April 2018

วันป่าชุมชนชายเลนไทย-thai mangroveforest day

[quote font_size=”18″ color=”#ffdf42″ bgcolor=”#339933″ bcolor=”#ffdf42″ arrow=”yes”]วันที่ 12 เมษายน “วันป่าชุมชนชายเลนไทย” เพื่อให้ทุกฝ่ายร่วมมือกันรักษาทรัพยากรธรรมชาตินี้ไว้ไม่ให้สูญหายไป รวมไปถึงการสร้างจิตสำนึก ในการอนุรักษ์ธรรมชาติให้แก่เด็กรุ่นหลัง เพื่อนำมาพัฒนาให้ป่าชายเลน ซึ่งเป็นบ้านของสัตว์น้อยใหญ่ ได้เป็นแหล่งที่อาศัยของพวกมันตลอดไป[/quote] ในอดีตป่าชายเลนในประเทศไทยที่อุดมสมบูรณ์นั้น กระจายอยู่ทั่วไป แต่ภายหลังจากในปี พ.ศ.2518 ซึ่งมีพื้นที่ป่าชายเลน 2 ล้านไร่ แต่ในปี พ.ศ.2534 กลับเหลือเพียง 1 ล้านไร่ ป่าหายไปไหน? พวกมันถูกทำลายด้วยมนุษย์จากการเพาะเลี้ยงกุ้งอย่างผิดวิธี การขยายตัวของอุตสาหกรรมที่รุกร้ำเข้าพื้นที่ป่า ทำให้ปัจจุบันนี้พื้นที่ดังกล่าวเหลืออยู่ไม่ถึง 1 ล้านไร่ แม้ว่าจะการปลูกป่าทดแทนเท่าไหร่ก็ได้แต่ไม้โกงกาง ซึ่งไม่สามารถสร้างระบบนิเวศที่ซับซ้อนเหมือนธรรมชาติได้ ป่าชายเลนเกิดจากตะกอนที่มากับแม่น้ำ สะสมรวมตัวกันเป็นหาดเลนกว้าง บริเวณรอยต่อของทะเลกับพื้นดิน ซึ่งเป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์น้ำและสัตว์บก โดยปัจจุบันป่าชายเลนถูกรุกล้ำทำให้ระบบนิเวศน์ต่างๆ เสียไป จึงมีการกำหนดให้วันที่ 12 เมษายน ของทุกปี เป็น “วันป่าชุมชนชายเลนไทย” เพื่อให้ทุกฝ่ายร่วมมือกันรักษาทรัพยากรธรรมชาตินี้ไว้ไม่ให้สูญหายไป รวมถึงสร้างจิตสำนึก ในการอนุรักษ์ธรรมชาติเพื่อนำมาพัฒนาให้ป่าชายเลนไทยดำรงอยู่ต่อไป [quote font_size=”18″ color=”#ffdf42″ bgcolor=”#339933″ bcolor=”#ffdf42″ […]

วันป่าชุมชนชายเลนไทย Read More »

วันสงกรานต์

วันสงกรานต์ (Songkran day) ตรงกับวันที่ 13 เมษายน ของทุกปี คนไทยได้ยึดถือประเพณีอันดีงามสืบต่อกันมาแต่ โบราณกาล ปกติวันสงกรานต์จะมี 3 วัน คือ เริ่มวันที่ 13 เมษายน ถึงวันที่ 15 เมษายน วันแรกคือวันที่ 13 เป็นวันมหาสงกรานต์ วันที่พระอาทิตย์ต้องขึ้นสู่ราศีเมษ วันที่ 14 เป็นวันเนา (พระอาทิตย์คงอยู่ที่ 0 องศา) วันที่ 15 เป็นวันเถลิงศกใหม่ และเริ่มจุลศักราชในวันนี้ เมื่อก่อนจริงๆ มีถึง 4 วัน คือวันที่ 13-16 เป็นวันเนาเสีย 2 วัน (วันเนาเป็นวันอยู่เฉยๆ) เป็นวันว่าง พักการงานนอกบ้านชั่วคราว จะเห็นได้ว่า วันสงกรานต์เป็นวันขึ้นปีใหม่ตั้งแต่สมัยกรุงสุโขทัย จนถึง พ.ศ. 2483 ทางราชการจึงได้เปลี่ยนไหม่ โดยกำหนดเอาวันที่ 1 มกราคม เป็นวันขึ้นปีใหม่ เพื่อให้เข้ากับ หลักสากลที่นานาประเทศนิยมปฏิบัติ

วันสงกรานต์ Read More »

วันอนามัยโลก- world health day

ประวัติและความเป็นมา วันอนามัยโลก องค์การอนามัยโลก (World Health Organization, WHO) เป็นองค์การชำนาญพิเศษของสหประชาชาติ (Specialized Agencies of the United Nations System) ซึ่งมีกำเนิดมาจากการที่ประชากรโลกถูกภัยคุมคามจากโรคระบาดต่าง ๆ ทำให้เกิดปัญหาที่ต้องพิจารณากันในระหว่างประชาชาติต่าง ๆ เพราะจะมีโรคระบาดแพร่จากประเทศหนึ่งไปยังประเทศหนึ่งอยู่เสมอ ทำให้ต้องมีการป้องกันและควบคุมโรคติดต่อระหว่างประเทศต่าง ๆ ต่อมาได้มีความร่วมมือกันในการจัดการประชุมเกี่ยวกับสุขภาพอนามัยระหว่างประเทศเป็นครั้งแรกที่กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส เมื่อพ.ศ. ๒๓๔๙ เพื่อวางมาตรการควบคุมและกักกันโรคระบาดระหว่างประเทศ ในเวลาต่อมา คณะมนตรีด้านสังคมและเศรษฐกิจแห่งสหประชาชาติ ได้จัดให้มีการประชุมว่าด้วยสุขภาพระหว่างประเทศ เมื่อ พ.ศ. ๒๔๘๙ ที่เมืองนิวยอร์ก ประเทศสหรัฐอเมริกา ที่ประชุมได้เล็งเห็นว่าสุขภาพของประชาชนเป็นรากฐานของสันติภาพและความมั่นคงปลอดภัยของประชาชาติทั้งมวล จึงได้จัดตั้งคณะกรรมาธิการเพื่อเตรียมการสถาปนาองค์การอนามัยโลก โดยจัดการร่างธรรมนูญขององค์การ อนามัยโลกแล้วเสร็จ ประกาศใช้ธรรมนูญเมื่อวันที่ ๗ เมษายน พ.ศ. ๒๔๙๑ ซึ่งงานขององค์การอนามัยโลก ดำเนินการภายใต้นโยบายและการปกครองของสมัชชาอนามัยโลก ที่ประกอบไปด้วยผู้แทน ของประเทศสมาชิก และเพื่อเป็นการกระจายการ ปฏิบัติงานขององค์การฯ ให้ทั่วถึงส่วนต่างๆ ของโลก สมัชชาอนามัยโลกในการประชุมสมัยที่ ๑ ได้มีมติ กำหนดพื้นที่การดำเนินงานออกเป็น

วันอนามัยโลก World Health Day Read More »

วันจักรี

[box type=”note”]วันจักรี Chakri Memorial Day ตรงกับ วันที่ 6 เมษายนของทุกปี เป็นวันที่ระลึกถึงพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชและมหาจักรีบรมราชวงศ์[/box] วันจักรี สำคัญอย่างไร วันจักรี หมายถึง วันที่ระลึกถึงพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกฯ ปฐมบรมราชวงศ์จักรี เสด็จกรีฑาทัพถึงพระมหานครทรงรับอัญเชิญขึ้นเถลิงถวัลย์ราชสมบัติ ดำรงราชอาณาจักรสยามประเทศ [quote font_size=”18″ color=”#ffdf42″ bgcolor=”#339933″ bcolor=”#ffdf42″ arrow=”yes”]ประวัติวันจักรี[/quote] เมื่อวันที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2325 เป็นวันที่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช (ร.1) เสด็จปราบดาภิเษก ขึ้นครองราชย์เป็นกษัตริย์แห่งราชวงศ์จักรี และทรงสร้างกรุงเทพมหานครขึ้นเป็นเมืองหลวงของไทย มาจนถึงทุกวันนี้ ด้วยพระมหากรุณาธิคุณดังกล่าว ในปี พ.ศ. 2416 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (ร.5) จึงโปรดเกล้าฯ ให้หล่อพระบรมรูปของพระเจ้าอยู่หัวทั้ง 4 พระองค์ (ร.1 – ร.4) เพื่อประดิษฐานไว้ให้พระมหากษัตริย์องค์ต่อๆ มา พระบรมวงศานุวงศ์ ข้าราชการ และประชาชนได้ถวายบังคมสักการะ โดยเป็นการระลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณ เป็นธรรมเนียมปีละครั้ง

วันจักรี 6 เมษายน Read More »

วันอนุรักษ์มรดกไทย

[box type=”note”]วันอนุรักษ์มรดกไทย ตรงกับวันที่ ๒ เมษายนของทุกปี ซึ่งตรงกับวันคล้ายวันพระราชสมภพของ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในฐานะที่ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณ อย่างใหญ่หลวงในงานด้านศิลปวัฒนธรรมของชาติ[/box] อนุรักษ์ คือ พิทักษ์รักษาให้คงอยู่ในรูปเดิม ตามรักษา ระวัง ป้องกัน มรดก คือ ทรัพย์สมบัติของผู้ตายที่ยกให้ทายาท มรดกไทย คือ ทุกสิ่งที่คนไทยรับสืบทอดกันมา วันอนุรักษ์มรดกไทย หมายถึง มรดกทางวัฒนธรรมที่แสดงออกถึงสัญลักษณ์ของความเป็นชาติ ซึ่งได้แก่ โบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ โบราณสถาน วรรณกรรม ศิลปหัตถกรรม นาฏศิลป์และดนตรี ตลอดจนถึงการดำเนินชีวิตและคุณค่าประเพณีต่าง ๆ อันเป็นผลผลิตร่วมกันของผู้คนในผืนแผ่นดินในช่วงระยะเวลาที่ผ่านมา และยังเป็น วันเทิดพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ที่พระองค์ทรงเป็นแบบอย่าง ในการบำเพ็ญพระราชกรณียกิจ ในด้านการอนุรักษ์มรดกของชาติในสาขาต่าง ๆ รวมทั้งได้เจริญรอยตามเบื้องพระยุคคลบาท ในการสร้างสรรค์และรักษามรดกของชาติให้ยั่งยืนตกทอดถึงลูกหลานไทย[divide icon=”circle” width=”medium”] รัฐบาลในช่วงปี พ.ศ.๒๕๒๘ ซึ่งมีพลเอกเปรม ติณสูลานนท์ เป็นนายกรัฐมนตรี ได้มีมติเมื่อวันที่ ๒๖ กุมภาพันธ์ ประกาศให้วันที่

2 เมษายน วันอนุรักษ์มรดกไทย Read More »

วันออมสิน+มหาวิทยาลัยสยาม+ห้องสมุด

[box type=”note”]“แบงค์ลีฟอเทีย” ต้นแบบการออม รัชกาลที่ 6 ทรงเห็นคุณประโยชน์ของการออมทรัพย์ เพื่อให้ประชาชนรู้จักการประหยัดการเก็บออม มีสถานที่เก็บรักษาทรัพย์สินเงินทองของประชาชน ให้ปลอดภัยจากโจรผู้ร้าย จึงทรงริเริ่มจัดตั้งคลังออมสินทดลองขึ้น โดยทรงพระราชทานนามแบงค์ว่า “ลีฟอเทีย”[/box]   [quote arrow=”yes”]ประวัติความเป็นมา[/quote] คลังออมสิน ถือกำเนิดขึ้นเมื่อวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2456 โดยพระราชประสงค์ของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 ที่ทรงตระหนักถึงความสำคัญของการเก็บรักษาทรัพย์ให้ปลอดภัยจากโจรผู้ร้าย ด้วยพระราชปณิธานที่จะให้คลังออมสินเป็นที่เก็บรักษาทรัพย์สินอย่างปลอดภัย และฝึกฝนให้ราษฎรรู้จักเก็บออมทรัพย์อย่างถูกวิธี  และทรงจัดตั้งคลังออมสินขึ้นโดยสังกัด กรมพระคลังมหาสมบัติ ดำเนินธุรกิจภายใต้พระราชบัญญัติคลังออมสิน พ.ศ.2456 ต่อมาในปี พ.ศ.2472 คลังออมสินได้ไปอยู่ในความรับผิดชอบของกรมไปรษณีย์  โทรเลข  ต่อมาภายหลังเมื่อสงครามโลกครั้งที่ 2 ยุติลงรัฐบาลได้เห็นถึงคุณประโยชน์ของการออมทรัพย์จึงได้ยกฐานะ ของคลังออมสินขึ้นเป็นองค์กรของรัฐบาล ภายใต้พระราชบัญญัติธนาคารออมสินมีการบริหารโดยอิสระ ภายใต้การควบคุมคณะกรรมการ ซึ่งได้รับการแต่งตั้งจาก รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง  จนมาถึงปี พ.ศ. 2489  ซึ่งถือเป็นพระมหากรุณาธิคุณอันล้นพ้นที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9  ได้ทรงโปรดเกล้าฯให้ยกฐานะคลังออมสินขึ้นเป็นธนาคารออมสิน  โดยทรงตราพระราชบัญญัติธนาคารออมสินขึ้นเพื่อรองรับกับความก้าวหน้าของกิจการคลังออมสิน และเปิดดำเนินการในรูปแบบธนาคารตั้งแต่เมื่อวันที่ 1 เมษายน พ.ศ.

วันออมสินของไทย Read More »

แนะนำหนังสือ 1 เม.ย. 2561

[box type=”note”]ชื่อหนังสือ: โครงการพระราชดำริสวนจิตรลดา ชื่อผู้แต่ง: ฝ่ายวิชาการ สถาพรบุ๊คส์, ผู้เรียบเรียง   Call Number: อ 307.14 คส961 2560 รายละเอียด: แนะนำหนังสือ “โครงการพระราชดำริสวนจิตรลดา” เล่มนี้ เป็นอีกเล่มหนึ่งในหนังสือชุดศาสตร์พระราชา โดยได้น้อมนำโครงการตามพระราชดำริที่เป็นแบบอย่างอันดี ในการศึกษาหลักการทรงงานของพระบาทสมเด็จ พระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ ๙ ซึ่งมีหลักการสำคัญคือ “เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา” เพื่อเป็นแรงบันดาลใจที่จะน้อมเกล้าน้อมกระหม่อมนำหลักคิดและพระราชกรณียกิจของพระองค์ไปศึกษาค้นคว้าและประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์  แก่ตนเองและประเทศชาติสืบไป และสำหรับโครงการนี้ พระองค์ทรงปรารถนาจะได้เห็นประชาชนอยู่ดีมีสุข โดยเฉพาะอาชีพด้านการเกษตรกรรมจึงทำให้เกิด โครงการพระราชดำริสวนจิตรลดา ขึ้นโดยทรงใช้พื้นที่บางส่วนของสวนจิตรดา พระราชวังดุสิต ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2504 เป็นสถานที่ศึกษา ค้นคว้า ทดลอง และหาวิธีแก้ไขปัญหาต่างๆ ให้ถูกต้องตรงจุดด้วยพระองค์เอง ทั้งนี้เพื่อเป็นโครงการตัวอย่างในการช่วยเหลือบรรเทาความเดือดร้อนของราษฎร โดยจะมุ่งเน้นตามแนวพระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียง ควบคู่ไปกับการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ สำหรับโครงการต่างๆ ที่เกิดขึ้น เป็นโครงการที่ไม่หวังผลตอบแทนเชิงธุรกิจ จึงทำให้โครงการส่วนพระองค์สวนจิตรดา กลายเป็นแหล่งรวมนวัตกรรมด้านการเกษตรของแผ่นดิน อีกทั้งยังเปิดเป็นแหล่งศึกษาเรียนรู้กิจกรรมการเกษตรตามแนวพระราชดำริ อีกด้วย ภายในเล่มมีการนำเสนอเนื้อหาในรูปแบบสองภาษา ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ[/box]

แนะนำหนังสือ 1 เม.ย. 2561 Read More »

วันข้าราชการพลเรือน Civil servant day-รับรางวัล

เนื่องด้วยวันที่ ๑ เมษายน พ.ศ. ๒๔๗๑ เป็นวันที่พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พุทธศักราช ๒๔๗๑  มีผลใช้บังคับ เป็นการจัดระเบียบข้าราชการฝ่ายพลเรือน ให้เป็นมาตรฐาน จึงกำหนดเอาวันที่ ๑ เมษายน เป็น วันข้าราชการพลเรือน (Civil servant day) [box type=”note”] พระบรมราโชวาทของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช พระราชทานแก่ข้าราชการพลเรือน เนื่องในโอกาสวันข้าราชการพลเรือน ปีพุทธศักราช ๒๕๕๘ งานราชการนั้น คืองานของแผ่นดิน มีผลเกี่ยวเนื่องถึงประโยชน์ของบ้านเมืองและประชาชนทุกคน. งานทุกอย่างจึงต้องมีผู้ปฏิบัติและมีผู้รับช่วง เพื่อให้งานดำเนินต่อเนื่องไปไม่ขาดสาย. ดังนั้น ผู้ปฏิบัติบริหารงานราชการทุกฝ่ายทุกระดับจึงไม่ควรยกเอาเรื่องใครเป็นผู้ทำมาก่อน หรือใครเป็นผู้รับช่วงงานขึ้นเป็นข้อสำคัญนัก จะต้องถือประโยชน์ที่จะเกิดจากงานเป็นหลักใหญ่ แล้วร่วมกันคิดร่วมกันทำ ด้วยความอุตสาหะเสียสละและด้วยความสุจริตจริงใจ. งานทุกอย่างจึงจะดำเนินไปได้ อย่างราบรื่น ไม่ติดขัด และสำเร็จผลเป็นประโยชน์ได้แท้จริง และยั่งยืนตลอดไป. อาคารเฉลิมพระเกียรติ โรงพยาบาลศิริราช วันที่ ๓๑  มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๘ [/box] [divide icon=”circle” width=”medium”] ข้าราชการคำโบราณมีความ หมายถึง

วันข้าราชการพลเรือน Read More »