มหาวิทยาลัยสยาม มหาวิทยาลัยแห่งความยั่งยืน (University of Sustainability) ข่าวช่อง 5 online รายการ ฮาร์ดคอข่าว (HARDCORE ข่าว) ดำเนินรายการโดย ธนัญญา พิพิธวณิชการ
สัมภาษณ์ ดร.พรชัย มงคลวนิช, อธิการบดีมหาวิทยาลัยสยาม นายแพทย์เปรม สุรัตน์, คณะแพทยศาสตร์ และนายนราวิชญ์ ธนเมธี, วิศวกรรมยานยนต์ (หลักสูตร 4 ปี) คณะวิศวกรรมศาสตร์ ที่มาร่วมรายการในชุดครุย เพื่อเข้าสู่พิธีซ้อมรับประสาทปริญญาบัตร มหาวิทยาลัยสยาม ประจำปีการศึกษา 2560-2561 วันที่ 18 ก.พ. 2563 เพื่อพูดถึงทิศทางการขับเคลื่อน การรองรับความเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี และตลาดแรงงาน มหาวิทยาลัยจะมีวิธีการปรับตัวอย่างไร และความสำคัญของการเป็น มหาวิทยาลัยแห่งความยั่งยืน
ธนัญญา พิพิธวณิชการ: สถาบันการศึกษาโดยเฉพาะมหาวิทยาลัย ยังคงเป็นแหล่งบ่มเพาะคนคุณภาพที่สําคัญของสังคม แต่ด้วยเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงไป สภาพเศรษฐกิจและสังคมที่เปลี่ยนแปลง ตลอดจนความต้องการของตลาดแรงงานที่เปลี่ยนไป อย่างไม่หยุดยั้ง แน่นอนว่าเป็นโจทย์ท้าทายที่ทำให้มหาวิทยาลัยเอง จะต้องมีการปรับตัว ในการขับเคลื่อนที่จะรองรับสังคมให้มากที่สุด
เพื่อเป็นการแบ่งปันทัศนะในเรื่องทิศทางการขับเคลื่อนการศึกษา และมหาวิทยาลัยไทย จึงได้เชิญมหาวิทยาลัยสยาม มาร่วมแบ่งปันข้อมูลกัน โดย ได้รับเกียรติจาก ท่านอธิการบดีมหาวิทยาลัยสยาม ดร.พรชัย มงคลวนิช รวมถึงว่าที่บัณฑิต จากมหาวิทยาลัยสยามนายแพทย์เปรม สุรัตน์, คณะแพทยศาสตร์ และนายนราวิชญ์ ธนเมธี, วิศวกรรมยานยนต์ มหาวิทยาลัยสยาม ได้มาร่วมรายการ อาจสงสัยว่า ทำไมถึงใส่ชุดครุย เพราะว่าพรุ่งนี้จะมีพิธีประสาทปริญญาพอดี
เรื่อง ทิศทางการพัฒนาการขับเคลื่อนการศึกษา
อธิการบดี: มหาวิทยาลัยมีไว้เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลง ของเศรษฐกิจ และสังคม วันนี้ก็เป็นที่ทราบกันดีว่า เศรษฐกิจและสังคม มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว และเป็นการเปลี่ยนแปลงแบบที่ Disruption เรียกว่าหักศอก ดังนั้นมหาวิทยาลัยจะต้องปรับตัวอย่างรวดเร็ว เพื่อให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว มหาวิทยาลัยจะต้องสามารถ นำเทคโนโลยี เข้าไปพัฒนาในสาขาวิชาต่างๆ ที่เราเปิดสอน ซึ่งจะต้องสามารถเปิดสอนข้ามคณะ ข้ามสาขาวิชาได้ แล้วบูรณาการการจัดการศึกษา เข้าสู่ความเป็นสากล หรือความเป็นนานาชาติ ซึ่งเป็นเรื่องที่ท้าทาย ค่อนข้างมาก แต่ผมเชื่อว่ามหาวิทยาลัยทุกแห่ง จำเป็นต้องดำเนินการ เพราะมิฉะนั้นก็คงจะไม่สามารถมั่นใจได้ว่า บัณฑิตที่จบไปเหล่านั้น จะตอบสนองความต้องการของสังคม ซึ่งเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วได้หรือไม่
ม.สยามได้ดำเนินการอะไรไปแล้วบ้าง?
อธิการบดี: แต่เดิมเราเน้นเรื่องทางด้านวิศวกรรมศาสตร์ ด้านบริหารธุรกิจ และได้มีการเพิ่มสาขาวิชาใหม่ๆ อย่างเช่น สาขาวิชาทางด้านสาธารณสุข ในอนาคต เราก็จะมีการบูรณาการระหว่างสาขาเดิม กับสาขาวิชาใหม่ เปิดโอกาสให้นักศึกษาจากหลายสาขาวิชา ได้เรียนข้ามคณะ ข้ามสาขาวิชาได้ โดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ เป็นศูนย์กลางในการที่จะทำให้สาขาวิชาต่างๆ สามารถมีพัฒนาการต่อไปได้ รวมทั้งการเปิดให้มีการจัดการศึกษานานาชาติ โดยให้แต่ละหน่วยสามารถมาบูรณาการเข้าด้วยกัน ขณะนี้เราดำเนินการไปมากพอสมควร แต่ยังยังต้องดำเนินงานไปตลอดเวลา
รางวัลการจัดอันดับ มหาวิทยาลัยแห่งความยั่งยืน
อธิการบดี: มหาวิทยาลัยสยามได้มีการเน้นเรื่องเกี่ยวกับการพัฒนาการศึกษาอย่างยั่งยืน โดยใช้หลักในการพัฒนาอย่างยั่งยืนของสหประชาชาติหรือที่เราเรียกว่า SCG ซึ่งเราก็เป็นสมาชิกของเครือข่ายมหาวิทยาลัยเพื่อความยั่งยืนแห่งประเทศไทย ที่เชียงใหม่ ได้มีการประกวดผลงานโครงการต่างๆ ปรากฏว่าในปีที่แล้ว เราไปประกวดโครงการเกี่ยวกับการพัฒนาแหล่งน้ำ การจัดการขยะ นำมาผลิตเป็นปุ๋ยชีวภาพ และโครงการนี้ได้เป็นที่หนึ่งในเครือข่ายมหาวิทยาลัยเพื่อความยั่งยืน ทั้งมหาวิทยาลัยของรัฐและเอกชน แล้วก็คิดว่า อันนี้ก็เป็นกำลังใจให้กลับมาพัฒนา คือ นอกจากเทคโนโลยีแล้ว อีกส่วนที่สำคัญ ก็คือ การพัฒนาสู่โลกแห่งความยั่งยืน อย่างที่เราทราบ ในขณะนี้เรามีปัญหาหลายเรื่อง มีปัญหาเรื่องอากาศ PM 2.5 เรื่องสิ่งแวดล้อม อากาศเปลี่ยนแปลง เรื่องโรคระบาด จะเห็นว่าสิ่งต่างๆ ที่เกิดขึ้นมานี้ ส่วนหนึ่งก็จะต้องโทษการศึกษาด้วยว่า เรายิ่งมีการศึกษามาก แต่สิ่งแวดล้อมของโลกเราเนี่ยไม่ดีขึ้นมาด้วย และมหาวิทยาลัยสยามได้นำแนวคิดหลักการพัฒนาอย่างยั่งยืน เข้าไปสู่สาขาวิชาต่างๆ และก็สร้างโปรเจคต่างๆ ขึ้นมารองรับ นี่เป็นสาเหตุที่ว่า การประกวดโครงการที่เชียงใหม่ ที่ผ่านมา เราโชคดีที่ได้รางวัลที่ 1 แล้วก็ได้รางวัลอื่นๆ รวมทั้งสิ้น 3 รางวัล แล้วก็เป็นรางวัลชนะเลิศระดับประเทศ เราก็อยากจะให้คืน นอกจากเทคโนโลยีแล้ว การพัฒนาสิ่งแวดล้อม การพัฒนาวิถีชีวิตที่ดี จะเป็นเทรนด์ใหม่ของมหาวิทยาลัย ไม่ใช่ว่ามีมหาวิทยาลัยหลายแห่ง แต่กลับพบว่าสิ่งแวดล้อมภายในมหาวิทยาลัยมีปัญหา ชีวิตก็ไม่ได้ดีขึ้น ถ้าเรามาคิดในเรื่องนี้ และพยายามปรับเปลี่ยนการเรียนการสอนให้ไปสู่สังคมที่ดีกว่า ตอบสนองความต้องการอย่างรวดเร็ว มหาวิทยาลัยแห่งความยั่งยืน สิ่งนี้น่าจะป็นแนวทางของสถาบันอุดมศึกษา
การจัดอันดับ มหาวิทยาลัยแห่งความยั่งยืน มหาวิทยาลัยสีเขียวโลก Sustainable University Rankings (เดิมใช้ชื่อ Green Metric World University Rankings หรือ UI Green Metric
การจัดอันดับสถาบันอุดมศึกษาของรัฐ และเอกชนไทยที่มีคุณภาพในด้านการจัดการศึกษาเพื่อความยั่งยืน ซึ่งทาง Sustainable University Rankings มีศูนย์กลางอยู่ที่มหาวิทยาลัยแห่งชาติของอินโดนีเซีย จะมีการจัดอันดับในทุกๆ ปี มหาวิทยาลัยสยามเป็นมหาวิทยาลัยเอกชน อยู่ในอันดับที่ 7 ของมหาลัยของรัฐและเอกชนทั้งหมดที่เข้ารับการจัดอันดับ ส่วนในระดับโลกนั้น เราอยู่ในอันดับที่ 168 ของสถาบันอุดมศึกษาของโลก ซึ่งมีมหาวิทยาลัยประมาณประมาณ 800 กว่าแห่ง ทั่วโลก ในด้านการวัดคุณภาพในการจัดการศึกษาที่เกี่ยวข้องกับความยั่งยืน ความยั่งยืนที่ว่า ไม่ได้หมายถึงแค่เพียงสิ่งแวดล้อมด้านเดียว มันมีหลายๆ เรื่องเช่น ด้านคุณภาพทางการศึกษา ด้านความเท่าเทียมกันในสถานศึกษา เพศชาย เพศหญิง การที่เราเน้นเรื่องการบูรณาการ ระหว่างวิทยาศาสตร์กับสังคมศาสตร์ มีหลายมีหลายเกณฑ์ ส่วนใหญ่จะเป็นเกณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับการที่เราสามารถที่จะใช้วิชาการกับการรักษาความสิ่งแวดล้อมเพื่อความยั่งยืน ซึ่งเป็นเรื่องหนึ่งที่ทางมหาลัยสยาม ได้ทำมาหลายปีแล้ว และมีความภูมิใจมากๆ
(เทป 2) การปรับตัวของนักศึกษาในโลกยุคใหม่
แนะนำหลักสูตรคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม
นายแพทย์เปรม สุรัตน์: นักศึกษาคณะแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม จะได้ความรู้ที่ครบถ้วน ครอบคลุมในการประกอบวิชาชีพ ได้ปฏิบัติ ได้มีการทดลองปฏิบัติจริง ได้พบกับคนไข้จริงๆ ที่สำคัญที่สุดที่ทางคณะมุ่งเน้นอย่างที่สุด ก็คือ ด้านจริยธรรมทางการแพทย์ ที่จะต้องนำไปใช้ในการทำงานทุกครั้ง
ดร.พรชัย มงคลวนิช: ทางมหาวิทยาลัยสยามได้เปิดการเรียนการสอน วิชาแพทยศาสตร์ ถือเป็นแห่งที่ 2 ของมหาวิทยาลัยเอกชนไทย และได้โรงพยาบาลพระนั่งเกล้า ซึ่งเป็นโรงพยาบาลที่มีความหลากหลาย มีกรณีศึกษาสำหรับนักศึกษาแพทย์อย่างมากมายมาสนับสนุน ในอนาคต เราได้ติดต่อมหาวิทยาลัยในประเทศสหรัฐอเมริกา เพื่อทำเรื่องเทคโนโลยี Bending เข้าไปด้วย นอกจากนั้นเราก็มีความร่วมมือกับพันธมิตรอีกแห่ง คือ มหาวิทยาลัยโตไก ประเทศญี่ปุ่นอีกด้วย หลักสูตรแพทยศาสตร์ของเรา เน้นเรื่องความครอบคลุม และจริยธรรม เป็นสำคัญ ในอนาคต เราจะมี Livestrong Learning ทางด้านเทคโนโลยี นอกจากนี้ก็ยังจะมีเรื่องแพทย์ชุมชนสู่การสร้างเสริมสุขภาพชุมชน เข้าไปเสริมด้วย
รู้สึกอย่างไรกับการเป็นนักศึกษาแพทย์รุ่นแรก ของมหาวิทยาลัยสยาม?
นายแพทย์เปรม สุรัตน์: แรกเริ่มที่เข้ามาศึกษาแพทยศาสตร์ที่นี่ จะมีความเชื่อมั่นน้อยสักนิดหนึ่ง แต่ ณ ปัจจุบัน เรียนจบ ได้ออกไปทำงาน ไปใช้ความรู้ไปทำงานเพื่อสังคม ทำให้รู้สึกมั่นใจ แล้วก็ภูมิใจที่ได้จบจากมหาวิทยาลัยแห่งนี้
ความประทับใจที่ได้จากคณะแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม?
นายแพทย์เปรม สุรัตน์: อาจารย์แพทย์ปลูกฝังความเป็นแพทย์ให้เราในทุกๆ ชั้นปี ที่เราเรียน เพื่อทำให้เราได้เข้าใจว่า ความทุกข์ยากของคน มันหมายถึงอะไร และเราควรจะพยายามเข้าไปช่วยเขาได้ยังไง
ปัจจุบันจบแพทย์เอกชน รับราชการได้หรือไม่?
นายแพทย์เปรม สุรัตน์: ปัจจุบันนักศึกษาแพทย์จบใหม่ สามารถที่จะเลือกเข้าประกอบวิชาชีพในโรงพยาบาลต่างๆ ของรัฐได้ นักศึกษาแพทย์ รุ่น 1 ของมหาวิทยาสยาม ก็เลือกเข้ารับราชการเกือบทุกท่าน
เกี่ยวกับเรื่อง ใบประกอบวิชาชีพเวชกรรม?
ดร.พรชัย มงคลวนิช: นักศึกษาแพทย์ของมหาวิทยาลัยสยาม ณ ตอนนี้มีผู้ที่ผ่านการสอบเพื่อขอขึ้นทะเบียนและรับใบประกอบวิชาชีพเวชกรรม ร้อยละ 95 ถือเป็นอัตราส่วนที่ค่อนข้างสูง ตอนนี้ยังเหลืออีกสองท่าน ก็จะตามมาเร็วๆ นี้ ก็จะครบ 100% อันนี้เป็นผลของความพยายามของคณาจารย์ แล้วก็ของนักศึกษาแพทย์ที่กำลังจะเป็นบัณฑิตรุ่นแรกเองด้วย ซึ่งคณาจารย์ของเรารุ่นแรก มีท่านคณบดีคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม คือ ศาตราจารย์เกียรติคุณ นายแพทย์อมร ลีลารัศมี ปัจจุบันก็มีท่านคณบดีท่านใหม่ ก็คือท่านศ.คลินิก นพ. สุวัฒน์ เบญจพลพิทักษ์ ท่าน ศ.นพ.อมร ลีลารัศมี ดำรงตำแหน่ง รองอธิการบดีฝ่ายวิชาการ ของมหาวิทยาลัยสยาม และยังดำรงตำแหน่งเป็น นายกแพทยสมาคมแห่งประเทศไทย ฯ อีกด้วย โดยท่านยังได้ให้เกียรติมาเป็นผู้มอบใบประกอบวิชาชีพเวชกรรม ให้กับ บัณฑิตแพทย์มหาวิทยาลัยสยามรุ่นที่ 1 ทั้ง 40 คน อีกด้วย
แนะนำหลักสูตร ภาควิชาวิศวกรรมยานยนต์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม
ความประทับใจในหลักสูตรวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม?
นราวิชญ์ ธนเมธี: ประทับใจอาจารย์ที่นี่ ท่านเป็นกันเองมาก ทำให้การถ่ายทอดความรู้ วิธีปฏิบัติ เทคนิคต่างๆ ให้เราสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้มาก
รางวัลและความสำเร็จ ล่าสุด?
นราวิชญ์ ธนเมธี: สามารถทำคะแนนรวม และคว้ารางวัลอันดับที่ 2 ของประเทศ จากการเข้าร่วมแข่งขัน TSAE Auto Challenge 2019-2020 ชิงถ้วยพระราชทานของสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ณ สนามปทุมธานีสปีดเวย์ เมื่อวันที่ 7 – 9 กุมภาพันธ์ 2563 ซึ่งมีรถเข้าร่วมแข่งขัน 35 ทีม แล้วยังได้รับอีก 2 รางวัลย่อย จากการแข่งขันประเภท Statics กับ Dynamics อีกด้วย
อะไรคือ TSAE Auto Challenge 2019-2020?
นราวิชญ์ ธนเมธี: มันเป็นกิจกรรม Formula student ที่เปิดโอกาสให้นักศึกษามาสร้างรถ 1 คัน คิดคอนเซ็ปต์กันเองว่าจะสร้างแบบไหน ใช้เครื่องยนต์อะไร มีการพรีเซนต์การตลาดยังไง หากทำออกไปขายแล้ว ลูกค้าสนใจจะซื้อมั้ย
รถคันที่นักศึกษา ม.สยาม ส่งประกวด เป็นอย่างไร?
นราวิชญ์ ธนเมธี: รถที่ส่งเข้าประกวดจะเป็นเครื่องยนต์สูบเดียว เน้นการทำให้รถเคลื่อนที่เข้าโค้งได้ดี และเน้นออกแบบให้มีน้ำหนักเบา โดยอาศัยแรงบันดาลใจ และประสบการณ์จากรุ่นพี่ที่เคยทำเอาไว้อย่างดี
ดร.พรชัย มงคลวนิช: ขอแสดงความยินดี กับทีม Exceed AE ภาควิชาวิศวกรรมยานยนต์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม ทีมนี้เป็นทีมที่ค่อนข้างเข้มแข็ง แม้ไม่ได้รางวัลชนะเลิศ แต่ก็ภาคภูมิใจที่คว้าอันดับที่ 2 มาได้ เพราะที่ 1 ก็คือ ทีมดงตาล จากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน ส่วนที่ 3 คือ ทีม Black Peral จากมหาวิทยาลัยพระจอมเกล้าธนบุรี
ดร.พรชัย มงคลวนิช: ประโยชน์ที่เราได้รับจากการเข้าร่วมแข่งขันครั้งนี้ ก็คือ ได้ข้อมูลการออกแบบยานยนต์ อุปกรณ์อะไหล่ต่างๆ และที่สำคัญก็คือ ขณะนี้ภาควิชาวิศวกรรมยานยนต์ ได้ตั้งเป้าไปถึงยานยนต์ที่ใช้ไฟฟ้าให้มีประสิทธิภาพ ซึ่งจะเป็นอีกก้าวหนึ่งของคณะวิศวกรรมศาสตร์ จริงๆ เราก็เคยทำรถจักรยานยนต์ไฟฟ้ามาแล้ว ต่อไปนี้เราก็จะมาเน้นเรื่องนี้ให้มากขึ้น
พิธีประสาทปริญญาบัตร 2563
พิธีประสาทปริญญาประจำปีการศึกษา 2560-2561 18 ก.พ.2563 เริ่มในเวลา 14.00น. โดยจะมีการมอบปริญญาแก่ผู้ทรงคุณวุฒิ ที่เป็นที่รู้จักอย่างยิ่ง นั่นคือ สมเด็จพระมหารัชมงคลมุนี หรือท่านเจ้าคุณธงชัย มารับปริญญาเอกด้วย นอกจากก็ยังมีท่านอธิการบดี Asia e University (AEU) จากประเทศมาเลเซียแล้วก็มี คุณกระทิง หรือคุณเรืองโรจน์ พูนผล กูรูด้านสตาร์ทอัพ ผู้ก่อตั้ง Disruption University ที่เคยดำรงตำแหน่งประธานเจ้าหน้าที่บริหารบริษัท ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) คุณสุพัตรา จิราธิวัฒน์ ผู้บริหารในเครือเซ็นทารา และบริษัท กลุ่มเซ็นทรัล จำกัด และสมาชิกวุฒิสภา คุณสายสม วงศาสุลักษณ์ กรรมการและเลขานุการมูลนิธิอาสาเพื่อนพึ่ง (ภาฯ) ยามยาก สภากาชาดไทย ซึ่งเป็นนักสังคมสงเคราะห์และการกุศล ก็จะมาร่วมงานในพิธีรับปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ ส่วนประธานในพิธีประสาทปริญญาบัตรปีนี้ ก็คือท่านพลอากาศเอกชลิต พุกผาสุข องคมนตรี และเป็นนายกสภาของมหาวิทยาลัยสยาม ปีนี้มีบัณฑิตจบใหม่เกือบ 3,000 คน
คลิกดูบันทึกการถ่ายทอดสด พิธีประสาทปริญญาบัตร 2563
อธิการบดีฝากแง่คิดสำหรับทุกท่านว่า การรับปริญญานี้ มันไม่ใช่การสิ้นสุดของการเรียน แต่เป็นการสิ้นสุดของบทแรกของการเรียน การเรียนรู้ยังคงจะต้องดำเนินต่อไปตลอดชีวิต โดยเฉพาะอย่างยิ่งในภาวะของการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ดังนั้นทุกคนจะต้องเรียนรู้ ต้องอัพสกิล รีสกิล อยู่ตลอดเวลา
โพสที่เกี่ยวข้อง:
- แฟนเพจ: ภาควิชายานยนต์: Exceed AE. – SIAM University
- 15th TSAE Auto Challenge 2019 Student Formula
- 18ก.พ.63 พิธีประสาทปริญญา ม.สยาม 2563 (ประจำปีการศึกษา 2560-2561) ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทคบางนา
- ม.สยาม มหาวิทยาลัยแห่งความยั่งยืน อันดับ 7 UI Green Metric World University Ranking 2017
- ม.สยาม มหาวิทยาลัยสีเขียวโลก Sustainable University Rankings 2018
- ปลูกต้นราชพฤกษ์ที่ สวนสันติภาพ ในวันดินโลก
- Eat & Pick Smart Canteen: Green University คัดแยกขยะ ณ ลาน Peace Garden
- เพิ่มพื้นที่สีเขียว ชุมชนคลองบางหลวง เนื่องในวัน World Cities Day
- โครงการ จิตอาสา มหาวิทยาลัยเพื่อชุมชน
- The 4th International Workshop on UI GreenMetric World University Rankings 2018
- เปิดสวนพื้นที่สุขภาวะ และห้องสมุดกำแพง ณ บริเวณพื้นที่หลังมหาวิทยาลัยสยาม
- The 4th International Workshop on UI GreenMetric World University Rankings 2018