ปาบึก (PABUK)

ปาบึก-พายุ-ประเทศไทย
ภาพจาก: https://earth.nullschool.net/#current/wind/isobaric/1000hPa/orthographic=-259.92,4.61,898/loc=99.368,8.635

พายุโซนร้อน “ปาบึก” (PABUK) บริเวณทะเลจีนใต้ตอนล่าง โดยมีศูนย์กลางอยู่ที่ละติจูด 6.2 องศาเหนือ ลองจิจูด 105.5 องศาตะวันออก ความเร็วลมสูงสุดใกล้ศูนย์กลางประมาณ 65 กิโลเมตรต่อชั่วโมง โดยเคลื่อนตัวไปทางทิศตะวันตกอย่างช้าๆ และเคลื่อนผ่านปลายแหลมญวน เข้าสู่อ่าวไทยเมื่อวันที่ 3 มกราคม 2562

จากนั้นก็เคลื่อนขึ้นฝั่งบริเวณจังหวัดนครศรีธรรมราช และผ่านจังหวัดสุราษฎร์ธานีและชุมพร ในช่วงค่ำของวันที่ 4 มกราคม 2562 ทำให้บริเวณดังกล่าวมีฝนตกหนักมากในบางแห่ง คลื่นลมบริเวณอ่าวไทย และทะเลอันดามัน จะมีกำลังแรง โดยอ่าวไทยมีคลื่นสูง 3-5 เมตร ส่วนทะเลอันดามันมีคลื่นสูง 2-3 เมตร และทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน รวมถึงแรงลมที่อาจทำให้เสาไฟ ต้นไม้ บ้านเรือน ล้มพังลงมาเป็นอันตรายแก่ผู้คนและสัตว์เลี้ยงได้ จังหวัดที่ต้องเฝ้าระวังอันตรายจากพายุลูกนี้ ได้แก่ จังหวัดเพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช พัทลุง สงขลา ปัตตานี ยะลา นราธิวาส ระนอง พังงา ภูเก็ต กระบี่ ตรัง และสตูล รัฐบาลได้อพยพประชนไปยังพื้นที่ปลอดภัย เพื่อป้องการการสูญเสียแก่ชีวิตของประชาชน

ที่มาของชื่อพายุ ปาบึก

ปาบึก (Pabuk) เป็นชื่อในรายชื่อพายุหมุนเขตร้อนในชุดที่ 2 ของมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตกเฉียงเหนือ ด้านตะวันตกตอนบน และทะเลจีนใต้ ส่งโดยสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (สปป.ลาว) คำว่า “ปาบึก” ในภาษาลาวหมายถึง “ปลาบึก”

 

สรุปยอดรวมผลกระทบจากพายุปาบึก

สรุปความเสียหาย พายุปาบึก พายุปาบึก สร้างความเสียหายให้กับประชาชนมากกว่า 2 แสนครัวเรือน (6.9 แสนคน) แต่มีผู้เสียชีวิต 3 ราย จากจังหวัดนครศรีธรรมราช 2 ราย จังหวัดปัตตานี 1 ราย และผู้สูญหาย 1 ราย ที่จังหวัดปัตตานี 
1.นครศรีธรรมราช
2.ปัตตานี
3.สุราษฎร์ธานี
4.สงขลา
5.นราธิวาส
6.ชุมพร
7.ตรัง
8.พัทลุง
9.ระนอง
10.กระบี่
11.ยะลา
12.เพชรบุรี
13.ประจวบคีรีขันธ์
14.จันทบุรี
15.ตราด
16.ระยอง
17.สมุทรสาคร
18.สมุทรสงคราม

 

 

การเตรียมตัวในสถานการณ์พายุ

เตรียมตัว พายุปาบึก

 

ในรอบ 50 ปีที่ผ่านมา ไทยได้รับผลกระทบจากพายุรุนแรงถึงขั้นมีผู้เสียชีวิตจำนวนมากได้แก่

แหลมตะลุมพุก พ.ศ.2505-พายุโซนร้อนแฮเรียต
1. พายุโซนร้อนแฮเรียต เมื่อวันที่ 25 ตุลาคม 2505 เข้าถล่มจังหวัดนครศรีธรรมราช ความเร็วลมสูงสุดวัดได้ 95 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ทำให้เกิดพายุซัดชายฝั่ง หรือสตอร์มเสิร์จ ที่บริเวณแหลมตะลุมพุก คร่าชีวิตผู้คนมากว่า 900 ศพ และสูญหายอีกนับร้อยราย

พายุเกย์ พ.ศ.25352. พายุไต้ฝุ่นเกย์ เมื่อวันที่ 4 พฤศจิกายน 2532 เข้าถล่มชายฝั่งบริเวณ จ.ประจวบคีรีขันธ์ และชุมพร ความเร็วลมสูงสุดวัดได้ 185 กิโลเมตรต่อชั่วโมง คร่าชีวิตผู้คนไปมากถึง 537 คน

 

ขั้นตอนการตัดสินใจเตือนภัยน้ำท่วมของสถานีตรวจวัดอากาศอัตโนมัติ

ขั้นตอนที่สำคัญสี่ขั้นตอนในการพยากรณ์และแจ้งเตือนน้ำท่วมฉับพลัน
1. การตรวจอากาศเพื่อให้ทราบสภาวะอากาศปัจจุบัน
2. การสื่อสารเพื่อรวบรวมข้อมูลผลการตรวจอากาศ
3. การวิเคราะห์ข้อมูลและทฤษฎีการพยากรณ์เพื่อการคาดหมาย
4. การแจ้งข่าวเพื่อออกคำเตือน

ทันทีที่ได้รับบันทึกผลจากสถานีตรวจอากาศอัตโนมัติ (AWS ) เจ้าหน้าที่จะวิเคราะห์ผลการตรวจอากาศ และคำนวณหาค่าวิกฤตของบรรยากาศ ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญ ที่จะทำให้เกิดฝนตกหนัก เพื่อคาดการณ์สถานการณ์ จึงแจ้งเตือน ไปยังสื่อมวลชน เพื่อเผยแพร่ข่าวสารไปสู่ประชาชนในพื้นที่เสี่ยงภัย และส่งไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อดำเนินการต่อไป ตามความเหมาะสม เช่น กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เป็นต้น


เว็บไซต์สถานีตรวจวัดอากาศอัตโนมัติ http://www.weatherwatch.in.th/

#พายุปาบึก hashtag on Twitter

เดลินิวส์. (3 มกราคม 2562). ย้อนรอยพลังทำลาย เกย์ แฮเรียต จนมาถึง ปาบึก. เข้าถึงได้จาก LINE TODAY: https://bit.ly/2CPASa4

 

ปาบึก (PABUK)