วันมะเร็งเต้านมโลก 7 ตุลาคม

วันมะเร็งเต้านมโลก World Breast Cancer Day ตรงกับวันที่ 7 เดือนตุลาคม ของทุกปี จากสถิติทั้งในไทยและทั่วโลก มะเร็งเต้านมพบมากเป็นอันดับ 1 หรือ 2 ของโรคมะเร็งที่เกิดกับผู้หญิงโดยเฉพาะผู้หญิงที่โสดหรือแต่งงานมีลูกหลังอายุ 35 ปี สถาบันมะเร็งแห่งชาติ ระบุสถิติว่าผู้หญิงไทยป่วยเป็นมะเร็งเต้านมร้อยละ 37 ของมะเร็งทั้งหมด ส่วนรายใหม่ประมาณ 20,000 คนต่อปีหรือ 55 คนต่อวัน ทั้งยังมีแนวโน้มที่จะเพิ่มมากขึ้นทุกปี ในขณะที่ผู้หญิงอเมริกัน คาดการณ์ว่าเสียชีวิตด้วยโรคมะเร็งเต้านมราว 40,450 คน ในปี 2015 ส่วนในปี 2016 พบผู้ป่วยหญิงอเมริกันรายใหม่ที่มีการแพร่เชื้อของมะเร็งเต้านมจำนวน 246,660 คน และที่ยังไม่มีการแพร่เชื้อมะเร็งประมาณ 61,000 คน

รู้จักกับเต้านม
โครงสร้างเต้านม ประกอบขึ้นจาก ต่อมน้ำนมประมาณ 15–20 ต่อม รูปร่างคล้ายติ่งหูรวมตัวเป็นกระจุกอยู่ที่กลางเต้านมแต่ละข้าง โดยมีไขมันล้อมรอบกลายเป็นเต้านมแต่ละข้าง ในต่อมน้ำนมแต่ละต่อม มีถุงน้ำนมเรียงตัวกันเป็นพูอยู่ภายในเพื่อสะสมน้ำนมที่ผลิตได้ ซึ่งต่อมน้ำนมทุกต่อมมีท่อน้ำนมต่อเชื่อมไปออกที่ปลายหัวนม เป็นทางระบายออกนอกร่างกายให้ทารกดื่มกิน ทั้งหมดถูกหล่อเลี้ยงด้วยเลือดแดงจากผนังอก และท่อน้ำเหลืองที่เชื่อมไปถึงต่อมน้ำเหลืองใต้รักแร้

มะเร็งเต้านม
ภาพ โรคมะเร็งเต้านม จาก: https://www.bangkokhospital.com/wattanosoth/web/th/site/all_about_cancer/view/105

ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคมะเร็งเต้านม

  1. ปัจจัยทางพันธุกรรม ประวัติการเกิดมะเร็งในครอบครัว และการเกิดมะเร็งเต้านม
  2. ปัจจัยด้านฮอร์โมนเพศ คือ เริ่มมีประจำเดือนเมื่ออายุยังน้อยหรือการหมดประจำเดือนช้า การมีบุตร การให้นมบุตร ประวัติการใช้ยาฮอร์โมนทดแทนในวัยทอง
  3. ปัจจัยด้านพฤติกรรมเสี่ยง เช่น ความอ้วน การรับประทานอาหาร การออกกำลังกาย การสูบบุหรี่ การดื่มสุรา การเคยได้รับฉายรังสีบริเวณทรวงอก และการกินยาคุมกำเนิด
[quote font_size=”18″ color=”#ffdf42″ bgcolor=”#339933″ bcolor=”#ffdf42″ arrow=”yes”]ระยะของมะเร็งเต้านม[/quote] [dropcap font=”Arial” color=”#cc0033″]1[/dropcap]ระยะเริ่มแรก
เป็นก้อนเล็กๆ หรือเป็นเพียงแค่กลุ่มหินปูน ซึ่งไม่สามารถคลำได้ ไม่รู้สึกเจ็บ จะมีอัตราเวลาการรอดชีวิตเกิน 10 ปีสูงถึง 95-100%
[dropcap font=”Arial” color=”#ffdf42″]2[/dropcap]ระยะที่ 1
ก้อนเนื้อมีขนาด 2 เซนติเมตรหรือเล็กกว่าและไม่มีการลุกลามออกมานอกเต้านม และไม่มีการกระจายไปยังต่อมน้ำเหลือง จะมีอัตราการรอดชีวิตที่ 10 ปีจะลดลงเหลือประมาณ 80%
[dropcap font=”Arial” color=”#cc0033″]3[/dropcap]ระยะที่ 2
ก้อนเนื้อเริ่มมีขนาดใหญ่เกิน 2 เซนติเมตรและมีการกระจายไปยังต่อมน้ำเหลืองใกล้ๆ เนื้องอกแต่ก็ไม่มากไปกว่านั้น  จะมีอัตราการรอดชีวิตที่ 10 ปีจะลดลงเหลือประมาณ 70% และ 50%
[dropcap font=”Arial” color=”#cc0033″]4[/dropcap]ระยะที่ 3
ก้อนเนื้อเริ่มมีขนาดใหญ่เกิน 2 ซม.และมีการกระจายไปนอกเนื้องอกโดยเข้าไปในต่อมน้ำเหลืองและกล้ามเนื้อ แต่จะยังไม่ลามไปถึงอวัยวะอื่นๆ จะมีอัตราการรอดชีวิตที่ 10 ปีจะลดลงเหลือประมาณ 50%
[dropcap font=”Arial” color=”#ff9900″]5[/dropcap]ระยะที่ 4
มะเร็งมีการแพร่กระจายหรือลุกลามไปที่อวัยวะอื่นๆ ของร่างกาย เช่น กระดูก ปอด ตับ หรือสมอง จะมีเพียงผู้ป่วยไม่ถึง 10% เท่านั้นที่สามารถรอดชีวิตได้เกิน 10 ปี[divide icon=”circle” width=”medium”]
มะเร็งเต้านม
ภาพ แนวทางการตรวจรักษาโรคมะเร็งเต้านม จาก: https://www.bangkokhospital.com/wattanosoth/web/th/site/all_about_cancer/view/105

สัญญาณเตือนของมะเร็งเต้านม (Breast Cancer)

  • คลำพบก้อนหรือเนื้อที่เป็นไตแข็งผิดปกติตรงบริเวณเต้านม ประมาณ 1 ใน 5 ของผู้หญิงที่มีอาการนี้จะตรวจพบเป็นมะเร็งเต้านม
  • ผิวหนังบริเวณลานหัวนมมีลักษณะเปลี่ยนไปจากเดิม เช่น มีผื่นคันที่เป็นๆ หายๆ
  • ขนาดและรูปร่างเต้านมเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว จนสังเกตเห็น
  • ผิวหนังบริเวณเต้านมเปลี่ยนไปจากเดิม ไม่ว่าจะเป็นรอยบุ๋มหรือผิวหนังบวมหนาตึง ไม่เรียบสนิท เหมือนผิวของเปลือกส้ม
  • หัวนมถูกดึงรั้งให้บุ๋มเข้าไปในเต้านมจนผิดปกติ
  • มีน้ำเหลืองและเลือดไหลจากหัวนม
  • มีความเจ็บปวดบริเวณเต้านมโดยไม่มีสาเหตุ ในขณะที่ไม่ใช่เวลามีประจำเดือน
  • ต่อมน้ำเหลืองใต้รักแร้บวมโต โดยเฉพาะรักแร้ข้างเดียวกับที่ตรวจพบก้อนเนื้อในเต้านม

การตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านม
1. การตรวจเช็คด้วยตนเอง ควรเริ่มตรวจตั้งแต่อายุ 20 ปีขึ้นไป ตรวจเป็นประจำทุกเดือน
2. การตรวจทางรังสีด้วยเครื่องแมมโมแกรม (Mammogram) เป็นวิธีที่ดีที่สุดในการตรวจหามะเร็งเต้านมขนาดเล็กเพราะสามารถตรวจได้ตั้งแต่ยังคลำก้อนไม่พบ แต่ประโยชน์นี้จะใช้ได้ดีในคนที่เริ่มสูงอายุ (มากกว่า 40 ปี) ซึ่งเนื้อเต้านม จะไม่หนาแน่นมาก การตรวจแมมโมแกรมจะเห็นรายละเอียดได้มาก ควรตรวจเอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง
3. การตรวจ อัลตร้าซาวด์ (Ultrasound) มีข้อเด่นที่สามารถใช้ในคนอายุน้อยอีกทั้งยังสามารถช่วยวินิจฉัยว่าก้อนต่างๆ ในเต้านมเป็นน้ำหรือเป็นก้อนเนื้อ ทำให้การวางแผนการรักษาเป็นไปได้ง่ายขึ้น

การรักษา

  • การรักษาโดยการผ่าตัด แบบสงวนเต้า คือ ผ่าออกเฉพาะบางส่วน หรือผ่าตัดออกทั้งเต้า แล้วมีการเสริมสร้างเต้านมใหม่ โดยใช้เนื้อเยื่อของผู้ป่วยเองหรือซิลิโคน ในระยะที่มะเร็งยังไม่มีการแพร่กระจายไปอวัยวะอื่น
  • การรักษาโดยการให้เคมีบำบัด  หลังการผ่าตัด หากก้อนมะเร็งมีขนาดโตกว่า 1 ซม. หรือมีการกระจายของเซลล์มะเร็งไปที่ต่อมน้ำเหลือง ต้องให้ยาเคมีบำบัด
  • การรักษาโดยการฉายรังสี  หลังการผ่าตัดสงวนเต้ามีความจำเป็นต้องฉายแสง ในกรณีก้อนมะเร็งมีขนาดใหญ่ หรือมีการกระจายของเซลล์มะเร็งไปที่ต่อมน้ำเหลือง
  • การให้ฮอร์โมน หรือยาต้านฮอร์โมน  ยาออกฤทธิ์เฉพาะเจาะจงกับเซลล์มะเร็ง เพื่อป้องกันการกลับมาเป็นซ้ำอีก และเพิ่มอัตราการรอดชีวิต
[quote arrow=”yes”]การดูแลและปฎิบัติตัวเพื่อลดการเกิดมะเร็งเต้านม[/quote]
  1. ลดอาหารบางอย่างที่เพิ่มความเสี่ยงของการเกิดมะเร็งเต้านม เช่น อาหารไขมันสูง เนื้อสัตว์
  2. รับประทานผัก ผลไม้ และไฟเบอร์ ช่วยลดการเกิดมะเร็งได้ทุกชนิดรวมทั้งมะเร็งเต้านมด้วย
  3. ควบคุมน้ำหนัก
  4. ออกกำลังกายสัปดาห์ละ 5 วัน วันละ 30 นาที
  5. งดบุหรี่ และแอลกอฮอลล์

กรุงเทพธุรกิจ.  (2559).  มะเร็งเต้านมภัยร้ายของผู้หญิง.  เข้าถึงได้จาก   http://www.bangkokbiznews.com/news/detail/723049

ทำความรู้จัก สาเหตุ และสัญญาณเตือน “มะเร็งเต้านม”.  (2559).  เข้าถึงได้จาก   https://medium.com/arincare-com/ทำความรู้จัก -สาเหตุ-และสัญญาณเตือน-มะเร็งเต้านม-f72f59b42af8

มะเร็งเต้านม.  (ม.ป.ป.).  เข้าถึงได้จาก  https://www.siamhealth.net/public_html/Disease/cancer/breast/breastcancer.htm

 

วันมะเร็งเต้านมโลก World Breast Cancer Day