจากการถูกไล่ล่าแต่เพียงเท่านั้น เรายังสามารถคำนวณอายุของเต่าได้จากกระดองเต่า  โดยกระดองเต่าจะขยายขนาดไปทางด้านข้าง ตามอายุของมัน ยิ่งอายุมากกระดองก็จะยิ่งโตขึ้นการนับอายุของเต่านับจากวงตรงกลางของกระดองเต่า ซึ่งคล้ายกับการนับวงปีของต้นไม้นั่นเอง

วันเต่าโลก-World Turtle Day 

[quote arrow=”yes”]ประเภทของเต่า[/quote]

เต่าแบ่งได้เป็นสามชนิด ได้แก่ เต่าบก เต่าน้ำจืด และเต่าทะเล โดยเต่าบกและเต่าน้ำจืดถูกจัดอยู่ในอันดับเทสทูดิเนส (Order Testudines) ส่วนเต่าทะเลถูกจัดอยู่ในอันดับชีโลเนีย (Order Chelonia)

เต่าทั้งสามชนิดนี้จะมีลักษณะเฉพาะพิเศษที่แตกต่างกัน ซึ่งเป็นไปตามลักษณะการดำรงชีวิต เช่น เต่าทะเล  ใช้ชีวิตส่วนใหญ่อยู่ในน้ำ และขึ้นมาบนบกเมื่อวางไข่ มีกระดองเป็นรูปทรงรีแบนและน้ำหนักเบา  และเท้ามีลักษณะแบนคล้ายกับใบพาย  เพื่อใช้ในการว่ายน้ำอย่างคล่องแคล่ว กินพืชเป็นอาหารหลัก (ยกเว้น เต่ามะเฟือง ซึ่งเป็นเต่าทะเลเพียงชนิดเดียวที่ไม่มีกระดองปกคลุม แต่จะมีส่วนของแผ่นหนังที่เป็นแผ่นหนา ไม่มีเกล็ด เรียงซ้อนกันเป็นร่องและสันนูนสลับกันคล้ายกลีบของผลมะเฟือง) ส่วนเต่าน้ำจืด หรือเต่าน้ำ ใช้ชีวิตอยู่ในน้ำเป็นส่วนใหญ่และขึ้นมาอาบแดดในบางครั้ง มีกระดองค่อนข้างแบนกว่าเต่าบกและน้ำหนักเบา เพื่อลอยตัวเวลาอยู่ในน้ำเท้าไม่มีเกล็ดและมีพังผืดระหว่างนิ้วเท้าเพื่อใช้ในการว่ายน้ำ มักล่าสิ่งมีชีวิตเล็กๆในน้ำกินเป็นอาหาร ในขณะที่เต่าบก ใช้ชีวิตส่วนใหญ่บนบก มีกระดอกที่โค้งนูนหนาเพื่อป้องกันตัว บริเวณเท้าจะมีเกล็ดหน้าและเล็บยาวเพื่อขุดดิน กินพืซเป็นอาหารแต่บางสายพันธุ์ก็จะกินเนื้อหรือแมลงอีกด้วย

turtle type-=ชนิดของเต่า

เต่าแบ่งออกได้ 12 วงศ์ จากเต่าทั้งโลก สำหรับในประเทศไทยพบเพียง 6 วงศ์

รวมเต่าที่พบได้ในประเทศไทย (เฉพาะเต่าบก และเต่าน้ำจืด) สรุปได้ดังนี้

  • เต่าปูลู (Platysternon megacephalum)
  • เต่ากระอาน (Batagur baska)
  • เต่าลายตีนเป็ด (Callagur borneoensis)
  • เต่าหับ (Cuora amboinensis)
  • เต่าห้วยเขาบรรทัด (Cyclemys artipons)
  • เต่าใบไม้ (Cyclemys dentata)
  • เต่าห้วยคอลาย (Cyclemys tcheponensis)
  • เต่าหวาย (Heosemys grandis)
  • เต่าจักร (Heosemys spinosa)
  • เต่าบัว (Hieremys annandalei)
  • เต่าเหลือง (Indotestudo elongata)
  • เต่านาหัวใหญ่ (Malayemys macrocephala)
  • เต่านาอีสาน (Malayemys subtrijuga)
  • เต่าหก (Manouria emys) (มี 2 ชนิดย่อย)
  • เต่าปากเหลือง (Melanochelys trijuga)
  • เต่าทับทิม (Notochelys platynota)
  • เต่าปูลู (Platysternon megacephalum) (มี 3 ชนิดย่อย)
  • เต่าจัน (Pyxidea mouhotii)
  • เต่าดำ (Siebenrockiella crassicoll

เต่าทะเล
ปัจจุบันมีทั้งหมด 7 ชนิด ใน 2 วงศ์ 5 สกุล ได้แก่ เต่าหัวค้อน (Caretta caretta), เต่าตนุ (Chelonia mydas), เต่ามะเฟือง (Dermochelys coriacea), เต่ากระ (Eretmochelys imbricata), เต่าตนุหลังแบน (Natator depressus), เต่าหญ้าแอตแลนติก (Lepidochelys kempii), เต่าหญ้า (Lepidochelys olivacea)

โดยที่เต่ามะเฟืองเป็นเต่าทะเลและเป็นเต่าที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก ซึ่งในน่านน้ำไทยพบได้ถึง 5 ชนิด ไม่พบเพียง 2 ชนิดคือ เต่าตนุหลังแบน และ เต่าหญ้าแอตแลนติก

[quote arrow=”yes”]ลักษณะของเต่า[/quote]

เต่าเป็นสัตว์ที่ไม่มีฟัน แต่มีริมฝีปากที่แข็งแรงและคม ใช้ขบกัดอาหารแทนฟัน นอกจากนี้ยังมีกระดูกที่แข็งคลุมบริเวณหลังที่เรียกว่า “กระดอง” ซึ่งประกอบด้วยแคลเซียมเป็นส่วนใหญ่ เอกลักษณ์ของเต่าก็คือ สามารถหดหัว ขา และหางเข้าไปในกระดองได้ ทั้งนี้มันทำก็เพื่อป้องกันตัวเองจากอันตรายนั้นเอง แต่ก็มีเต่าบางชนิดที่ทำไม่ได้ด้วยนะ

[quote arrow=”yes”]อาหารของเต่า[/quote]

กินอาหารได้ทั้ง พืช และสัตว์ เต่าบางชนิดก็จะกินแต่เฉพาะสัตว์ เช่น เต่าอัลลิเกเตอร์, เต่าสแนปปิ้ง (Chelydra serpentina), เต่าปูลู (Platysternon megacephalum) เป็นต้น[divide icon=”circle” width=”medium”]

วันเต่าโลก World Turtle Day

สิ่งมีชีวิตส่วนใหญ่ถูกกำหนดเพศจากโครโมโซมของพ่อและแม่ แต่เต่าเป็นสัตว์ชนิดหนึ่งที่มีการกำหนดเพศจากอุณหภูมิของสิ่งแวดล้อม โดยขึ้นอยู่กับอุณหภูมิระหว่างการฟักไข่  หากไข่อยู่ในสภาวะแวดล้อมที่อุณหภูมิสูง (สูงกว่า 32 องศาเซลเซียส)  จะออกมาเป็นเพศผู้  ในทางตรงกันข้าม หากไข่อยู่ในสภาวะแวดล้อมที่อุณภูมิต่ำ (ต่ำกว่า 28 องศาเซลเซียส) ไข่จะฟักออกมาเป็นเพศเมีย  และหากอุณหภูมิฟักไข่อยู่ในช่วงปานกลาง (ระหว่าง 28-32 องศาเซลเซียส) เต่าจะมีอัตราการเกิดออกมาเป็นเพศผู้และเพศเมียเท่ากัน (50-50 %)

เต่าเป็นสัตว์ที่มีอายุยืน  และมีลักษณะที่เอื้ออำนวยต่อการดำรงชีวิตอย่างเต่า ทำให้เต่าน่าจะกลายเป็นสัตว์ที่มีจำนวนมากที่สุดชนิดหนึ่งในโลกด้วยซ้ำ แต่ความจริงแล้วไม่ได้เป็นเช่นนั้น เต่าเป็นสัตว์ที่มีปริมาณจำนวนลดลงเรื่อย ๆ จนถึงขั้นวิกฤติ  แม้เต่าจะเป็นสัตว์ที่มีอายุยืน แต่กลับมีความสามารถในการแพร่พันธุ์ต่ำ  เต่าสามารถกำหนดเพศได้ด้วยอุณหภูมิ  แต่ปัจจุบันอุณหภูมิของโลกเกิดความแปรปรวนและเปลี่ยนแปลงไปมาก  โลกเริ่มมีอุณหภูมิเพิ่มสูงขึ้นเรื่อย ๆ ทำให้เต่ามีอัตราการเกิดเป็นเพศผู้สูงขึ้น   นอกจากนี้สภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไป   ยังส่งผลทำให้เต่าสูญเสียพื้นที่ที่เหมาะสมแก่การวางไข่อีกด้วย

นอกจากนี้การถูกไล่ล่ายังเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เต่ามีจำนวนลดลง เนื่องจากเต่าสามารถนำมาใช้ทำเป็นอาหารและทำเครื่องประดับและเครื่องหนังตกแต่งได้ เต่าจึงเป็นสัตว์ที่ถูกไล่ล่าจากผู้แสวงหาผลประโยชน์อยู่เสมอ

[quote font_size=”18″ color=”#ffdf42″ bgcolor=”#996633″ bcolor=”#ffdf42″ arrow=”yes”]กิจกรรมวันเต่าโลกในประเทศไทย[/quote]
  • จัดกิจกรรมทั่วไป ในสวนสัตว์แทบทุกแห่ง เช่น สวนสัตว์ดุสิต สวนสัตว์เขาเขียว สวนสัตว์เชียงใหม่ จะมีการจัดงานที่สุดมหัศจรรย์วันเต่าโลก
  • จัดนิทรรศการเกี่ยวกับวันเต่าโลก และความสำคัญของเต่า งานอนุรักษ์และวิจัยเต่า พร้อมกับเชิญชวนชมเต่าแปลกๆ มากมาย เช่น เต่าอัลดราบรา, เต่าซูคาต้า, เต่าหกดำ, เต่าเดือย, เต่าเรเดียนต้า, เต่าแพนเค้ก, เต่าดาวพม่า, เต่าอัลริเกเตอร์, เต่ายักษ์มาเลเซีย, เต่าลายตีนเป็ด เป็นต้น
  • จัดกิจกรรมบริเวณชายฝั่งทะเล ที่มีเต่าทะเลมาวางไข่

 


กรีนพีซ.  (2560).  เต่าบก เต่าน้ำ เต่าทะเล ต่างกันอย่างไร? [เว็บบล็อค].  เข้าถึงได้จาก http://www.greenpeace.org/seasia/th/news/blog1/blog/59465/
วิชาการ.คอม.  (2557).  วันเต่าโลก (World Turtle Day).  เข้าถึงได้จาก http://www.vcharkarn.com/varticle/56116
Campus-star.com.  (2560).  23 พฤษภาคม วันเต่าโลก.  เข้าถึงได้จาก
https://lifestyle.campus-star.com/knowledge/61651.html

 

วันเต่าโลก World turtle day