วันปลอดรถโลก World Car Free Day 2019

วันปลอดรถโลก หรือ World Car Free Day 2019 หรือวันรณรงค์ลดการใช้รถส่วนบุคคล ตรงกับวันที่ 22 กันยายน ของทุกปี โดยได้รับการยอมรับจากองค์กรมากกว่า 50 องค์กรในประเทศต่างๆ กว่า 20 ประเทศทั่วโลก มีวัตถุประสงค์เพื่อรณรงค์ให้ประชาชนลดการใช้รถยนต์ส่วนบุคคล หันมาใช้รถขนส่งมวลชน และรถจักรยานเพิ่มขึ้น เพื่อลดปัญหามลพิษทางอากาศและเสียง ปัญหาการจราจรและลดการเกิดอุบัติเหตุ ตลอดจนลดการใช้พลังงาน และลดค่าใช้จ่ายในการเดินทาง การรณรงค์ลดการใช้รถยนต์ส่วนบุคคลนี้ เริ่มมีขึ้นตั้งแต่ ค.ศ. 1958 ในนิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา ค.ศ. 1968 ในเนเธอร์แลนด์ และค.ศ. 1972 ในฝรั่งเศส ตามลำดับ กระทั่งประเทศต่างๆ เริ่มให้ความสำคัญและร่วมกันรณรงค์มาอย่างต่อเนื่อง และในปี ค.ศ. 2005 มีการจัดรณรงค์ชื่อ In town without my car! พร้อมกันใน 1500 เมืองทั่วโลก ซึ่งในครั้งนั้นมีผู้ร่วมกิจกรรมมากกว่า 100 ล้านคน

สาเหตุที่มีวันปลอดรถโลก

การรณรงค์ลดการใช้รถส่วนบุคคล เริ่มขึ้นในยุโรป ช่วงต้น ค.ศ. 1990 ได้มีการจัดงานวันปลอดรถในเมืองต่างๆ ซึ่งเป็นโครงการนำร่องสำหรับการรณรงค์ “อยู่ในเมืองโดยไม่ใช้รถ” ของสหภาพยุโรป โครงการรณรงค์นี้ พัฒนาไปเป็นสัปดาห์แห่งการเคลื่อนไหวร่างกายในยุโรป สำหรับประเทศไทยได้เริ่มต้นร่วมรณรงค์วันคาร์ฟรีเดย์ใน ศุกร์ที่ 22 กันยายน 2543

[quote arrow=”yes”]วัตถุประสงค์[/quote]
  1. เพื่อรณรงค์ลดการใช้รถส่วนบุคคล หรือ Car Free Dayโดยเดินทางด้วยคาร์พูล – ทางเดียวกันไปด้วยกัน (Car Pool) การเดินทางโดยระบบขนส่งสาธารณะ หรือ เดิน หรือใช้วิธีอื่นๆ
  2. เพื่อลดปัญหามลภาวะทางอากาศและเสียง
  3. เพื่อลดปัญหาการจราจร และอุบัติเหตุ
  4. เพื่อปลุกจิตสำนึกให้ประชาชนเกิดความตื่นตัวถึงวิธีการประหยัดน้ำมันในการเดินทาง

world car-free day

ผลกระทบจากรถยนต์

  • การผลิตรถ 1 คัน ปล่อยคาร์บอนไดออกไซต์ 4 ตัน และสารก่อมลพิษอื่นๆ เกือบ 317.51 กิโลกรัมออกสู่บรรยากาศ
  • หากประชาชน 1 คน ใช้ระบบขนส่งมวลชนตลอด 1 ปี แทนการขับรถไปทำงาน จะสามารถลดการปล่อยแก๊สเหล่านี้ออกสู่บรรยากาศ ได้แก่ ไฮโดรคาร์บอน 4.2 กิโลกรัม คาร์บอนไดออกไซต์ 64.5 กิโลกรัม และไนโตรเจนออกไซต์ 2.3 กิโลกรัม นอกจากนี้รถบัสขนาด 40 ฟุต ยังเท่ากับรถยนต์ 58 คัน
  • เพื่อวางแผนการเดินทางที่ดี การใช้จักรยาน เป็นอีกทางเลือกหนึ่ง ซึ่งเป็นพาหนะที่ไม่ใช้เชื้อเพลิงใดๆ
  • เพื่อส่งผลให้ผู้ขี่มีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรง
  • เพื่อเป็นการประหยัดค่าใช้จ่ายในการเดินทาง

 

ข้อมูลจากสำนักการจราจรและขนส่ง (สจส.) กรุงเทพมหานครระบุว่า ปัจจุบันมีทางจักรยานที่สร้างเสร็จสมบูรณ์แล้วทั้งสิ้น 31 เส้นทาง รวมระยะทางกว่า 200 กิโลเมตร จากถนนในกรุงเทพฯ มีความยาวรวมกันราว 8,000 กิโลเมตร พื้นผิวถนนคิดเป็นร้อยละ 10 ของพื้นที่ทั้งหมด (1,568 ตารางกิโลเมตร) แต่ข้อเท็จจริงที่ผู้ใช้จักรยานทุกคนพบก็คือ เส้นทางจักรยานที่ไม่เชื่อมโยงกันและขาดความปลอดภัย ทั้งมาปรากฏบนฟุตบาทในย่านหาบเร่-แผงลอยอันหนาแน่น ขอบฟุตบาทที่มีรถจอดอยู่เป็นประจำ ทำให้การจัดเส้นทางจักรยานของผู้ขับขี่ปลอดภัย จึงยังไม่มีเส้นทางไหนที่สมบูรณ์

กรุงเทพมหานครได้ออกข้อบังคับเจ้าพนักงานจราจรในเขตกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยการกำหนดช่องทางเดินรถสำหรับรถจักรยาน พ.ศ. 2553 ซึ่งกำหนดช่องทางเดินรถเฉพาะสำหรับเดินรถจักรยาน โดยมีความกว้างของช่องทาง 1 เมตร 20 เซนติเมตร คือ

  • ถนนหน้าพระลาน เฉพาะฝั่งด้านถนนมหาราชมุ่งหน้าถนนหน้าพระธาตุ
  • ถนนหน้าพระธาตุ เฉพาะฝั่งด้านถนนหน้าพระลานมุ่งหน้าถนนราชินี
  • ถนนราชินี เฉพาะฝั่งด้านถนนหน้าพระธาตุมุ่งหน้าถนนพระอาทิตย์
  • ถนนพระอาทิตย์ เฉพาะฝั่งด้านถนนราชินีมุ่งหน้าถนนพระสุเมรุ

อุปสรรคหลักของผู้ใช้จักรยานในกรุงเทพฯ สรุปเป็น 3 ประเด็น(ขวัญชาย ดำรงค์ขวัญ ทางจักรยาน ณ กรุงเทพมหานคร ที่ทางของพาหนะปลอดมลพิษในเมือง” (25 ต.ค. 2554)

[dropcap font=”Arial” color=”#cc0033″]1[/dropcap]เหตุผลที่คนกรุงเทพมหานคร ไม่ใช้จักรยาน จากการสำรวจในวัน Car Free Day พบว่าเหตุผลหลัก คือ กรุงเทพมหานครไม่มีทางจักรยานที่ปลอดภัย ปัจจุบันผู้ขี่จักรยานทั้งมืออาชีพและมือสมัครเล่นต้องใช้ทางเดียวกันกับรถยนต์ มอเตอร์ไซต์ และรถโดยสารประจำทาง
[dropcap font=”Arial” color=”#ffdf42″]2[/dropcap]กรุงเทพมหานครไม่มีนโยบายสร้างทางจักรยานที่ต่อเนื่องและเป็นรูปธรรม ถึงแม้จะมีการสร้างทางจักรยานสายแรกตั้งแต่ปี 2535 ก็ตาม
[dropcap font=”Arial” color=”#cc0033″]3[/dropcap]เมื่อมีทางจักรยานแล้วยังขาดกฎหมายข้อบังคับควบคุมผู้ละเมิดการใช้ทางจักรยานและผู้ใช้จักรยานไม่ใช้ทางจักรยานที่จัดให้


  • ขวัญชาย ดำรงค์ขวัญ.  (2554).  ทางจักรยาน ณ กรุงเทพมหานคร ที่ทางของพาหนะปลอดมลพิษในเมือง.  เข้าถึงได้จาก http://www.web.greenworld.or.th/greenworld/local/1516
  • เยาวลักษณ์ พัตรภักดิ์.  (2556).  วันปลอดรถโลก (WORLD CAR FREE DAY) 22 กันยายน.  เข้าถึงได้จาก http://www.lib.ru.ac.th/journal2/?p=3858

รณรงค์ วันปลอดรถ Bangkok Car Free Day 2019 ในกรุงเทพมหานคร

การรณรงค์ลดการใช้รถส่วนบุคคล หรือCar Free Day ในกรุงเทพมหานครกรุงเทพมหานคร ร่วมกับเครือข่ายพันธมิตรภาครัฐและเอกชนจัดกิจกรรมรณรงค์ “Bangkok Car Free Day 2019” ตามโครงการส่งเสริมการเดินทางอย่างยั่งยืน ภายใต้แนวคิดคำขวัญ “เดินทางร่วมกัน วันพาหนะส่วนรวม” ร่วมแถลงข่าวจัดงาน กิจกรรม Bangkok Car Free Day 2019  ณ ลานสแควร์ A ศูนย์การค้าเซ็นทรัลเวิลด์ เขตปทุมวัน ใน วันอาทิตย์ที่ 22 กันยายน 2562  นักปั่นจักรยานทุกท่าน ร่วมปั่นจักรยานรณรงค์ ผ่านเส้นทาง ถนนราชดำริ-ถนนเพลินจิต-ถนนวิทยุ-ถนนเพชรบุรี-ถนนบรรทัดทอง-ถนนพระรามที่ 4-ถนนราชดำริ รวมระยะทาง 10.19 กม.

กิจกรรม Car Free Day 2019 ในครั้งนี้เป็นการรณรงค์ลดการใช้รถส่วนบุคคล เพื่อให้ประชาชนเห็นความสำคัญในการลดการใช้รถยนต์ส่วนบุคคล หันมาใช้จักรยานและระบบขนส่งมวลชน ตลอดจนการขอทางจักรยานตามกฎหมาย

กำหนดการ

  • 05.30น. ลงทะเบียนรับเสื้อที่ระลึกฟรี 1 ตัว (มาก่อนเลือกขนาดก่อน) ณ.บริเวณหน้าห้างเซ็นทรัลเวิลด์
  • 06.30น. ตั้งขบวนจักรยาน
  • 07.00น. ปล่อยขบวนจักรยาน

‪#SDG3 #CarFreeDay #CarFreeDay2019 #Bike #bangkok‎carfreeday‬ #bangkok‎carfreeday2019 #FM91 #JS100 #Biztalk #BTS ‪#ปั่นจักรยาน #วันปลอดรถโลก

Bangkok Car Free Day 2019

วันปลอดรถโลก World Car Free Day 22 กันยายน