24 มีนาคม วันวัณโรคโลก

[box type=”note”]วันวัณโรคโลก (World Tuberculosis Day) ตรงกับวันที่ 24 มีนาคม ของทุกปี ตั้งขึ้นเพื่อให้ประชาชน ตระหนักถึงปัญหาวัณโรคที่ยังคงระบาดอยู่ในหลายส่วนของโลก ซึ่งเป็นสาเหตุการเสียชีวิตของ ประชาชนราว 1.6 ล้านคนต่อปีโดยเฉพาะในประเทศโลกที่สาม[/box]

วันวัณโรคโลก (World Tuberculosis Day) ตรงกับวันที่ 24 มีนาคม ของทุกปี ตั้งขึ้นเพื่อให้ ประชาชน ตระหนักถึงปัญหาวัณโรคที่ยังคงระบาดอยู่ในหลายส่วนของโลก ซึ่งเป็นสาเหตุการเสียชีวิตของ ประชาชนราว 1.6 ล้านคนต่อปีโดยเฉพาะในประเทศโลกที่สาม สาเหตุที่ตรงกับวันที่ 24 มีนาคม  เนื่องจากในวันนี้เมื่อปี ค.ศ.1882 (พ.ศ.2425) ดร.โรเบิร์ต คอค ได้ประกาศการค้นพบสาเหตุของวัณโรค คือ เชื้อ แบคทีเรียไมโคแบคทีเรียม ทูเบอร์คิวโลซิส โดยในขณะที่คอคได้ประกาศความสำเร็จที่เบอร์ลินนั้น วัณโรค ได้ระบาดไปทั่วยุโรปและอเมริกาและเป็นสาเหตุการตายของประชากร 1 ในทุก ๆ 7 คน การค้นพบของคอค ถือเป็นการบุกเบิกวิธีการรักษาและวินิจฉัยวัณโรค ในปี ค.ศ.1982 (พ.ศ. 2525) ซึ่งเป็นวาระครบ 100 ปีของ การประกาศความสำเร็จของ ดร.คอค สหพันธ์นานาชาติเพื่อต่อต้านวัณโรคและโรคปอด (International Union Against Tuberculosis and Lung Disease; IUATLD) จึงประกาศให้วันที่ 24 มีนาคม เป็นวัน วัณโรคโลก และในปี ค.ศ.1996 (พ.ศ.2539) องค์การอนามัยโลกได้ร่วมกับ IUATLD และองค์กรอื่นๆ ที่ ตระหนักถึงภัยจากโรคนี้ร่วมรณรงค์เนื่องในวันวัณโรคโลกอย่างกว้างขวาง องค์การอนามัยโลกคาดการณ์ แนวโน้มของวัณโรคในอนาคตว่า ถ้ายังไม่สามารถควบคุมการแพร่ระบาดของวัณโรคได้อย่างมีประสิทธิภาพ ภายในปี พ.ศ.2563 จะมีผู้ติดเชื้อวัณโรคเพิ่มขึ้นเกือบ 1 พันล้านคน และเสียชีวิตประมาณ 70 ล้านคน[divide icon=”circle” width=”medium”] โรควัณโรควัณโรคเป็นโรคติดต่อเรื้อรัง ทำให้มีการอักเสบในปอด ซึ่งในผู้ใหญ่มักจะพบส่วนใหญ่ เป็นที่ปอด ในเด็กอาจเป็นที่อวัยวะอื่นร่วมด้วย เช่น ต่อมน้ำเหลือง เยื่อหุ้มสมอง กระดูก วัณโรคเกิดจาก เชื้อแบคทีเรีย Mycobacterium tuberculosis ซึ่งเป็น acid fast bacillus (AFB) จะมีอยู่ในปอดของ ผู้ป่วยที่ไม่ได้รับการรักษา

วันวัณโรคโลกเด็กมักจะได้รับเชื้อจากผู้ใหญ่ที่เป็นวัณโรคระยะแพร่เชื้อ โดยเชื้อจะออกมากับการไอ จาม ทำให้เชื้อ กระจายในอากาศ ในห้องที่ทึบอับแสง เชื้อวัณโรคอาจมีชีวิตอยู่ได้ถึง 1 สัปดาห์ ถ้าเสมหะที่มีเชื้อลงสู่พื้นที่ ไม่มีแสงแดดส่อง เชื้ออาจอยู่ได้ในเสมหะแห้งได้นานถึง 6 เดือน เชื้อจะกระจายอยู่ในอากาศ และเข้าสู่ร่าง กายทางการหายใจเอาเชื้อเข้าไปบางครั้งเชื้ออาจผ่านจากแม่ไปยังลูกในท้องโดยผ่านทางรกได้ ส่วนใหญ่โรคนี้จะเป็นกับเด็กที่มีฐานะยากจน อยู่ในชุมชนแออัด ผู้ที่ติดเชื้อแต่ไม่มีอาการ และตรวจ ไม่พบวัณโรคในปอดโดย X-rays จะทราบว่าติดเชื้อวัณโรคได้โดยการทดสอบ ทูเบอร์คิวลิน จะให้ผลบวก ผู้ป่วยวัณโรคในผู้ใหญ่ส่วนใหญ่จะเคยติดเชื้อมาในระยะเด็ก ปัจจัยเสี่ยงที่จะทำให้ผู้ติดเชื้อเกิดมีอาการของ โรคได้แก่ การติดเชื้อในวัยทารก และในวัยหนุ่มสาว การสัมผัสกับผู้ติดเชื้อ(ได้รับเชื้อเพิ่มขึ้น) ภาวะภูมิคุ้มกัน บกพร่องโดยเฉพาะการติดเชื้อ HIV ผู้ติดยาเสพติด และโรคขาดอาหาร

ปัจจุบันมียารักษาวัณโรคที่ได้ผลดีหลายชนิด การรักษาจะให้ยาร่วมกันอย่างน้อย 3 ชนิด เพื่อลด อัตราการดื้อยา และเพิ่มประสิทธิภาพของยา ยาที่ใช้ได้แก่ Streptomycin, Pyrazinamide, Rifampin, Isoniacid, Ethambutol การรักษาจะได้ผลดีถ้ามารับการรักษาเสียแต่ระยะเริ่มแรก และจะต้องกินยาอย่าง สม่ำเสมอเป็นระยะเวลาอย่างน้อย 6 เดือน และจะต้องดูแลให้พักผ่อน และให้อาหารที่มีโปรตีนสูงและมี ไวตามินเพื่อช่วยเพิ่มความต้านทานโรค[divide icon=”circle” width=”medium”]

 

[quote arrow=”yes”]การป้องกันวัณโรค[/quote] [dropcap font=”Arial” color=”#cc0033″]1[/dropcap]หลีกเลี่ยงการสัมผัสใกล้ชิดกับผู้ป่วยที่กำลังมีอาการไอ และยังไม่ได้รับการรักษาด้วยยารักษาวัณโรค
[dropcap font=”Arial” color=”#ffdf42“]2[/dropcap]ในผู้ติดเชื้อที่ไม่มีอาการ โดยเฉพาะในเด็กอายุต่ำกว่า 4 ปี ที่ตรวจได้ผลทูเบอร์คิวลินบวกแพทย์จะ พิจารณาให้ยาป้องกัน Isoniacid นาน 2-3 เดือน
[dropcap font=”Arial” color=”#cc0033″]3[/dropcap]ให้วัคซีน BCG ป้องกัน ในประเทศที่มีโรควัณโรคชุกชุม องค์การอนามัยโลกแนะนำให้เริ่มให้ BCG วัคซีนตั้งแต่แรกเกิด วัคซีน BCG ถึงแม้จะมีประสิทธิผลแตกต่างกันจากการศึกษาในที่ต่าง ๆ ตั้งแต่ต่ำกว่า ร้อยละ 50 ไปจนถึงร้อยละ 80 แต่ที่ได้ผลชัดเจน คือ ป้องกันวัณโรคชนิดรุนแรงแบบแพร่กระจาย และวัณโรค เยื่อหุ้มสมอง ในประเทศไทยให้วัคซีน BCG เมื่อแรกเกิด


กรมควบคุมโรค.  สำนักโรคติดต่อทั่วไป.  (2557).  เข้าถึงได้จาก
http://thaigcd.ddc.moph.go.th/2016/Knowledge/view/23

วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี.  (ม.ป.ป.).  วัณโรค.  เข้าถึงได้จาก https://th.wikipedia.org/wiki/วันวัณโรคโลก

อมรา สุนทรธาดา.  (2550).  นโยบายควบคุมวัณโรคในประเทศไทย: การวิเคราะห์เชิงแนวคิดประชาสังคม.  นครปฐม: สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล.

วันวัณโรคโลก World tuberculosis day