ปัจจุบันโรคกระดูกพรุนนับเป็นโรคกระดูกเมตาบอลิก (Metabolic bone disease) ที่พบบ่อยที่สุด โดยผู้ป่วยส่วนใหญ่เป็นผู้สูงอายุที่มีอายุมากกว่า 50 ปี และพบว่าในปีหนึ่ง ๆ
มีผู้สูงอายุนับล้านคนที่กระดูกสะโพกหักจากการหกล้มธรรมดา และอีกนับล้านคนมีกระดูกส่วนอื่นหักประมาณครึ่งหนึ่งของผู้ที่กระดูกหัก 1 ครั้งจากโรคกระดูกพรุนมักเกิดกระดูกหักซ้ำอีกทั้งหลายโรงพยาบาลเมื่อเจอผู้ป่วยที่กระดูกหักครั้งแรกก็ละเลยการตรวจวินิจฉัยว่าผู้ป่วยมีโรคกระดูกพรุนหรือไม่ พบว่าร้อยละ 80 ของผู้ป่วยที่กระดูกหักครั้งแรกยังไม่เคยตรวจหรือรักษาโรคกระดูกพรุน
ด้วยเหตุนี้องค์การอนามัยโลกโดยการริเริ่มของมูลนิธิโรคกระดูกพรุนนานาชาติ (International Osteoporosis Foundation, IOF) จึงได้กำหนดวันกระดูกพรุนโลกขึ้นในวันที่ 20 ตุลาคมของทุกปี โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อรณรงค์ให้ประชาชนตระหนักถึงโรคกระดูกพรุน ทั้งด้านการป้องกัน การวินิจฉัยและการรักษา ซึ่งปัจจุบันมี 90 ประเทศทั่วโลกที่ร่วมกิจกรรมรณรงค์นี้ (วิรชัช สนั่นศิลป์, 2555) โดยมุ่งเน้นให้ประชาชนตระหนักว่า
1. กระดูกหักจากโรคกระดูกพรุนไม่ใช่อุบัติเหตุ
2. การที่กระดูกหักถือว่าเป็นสัญญาณเตือน หักหนึ่งครั้งทำให้หักซ้ำได้อีก
3. ถ้ากระดูกหักเกิดขึ้นเมื่ออายุเกินห้าสิบ จงไปตรวจและรับการรักษา
คำจำกัดความของโรคกระดูกพรุน
โรคกระดูกพรุน คือ โรคของกระดูกที่มีคุณลักษณะสำคัญสองประการ คือ มีมวลกระดูกลดลงและมีโครงสร้างทางจุลภาคภายในของเนื้อเยื่อกระดูกเสื่อมสลายลง ยังผลให้กระดูกมีความเปราะเพิ่มขึ้นและทำให้กระดูกหักได้ง่าย (ศุภศิลป์ สุนทราภา, 2545, น. 228)
โรคกระดูกพรุน เป็นความผิดปกติของกระดูก ที่ความหนาแน่นของกระดูกลดน้อยลงไปส่งผลทำให้ความแข็งแรงของกระดูกเสื่อมถอยลงไปเช่นกัน เพราะโครงสร้างภายในของ กระดูกถูกทำลาย จนเกิดเป็นรูพรุนลักษณะ คล้ายกับฟองน้ำ อาการของโรคกระดูกพรุนนี้มักค่อย ๆ เกิดขึ้นโดยที่เราไม่ทันได้สังเกตเห็น เช่น รู้สึกปวดตามบริเวณเอว หลัง ข้อมือ หรือ เริ่มมีรูปร่างเปลี่ยนไป เช่น หลังโก่ง ไหล่งุ้ม หรือเตี้ยลง เป็นต้น ซึ่งผู้หญิงจะมีโอกาสสูญเสียเนื้อกระดูก ได้มากกว่าผู้ชาย 2-3 เท่า โดยเฉพาะอย่างยิ่งในผู้หญิงช่วงวัยหมดประจำเดือน เนื่องจากผู้หญิงมีฮอร์โมนที่ชื่อว่า เอสโตรเจน ซึ่งฮอร์โมนนี้มีส่วนในการสร้างเนื้อกระดูก และเมื่อเข้าสู่วัยหมด ประจำเดือน ปริมาณฮอร์โมนเอสโตรเจน
จะลดต่ำลงอย่างมาก ทำให้การสร้างเนื้อกระดูกลดลงมากเช่นกัน ในที่นี้ จะตรงข้ามกับผู้ชาย ซึ่งมีฮอร์โมนชื่อ เทสโทสเตอโรน อันมีส่วนในการสร้างกระดูกเช่นกัน แต่ปริมาณฮอร์โมนเทสโทสเตอโรนจะค่อย ๆ ลดลงอย่างช้า ๆ ทำให้โรคกระดูกพรุนในผู้หญิงเกิดขึ้นได้เร็วกว่าผู้ชายนั่นเอง
ปัจจัยเสี่ยงที่ก่อให้เกิดโรคกระดูกพรุน (สมโภชน์ อิ่มเอิบ, 2552, น. 10) ได้แก่
- กรรมพันธุ์ โดยในครอบครัวอาจจะมีประวัติเป็นโรคกระดูกพรุน
- การมีอายุมกขึ้นมีผลให้การดูดซึมแคลเซียมของร่างกายลดลงทั้งผู้ชายและผู้หญิง
- การรับประทานอาหารที่ไม่มีแคลเซียมหรือมีไม่เพียงพอ
- การดำเนินชีวิต ไม่ชอบออกกำลังกาย สูบบุหรี่จัดเป็นประจำ ดื่มสุราเป็นประจำ
- การขาดฮอร์โมนเพศใน ผู้หญิงที่หมดประจำเดือน ผู้หญิงที่ตัดรังไข่ออก และผู้ชายสูงอายุ
- โรคต่างๆ อาทิ โรคต่อมพำรำไทรอยด์ โรคเบาหวาน โรคตับ โรคไต
- การใช้ยาบ้างชนิดเป็นเวลานาน เช่น ยาสเตียรอยด์ ยากันชัก ยาฮอร์โมนไทรอยด์ ยาขับปัสสาวะบางตัว และ ยาเคมีรักษาโรคมะเร็ง เป็นต้น
[quote font_size=”18″ color=”#ffdf42″ bgcolor=”#339933″ bcolor=”#ffdf42″ arrow=”yes”]การป้องกันโรคกระดูกพรุน (สุรเกียรติ อาชานานุภาพ, 2556)[/quote] [dropcap font=”Arial” color=”#cc0033″]1[/dropcap]กินแคลเซียมให้พอเพียงทุกวัน อาหารที่มีแคลเซียมสูง ได้แก่ นม เนยแข็ง ปลาที่กินได้ทั้งกระดูก (เช่น ปลาไส้ตัน) กุ้งแห้ง เต้าหู้แข็ง ถั่วแดง ผักสีเขียวเข้ม (เช่น คะน้า ใบชะพู) งาดำคั่ว แนวทางปฏิบัติ สำหรับเด็กและวัยรุ่นควรดื่มนมวันละ 2-3 แก้ว ผู้ใหญ่และผู้สูงอายุดื่มนมวันละ 1-2 แก้วเป็นประจำ
จะทำให้ได้รับแคลเซียมร้อยละ 50 ของปริมาณที่ต้องการ ส่วนแคลเซียมที่ยังขาดให้กินจากอาหารแหล่งอื่นๆ ประกอบ ผู้ใหญ่บางคนที่มีข้อจำกัดในการดื่มนม (เช่น มีภาวะไขมันในเลือดสูง อ้วน เป็นเบาหวาน ความดันโลหิตสูง โรคหัวใจขาดเลือด) ให้เลือกกินเนยแข็ง
นมเปรี้ยว นมพร่องมันเนย แทน หรือบริโภคอาหารที่มีแคลเซียมสูงในแต่ละมื้อให้มากขึ้น
[dropcap font=”Arial” color=”#ffdf42″]2[/dropcap]ออกกำลังกายเป็นประจำ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการออกกำลังที่มีการถ่วงหรือต้านน้ำหนัก (Weight bearing) เช่น การเดิน การวิ่ง เต้นแอโรบิก กระโดดเชือก รำมวยจีน เต้นรำ เป็นต้น ร่วมกับการยกน้ำหนัก จะช่วยให้มีมวลกระดูกมากขึ้น และกระดูกมีความแข็งแรง ทั้งแขน ขา และกระดูกสันหลัง
[dropcap font=”Arial” color=”#cc0033″]3[/dropcap]รับแสงแดด ช่วยให้ร่างกายสังเคราะห์วิตามินดี ซึ่งเป็นฮอร์โมนกระตุ้นการสร้างกระดูกในบ้านเราคนส่วนใหญ่จะได้รับแสงแดดเพียงพออยู่แล้ว นอกจากในรายที่อยู่แต่ในบ้านตลอดเวลา ก็ควรจะออกไปรับแสงแดดอ่อนๆ ยามเช้าหรือยามเย็น วันละ 10-15นาที สัปดาห์ละ 3 วัน ถ้าอยู่แต่ในที่ร่มไม่ถูกแสงแดด อาจต้องกินวิตามินดีเสริมวันละ 400-800 มก.
[dropcap font=”Arial” color=”#ff9900″]4[/dropcap]รักษาน้ำหนักตัวอย่าให้ต่ำกว่าเกณฑ์ (ผอมเกินไป) เพราะคนผอมจะมีมวลกระดูกน้อยเสี่ยงต่อกระดูกพรุนได้ .
[dropcap font=”Arial” color=”#cc0033″]5[/dropcap]หลีกเลี่ยงพฤติกรรมที่เสี่ยงต่อการเกิดภาวะกระดูกพรุน เช่น .
- ไม่กินอาหารประเภทโปรตีนหรือเนื้อสัตว์มากเกินไป เพราะอาหารพวกนี้จะกระตุ้นให้ไตขับแคลเซียมออกทางปัสสาวะมากเกินปกติ
- ไม่กินอาหารเค็มจัดหรืออาหารที่มีโซเดียมสูง เพราะเกลือโซเดียมจะทำให้ลำไส้ดูดซึมแคลเซียมได้น้อยลง และเพิ่มการขับแคลเซียมทางไตมากขึ้น
- ไม่ดื่มน้ำอัดลมปริมาณมาก เพราะกรดฟอสฟอริกในน้ำอัดลมทำให้เกิดการสลายแคลเซียมออกจากกระดูกมากขึ้น
- หลีกเลี่ยงการดื่มแอลกอฮอล์ ชา กาแฟ ช็อกโกแลต ในปริมาณมาก เพราะแอลกอฮอล์ และกาเฟอีนในเครื่องดื่มเหล่านี้จะขัดขวางการดูดซึมแคลเซียมของลำไส้เล็ก (กาแฟไม่ควรดื่มเกินวันละ 3 แก้ว แอลกอฮอล์ไม่เกินวันละ 2 หน่วยดื่ม ซึ่งเทียบเท่าแอลกอฮอล์สุทธิ 30 มล.)
- งดการสูบบุหรี่ เพราะบุหรี่กระตุ้นให้เกิดการสลายแคลเซียมออกจากกระดูกมากขึ้น (เนื่องจากลดระดับเอสโทรเจนในเลือด)
- ระวังการใช้ยาบางชนิด เช่น ยาสตีรอยด์ ซึ่งจะเร่งการขับแคลเซียมออกจากร่างกาย
[dropcap font=”Arial” color=”#ffdf42″]6[/dropcap]รักษาโรคหรือภาวะที่ทำให้เป็นโรคกระดูกพรุน เช่น ต่อมไทรอยด์ทำงานเกิน โรคคุชชิง .
วิรชัช สนั่นศิลป์. (2555). บทวิเคราะห์สถานการณ์โรคกระดูกพรุน ปี 2555 และบทความโรคกระดูกพรุน : วันกระดูกพรุนโลก (World Osteoporosis Day 2012). เข้าถึงได้จาก http://www.bangkokhealth.com/index.php/health/health-system/bone/2218-2555.html
ศุภศิลป์ สุนทรภา. (บ.ก.). (2545). โรคกระดูกพรุน. ศรีนครินทร์เวชสาร, 17(4), 228-230.
สมโภชน์ อิ่มเอิบ. (2552). รายงานการวิจัยการเสริมสร้างกระดูกด้วยไข่แคลเซียมสูงเพื่อป้องกันโรคกระดูกพรุน (รายงานการวิจัย). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.
สุรเกียรติ อาชานานุภาพ. (2556). กระดูกพรุน. นิตยสารหมอชาวบ้าน, 396. เข้าถึงได้จาก https://www.doctor.or.th/article/detail/15450