วันอุตุนิยมวิทยาโลก 23 มีนาคม

[box type=”note”]วันอุตุนิยมวิทยาโลก ตรงกับวันที่ 23 มีนาคมของทุกปี วันสำคัญดังกล่าวเริ่มต้นมาจากการที่ ประเทศสมาชิกสหประชาชาติได้ร่วมกันก่อตั้งองค์การหนึ่งขึ้นมาเพื่อสำรวจสภาพอากาศทั่วโลก ทำการเก็บข้อมูลความเปลี่ยนแปลงของสภาวะทางภูมิอากาศ [/box] [quote arrow=”yes”]ประวัติความเป็นของวันอุตุนิยมวิทยาโลก[/quote] วันอุตุนิยมวิทยาโลกเริ่มมาจากการที่ ประเทศสมาชิกสหประชาชาติได้ร่วมกันก่อตั้งองค์การขึ้นมาเพื่อสำรวจสภาพอากาศทั่วโลก และทำการเก็บข้อมูลความเปลี่ยนแปลงของสภาวะทางภูมิอากาศ  ตลอดจนพยากรณ์สภาพอากาศเพื่อเฝ้าระวังภัยพิบัติทางธรรมชาติที่อาจเกิดขึ้นได้หากสภาพอากาศของโลกเกิดการแปรปรวน โดยใช้ชื่อว่า องค์การอุตุนิยมวิทยาโลก หรือ WORLD METEOROLOGICAL ORGANIZATION (ตัวย่อ WMO ) หรือรู้จักกันในชื่อเดิมว่า International Meteorological Organization หรือ IMO ซึ่งองค์กรที่ว่านี้มีการก่อตั้งอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 23 มีนาคม ค.ศ. 1873 หรือ พ.ศ. 2416
โดยมีหน้าที่ด้านอุตุนิยมวิทยา อุทกวิทยาเชิงปฏิบัติการ และภูมิศาสตร์กายภาพ สำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ ณ กรุงเจนีวา ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ และเป็นสมาชิกกลุ่มพัฒนาสหประชาชาติ (United Nations Development Group)
ต่อมาองค์การอุตุนิยมวิทยาโลก พร้อมด้วยสมาชิกทั้ง 187 ประเทศ รวมทั้งชุมชนอุตุนิยมวิทยาทั่วโลก ได้ตกลงร่วมกันที่จะให้วันที่ 23 มีนาคมของทุกปีเป็น วันอุตุนิยมวิทยาโลก ด้วยความต้องการให้แต่ละประเทศสมาชิกได้ร่วมกันใส่ใจสภาพอากาศ เพื่อช่วยกันวางแผนรับมือและรู้ทันลมฟ้าอากาศและภัยธรรมชาติ ทั้งนี้ ประเทศไทยได้เข้าร่วมเป็นภาคีในอนุสัญญานับตั้งแต่วันที่ 23 มีนาคม พ.ศ.2493 เป็นต้นมา

world-meteorological-day
A POLAR BEAR STANDS ON A MELTING ICE FLOE ON A SUMMER EVENING.
PHOTOGRAPH BY PAUL SOUDERS, CORBIS
[quote arrow=”yes”]อุตุนิยมวิทยาคืออะไร[/quote]

อุตุนิยมวิทยา หมายถึง สภาพและปรากฏการณ์ของอากาศ อาทิ หนาว ร้อน แห้ง ชื้น ลม เมฆ ฝน หิมะ หมอก ลูกเห็บ พายุทราย เป็นต้น

[quote arrow=”yes”]กำเนิดนักอุตุนิยมวิทยา[/quote]

มนุษย์ได้เริ่มมีการศึกษาเกี่ยวกับลักษณะอากาศ และการเปลี่ยนแปลงของลมในแต่ละฤดู เช่น ลมมรสุม ซึ่งจำเป็นสำหรับการค้าขาย และการดำรงชีวิตในสมัยก่อน จากบันทึกทางประวัติศาสตร์ ตั้งแต่ความเจริญในยุคแรก ๆ ได้กล่าวถึงเรื่องของอากาศ และภูมิอากาศไว้มากมาย เช่น อารยธรรมโบราณของเมโสโปเตเมีย จีน อินเดีย และอียิปต์ ก็มีบันทึก เกี่ยวกับเรื่องดังกล่าวด้วย จนกระทั่ง พ.ศ. 2197 ได้เริ่มมีเครือข่ายระหว่างประเทศ ด้านอุตุนิยมวิทยาเป็นครั้งแรก โดยเฟอร์ดินันที่ 2 (Ferdinand II) แห่งมณฑลทัสคานี (Tuscany) ประเทศอิตาลี ประกอบด้วยสถานีอุตุนิยมวิทยา 11 สถานี โดยอยู่ในประเทศอิตาลี 7 สถานี และในประเทศฝรั่งเศส เยอรมนี โปแลนด์ และสวิสเซอร์แลนด์ ประเทศละ 1 สถานี[divide icon=”circle” width=”medium”] ปลายทศวรรษที่ 1600 ได้เริ่มมีการพยากรณ์อากาศโดยใช้ข้อมูลสถิติภูมิอากาศเป็นครั้งแรก แต่ไม่ค่อยมีความถูกต้อง เนื่องจากไม่ได้ใช้ข้อมูลใหม่ ที่เป็นปัจจุบัน ต่อมาในปี พ.ศ. 2323 ได้มีการสร้างเครือข่ายอุตุนิยมวิทยาขึ้นอีกครั้ง ประกอบด้วย สถานีอุตุนิยมวิทยา 39 สถานี โดยอยู่ในอเมริกาเหนือ 2 สถานี อีก 37 สถานีที่เหลืออยู่ในยุโรป[divide icon=”circle” width=”medium”]

world-meteorological-day
พ.ศ. 2396 ได้เริ่มมีการประชุมระหว่างประเทศทางด้านอุตุนิยมวิทยาเป็นครั้งแรกที่กรุงบรัสเซลส์ ประเทศเบลเยี่ยม และอีก 20 ปีต่อมาได้มีการประชุมสภาอุตุนิยมวิทยาระหว่างประเทศ (International Meteorological Congress) ครั้งแรกที่กรุงเวียนนา ประเทศออสเตรีย การประชุมสภาครั้งนี้ได้มีการก่อตั้งองค์การอุตุนิยมวิทยาระหว่างประเทศขึ้น (International Meteorological Organization หรือ IMO) ซึ่งปัจจุบันได้กลายมาเป็นองค์การอุตุนิยมวิทยาโลก (World Meteorological Organization หรือ WMO)

ในการประชุมครั้งแรกที่กรุงบรัสเซลส์ เมื่อ พ.ศ. 2396 ผู้มีส่วนรับผิดชอบที่สำคัญ คือ ร้อยโท แมทธิว ฟอนเทน มอรี (Lt. Matthew Fontaine Maury) แห่งราชนาวีสหรัฐ ทำให้มีสมุดรายงานของเรือ ที่เป็นมาตรฐาน มีชุดคู่มือมาตรฐานสำหรับการตรวจทางอุตุนิยมวิทยาทะเล และมีระบบเก็บรวบรวมสมุดรายงาน สำหรับการประชุมสภา เมื่อ พ.ศ. 2416 ได้เพิ่มขอบข่ายกิจกรรมด้านอุตุนิยมวิทยามากขึ้น และกำหนดให้ศาสตร์สาขานี้เป็นวิชาเฉพาะด้านอุตุนิยมวิทยา การประชุมระหว่างประเทศทั้ง 2 ครั้ง สิ่งที่สำคัญมากกว่าสิ่งอื่นใด คือ การยอมรับถึงความจำเป็น และยอมตกลงก่อตั้ง องค์กรระหว่างประเทศขึ้นอย่างถาวร เพื่อให้เกิดความมั่นใจว่าความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ด้านอุตุนิยมวิทยาจะดำเนินต่อไป และเพื่อให้แน่ใจว่าทุกประเทศจะได้รับ ประโยชน์จากความก้าวหน้าและการพัฒนาที่เกิดขึ้น

Samuel Morse
Samuel Morse

เมื่อ พ.ศ. 2392 ได้มีการนำวิธีการ ส่งสัญญาณทางไกลหรือสัญญาณโทรเลขที่คิดค้นขึ้นโดย แซมมวล มอร์ส (Samuel Morse) ในทศวรรษ 1830 มาประยุกต์ใช้ เพื่อส่งรายงานลักษณะอากาศเป็นครั้งแรก ซึ่งนับเป็นก้าวแรกที่สำคัญของการพัฒนาด้านอุตุนิยมวิทยา เพราะถ้าไม่มีการสื่อสาร ข้อมูลที่รวดเร็ว การพยากรณ์อากาศที่เป็นอยู่ในปัจจุบันก็จะไม่มีทางเป็นไปได้ จะเห็นได้ว่าสิ่งจำเป็นก็คือ ข้อมูลที่ได้จากพื้นที่ต่าง ๆ หลายแห่ง รวมทั้งการดัดแปลงรายงานลักษณะอากาศ ให้อยู่ในรูปแบบที่เข้าใจง่าย เพราะรายงานที่เป็นรหัสมอร์สเข้าใจได้ยาก สำหรับคนทั่วไป

Wilhelm Bjerknes
Wilhelm Bjerknes

 

ศาสตราจารย์ วิลเฮล์ม เบิร์กเนส (Prof. Wilhelm Bjerknes พ.ศ. 2405 – 2494) นักวิทยาศาสตร์ชาวนอรเว ได้มีวิธีการศึกษาลักษณะอากาศแนวใหม่เกี่ยวกับมวลอากาศและการวิเคราะห์แนวปะทะอากาศ สำหรับการตรวจอากาศชั้นบนได้มีการพัฒนาเครื่องวิทยุหยั่งอากาศ (radiosonde) ขึ้นในประเทศฝรั่งเศส เมื่อ พ.ศ. 2470 ต่อมา พี เอ มอลท์คานอฟ (P.A. Moltchanoff) แห่งประเทศรัสเซียได้พัฒนาเครื่องส่งวิทยุได้สำเร็จในปี พ.ศ. 2473

Lewis Fry Richardson
Lewis Fry Richardson

ตอนปลายศตวรรษที่ 19 เมื่อเทคโนโลยีได้รับการพัฒนาจนประสบความสำเร็จ และสามารถช่วยสนับสนุนการจัดประเภท และการสำรวจการเกิดปรากฏการณ์ธรรมชาติ ในปัจจุบันมีการใช้ซูเปอร์คอมพิวเตอร์ช่วยในการคาดหมายลักษณะอากาศเชิงตัวเลข แต่พื้นฐานของการพยากรณ์อากาศเชิงตัวเลขได้ริเริ่มมาตั้งแต่ต้นศตวรรษที่ 20 โดย ลูอิส ฟราย ริชาร์ดสัน (Lewis Fry Richardson) หลังจากที่ใช้เวลาในการวิจัยหลายปี (รวมทั้งการทดลองที่ไม่ประสบผลสำเร็จในปี พ.ศ. 2453) เขาได้จัดพิมพ์หนังสือชื่อ “การคาดหมายลักษณะอากาศโดยขบวนการเชิงตัวเลข” (Weather Prediction by Numerical Process) ซึ่งเป็นพื้นฐานของ โปรแกรมคอมพิวเตอร์ในยุคต่อ ๆ มา


กรมอุตุนิยมวิทยา.  (ม.ป.ป.).  ความรู้อุตุนิยมวิทยา.  เข้าถึงได้จาก
https://www.tmd.go.th/info/info.php?FileID=87

Eduzones.com.  (2558, 23 มีนาคม).  23 มีนาคม : วันอุตุนิยมวิทยาโลก [เว็บบล็อก].  เข้าถึงได้จาก https://blog.eduzones.com/jobthai/141837

iEnergyGuru.com.  (ม.ป.ป.).  วันอุตุนิยมวิทยาโลก.  เข้าถึงได้จาก https://ienergyguru.com/2016/03/วันอุตุนิยมวิทยา/

วันอุตุนิยมวิทยาโลก World meteorological day