23 พฤษภาคม พ.ศ. 2543 (ค.ศ. 2000) กำหนดให้เป็น “วันเต่าโลก” World Turtle Day โดยองค์กรที่ไม่แสวงผลกำไรชื่อ “American Tortoise Rescue” ซึ่งเป็นองค์กรที่ได้จัดตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 23 พฤษภาคม ค.ศ. 1990 โดย “ซูซาน เทลเล็ม” และ “มาร์แชล ธอมสัน” ที่รัฐแคลิฟอเนียร์ สหรัฐอเมริกา มีวัตถุประสงค์เพื่อทำการอนุรักษ์และช่วยเหลือเต่าบกและเต่าทะเล ที่ถูกทำร้ายนำมาช่วยเหลือจนอยู่ในสภาพปกติแล้วปล่อยกลับสู่ธรรมชาติ จนถึงปัจจุบันสามารถช่วยชีวิตเต่าได้มากกว่า 3,000 ตัว รวมทั้งมีการให้บริการความรู้แก่ประชาชนเกี่ยวกับเต่า มาอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ประชาชนทั่วโลกได้ตระหนักและร่วมกันอนุรักษ์เต่าอย่างจริงจัง
[box type=”note”]เต่าเป็นสัตว์ที่จัดอยู่ในอันดับ Testudines อยู่ในจำพวกสัตว์เลือดเย็น ในชั้นสัตว์เลื้อยคลาน เต่าเป็นสัตว์โบราณที่มีชีวิตตั้งแต่ในยุคไตรแอสสิคจนถึงยุคปัจจุบัน สาเหตุที่เต่ามีอายุยืน เป็นเพราะเต่ามีระบบกลไกการทำงานที่ทำให้เซลล์ในร่างกายเต่าทำงานน้อยลง เช่น เต่ามีการเคลื่อนที่ช้า หายใจช้า และยังมีความสามารถในการอดอาหารได้นาน ทำให้ร่างกายมีอัตราการเผาผลาญต่ำ เต่าจึงกลายเป็นสัตว์ที่มีอายุยืน โดยเต่าที่อายุยืนมากที่สุด คือ “เต่ายักษ์อัลดราบร้า” ซึ่งเป็นเต่าที่มีอายุมากถึง 255 ปี[/box]กระดอง เป็นอวัยวะสำคัญของเต่าที่ทำให้เต่าแตกต่างจากสัตว์เลื้อยคลานอื่น ๆ กระดองเต่าเป็นกระดูกแข็งที่คลุมบริเวณหลังและท้อง กระดองเต่าเป็นโครงสร้างที่ช่วยค้ำจุนร่างกาย และป้องกันอันตรายจากสิ่งแวดล้อมภายนอก โดยจะหดหัวและขา เข้าไปในกระดอง (ยกเว้น เต่าทะเลที่ไม่สามารถหดหัวและขาเข้าไปในกระดองได้)
นักวิทยาศาสตร์เชื่อว่า “กระดอง” เป็นส่วนอวัยวะที่ถูกวิวัฒนาการขึ้นมาภายหลัง เนื่องจากได้ค้นพบซากฟอสซิลของเต่า Odontochelys semistestacea ซึ่งมีอายุประมาณ 220 ล้านปี โดยเป็นเต่าที่ไม่มีกระดอง จึงมีการสันนิษฐานว่า เต่าค่อย ๆ พัฒนากระดองขึ้นมาเพื่อป้องกันการถูกไล่ล่า โดยเกิดจากการขยายตัวของกระดูกที่อยู่บริเวณผิวหนังเมื่อเวลาผ่านไปกระดูกได้ขยายใหญ่ขึ้นและหลอมรวมกับผิวหนังภายนอกจนกลายเป็นกระดองในที่สุด
กระดองเต่าไม่ได้มีประโยชน์ไว้เพื่อป้องกันอันตรายจากการถูกไล่ล่าแต่เพียงเท่านั้น เรายังสามารถคำนวณอายุของเต่าได้จากกระดองเต่า โดยกระดองเต่าจะขยายขนาดไปทางด้านข้าง ตามอายุของมัน ยิ่งอายุมากกระดองก็จะยิ่งโตขึ้นการนับอายุของเต่านับจากวงตรงกลางของกระดองเต่า ซึ่งคล้ายกับการนับวงปีของต้นไม้นั่นเอง
[quote arrow=”yes”]ประเภทของเต่า[/quote]เต่าแบ่งได้เป็นสามชนิด ได้แก่ เต่าบก เต่าน้ำจืด และเต่าทะเล โดยเต่าบกและเต่าน้ำจืดถูกจัดอยู่ในอันดับเทสทูดิเนส (Order Testudines) ส่วนเต่าทะเลถูกจัดอยู่ในอันดับชีโลเนีย (Order Chelonia)
เต่าทั้งสามชนิดนี้จะมีลักษณะเฉพาะพิเศษที่แตกต่างกัน ซึ่งเป็นไปตามลักษณะการดำรงชีวิต เช่น เต่าทะเล ใช้ชีวิตส่วนใหญ่อยู่ในน้ำ และขึ้นมาบนบกเมื่อวางไข่ มีกระดองเป็นรูปทรงรีแบนและน้ำหนักเบา และเท้ามีลักษณะแบนคล้ายกับใบพาย เพื่อใช้ในการว่ายน้ำอย่างคล่องแคล่ว กินพืชเป็นอาหารหลัก (ยกเว้น เต่ามะเฟือง ซึ่งเป็นเต่าทะเลเพียงชนิดเดียวที่ไม่มีกระดองปกคลุม แต่จะมีส่วนของแผ่นหนังที่เป็นแผ่นหนา ไม่มีเกล็ด เรียงซ้อนกันเป็นร่องและสันนูนสลับกันคล้ายกลีบของผลมะเฟือง) ส่วนเต่าน้ำจืด หรือเต่าน้ำ ใช้ชีวิตอยู่ในน้ำเป็นส่วนใหญ่และขึ้นมาอาบแดดในบางครั้ง มีกระดองค่อนข้างแบนกว่าเต่าบกและน้ำหนักเบา เพื่อลอยตัวเวลาอยู่ในน้ำเท้าไม่มีเกล็ดและมีพังผืดระหว่างนิ้วเท้าเพื่อใช้ในการว่ายน้ำ มักล่าสิ่งมีชีวิตเล็กๆในน้ำกินเป็นอาหาร ในขณะที่เต่าบก ใช้ชีวิตส่วนใหญ่บนบก มีกระดอกที่โค้งนูนหนาเพื่อป้องกันตัว บริเวณเท้าจะมีเกล็ดหน้าและเล็บยาวเพื่อขุดดิน กินพืซเป็นอาหารแต่บางสายพันธุ์ก็จะกินเนื้อหรือแมลงอีกด้วย
เต่าแบ่งออกได้ 12 วงศ์ จากเต่าทั้งโลก สำหรับในประเทศไทยพบเพียง 6 วงศ์
รวมเต่าที่พบได้ในประเทศไทย (เฉพาะเต่าบก และเต่าน้ำจืด) สรุปได้ดังนี้
- เต่าปูลู (Platysternon megacephalum)
- เต่ากระอาน (Batagur baska)
- เต่าลายตีนเป็ด (Callagur borneoensis)
- เต่าหับ (Cuora amboinensis)
- เต่าห้วยเขาบรรทัด (Cyclemys artipons)
- เต่าใบไม้ (Cyclemys dentata)
- เต่าห้วยคอลาย (Cyclemys tcheponensis)
- เต่าหวาย (Heosemys grandis)
- เต่าจักร (Heosemys spinosa)
- เต่าบัว (Hieremys annandalei)
- เต่าเหลือง (Indotestudo elongata)
- เต่านาหัวใหญ่ (Malayemys macrocephala)
- เต่านาอีสาน (Malayemys subtrijuga)
- เต่าหก (Manouria emys) (มี 2 ชนิดย่อย)
- เต่าปากเหลือง (Melanochelys trijuga)
- เต่าทับทิม (Notochelys platynota)
- เต่าปูลู (Platysternon megacephalum) (มี 3 ชนิดย่อย)
- เต่าจัน (Pyxidea mouhotii)
- เต่าดำ (Siebenrockiella crassicoll
เต่าทะเล
ปัจจุบันมีทั้งหมด 7 ชนิด ใน 2 วงศ์ 5 สกุล ได้แก่ เต่าหัวค้อน (Caretta caretta), เต่าตนุ (Chelonia mydas), เต่ามะเฟือง (Dermochelys coriacea), เต่ากระ (Eretmochelys imbricata), เต่าตนุหลังแบน (Natator depressus), เต่าหญ้าแอตแลนติก (Lepidochelys kempii), เต่าหญ้า (Lepidochelys olivacea)
โดยที่เต่ามะเฟืองเป็นเต่าทะเลและเป็นเต่าที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก ซึ่งในน่านน้ำไทยพบได้ถึง 5 ชนิด ไม่พบเพียง 2 ชนิดคือ เต่าตนุหลังแบน และ เต่าหญ้าแอตแลนติก
[quote arrow=”yes”]ลักษณะของเต่า[/quote]เต่าเป็นสัตว์ที่ไม่มีฟัน แต่มีริมฝีปากที่แข็งแรงและคม ใช้ขบกัดอาหารแทนฟัน นอกจากนี้ยังมีกระดูกที่แข็งคลุมบริเวณหลังที่เรียกว่า “กระดอง” ซึ่งประกอบด้วยแคลเซียมเป็นส่วนใหญ่ เอกลักษณ์ของเต่าก็คือ สามารถหดหัว ขา และหางเข้าไปในกระดองได้ ทั้งนี้มันทำก็เพื่อป้องกันตัวเองจากอันตรายนั้นเอง แต่ก็มีเต่าบางชนิดที่ทำไม่ได้ด้วยนะ
[quote arrow=”yes”]อาหารของเต่า[/quote]กินอาหารได้ทั้ง พืช และสัตว์ เต่าบางชนิดก็จะกินแต่เฉพาะสัตว์ เช่น เต่าอัลลิเกเตอร์, เต่าสแนปปิ้ง (Chelydra serpentina), เต่าปูลู (Platysternon megacephalum) เป็นต้น[divide icon=”circle” width=”medium”]
สิ่งมีชีวิตส่วนใหญ่ถูกกำหนดเพศจากโครโมโซมของพ่อและแม่ แต่เต่าเป็นสัตว์ชนิดหนึ่งที่มีการกำหนดเพศจากอุณหภูมิของสิ่งแวดล้อม โดยขึ้นอยู่กับอุณหภูมิระหว่างการฟักไข่ หากไข่อยู่ในสภาวะแวดล้อมที่อุณหภูมิสูง (สูงกว่า 32 องศาเซลเซียส) จะออกมาเป็นเพศผู้ ในทางตรงกันข้าม หากไข่อยู่ในสภาวะแวดล้อมที่อุณภูมิต่ำ (ต่ำกว่า 28 องศาเซลเซียส) ไข่จะฟักออกมาเป็นเพศเมีย และหากอุณหภูมิฟักไข่อยู่ในช่วงปานกลาง (ระหว่าง 28-32 องศาเซลเซียส) เต่าจะมีอัตราการเกิดออกมาเป็นเพศผู้และเพศเมียเท่ากัน (50-50 %)
เต่าเป็นสัตว์ที่มีอายุยืน และมีลักษณะที่เอื้ออำนวยต่อการดำรงชีวิตอย่างเต่า ทำให้เต่าน่าจะกลายเป็นสัตว์ที่มีจำนวนมากที่สุดชนิดหนึ่งในโลกด้วยซ้ำ แต่ความจริงแล้วไม่ได้เป็นเช่นนั้น เต่าเป็นสัตว์ที่มีปริมาณจำนวนลดลงเรื่อย ๆ จนถึงขั้นวิกฤติ แม้เต่าจะเป็นสัตว์ที่มีอายุยืน แต่กลับมีความสามารถในการแพร่พันธุ์ต่ำ เต่าสามารถกำหนดเพศได้ด้วยอุณหภูมิ แต่ปัจจุบันอุณหภูมิของโลกเกิดความแปรปรวนและเปลี่ยนแปลงไปมาก โลกเริ่มมีอุณหภูมิเพิ่มสูงขึ้นเรื่อย ๆ ทำให้เต่ามีอัตราการเกิดเป็นเพศผู้สูงขึ้น นอกจากนี้สภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไป ยังส่งผลทำให้เต่าสูญเสียพื้นที่ที่เหมาะสมแก่การวางไข่อีกด้วย
นอกจากนี้การถูกไล่ล่ายังเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เต่ามีจำนวนลดลง เนื่องจากเต่าสามารถนำมาใช้ทำเป็นอาหารและทำเครื่องประดับและเครื่องหนังตกแต่งได้ เต่าจึงเป็นสัตว์ที่ถูกไล่ล่าจากผู้แสวงหาผลประโยชน์อยู่เสมอ
[quote font_size=”18″ color=”#ffdf42″ bgcolor=”#996633″ bcolor=”#ffdf42″ arrow=”yes”]กิจกรรมวันเต่าโลกในประเทศไทย[/quote]- จัดกิจกรรมทั่วไป ในสวนสัตว์แทบทุกแห่ง เช่น สวนสัตว์ดุสิต สวนสัตว์เขาเขียว สวนสัตว์เชียงใหม่ จะมีการจัดงานที่สุดมหัศจรรย์วันเต่าโลก
- จัดนิทรรศการเกี่ยวกับวันเต่าโลก และความสำคัญของเต่า งานอนุรักษ์และวิจัยเต่า พร้อมกับเชิญชวนชมเต่าแปลกๆ มากมาย เช่น เต่าอัลดราบรา, เต่าซูคาต้า, เต่าหกดำ, เต่าเดือย, เต่าเรเดียนต้า, เต่าแพนเค้ก, เต่าดาวพม่า, เต่าอัลริเกเตอร์, เต่ายักษ์มาเลเซีย, เต่าลายตีนเป็ด เป็นต้น
- จัดกิจกรรมบริเวณชายฝั่งทะเล ที่มีเต่าทะเลมาวางไข่
กรีนพีซ. (2560). เต่าบก เต่าน้ำ เต่าทะเล ต่างกันอย่างไร? [เว็บบล็อค]. เข้าถึงได้จาก http://www.greenpeace.org/seasia/th/news/blog1/blog/59465/
วิชาการ.คอม. (2557). วันเต่าโลก (World Turtle Day). เข้าถึงได้จาก http://www.vcharkarn.com/varticle/56116
Campus-star.com. (2560). 23 พฤษภาคม วันเต่าโลก. เข้าถึงได้จาก
https://lifestyle.campus-star.com/knowledge/61651.html