การอบรม AUN-QA Overview และแนวทางการประเมินตนเองโดยเกณฑ์ AUN-QA

การอบรม AUN-QA Overview และแนวทางการประเมินตนเองโดยเกณฑ์ AUN-QA เมื่อวันศุกร์ที่ 28 พฤษภาคม 2564 เวลา 08.30 – 12.30 น. สำนักประกันคุณภาพการศึกษา มหาวิทยาลัยสยาม ได้จัดอบรม เรื่อง AUN-QA Overview และแนวทางการประเมินตนเองโดยเกณฑ์ AUN-QA ผ่านโปรแกรม MS Teams วิทยากรผู้บรรยาย โดยศาสตราจารย์คลินิก นายแพทย์สุวัฒน์ เบญจพลพิทักษ์ คณบดีคณะแพทยศาสตร์ ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญระบบเกณฑ์คุณภาพ AUN-QA  ทั้งนี้มีบุคลากรของสำนักหอสมุดและทรัพยากรสารสนเทศ เข้ารับการอบรมในครั้งนี้ จำนวน 2 คน ได้แก่  1. อาจารย์สุธน สุภาวงศ์ 2.นางพรรณี จิวพุทธิธรรม ในการจัดอบรมครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรม ได้มีความรู้และเข้าใจเกี่ยวกับหลักเกณฑ์ของระบบ AUN-QA และแนวทางการประเมินตนเองโดยใช้เกณฑ์ AUN-QA  เพื่อพร้อมรับการประเมินคุณภาพภายในระดับหลักสูตร

ซึ่งผู้เข้ารับการอบรม ได้รับองค์ความรู้เกี่ยวกับหลักเกณฑ์ของระบบ AUN-QA VERSION 4.0 (ASEAN University Network Quality Assurance VERSION 4.0) ทั้ง 8 Criteria ดังนี้

  1. AUN Criteria 1: Expected Learning Outcomes  (ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง)
  2. AUN Criteria 2: Programme Structure and Content (โครงสร้างหลักสูตรและเนื้อหาหลักสูตร)
  3. AUN Criteria 3: Teaching and Learning Approach  (การจัดการเรียนการสอน)
  4. AUN Criteria 4: Student Assessment  (การประเมินนักศึกษา)
  5. AUN Criteria 5: Academic Staff (อาจารย์)
  6. AUN Criteria 6: Student Support Services (การบริการเพื่อการสนับสนุนนักศึกษา)
  7. AUN Criteria 7: Facilities and Infrastructure (โครงสร้างพื้นฐานและสิ่งอำนวยความสะดวก)
  8. AUN Criteria 8: Output and Outcomes (ผลผลิตและผลลัพธ์)

การประกันคุณภาพการศึกษาในอาเซียน (ASEAN University Network Quality Assurance – AUN-QA)

ในส่วนของหน่วยงานสนับสนุน มี Criteria และเกณฑ์การประเมินที่เกี่ยวข้องกับห้องสมุด ดังนี้

AUN Criteria 6: Student Support Services (การบริการเพื่อการสนับสนุนนักศึกษา)

6.5 The competences of the support staff rendering student services are shown to be identified for recruitment and deployment. These competences are shown to be evaluated to ensure their continued relevance to stakeholders needs. Roles and relationships are shown to be well-defined to ensure smooth delivery of the services. (สมรรถนะของบุคลากรสายสนับสนุนแสดงให้เห็นว่า ได้ถูกกำหนดเพื่อใช้ในการสรรหาบุคลากรและบรรจุแต่งตั้ง เพื่อทำให้มั่นใจได้ว่า บุคลากรสายสนับสนุนมีสมรรถนะที่เพียงพอและตอบสนองความต้องการของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย)

AUN Criteria 7: Facilities and Infrastructure (โครงสร้างพื้นฐานและสิ่งอำนวยความสะดวก)

7.3 A digital library is shown to be set-up, in keeping with progress in information and communication technology. (ห้องสมุดดิจิทัลแสดงให้เห็นว่า มีความสอดคล้องกับความก้าวหน้าของเทคโนโลยีสารสนเทศและเทคโนโลยีการสื่อสาร)

7.8 The competences of the support staff rendering services related to facilities are shown to be identified and evaluated to ensure that their skills remain relevant to stakeholder needs. (สมรรถนะของบุคลากรสายสนับสนุน ซึ่งทำหน้าที่ให้บริการที่เกี่ยวกับสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ แสดงให้เห็นว่า ได้มีการกำหนดและประเมินสมรรถนะ เพื่อให้มั่นใจว่าบุคลากรสายสนับสนุนยังคงมีทักษะที่สามารถจะตอบสนองความต้องการของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียได้)

7.9 The quality of the facilities (library, laboratory, IT, and student services) are shown to be subjected to evaluation and enhancement. (คุณภาพของโครงสร้างพื้นฐานและสิ่งอำนวยความสะดวก (ห้องสมุด ห้องปฏิบัติการ เทคโนโลยีสารสนเทศ และบริการนักศึกษา) แสดงให้เห็นว่า ได้รับการประเมินและยกระดับ)

AUN Criteria 8: Output and Outcomes (ผลผลิตและผลลัพธ์)

8.5 Satisfaction level of the various stakeholders are shown to be established, monitored, and benchmarked for improvement. (ระดับความพึงพอใจของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียกลุ่มต่างๆ  แสดงให้เห็นว่า ได้มีการจัดเก็บและวิเคราะห์ กำกับติดตาม และเทียบเคียง เพื่อปรับปรุงให้ดีขึ้น)


การอบรม AUN-QA Overview และแนวทางการประเมินตนเองโดยเกณฑ์ AUN-QA