admin

วันนักข่าว

[box type=”note”]วันนักข่าว การประชุมก่อตั้งสมาคมนักข่าวแห่งประเทศไทย มีขึ้นที่ศาลานเรศวร สวนลุมพินี วันที่ 5 มีนาคม 2498[/box] ในจุลศักราช 1227 นำความรู้จากซีกโลกตะวันตกมาเผยแพร่ในสยามยุคปลายรัชกาลที่ 3   เป็นจดหมายเหตุของหมอบรัดเลย์ซึ่งเป็นหนังสือพิมพ์ฉบับแรกของสยาม  และยังเป็นรากฐานงานสื่อสารมวลชนในไทย  โดยเริ่มต้นในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4  ทรงดำริให้ตีพิมพ์ประกาศหลายฉบับสื่อสารกับประชาชน เช่น “ประกาศดาวหางขึ้นอย่าวิตก”  ให้ข้อเท็จจริงชี้ให้ประชาชนเห็นว่าดาวหางเป็นปรากฏการณ์ธรรมชาติ ดังนั้นจุดเริ่มต้นของสื่อสารมวลชนในไทย  เริ่มในสมัยรัชกาลที่ 4  ขณะที่ตอนนั้นสื่อมวลชน  ได้ทำหน้าที่ถ่ายทอดเรื่องราวต่างๆ และมีบทบาทอย่างมากในเหตุการณ์สำคัญของโลก  การทำหน้าที่ตีแผ่เรื่องราวทำให้สื่อมวลชนกลายเป็นกลุ่มคนที่ขับเคลื่อนสังคม  จากคนนำสาส์นจึงได้รับการขนานนามว่า “ฐานันดรที่ 4” คำๆ นี้เกิดขึ้นครั้งแรกในอังกฤษก่อนเผยแพร่ไปทั่วโลก [box type=”note”]”ฐานันดรที่ 4″  หมายถึง นักหนังสือพิมพ์ แต่ใน ปัจจุบัน หมายถึง สื่อโทรทัศน์  วิทยุรวมเป็นสื่อสารมวลชน เข้ามาแทนที่ (พลาดิศัย สิทธิธัญกิจ, ม.ป.ป., Thai PBS, 2559)[/box] การออกสื่อสมัยนั้นเหมือนการเล่าข่าว คนไทยยังรู้หนังสือไม่มาก มีผู้รู้ไปเล่าต่อ ยังไม่มีหนังสือพิมพ์ที่เป็นหลักฐานแท้จริง จนมาถึงในยุคสมัยของรัชกาลที่ 4 มีเจ้านายออกหนังสือมากขึ้น ก็เป็นที่นิยมอ่าน […]

วันนักข่าว Read More »

World Wildlife Day-วันคุ้มครองสัตว์ป่า พันธุ์พืช

3 มีนาคม เป็นวันสัตว์ป่าและพืชป่าโลก ซึ่งแปลมาจากชื่อภาษาอังกฤษ World Wildlife Day กำหนดขึ้นโดยมติที่ประชุมภาคีอนุสัญญาว่าด้วยการค้าระหว่างประเทศซึ่งชนิดสัตว์ป่าและพืชป่าที่ใกล้สูญพันธุ์ ครั้งที่ 16 หรือ CITES CoP16  ซึ่งจัดขึ้นที่กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย เมื่อวันที่ 3-14 มีนาคม 2556 เนื่องในโอกาสครบรอบ 40 ปีของการกำเนิดอนุสัญญาว่าด้วยการค้าระหว่างประเทศซึ่งชนิดสัตว์ป่าและพืชป่าที่ใกล้สูญพันธุ์ หรือ CITES ประเทศไทยในฐานะเจ้าภาพจัดการประชุมจึงเสนอขอความเห็นชอบในการกำหนดให้วันที่ 3 มีนาคม ซึ่งตรงกับวันที่มีการลงนามรับรองอนุสัญญา CITES ที่กรุงวอชิงตัน ดี ซี เมื่อปี พ.ศ. 2516 เป็นวันสัตว์ป่าและพืชป่าโลก โดยที่ประชุม CITES CoP16 ได้มีมติเอกฉันท์เห็นชอบในการกำหนดให้วันที่ 3 มีนาคม ของทุกปี เป็นวันสัตว์ป่าและพืชป่าโลก 20 ธันวาคม ปีเดียวกัน ที่ประชุมสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติ ครั้งที่ 68 ณ นครนิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา ได้ให้การรับรองและประกาศให้วันที่ 3

3 มีนาคม วันสัตว์ป่าและพืชป่าโลก Read More »

การประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 10 “Leading in a disruptive world”

โพสนี้ผมแอบก๊อปปี้มาจากต้นฉบับเลขาMBA คุณบุ๋ม เพื่อใช้เป็นกรณีศึกษาสำหรับเจ้าหน้าที่ห้องสมุดนะครับ ท่านสามารถไปดูโพสต้นฉบับจะอยู่ที่นี่ http://mba.siam.edu/2018/04/01/10th-national-academic-conference-2018/     การประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 10 ประจำปี 2561 (2018)  “Leading in a disruptive world” วันศุกร์ที่ 25 พฤษภาคม 2561 ณ ห้องออดิธอเรียม อาคารเฉลิมพระเกียรติ 19 ชั้น 19 มหาวิทยาลัยสยาม ในความร่วมมือ บัณฑิตวิทยาลัย สาขาบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยสยาม มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์) Guangxi University of Finance and Economics หลักการและเหตุผล ด้วยกระแสการเปลี่ยนแปลงในภาวะเศรษฐกิจสังคมปัจจุบันเป็นผลให้เกิดการพัฒนาและแลกเปลี่ยนของทุกภาคส่วน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องของการจัดการการลงทุน เศรษฐกิจ สังคม การปกครอง วัฒนธรรม ความรู้ต่างๆ และการเปิดเสรีในกลุ่มประเทศสมาชิกอาเซียน ด้วยเหตุนี้การจะพัฒนาสังคมและเศรษฐกิจในปัจจุบัน เพื่อตอบรับการรวมกลุ่มอาเซียนนั้นการจัดการความรู้ต่างๆในศาสตร์ด้านการบริหารธุรกิจและความเข้าใจในการรวมกลุ่มอาเซียนในทุกบริบทเป็นสิ่งจำเป็น โดยเฉพาะองค์ความรู้ที่ได้จากงานวิจัยต่างๆสามารถเป็นแรงขับเคลื่อนและนำมาประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ในการเปิดเสรีในด้านต่างๆอีกทั้งยังเป็นการสอดคล้องกับเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับอุดมศึกษา พ.ศ.2548 ของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.)

การประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 10 “Leading in a disruptive world” Read More »

วันมาฆบูชา-Makha Bucha Day

[box type=”note”] วันมาฆบูชา Makha Bucha Day เป็นวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 3 สำหรับในปี 2561 นี้ วันมาฆบูชา ตรงกับวันพฤหัสบดีที่ 1 มีนาคม   เป็นวันที่พระพุทธเจ้าแสดงโอวาทปาฎิโมกข์ และพระสงฆ์ 1,250 รูป มาประชุมพร้อมกันโดยมิได้นัดหมาย[/box] [quote arrow=”yes”]ความหมาย “วันมาฆบูชา”[/quote] มาฆบูชา ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554 หมายถึง การทำบุญพิเศษทาง พระพุทธศาสนาในวันเพ็ญเดือน 3 เพื่อระลึกถึงเหตุการณ์สำคัญซึ่งประกอบด้วยองค์ 4 ประการ (ราชบัณฑิตยสถาน, 2556, น. 901) วันเพ็ญดวงจันทร์เสวยมาฆฤกษ (ดวงจันทร์เดินมาถึงดาวฤกษ์ชื่อ มฆะ) พระสงฆ์ 1,250 รูป ประชุมกันโดยมิได้นัดหมาย พระสงฆ์ที่มาประชุมนั้นล้วนได้รับเอหิภิกขุอุปสัมปทา ท่านเหล่านั้นเป็นพระอรหันต์ทั้งสิ้น, วันจาตุรงคสันนิบาต ก็เรียก จาตุรงคสันนิบาต จึงหมายความว่า “การประชุมพร้อมด้วยองค์ 4 ประการ” (ราชบัณฑิตยสถาน,

วันมาฆบูชา Makha Bucha Day Read More »

แนะนำหนังสือ 1 มี.ค. 2561-ห้องสมุด-ม.สยาม-ห้องสมุด

[box type=”note”]ชื่อหนังสือ: เรียนรู้เรื่อง ซุ้มเฉลิมพระเกียรติแห่งกรุงเทพมหานคร ชื่อผู้แต่ง: กรุงเทพมหานคร. สำนักการโยธา   Call Number: อ 721.41 ร832 2560 รายละเอียด: แนะนำหนังสือ “เรียนรู้เรื่อง ซุ้มเฉลิมพระเกียรติแห่งกรุงเทพมหานคร” เล่มนี้เป็นหนังสือที่จัดทำขึ้นเพื่อรวบรวมองค์ความรู้และภาพประกอบอันเปี่ยมด้วยคุณค่าและความทรงจำเกี่ยวกับ “ซุ้ม” โดยภายในเล่มประกอบด้วยเนื้อหาที่เกี่ยวกับซุ้มในลักษณะต่างๆ โดยเฉพาะซุ้มเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ที่ได้รับการรังสรรค์ ภายใต้เจตนารมณ์ที่จะบันทึกเป็นเอกสารทางประวัติศาสตร์ ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความสำคัญ ความสวยงาม ตลอดจนความหมายที่ดีงามของ ซุ้มเฉลิมพระเกียรติ ที่ส่องสะท้อนถึงอัตลักษณ์ของวัฒนธรรมประจำชาติ และที่สำคัญยิ่งกว่านั้นคือ ความจงรักภักดีของชาวไทยที่น้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณของพระมหากษัตริย์ ผู้เป็นที่รักยิ่ง    อย่างหาที่สุดมิได้[/box] [box] ชื่อหนังสือ: โครงการพระราชดำริแก้มลิง ชื่อผู้แต่ง: ฝ่ายวิชาการ สถาพรบุ๊คส์, ผู้เรียบเรียง Call Number: อ 672.52 ค961 2560 รายละเอียด: แนะนำหนังสือ “โครงการพระราชดำริแก้มลิง” เล่มนี้เป็นอีกเล่มหนึ่งในหนังสือชุด “ศาสตร์พระราชา” โดยได้น้อมนำโครงการตามพระราชดำริที่เป็นแบบอย่างอันดี ในการศึกษาหลักการทรงงานของพระองค์ท่าน ซึ่งมีหลักการสำคัญคือ  “เข้าใจ เข้าถึง

แนะนำหนังสือ 1 มี.ค. 2561 Read More »

พระราชวรวงศ์เธอกรมหมื่นพิทยาลงกรณ์ พระบิดาของสหกรณ์ในประเทศไทย

[box type=”note”] “การที่บุคคลหนึ่งบุคคลใดจะออมทรัพย์ไว้ได้มากหรือน้อยนั้น  ก็ย่อมจะต่างกันตามกำลังทรัพย์กำลังปัญญาของตน  แต่ทุกๆ คนต้องเข้าใจว่า  ถึงจะออมทรัพย์ได้ที่ละเล็กละน้อยก็เป็นประโยชน์แก่ตนและบ้านเมืองทั้งนั้น” พระราชดำรัส พระราชวรวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยาลงกรณ์ [/box] วันสหกรณ์แห่งชาติ ตรงกับวันที่ 26 กุมภาพันธ์ ของทุกปี สืบเนื่องมาจากสหกรณ์ในประเทศต่างๆ เจริญก้าวหน้าส่งผลดีในการพัฒนาประเทศ สำหรับประเทศไทยเมื่อ พ.ศ. 2458 นโยบายแห่งรัฐ เห็นสมควรนำวิธีการสหกรณ์ เข้ามาช่วยพัฒนาประเทศให้ประชาชนได้หลุดพ้นจากความยากจน โดยเฉพาะเกษตรกร พระราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้ารัชนีแจ่มจรัส กรมหมื่นพิทยาลงกรณ์ พระบิดาแห่งการสหกรณ์ไทย ได้ทรงส่งเสริมให้ก่อตั้งสหกรณ์แห่งแรกคือ “สหกรณ์วัดจันทร์ ไม่จำกัดสินใช้” ณ ตำบลวัดจันทร์ อำเภอเมืองพิษณุโลก จังหวัดพิษณุโลก และทรงเป็นนายทะเบียนสหกรณ์(พระองค์แรก) รับจดทะเบียนเป็นสหกรณ์แห่งแรก เมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2459 ตามรูปแบบสหกรณ์ เครดิตแบบไรฟ์ไฟเซน ที่ได้รับความสำเร็จ มาแล้วใน อินเดีย และพม่า ซึ่งทั้งสองประเทศได้ส่งคนไปศึกษาจากประเทศเยอรมนี และเมื่อวันที่ 9 ตุลาคมพ.ศ. 2527 ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีมีมติกำหนดให้วันที่ 26 กุมภาพันธ์ ของทุกปี

26 กุมภาพันธ์ วันสหกรณ์แห่งชาติ Read More »

วันวิทยุกระจายเสียง

[quote arrow=”yes”]ที่มาของ คำว่า “วิทยุกระจายเสียง”[/quote] คำว่า “วิทยุกระจายเสียง” นี้เดิมทีเดียว เรายังไม่มีคำใช้เรียกกันเป็นภาษาไทย  จอมพลเรือ กรมพินิจพระนครสวรรค์วรพินิจ ทรงใช้วิธีเรียกทับศัพท์ “Radio Telegraph” ว่า “ราดิโอโทรเลข” ต่อมาภายหลังพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงทรงบัญญัติใช้คำว่า “วิทยุ” แทนคำว่า “ราดิโอ” ต่อมาราชบัณฑิตยสสถาน จึงได้ให้ใช้คำเต็ม เป็นทางการ “วิทยุกระจายเสียง” ซึ่งมีความหมายตรงกับคำภาษาอังกฤษว่า Radio Broadcasting นั่นเอง (จุฑารัตน์  โสดาศรี, ม.ป.ป) วิทยุกระจายเสียงในประเทศไทยเริ่มมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2447 อันเป็นรัชสมัยสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งพอสรุปประวัติโดยย่อดังนี้ (บุญเกื้อ  ควรหาวช, 2545, วิกิพีเดียสารานุกรมเสรี, ม.ป.ป.) พ.ศ. 2447 เมื่อห้าง บี.กริม ซึ่งเป็นผู้แทนวิทยุและโทรทัศน์เยอรมัน ชื่อ เทเลฟุงเกน ได้นำเครื่องวิทยุโทรเลข เข้ามาตั้งเครื่องรับส่งวิทยุโทรเลขมาสองชุด โดยทดลองในกรุงเทพฯ และเกาะสีชัง หลังจากนั้นทางราชการกองทัพเรือ และกองทัพบกจึงได้นำเครื่องรับส่งวิทยุโทรเลขขนาดเล็ก มาใช้ราชการในเรือรบและในงานสนาม ในปี

วันวิทยุกระจายเสียงแห่งชาติ Read More »

วันศิลปินแห่งชาติ

[box type=”note” ]  พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ 2 มีพระอัจฉริยภาพในงานศิลปะหลายสาขา ทรงมีพระปรีชาสามารถในศิลปกรรม ทรงอุปถัมภ์บำรุงศิลปกรรมแขนงต่าง ๆ ตลอดจนทรงส่งเสริมเชิดชูศิลปินผู้มีฝีมือมาตลอดรัชสมัยพระองค์  เพื่อแสดงความระลึกถึงวันคล้ายพระราชสมภพของพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย (วันที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2310) เอกอัครศิลปินที่ยิ่งใหญ่ที่สุดแห่งกรุงรัตนโกสินทร์  จึงได้ถือเอาวันที่ 24 กุมภาพันธ์ ของทุกปี เป็นวันศิลปินแห่งชาติ[/box] พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยมีพระอัจฉริยภาพในงานศิลปะหลายสาขา ทั้งทางด้านประติมากรรม ได้ทรงร่วมกับช่างประติมากรรมฝีมือเยี่ยมในสมัยนั้นแกะสลักบานประตูไม้พระวิหาร วัดสุทัศน์เทพวรารามเป็นลายเครือเถารูปป่าหิมพานต์นับเป็นงานฝีมือชั้นเยี่ยมด้านวรรณกรรม ถือว่าทรงเป็นกวีเอกแห่งแผ่นดินพระองค์หนึ่ง[divide icon=”circle” width=”medium”] ทรงพระราชนิพนธ์วรรณกรรมไว้จำนวนมากมายหลายเรื่อง เช่น อิเหนา ซึ่งเป็นวรรณคดีที่ได้รับการยกย่องจากวรรณคดีสโมสรในรัชกาลที่ 6 ว่าเป็นยอดของกลอนบทละครรำ นอกจากนี้ยังทรงพระราชนิพนธ์ บทละครนอก 5 เรื่อง ได้แก่ ไกรทอง พระไชยเชษฐ์ คาวี สังข์ทอง และมณีพิชัย [divide icon=”circle” width=”medium”] ด้วยพระปรีชาสามารถของพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ในด้านวรรณกรรม  ทรงได้รับการยกย่องจากองค์การศึกษาวิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (UNESCO) ให้เป็นบุคคลสำคัญของโลกสาขาวรรณกรรม  และเพื่อเป็นการยกย่องศิลปินผู้สร้างสรรค์ผลงาน ทางกรมส่งเสริมวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรมจึงได้มอบรางวัลให้แก่ ศิลปินที่มีผลงานดีเด่นในด้านต่าง ๆ ทั้งนี้เพื่อเป็นการยกย่องและเชิดชูเกียรติศิลปิน [quote

วันศิลปินแห่งชาติ Read More »

wordcamp bangkok 2018

WordCamp Bangkok 2018 รอบ Conference Day จัดขึ้นในวันอาทิตย์ที่ 18 กุมภาพันธ์ 2018 ที่ มหาวิทยาลัยสยาม ตึก 19 โดยในปีนี้มีผู้เข้าลงทะเบียนเข้าร่วมงานมากกว่า 500 คน งานในปีนี้มีการแบ่งออกเป็น 2 วัน ชื่องาน Contributor Day และ Conference Dayโดยในครั้งนี้ห้องสมุดส่งเจ้าหน้าที่เข้าร่วมกิจกรรม 1 คน ในงาน Conference Day ภายในงานแบ่งเป็น 3 Track  เปิดเวทีคู่ขนานกันไป เริ่มเวลาประมาณ 09.00 น.โดยแต่ละห้องจะมีหัวข้อการสัมนาแตกต่างกันไป ผู้เข้าร่วมงานต้องเลือกเข้าฟังกิจกรรมที่ตนเองสนใจเป็นพิเศษ โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้ [quote font_size=”18″ color=”#ffdf42″ bgcolor=”#0066cc” bcolor=”#ffdf42″ arrow=”yes”]รอบเช้า Track 1[/quote] แนวทางการสร้าง Thought Leadership ให้กับแบรนด์ผ่านการเขียน Blog by Jakrapong Kongmalai

งาน WordCamp Bangkok 2018 มหาวิทยาลัยสยาม Read More »

แนะนำหนังสือ 16 ก.พ. 2561

[box type=”note”]ชื่อหนังสือ: โครงการพระราชดำริฝนหลวง ชื่อผู้แต่ง: ฝ่ายวิชาการ สถาพรบุ๊คส์, ผู้เรียบเรียง   Call Number: อ 551.577 ค961 2560 รายละเอียด: แนะนำหนังสือ “โครงการพระราชดำริฝนหลวง” เล่มนี้เป็นอีกเล่มหนึ่งในหนังสือชุด “ศาสตร์พระราชา” โดยได้น้อมนำโครงการตามพระราชดำริที่เป็นแบบอย่างอันดี ในการศึกษาหลักการทรงงานของพระองค์ท่าน ซึ่งมีหลักการสำคัญคือ  “เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา” เพื่อเป็นแรงบันดาลใจที่จะน้อมเกล้าน้อมกระหม่อมนำหลักคิดและพระราชกรณียกิจของพระองค์ไปศึกษาค้นคว้าและประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์แก่ตนเองและประเทศชาติสืบไป สำหรับโครงการพระราชดำริฝนหลวงเกิดขึ้นจากพระราชดำริส่วนพระองค์ เมื่อคราวเสด็จเยี่ยมราษฎรในพื้นที่แห้งแล้งทุรกันดาร 15 จังหวัด ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เมื่อพ.ศ. 2598 ทรงทราบถึงความเดือนร้อนทุกข์ยากของราษฎรที่ขาดแคลนน้ำอุปโภคบริโภคและการเกษตร ซึ่งในเส้นทางการเสด็จพระราชดำเนินในเวลานั้นทรงสังเกตเห็นว่ามีเมฆปริมาณมากปกคลุมท้องฟ้า   แต่ไม่สามารถก่อตัวจนเกิดเป็นฝนได้ จึงเริ่มทรงงานโดยใช้เวลาในการวิเคราะห์ วิจัย ศึกษาหาข้อมูลต่างๆกับผู้ที่เกี่ยวข้อง จึงเป็นที่มาของ “โครงการพระราชดำริฝนหลวง” ซึ่งเนื้อหาภายในเล่มนำเสนอในรูปแบบสองภาษา ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ[/box] [box] ชื่อหนังสือ: จดหมายเหตุการบูรณปฏิสังขรณ์เทวสถาน สำหรับพระนคร ชื่อผู้แต่ง: อนุชา เสมารัตน์…[และคนอื่น ๆ], บรรณาธิการ Call Number: อ 294.5

แนะนำหนังสือ 16 ก.พ. 2561 Read More »

วันตรุษจีน Chinese New Year

[box type=”note”] “ซินเจีย อยู่อี่ ซินนี่ ฮวดใช้” วันตรุษจีน Chinese New Year เป็นวันขึ้นปีใหม่ตามปฎิทินจีน สำหรับในปี 2561 นี้ วันตรุษจีน ตรงกับวันศุกร์ที่ 16 กุมภาพันธ์   ถือเป็นเทศกาลสำคัญของชาวจีน เป็นวันหยุดตามประเพณีของจีนที่สำคัญที่สุด ในประเทศจีน ยังมีอีกชื่อหนึ่งว่า “เทศกาลฤดูใบไม้ผลิ” ในประเทศไทยคนไทยเชื้อสายจีนก็จะเตรียมของไหว้บรรพบุรุษ เป็นวันรวมตัวของญาติๆ ที่จะได้มาพบปะกันด้วย[/box] [quote arrow=”yes”]ที่มาของ วันตรุษจีน (Chinese New Year) [/quote] เชื่อกันว่าประเพณีนี้มีมานานกว่าสี่พันปีแล้ว จัดขึ้นเพื่อฉลองเทศกาลฤดูใบไม้ผลิ เดิมที่ไม่ได้เรียกว่าเทศกาลตรุษจีน แต่มีชื่อเรียกต่างกันตามยุคสมัย คือเมื่อ 2100 ปีก่อนคริสตศักราชจะเรียกว่า “ซุ่ย” มีความหมายถึงการโคจรครบหนึ่งรอบของดาวจูปิเตอร์ ต่อมาในยุค 1000 กว่าปีก่อนคริสตศักราช เทศกาลตรุษจีนจะถูกเรียกว่า “เหนียน” หมายถึงการเก็บเกี่ยวได้ผลอุดมสมบูรณ์ และยังมีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า “วันชุงเจ๋” ซึ่งหมายถึงเทศกาลดูใบไม้ผลิ หรือขึ้นปีเพาะปลูกใหม่ เพราะช่วงก่อนตรุษจีนนั้น ตรงกับฤดูหนาว ไม่สามารถทำการเกษตรได้ ดังนั้นเมื่อเข้าสู่ฤดูใบไม้ผลิที่มีอากาศเหมาะสมแก่การเพาะปลูก ชาวจีนจึงสามารถทำนา ทำสวน ได้อีกครั้งหลังจากผ่านพ้นฤดูหนาวมานั่นเอง

วันตรุษจีน Chinese New Year Read More »

Valentine's Day-วันวาเลนไทน์ 14 กุมภาพันธ์ วันแห่งความรัก

[quote arrow=”yes”]ประวัติ วันวาเลนไทน์ (Valentine’s Day)[/quote] ประวัติความเป็นมาของ วันวาเลนไทน์ เราคงจะได้รับฟังต่อๆ กันมาว่ามีที่มาจากประวัติของ เซนต์วาเลนไทน์ (Saint Valentine) นักบวช ผู้เปี่ยมไปด้วยเมตตา ต่อเพื่อนมนุษย์ แม้ว่าสุดท้ายแล้วชีวิตของเขาจะต้องจบลงด้วยการถูกโทษประหาร ในวันที่ 14 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 270 หรือประมาณหนึ่งพันเจ็ดร้อยกว่าปีมาแล้ว ซึ่งในยุคนัั้นอยู่ในช่วงของจักรวรรดิโรมันเรืองอำนาจ ศาสนาคริสต์ยังไม่ปรากฎเป็นที่ยอมรับ และถูกบดขยี้โดยผู้ที่มีอำนาจในยุคนั้น แต่ก็ยังมีอีกหลากหลายประวัติที่หลายคนก็ยังไม่เคยรู้ สำหรับอีกประวัติที่เป็นที่มาของเทศกาลวาเลนไทน์ (Valentine’s Day) ซึ่งเป็นเรื่องราวที่ถูกปฎิเสธโดยคริสตจักรนั้น เกิดขึ้นมาตั้งแต่สมัยจักรวรรดิโรมัน ในกรุงโรมสมัยก่อน โดยในวันที่ 14 กุมภาพันธ์ จะเรียกว่าเป็นวันเฉลิมฉลองของจูโน่ “Juno Februata” ซึ่งเป็นเทพธิดาองค์หนึ่งในเหล่าทวยเทพและสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่ชาวโรมันบูชาและนับถือ ชาวโรมันรู้เชิดชูเทพธิดาองค์นี้ในฐานะของเทพธิดาแห่งอิสตรีและการแต่งงาน และในวันถัดมาคือวันที่ 15 กุมภาพันธ์ ก็จะเป็นวันเริ่มต้นงานเลี้ยงของ Lupercalia การดำเนินชีวิตของเด็กหนุ่มและเด็กสาวในสมัยนั้นจะถูกแยกจากกันอย่างเด็ดขาด แต่อย่างไรก็ตาม ยังมีประเพณี อย่างนึง ซึ่งเด็กหนุ่มสาวยังสืบทอดต่อกันมา คือ คืนก่อนวันเฉลิมฉลอง Lupercalia นั้นชื่อของเด็กสาวทุกคนจะถูกเขียนลงในเศษกระดาษเล็ก ๆ และจะใส่เอาไว้ในเหยือก เด็กหนุ่มแต่ละคนจะดึงชื่อของเด็กสาวออกจากเหยือก

Valentine’s Day-วันวาเลนไทน์ 14 กุมภาพันธ์ วันแห่งความรัก Read More »