วันไปรษณีย์โลก 9 ตุลาคม

ก่อนที่จะมี วันไปรษณีย์โลก 9 ตุลาคม มนุษย์ในอดีต ได้ใช้วิธีการติดต่อส่งสารกันในรูปแบบต่างๆ เช่น ตีเกาะ เคาะไม้ จุดไฟ หรือส่งสัญญานควันไฟ การพัฒนาการติดต่อสื่อสารก้าวหน้าขึ้นจากเดิมที่เคยใช้วิธีท่องจำเสียงเป็นบทสวด เดินทางข้ามน้ำข้ามทะเลมาบอกต่อกันไปเป็นทอดๆ (Memorized messages) จนเมื่อมีการประดิษฐ์ตัวอักษรใช้แทนเสียงที่พูดจากัน การสื่อสารก็พัฒนาขึ้นไปอีกขั้น  คนในยุคปัจจุบันถือสมาร์ตโฟนส่องดูข่าวสารโต้ตอบกันได้ในทันที แต่ในยุคสมัยอารยธรรมโบราณหลายพันปีก่อนคริสต์ศักราช เขาพกพานกพิราบติดตัวเพื่อใช้ในการส่งข้อความติดต่อสื่อสารกัน  ในรัชสมัยพระจักรพรรดิออกัสตัส (Augustus, 63 ปีก่อนคริสต์ศักราช ค.ศ. 14) แห่ง จักรวรรดิโรมัน ได้มีการจัดตั้งระบบติดต่อสื่อสารในกองพลต่างๆ โดยใช้พลม้าเร็วในการส่งข่าวสาร เดินทางข้ามน้ำ ข้ามทะเลทรายและพักตามจุดที่ตั้งเฉพาะ เรียกว่า โพซิตัส (Positus) จึงเชื่อว่า นี่คือที่มาของคำว่า “post” (การไปรษณีย์) นั่นเอง

ไปรษณีย์อียิปต์โบราณ
ภาพจากผนังสุสานของขุนนางนามว่า “อิเนอร์คา” (Inerkha) อียิปต์โบราณ มีการนำนกพิราบมาใช้ในการติดต่อสื่อสาร
https://www.osirisnet.net/tombes/artisans/inerkhaou359/e_inerkhaou359_03.htm

ในยุคกลางพบว่ามีการใช้นกพิราบสื่อสาร (Pigeon post) ต่อมาในปี พ.ศ. 1848 อิตาลีและสเปน มีการ จัดตั้งบริษัทรับส่งข่าวสารขึ้นให้บริการตามเมืองสำคัญๆ ในยุโรป ส่วนเมืองที่ไม่มีบริการนี้ จะใช้วิธีการฝากจดหมาย และสิ่งของไปมากับพ่อค้า ในคริสต์ศตวรรษที่ 16 การเดินทางทางทะเล การค้าขายเจริญมากขึ้น ในระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 17 หลายประเทศได้ออกคำสั่งห้ามการรับส่งจดหมายโดยบริษัท แต่ให้อำนาจสิทธิ์ขาดแก่หน่วยงานของรัฐ ที่จัดตั้งขึ้น

ในระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 17 มีการไปรษณีย์เกิดขึ้นทั่วไปในแทบทุกประเทศ การจัดตั้งไปรษณีย์เกิดขึ้นทั่วไปในแทบทุกประเทศ ในสหรัฐอเมริกา มีการไปรษณีย์เกิดขึ้นเป็นครั้งแรก ที่เมืองบอสตัน ในฝรั่งเศส พระเจ้าหลุยส์ที่ 14 ทรงวางรากฐานการไปรษณีย์หลวงของฝรั่งเศส ให้ทำการรับส่งจดหมาย ส่วนการไปรษณีย์ภายในตัวเมือง มีชาวฝรั่งเศสชื่อ เดอ วาลาเยร์ (De Valayer) คิดวิธีจัดตั้งไปรษณีย์ขนาดย่อมขึ้น โดยประดิษฐ์ตู้ไปรษณีย์นำไปติดตั้งไว้ตามจุดต่างๆ ให้ไขเก็บจดหมายวันละ 3 ครั้ง นำจ่ายวันละ 4 ครั้ง และจำหน่าย “ใบเสร็จรับเงินค่านำส่ง” (Receipt for the payment of transport) ให้กับประชาชนที่ต้องการส่งจดหมาย

เมื่อวันที่ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2196 เดอ วาลาเยร์ ได้รับพระราชทานพระบรมราชานุญาต จัดตั้งการไปรษณีย์ขนาดย่อม ในปารีส ต่อมาก็ได้มีการไปรษณีย์ชนิดเดียวกันนี้ ที่เมืองสตราบูร์ก (Strasbourg) และเมืองอื่นๆ

พ.ศ. 2223 มีพ่อค้าชาวอังกฤษชื่อ นาย ด็อควรา (Dockwra) เดินทางมาค้าขายที่ปารีส จึงนำเอาแบบอย่างการไปรษณีย์ขนาดย่อมที่ปารีส ไปใช้ที่ลอนดอน โดยเพิ่มรายละเอียดการจัดส่งด้วยตราประทับ ระบุวัน เดือน ปี เพื่อลงทะเบียน และทำประกัน ในจีนสมัยราชวงศ์ชิง (Ching Dynasty, ค.ศ. 1662-1911)  ดังนั้นตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 18 เป็นต้นมา กิจการไปรษณีย์ได้รับการพัฒนาเจริญก้าวหน้า ตามเทคโนโลยีใหม่ๆ ที่เกิดขึ้นมาบนโลก เช่น เรือกลไฟ รถไฟ ยานยนต์ต่างๆ

black penny-นับแต่คริสต์ศตวรรษที่ 19 (อยู่ระหว่างปี ค.ศ. 1801 ถึง ค.ศ. 1900) เป็นต้นมา กิจการไปรษณีย์ได้รับการพัฒนาเจริญก้าวหน้ามาเป็นอันมาก พ.ศ.2383(ค.ศ.1840) รัฐบาลอังกฤษได้พิมพ์แสตมป์แบล็คเพนนี (Black penny) เป็นภาพสมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรีย (Victoria, ค.ศ. 1819 – 1901, พระราชินีผู้ปกครองประเทศอังกฤษ) และนับเป็นแสตมป์ดวงแรกของโลก

พ.ศ. 2417(ค.ศ.1874) มีการจัดตั้งสหภาพสากลไปรษณีย์ (Universal postal union) ขึ้น เมื่อวันที่ 9 ตุลาคม พ.ศ.2519 จากการประชุมใหญ่การไปรษณีย์ระหว่างประเทศ ที่กรุงเบอร์น (Bern) สวิตเซอร์แลนด์   และถือเป็นวันสหภาพสากลไปรษณีย์ (UPU Day) มาจนทุกวันนี้ และนับแต่นั้นเป็นต้นมาก็ได้นำนวัตกรรมใหม่ๆ มาใช้ในการปฏิบัติงานมากขึ้น เช่น เครื่องประทับขีดฆ่าตราไปรษณียากร เครื่องเรียงจดหมาย และอื่นๆ มีการส่งดาวเทียม เพื่อการสื่อสาร ออกไปโคจรรอบโลก รวมทั้งมีการเปิดบริการใหม่ๆ แก่ประชาชน เพิ่มขึ้นอยู่เสมอ

ประวัติการไปรษณีย์ในประเทศไทย

คนไทยในสมัยโบราณใช้คนเดินข่าวเดินทางนำข่าวไปด้วยเท้า หรือใช้ม้า เรือ แพ เป็นพาหนะ หากเป็นงานในส่วนราชการ จะใช้วิธีแต่งตั้งข้าหลวงเชิญหนังสือ หรือ “ท้องตรา” หรือ “ใบบอก”  ส่วนการส่งพระราชสาสน์ หรือหนังสือติดต่อกับต่างประเทศนั้น มีวิธีใหญ่ๆ อยู่ ๒ วิธีคือ ๑. แต่งตั้งคณะทูตอัญเชิญพระราชสาสน์ไปยัง ประเทศที่จะติดต่อโดยตรง เช่น พระวิสุทธสุนทร (ปาน) อัญเชิญพระราชสาสน์ของสมเด็จพระนารายณ์มหาราชไปถวายพระเจ้าหลุยส์ที่ ๑๔ แห่ง ฝรั่งเศส พระยามนตรีสุริยวงศ์เป็นราชทูตอัญเชิญ พระราชสาสน์ และเครื่องราชบรรณาการของ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ไปถวายสมเด็จ พระราชินีนาถวิกตอเรีย แห่งอังกฤษ เป็นต้น 

Dan Beach Bradley-bangkok recorderใน่ช่วงปลายรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๓) มีกลุ่มมิชชันนารี หรือหมอสอนศาสนาชาวยุโรป เข้ามาเผยแพร่คริสต์ศาสนาในประเทศไทย ได้นำเอาวัฒนธรรมการเขียนจดหมายติดต่อกับ ญาติ มิตรสหาย ส่งไปทางเรือ หมอบรัดเลย์ ผู้ ริเริ่มก่อตั้งโรงพิมพ์แห่งแรกในประเทศไทย (โรงพิมพ์ อักษรสยามนุกูลกิจ) จดหมายนี้ส่งจากกรุงเทพฯ ใน วันที่ ๑๑ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๓๗๙ ถึงเมืองโรเชส- เตอร์ (Rochester) ในนิวยอร์ก วันที่ ๙ เมษายน พ.ศ. ๒๓๘๐ ใช้เวลาเดินทางทั้งสิ้น ๕ เดือน อัตราค่าส่ง ๑๘ เซ็นต์ ซึ่งขณะนั้นยังไม่มีแสตมป์ใช้

 

ต่อมากงสุลอังกฤษ ได้ใช้สถานที่บริเวณตึกยามท่าน้ำ ริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา หลังกงสุลอังกฤษ เป็นที่ทำการไปรษณีย์ โดยใช้ตราไปรษณียากร ของสหพันธรัฐมลายา และอินเดีย ซึ่งพิมพ์อักษร “B” ประทับลงบนดวงตราไปรษณียากรนั้น ๆ แทนคำว่า “Bangkok” จำหน่ายและส่งต่อจดหมายไปต่างประเทศ โดยฝากไปกับเรือค้าขายภายใต้ร่มธงอังกฤษไปยังที่ทำการไปรษณีย์สิงคโปร์ และจัดส่งจดหมายนั้นไปยังปลายทาง สร้างความน่าสนใจให้กับประชาชนชาวไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในหมู่พระบรมวงศานุวงศ์ และขุนนางผู้ใหญ่

สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอเจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ ร่วมกับพระบรมวงศานุวงศ์
สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอเจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ ร่วมกับพระบรมวงศานุวงศ์

ในปีพ.ศ. 2418 สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอเจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ ร่วมกับพระบรมวงศานุวงศ์ ทรงร่วมกันออกหนังสือพิมพ์รายวัน “Court” และภาษาไทยว่า “ข่าวราชการ” แจ้งข่าว ความเคลื่อนไหว เกี่ยวด้วย ข้อราชการและความเป็นไปภายในพระราชสำนัก  และมีผู้สนใจมากขึ้น ทำให้มีปัญหาเรื่องการจัดส่ง จึงจำเป็นที่จะต้องทำให้จัดตั้งการไปรษณีย์ขึ้นในประเทศไทย เมื่อวันที่ 2 กรกฏาคม 2424 โดยมี นายเฮนรี่ อาลาบาสเตอร์ เป็นชาวต่างชาติเข้ามาช่วยเหลือดำเนินการ พระองค์ทรงโปรดให้มีบุรุษเดินหนังสือ ข่าวราชการส่งให้แก่สมาชิกขึ้นเรียกว่า “โปสตแมน” และทรงโปรดให้มีตั๋ว “แสตมป์” ขึ้นเป็นครั้งแรกในประเทศไทย ใช้เป็นค่าเดินส่งหนังสือ

โดยกำหนดให้มีบริการไปรษณีย์ภายในอาณาเขต ดังนี้คือ
1.ด้านเหนือ ถึง สามเสน
2.ด้านตะวันออก ถึง สระประทุม
3.ด้านใต้ ถึง บางคอแหลม
4.ด้านตะวันตก ถึง ตลาดพลู

การเปิดให้บริการไปรษณีย์ในเขตกรุงเทพฯ มาได้เดือนเศษ ปรากฏว่า มีผู้ใช้บริการจำนวนมากได้ยังความชื่นชม สมพระราชหฤทัยมาก ดังจะเห็นได้จากกระแสพระราชดำรัส ซึ่งทรง พระราชทานแด่พระบรมวงศานุวงศ์ ข้าราชการผู้ใหญ่ ผู้น้อย ข้าทูลละออง ธุลีพระบาท ราชทูตอเมริกัน และท่านเอเย่นต์กอมิสแซและกงสุลต่างประเทศ ณ พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท ในพระราชพิธีเฉลิมพระชนม์ พรรษา เมื่อวัน ที่ 21 กันยายน พ.ศ.2426 มีความตอนหนึ่งว่า

“การไปรษณีย์ซึ่งได้เปิดใช้โดยส่งหนังสือในแขวงจังหวัดกรุงเทพฯ เสมอนั้น ก็เป็นที่แปลกใจของเรา ที่ไม่คิดว่าคนไทยจะใช้หนังสือกันถึงเพียงนี้ ทำให้เรามีความประสงค์ที่จะจัดการให้ได้ส่ง หนังสือ ไปมาให้ได้ ตลอดพระราชอาณาจักรสยามได้โดยเร็วจะเป็นประโยชน์ในการค้าขายแลทางราชการมาก แล้วภายหลัง เราหวังใจ ว่าคงจะทำตามคำเชิญของท่านผู้จัดการไปรษณีย์ใหญ่ในกรุงเยอรมนี ให้กรุงสยามเข้าจัดการส่ง หนังสือไปมาได้ทั่วโลก คือเข้าในหมู่พวกการไปรษณีย์อันรวมกัน “

ไปรษณีย์ไทยvsKerry

ปัจจุบันเรียกว่าเป็นยุคดิจิทัล สิ่งที่เริ่มเลือนหายไปก็คือ จดหมาย โทรเลข ธนาณัติ ตั๋วแลกเงินไปรษณีย์ ไปรษณีย์ทางรถไฟ ทางน้ำ และทางอากาศ แปรเปลี่ยนมาเป็นเครือข่ายไปรษณีย์ไทย 4.0 ซึ่งเกิดจาก ธุรกิจ e-Commerce หรือการจับจ่ายซื้อของออนไลน์ และ e-Payment มีความทันสมัยที่สุด และส่งผลทำให้ธุรกิจ Logistic (การขนส่งพัสดุรายย่อย) เติบโตอย่างก้าวกระโดด มีมูลค่าไม่ต่ำกว่า 27,000 ล้านบาทต่อปี และยังเกิดให้มีบริษัทไทย และบริษัทร่วมทุนจากต่างประเทศเข้ามาลงทุนแข่งขันในธุรกิจนี้อย่างต่อเนื่อง ไปรษณีย์ไทยยังเป็นผู้นำในตลาดขนส่ง
ด้วยส่วนแบ่งการตลาดโดยรวมทั่วประเทศอยู่ที่ 55%


โครงการสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน โดยพระราชประสงค์ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว.  (2538).  ตราไปรษณียากรไทย ใน สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน โดยพระราชประสงค์ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว (เล่ม 2, น. 223-251).  กรุงเทพฯ: ผู้แต่ง. http://kanchanapisek.or.th/kp6/sub/book/book.php?book=2&chap=10&page=t2-10-infodetail03.html

วันไปรษณีย์โลก 9 ตุลาคม.  (ม.ป.ป.). เข้าถึงได้จาก  http://irrigation.rid.go.th/rid14/const2/omd14/Datebooks/9%20October/9%20October.htm

 

วันไปรษณีย์โลก  World Postal Day