วันหนังสือและลิขสิทธิ์สากล (World Book and Copyright Day หรือ International Day of the Book or World Book Days 23 April) ตรงกับวันที่ 23 เมษายนของทุกปี เกิดขึ้นครั้งแรกในวันที่ 23 เมษายน 2538 โดย องค์การยูเนสโก โดยองค์การยูเนสโก (UNESCO) ด้วยเหตุผลที่ว่า หนังสือ คือ สิ่งที่มีพลังอำนาจสูงสุดและมีประสิทธิภาพมากที่สุด ในการกระจายความรู้และรักษาไว้ซึ่งความรู้นั้นๆ เพื่อมนุษยชาติ องค์การยูเนสโกต้องการให้ทั่วทั้งโลกส่งเสริมการอ่าน การจัดพิมพ์เผยแพร่ และการปกป้องทรัพย์สินทางปัญญาผ่านลิขสิทธิ์ และเหตุผลเนื่องจากในวันหนังสือและลิขสิทธิ์สากล-World Book and Copyright Day นี้เป็นวันที่มีความพิเศษตรงที่มันจะตรงกับวันคล้ายวันเกิด หรือวันเสียชีวิตของนักประพันธ์ที่มีชื่อเสียงในระดับโลกหลายท่าน อาทิ
- วันเกิดของวลาดิเมีย นาโบคอฟ (Vladimir Nabokov) นักประพันธ์ชาวรัสเซีย
- วันเกิดของมอริซ เมอฮูยอง (Maurice Druon) นักประพันธ์ชาวฝรั่งเศส
- วันเกิดของฮาลดูยง คิลแจน ลักซเนส (Halldór Kiljan Laxness) นักประพันธ์ชาวไอซ์แลนด์
- วันเกิดของมานูเอล เมเซีย วาเฮโย (Manuel Mejía Vallejo) นักประพันธ์ชาวโคลอมเบีย
- วันเสียชีวิตของเมลัน เดอ เซอร์แวนเตส (Miguel de Cervantes) นักประพันธ์ชาวสเปน ซึ่งเป็นผู้แต่งหนังสือเล่มแรกที่ผลิตขึ้นเพื่อจำหน่ายในประเทศเมื่อปี 2466
- วันเสียชีวิตของ วิลเลียม เช็คสเปียร์ (William Shakespeare) นักประพันธ์ชาวอังกฤษ
- วันเสียชีวิตของอินคา การ์ซิลาโซ เดอ ลา เวก้า (Inca Garcilaso de la Vega) นักประพันธ์ชาวสเปน
- วันเสียชีวิตของโยเซฟ ปลา (Josep Pla) นักประพันธ์ชาวสเปน เป็นต้น
ยูเนสโก ซึ่งเป็นองค์กรที่ให้ความสำคัญของการอ่าน การรู้หนังสือ จึงได้เปิดตัว วันหนังสือโลกและลิขสิทธิ์ในปี ค.ศ. 1996 ริเริ่มแนวคิดเมืองหนังสือโลก (world Book Capital City) โดยมีรายชื่อเมืองหนังสือโลก ดังนี้
- ปี ค.ศ. 2001 เมืองแมดริด (สเปน)
- ปี ค.ศ. 2002 อเล็กซานเดรีย
- ปี ค.ศ. 2003 (นิวเดลฮี)
- ปี ค.ศ.2004 อันต์วาร์ปเพิน (เบลเยี่ยม)
- ปี ค.ศ. 2005 มอนทรีลออล (แคนาดา)
- ปี ค.ศ. 2006 ตูริน (อิตาลี)
- ปี ค.ศ. 2007 โบโกตา (โคลอมเบีย)
- ปี ค.ศ. 2008 อัมสเตอร์ดัมส์ (เนเธอร์แลนด์)
- ปี ค.ศ. 2009 เบรุต (เลบานอน)
- ปี ค.ศ. 2010 ลูบลิยานา (สโวเวเนีย)
- ปี ค.ศ. 2011 บัวโนส ไอเรส (อาร์เจนตินา)
- ปี ค.ศ. 2012 เยเรวาน (อาร์มีเนีย)
- ปี ค.ศ. 2013 กรุงเทพฯ (ประเทศไทย)
- ปี ค.ศ. 2014 พอร์ตฮาร์คอร์ต (ไนจีเรีย)
- ปี ค.ศ. 2015 อินชอน (สาธารณรัฐเกาหลี)
- ปี ค.ศ. 2016 วรอตสวัฟ Wroclaw (โปแลนด์)
- ปี ค.ศ. 2017 โกนากรี (ประเทศกินี)
- ปี ค.ศ. 2018 เอเธนส์ (สาธารณรัฐเฮลเลนิก หรือประเทศกรีซ)
- ปี ค.ศ. 2019 ชาร์จาห์ (สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์)
ข้อมูลจาก : https://en.unesco.org/world-book-capital-city
https://en.wikipedia.org/wiki/World_Book_Capital
สถิติการอ่านของคนไทยปี 2558
สถิติการอ่านของประชากรไทย จัดทำโดยสำนักงานสถิติแห่งชาติทุก 2 ปี โดยปี 2558 ได้ขยายคำนิยามการอ่าน ให้รวมการอ่านข้อความในสื่อสังคมออนไลน์/เอสเอ็มเอส/อีเมลด้วย และทำการสำรวจจากประชากรตัวอย่าง 55,920 ครัวเรือน โดยเก็บรวบรวมข้อมูลเดือน พ.ค.-มิ.ย. 2558 ซึ่งสรุปผลการสำรวจที่สำคัญได้ดังนี้ คือ
การอ่านของเด็กเล็กอายุต่ำกว่า 6 ปี
เด็กเล็กที่อ่านมีประมาณ 2.7 ล้านคน คิดเป็นร้อยละ 60.2 โดยเด็กผู้หญิงมีอัตราการอ่านสูงกว่าเด็กผู้ชายเล็กน้อย คิดเป็น ร้อยละ 60.9 และร้อยละ 59.5 นอกจากนี้ยังพบว่าในเขตเทศบาลมีอัตราการอ่าน สูงกว่านอกเขตเทศบาล คือ ร้อยละ 63.9 และ 57.4 ส่วนเด็กเล็กในกรุงเทพมหานคร มีอัตราการอ่านสูงสุด คือ ร้อยละ 73.8 ขณะที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เด็กเล็กมีอัตราการอ่านต่ำสุด คือ ร้อยละ 55.9
การอ่านของประชากรอายุตั้งแต่ 6 ปีขึ้นไป
มีอัตราการอ่านร้อยละ 77.7 ผู้ชาย จะมีอัตราสูงกว่าผู้หญิงเล็กน้อย คือ ร้อยละ 78.9 และ 76.5 โดยวัยเด็กและวัยเยาวชนมีอัตราการอ่านสูงใกล้เคียงกัน คือ ร้อยละ 90.7 และ 89.6 รองลงมาคือ กลุ่มวัยทำงาน คือ ร้อยละ 79.1 และต่ำสุดคือกลุ่มวัยสูงอายุ คือ ร้อยละ 52.8
ประเภทของหนังสือที่อ่าน
หนังสือพิมพ์เป็นประเภทของหนังสือที่มีผู้อ่านสูงสุด คือ ร้อยละ 67.3 รองลงมาคือ ข้อความในสื่อสังคมออนไลน์/เอสเอ็มเอส/อีเมล คือ ร้อยละ 51.6 ซึ่งเนื้อหาสาระที่ผู้อ่านชอบอ่านมากที่สุด คือ ข่าว สารคดี และความรู้ทั่วไป อยู่ที่ร้อยละ 48.5 เท่ากัน โดยเวลาเฉลี่ยที่ใช้อ่านเฉลี่ย 1 ชั่วโมง 6 นาที/วัน หรือ 66 นาที
เยาวชนจะใช้เวลาอ่านมากที่สุด เฉลี่ย 1 ชั่วโมง 34 นาที/วัน หรือ 94 นาที
วัยเด็กและวัยทำงานใช้เวลาอ่านเฉลี่ยต่อวันมากกว่า 1 ชั่วโมง
วัยสูงอายุใช้เวลาอ่านน้อยที่สุดเฉลี่ย 44 นาที/วัน
เมื่อเปรียบเทียบกับปี 2556 พบว่า ทุกวัยใช้เวลาอ่านเพิ่มขึ้น เนื่องจากปี 2558 ได้เพิ่มการอ่านข้อความในสื่อสังคมออนไลน์/เอสเอ็มเอส/อีเมลด้วย โดยกลุ่มวัยเยาวชนใช้เวลาอ่านเพิ่มขึ้นมากที่สุดถึง 44 นาที/วัน
[/box]วันหนังสือและลิขสิทธิ์สากล-World Book and Copyright Day
World Book and Copyright Day is a celebration to promote the enjoyment of books and reading. Each year, on 23 April, celebrations take place all over the world to recognize the magical power of books – a link between the past and the future, a bridge between generations and across cultures. On this occasion, UNESCO and the international organizations representing the three major sectors of the book industry – publishers, booksellers and libraries, select a city as the World Book Capital to maintain, through its own initiatives, the impetus of the Day’s celebrations until 23 April of the following year.
23 April is a symbolic date in world literature. It is the date on which several prominent authors, William Shakespeare, Miguel Cervantes and Inca Garcilaso de la Vega all died. This date was a natural choice for UNESCO’s General Conference, held in Paris in 1995, to pay a world-wide tribute to books and authors on this date, encouraging everyone to access books – most beautiful invention for sharing ideas beyond the boundaries of humanity space and time as well as the most powerful forces of poverty eradication and peace building.
By championing books and copyright, UNESCO stands up for creativity, diversity and equal access to knowledge, with the work across the board – from the Creative Cities of Literature network to promoting literacy and mobile learning and advancing Open Access to scientific knowledge and educational resources. With the active involvement of all stakeholders: authors, publishers, teachers, librarians, public and private institutions, humanitarian NGOs and the mass media, and all those who feel motivated to work together in this world celebration of books and authors, World Book and Copyright Day has become a platform to rally together millions of people all around the world.
Every year, a major celebration event takes place at UNESCO Headquarters. Booksellers, publishing companies and artists are invited to share their passion for books and reading by conducting practical workshops (typography, illustration, bookbinding, manga, etc.) for the young. UNESCO sincerely invites you to join this journey with us and cherish books as the valuable tool for knowledge-sharing, mutual understanding and openness to a diversified world.
[box type=”note”]วันหนังสือและลิขสิทธิ์สากล-World Book and Copyright Dayของทุกปี ประเทศต่างๆ จะจัดกิจกรรม เพื่อส่งเสริมการอ่านหนังสือ และในกิจกรรมที่จัดขึ้นแต่ละปี องค์การยูเนสโกจะแต่งตั้งเมืองหนึ่งเป็น “เมืองหลวงหนังสือของโลก” เพื่อเรียกร้องให้รัฐบาลในประเทศต่างๆ ร่วมมือในการส่งเสริมการอ่านหนังสือ การเขียนหนังสือ การตีพิมพ์หนังสือ ให้กับสังคม ประเทศไทยเองก็เคยได้รับเกียรติให้กรุงเทพมหานคร เป็น “เมืองหลวงหนังสือโลกประจำปี 2556”
[/box]รายการอ้างอิง:
World Book and Copyright Day 2015. Retrieved 24 April, 2018 from http://www.altiusdirectory.com/Society/world-book-copyright-day.php
https://www.tkpark.or.th/tha/articles_detail/261/ผลสำรวจการอ่านกับบางข้อเท็จจริงที่ค้นพบและน่าตกใจ
รวมเว็บไซต์ที่ให้บริการรูปภาพฟรี ไม่ติดลิขสิทธิ์ http://blog.sellsuki.co.th/free-hd-pic-download
ลิขสิทธิ์ สิทธิบัตร ต่างกันอย่างไร ต้องจดอันไหนจึงจะถูก https://idgthailand.com/ลิขสิทธิ์-สิทธิบัตร/
วันหนังสือและลิขสิทธิ์สากล-World Book and Copyright Day 23 April