วันทะเลโลก World Ocean Day ตรงกับวันที่ 8 มิถุนายนของทุกปี
เพื่อตระหนักและอนุรักษ์ท้องทะเลให้สวยงามและสมบูรณ์
[quote arrow=”yes”]ประวัติความเป็นมา[/quote]วันทะเลโลก World Ocean Day เกิดขึ้นครั้งแรกในปี พ.ศ.2535 โดยความร่วมมือของกลุ่มประชาคมโลก (The Earth Summit) ที่เมืองริโอ เดอ จาเนโร ประเทศบราซิล คณะทำงานกลุ่มนี้ได้รวมตัวกันเพื่อเผยแพร่ความรู้และรณรงค์ส่งต่อไปยังประชาชนทั่วโลกผ่านเครือข่ายต่างๆ ที่มีอยู่ในหลายประเทศทั่วโลก พร้อมกับจัดกิจกรรมร่วมกับองค์กรต่างๆ อาทิ พิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำ สวนสัตว์ โรงเรียน มหาวิทยาลัย และองค์กรอนุรักษ์ต่างๆ อย่างต่อเนื่อง เพื่อกระตุ้นจิตสำนึกให้คนทั้งโลกหันมาใส่ใจ ร่วมกันอนุรักษ์ท้องทะเล
ภัยจากขยะสู่ทะเล
จากรายงานปี 2007 ของ COBSEA (Coordinating Body on the Seas of East Asia) ระบุว่ามีปริมาณขยะมากถึง 6.4 ล้านตัน/ปี (1,800 ตัน/วัน) โดยขยะ 8 ล้านตัน ถูกทิ้งลงสู่ทะเลทุกวัน และในจำนวนนั้นเป็น พลาสติกมากถึง 89% หรือมีขยะพลาสติกประมาณ 46,000 ชิ้น/ตารางไมล์ ซึ่งคิดเป็น 3 เท่าของปริมาณปลาที่จับได้
ผู้เชี่ยวชาญด้านชีววิทยาทางทะเลและทางด้านเคมี ได้วิจัยเกี่ยวกับการปนเปื้อนบริเวณชายฝั่งทะเล พบพลาสติกที่มีขนาดเล็กปนเปื้อนอยู่ทั่วไปทั้งในทะเลและบริเวณชายฝั่ง นอกจากนั้นยังมีขยะชิ้นใหญ่ๆ ประเภท โฟม พลาสติก และเครื่องมือประมง เป็นจำนวนมาก ทำให้สัตว์เล็ก ๆ อย่าง เพรียงทะเลและหนอนทะเล ไปจนกระทั่งสัตว์หายากอย่าง วาฬ โลมา พะยูน หรือ เต่าทะเล ได้รับบาดเจ็บ พิการ หรือตาย เนื่องจากโดนขยะพันลำตัว หรือกินขยะต่าง ๆ เข้าไป
คุณกาญจนา อดุลยานุโกศล นักวิชาการประมงชำนาญการพิเศษ หัวหน้ากลุ่มสัตว์ทะเลหายาก สถาบันวิจัยและพัฒนาทรัพยากรทางทะเล ชายฝั่งทะเลและป่าชายเลน กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง เปิดเผยข้อมูลว่า เต่าทะเลจำนวนมากที่เกยตื้น ส่วนใหญ่มักจะมีขยะติดที่ครีบ ซึ่งไม่สามารถแกะหรือสลัดออกเองได้ เมื่อยิ่งว่ายน้ำก็จะยิ่งทำให้แน่นขึ้นเรื่อย ๆ จนทำให้ครีบหรือขาหน้าขาด บางครั้งพบว่ามีเศษอวน เอ็นเล็ก ๆ ที่มีความคมพันคอเต่าจนขาดหรือตัดเส้นเลือดจนคอเกือบขาด และที่พบบ่อยที่สุดก็คือการที่ เต่าทะเลกินเศษโฟมหรือพลาสติกเพราะคิดว่าเป็นอาหารจนเข้าไปอุดตันลำไส้และตาย ในเวลาต่อมา
นอกจากนั้น ยังเคยพบว่ามี วาฬกินเศษพลาสติกเข้าไปหลายอย่าง ทั้งถุงดำ กล่องและขวดพลาสติก ถุงขนม หนักรวมกันถึง 1.6 กิโลกรัม หรือเมื่อเร็ว ๆ นี้พบโลมาปากขวดตายเพราะติดอวนทั้งผืนที่พันลำตัวจนทำให้โลมาไม่สามารถว่ายน้ำขึ้นมาหายใจได้
ในทะเลฝั่งอันดามันบริเวณจังหวัดภูเก็ต พังงา และกระบี่ จะมีสัตว์ทะเลเหล่านี้มาเกยตื้นประมาณ 40 ตัว/ปี และพบว่า มากกว่า 70% เป็นสัตว์ทะเลที่บาดเจ็บและตายจากเศษอวน เครื่องมือประมง และขยะโดยเฉพาะพลาสติก นี่ยังไม่นับรวมสัตว์ทะเลที่ตายไปเพราะขยะแต่ไม่ได้เกยตื้นมาให้เห็น
ในปี พ.ศ. 2551 กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งได้ร่วมกับนักดำน้ำอาสาสมัครและองค์กรต่างๆ เก็บขยะทะเลได้จำนวน 22 ตัน จากแหล่งดำน้ำต่างๆ ทั่วประเทศ แต่นั่นก็ยังเทียบไม่ได้กับขยะปริมาณมากที่ยังคงถูกปล่อยทิ้งลงทะเล
หนทางในการแก้ปัญหาขยะจึงน่าจะพุ่งเป้าไปที่การ “ทิ้ง” มากกว่าการ “เก็บ” กล่าวคือ มีระบบการจัดการขยะที่ดีตั้งแต่บนบก ซึ่งจะส่งผลต่อการลดขยะในทะเลลงได้ แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นระบบการจัดการจะดีเพียงใดก็อาจไม่มีประโยชน์ หากไม่ได้รับความร่วมมือจากพวกเราทุกคน
กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระตุ้นคนไทยอนุรักษ์ท้องทะเลไทย เนื่องในวันทะเลโลก หลังพบว่า ขยะในทะเลส่งผลกระทบมหาศาลต่อสิ่งแวดล้อม เพราะจากการสำรวจของกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง พบว่า ปัญหาในท้องทะเลส่วนใหญ่มาจากขยะพลาสติก ที่ส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศน์ และสร้างความเสียหายให้กับเรือและเครื่องมือประมง ตลอดจนส่งผลต่อจำนวนสัตว์ทะเลหายาก ที่ได้รับบาดเจ็บจากการกินขยะพลาสติกทำให้ติดบริเวณทางเดินอาหาร ส่งผลให้สัตว์ทะเลต้องตายเป็นจำนวนมาก จึงต้องการให้ทุกคนถือเอาวันทะเลโลก เป็นจุดเริ่มต้นในการอนุรักษ์ หวงแหนท้องทะเลไทย และการแก้ไขปัญหาขยะในท้องทะเลที่ผ่านมา แม้มีการปลุกจิตสำนึกผ่านกิจกรรมต่างๆ มากมาย แต่ไม่ประสบความสำเร็จ เพราะประชาชนส่วนใหญ่ รวมถึงภาคธุรกิจยังคงใช้ถุงพลาสติกในการใส่อาหาร ดังนั้น ทุกคนต้องตระหนักถึงปัญหาขยะในท้องทะเลอย่างจริงจัง และหยุดพฤติกรรมดังกล่าวตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป[divide icon=”circle” width=”medium”]
[quote font_size=”18″ color=”#ffdf42″ bgcolor=”#339933″ bcolor=”#ffdf42″ arrow=”yes”]วิธีร่วมกันอนุรักษ์ท้องทะเล ด้วยวิธีง่ายๆ ดังนี้[/quote]
[dropcap font=”Arial” color=”#cc0033″]1[/dropcap]ถ้าคุณไปเที่ยวทะเล อย่าจับสัตว์ทะเล หรือเก็บเปลือกหอยกลับบ้าน ปล่อยให้มันอยู่กับทะเลดีกว่า เพื่อแบ่งปันความความสวยงามให้ผู้อื่นได้พบเห็นภายหลัง คุณอาจเลือกวิธีถ่ายภาพเก็บความประทับใจไว้แทน
[dropcap font=”Arial” color=”#ff6642″]2[/dropcap]ไม่ควรทิ้งเศษขยะ เศษอาหาร ถุงพลาสติก ลงในชายหาดและในทะเล เพราะหากสัตว์ทะเลกินเข้าไปจะทำให้สัตว์ป่วยและเสียชีวิต
[dropcap font=”Arial” color=”#cc0033″]3[/dropcap]ไม่ควรปล่อยน้ำเสียจากการซักล้างหรือน้ำปนเปื้อนสารพิษลงท่อระบายน้ำที่ไม่ได้ผ่านขั้นตอนการบำบัดน้ำเสีย ก่อนปล่อยลงแหล่งน้ำธรรมชาติ เพราะท้ายที่สุดมันจะไหลลงสู่ทะเล
[dropcap font=”Arial” color=”#ff9900″]4[/dropcap]ตรวจสอบเรือก่อนออกจากฝั่ง หากมีรอยรั่วของถังเก็บน้ำมันต้องซ่อมแซมก่อน เพื่อป้องกันการรั่วไหลของคราบน้ำมันบนพื้นผิวทะเล
[dropcap font=”Arial” color=”#83c8d4″]5[/dropcap]หากคุณดำน้ำเพื่อชมปะการัง ไม่ควรจับต้องสัตว์ทะเล พืชทะเล เพราะอาจเป็นการทำร้ายสัตว์และพืชทะเลโดยไม่รู้ตัว อีกทั้งยังเป็นการป้องกันอันตรายจากสัตว์มีพิษอีกด้วย
[dropcap font=”Arial” color=”#ffdf42“]6[/dropcap]อย่าปล่อยโคมลอย ลูกโปร่ง ขึ้นบนอากาศเพราะหากมันตกลงทะเล สัตว์ทะเลจะเข้าใจว่าเป็นอาหารและกินซึ่งเป็นสาเหตุให้สัตว์ทะเลเสียชีวิต[divide icon=”circle” width=”medium”]
กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง. (2561). ทช.หารือทีมงานเตรียมจัดงานวันทะเลโลก ประจำปี 2561. เข้าถึงได้จาก http://www.dmcr.go.th/detailAll/22956/nws/
วิชาการ.คอม. (2552). วันทะเลโลก. เข้าถึงได้จาก http://www.vcharkarn.com/varticle/39483
สถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล มหาวิทยาลัยบูรพา. (2558). วันทะเลโลก (World Ocean Day). เข้าถึงได้จาก http://site.bims.buu.ac.th/wp/index.php/2015/07/06/wod/