Phunnee Jewbuddhidham

การประชุมเครือข่ายความร่วมมือ กลุ่มสมาชิก TU-THAIPUL ครั้งที่ 3/2562 เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 3 กันยายน 2562  เวลา 09.30 –14.00 น. บุคลากรของสำนักหอสมุดและทรัพยากรสารสนเทศ มหาวิทยาลัยสยาม (นางพรรณี จิวพุทธิธรรม และ นายทศพร ศิริโชคทรัพย์) ได้เข้าร่วม การประชุมเครือข่ายความร่วมมือ กลุ่มสมาชิก TU-THAIPUL ครั้งที่ 3 ประจำปี 2562 ณ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ ซึ่งจัดขึ้นโดยบริษัท EBSCO มีสถาบันที่เข้าร่วมประชุมกลุ่มสมาชิก TU-THAIPUL ในครั้งนี้ 9 สถาบัน ได้แก่ ห้องสมุดมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, ห้องสมุดมหาวิทยาลัยมหิดล, ห้องสมุดมหาวิทยาลัยรังสิต, ห้องสมุดมหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์, ห้องสมุดมหาวิทยาลัยกรุงเทพ, ห้องสมุดมหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช, ห้องสมุดมหาวิทยาลัยศรีปทุม   ห้องสมุดมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย  และห้องสมุดมหาวิทยาลัยสยามซึ่งเป็นสมาชิกที่ใช้ระบบ EDS (EBSCO Discovery Service) ที่มีความร่วมมือกันทำข้อตกลงในการให้บริการยืมระหว่างห้องสมุดหรือที่เรียกว่า ILL (Inter […]

การประชุมเครือข่ายความร่วมมือ กลุ่มสมาชิก TU-THAIPUL ครั้งที่ 3/2562 Read More »

สำนักหอสมุดและทรัพยากรสารสนเทศ มหาวิทยาลัยสยาม ได้ดำเนินการตรวจประเมินคุณภาพภายในระดับสำนัก อย่างต่อเนื่องมาตั้งแต่ปีการศึกษา 2544 จนถึงปัจจุบัน ในปีการศึกษา 2561 เป็นการตรวจการดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษาภายในระดับสำนัก ปีที่/ครั้งที่ 18  สำนักหอสมุดและทรัพยากรสารสนเทศ รับการตรวจประเมินคุณภาพภายในระดับสำนัก ประจำปีการศึกษา 2561 ในวันศุกร์ที่ 27 กันยายน 2562 เวลา 13.30-16.30 น. โดยคณะกรรมการตรวจประเมินคุณภาพภายในระดับสำนัก จำนวน 3 ท่าน ได้แก่ ศาสตราจารย์ ดร.ชนิตา  รักษ์พลเมือง ประธานกรรมการ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ธัญญาภรณ์ ศิริเลิศ กรรมการ ดร.สมพร  ปานยินดี  กรรมการและเลขานุการ ผลการตรวจประเมินคุณภาพภายในของสำนักหอสมุดและทรัพยากรสารสนเทศ ใน 3 องค์ประกอบ 13 ตัวบ่งชี้ ได้คะแนนผลการประเมินจากคณะกรรมการ คะแนนเฉลี่ยโดยรวมอยู่ในระดับพอใช้ อยู่ที่ 3.15 คะแนน (คะแนนลดลงจากการประเมินตนเองของสำนักฯที่ได้ประเมินตนเองไว้ที่ 3.84 คะแนน)      สรุปคะแนนผลการประเมินคุณภาพการศึกษาภายในรายตัวบ่งชี้

การตรวจประเมินคุณภาพภายในระดับสำนัก ประจำปีการศึกษา 2561 Read More »

รายงานการประเมินตนเอง SELF-ASSESSMENT REPORT (SAR) สำนักหอสมุดและทรัพยากรสารสนเทศ มหาวิทยาลัยสยาม ปีการศึกษา 2561 ส่วนที่ 1: ข้อมูลทั่วไปของสำนักหอสมุดและทรัพยากรสารสนเทศ ส่วนที่ 2: การประเมินตนเองตามองค์ประกอบ ผลการประเมินตนเอง ตามองค์ประกอบ ตัวบ่งชี้ และเกณฑ์มาตรฐาน ในการประกันคุณภาพภายใน  สำนักหอสมุดและทรัพยากรสารสนเทศ ปีการศึกษา 2561 เกณฑ์การประเมิน ผลการประเมินโดยคณะกรรมการผู้ตรวจประเมิน ปีการศึกษา 2561 ตัวตั้ง ตัวหาร ผลลัพธ์ คะแนน องค์ประกอบที่ 1  ปรัชญา ปณิธาน วัตถุประสงค์และแผนการดำเนินการ 3/1 3.00 ตัวบ่งชี้ 1.1 กระบวนการพัฒนาแผน 5 ข้อ 3.00 องค์ประกอบที่ 2  การดำเนินงานตามภารกิจของหน่วยงาน (16.92/6) 2.82 ตัวบ่งชี้ 2.1  มีระบบและกลไกในการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารต่างๆของหน่วยงาน 6 ข้อ 4.00 ตัวบ่งชี้ 2.2 

รายงานการประเมินตนเอง (SAR) ปีการศึกษา 2561 Read More »

การประกันคุณภาพการศึกษา-ระดับความสำเร็จของการส่งเสริมการใช้บริการห้องสมุดและทรัพยากรสารสนเทศ –สำนักหอสมุดและทรัพยากรสารสนเทศ ปีการศึกษา 2561 องค์ประกอบที่ 2 การดำเนินงานตามภารกิจของหน่วยงาน ตัวบ่งชี้คุณภาพ 2.6 ระดับความสำเร็จของการส่งเสริมการใช้บริการห้องสมุดและทรัพยากรสารสนเทศ คำอธิบายตัวบ่งชี้: การส่งเสริมการใช้บริการห้องสมุดและทรัพยากรสารสนเทศ ถือเป็นภารกิจที่สำคัญของสำนักหอสมุดและทรัพยากรสารสนเทศ เพื่อก่อให้เกิดการใช้ทรัพยากรสารสนเทศอย่างคุ้มค่าและเกิดประโยชน์สูงสุด เกณฑ์มาตรฐานการประเมิน 5  ข้อ ดังนี้ มีแผนการส่งเสริมการใช้บริการห้องสมุดและทรัพยากรสารสนเทศ มีการดำเนินงานตามแผน มีการประเมินผลความสำเร็จการบรรลุเป้าหมายตามแผนการส่งเสริมการใช้บริการห้องสมุดและทรัพยากรสารสนเทศไม่ต่ำกว่าร้อยละ 80 มีการนำข้อเสนอแนะจากการประเมินมาปรับปรุงและพัฒนาการดำเนินงาน มีผลการปรับปรุงเห็นชัดเจนเป็นรูปธรรมและมีผลการดำเนินงานที่ดีขึ้น เกณฑ์การประเมิน ระดับคะแนน 1 2 3 4 5 1 ข้อ 2 ข้อ 3 ข้อ 4  ข้อ 5 ข้อ หลักฐานที่ต้องการ: แผนงาน/โครงการ/กิจกรรมการส่งเสริมการใช้บริการห้องสมุดและทรัพยากรสารสนเทศ สรุปผลการดำเนินงานตามแผนงาน/โครงการ/กิจกรรมการส่งเสริมการใช้บริการห้องสมุดและทรัพยากรสารสนเทศ แผนพัฒนาปรับปรุงจากผลการประเมิน ผลการดำเนินงานของสำนักหอสมุดและทรัพยากรสารสนเทศ ตามเกณฑ์มาตรฐาน  ตัวบ่งชี้ที่ 2.6 ระดับความสำเร็จของการส่งเสริมการใช้บริการห้องสมุดและทรัพยากรสารสนเทศ เกณฑ์มาตรฐาน: 1. มีแผนการส่งเสริมการใช้บริการห้องสมุดและทรัพยากรสารสนเทศ  ผลการดำเนินงาน: ในปีการศึกษา 2561 สำนักฯได้วางแผนงานส่งเสริมการใช้บริการห้องสมุดและทรัพยากรสารสนเทศ โดยได้กำหนดตัวบ่งชี้ความสำเร็จของแผนงาน

การประกันคุณภาพ-ระดับความสำเร็จของการส่งเสริมการใช้บริการห้องสมุดและทรัพยากรสารสนเทศ 2561 Read More »

การประกันคุณภาพการศึกษา-ระบบการพัฒนาบุคลากร –สำนักหอสมุดและทรัพยากรสารสนเทศ ปีการศึกษา 2561 องค์ประกอบที่ 3 การบริหารจัดการ ตัวบ่งชี้คุณภาพ 3.3 ระบบการพัฒนาบุคลากร คำอธิบายตัวบ่งชี้: ในการปฏิบัติงานของหน่วยงาน จำเป็นต้องมีการบริหารและพัฒนาบุคลากรอย่างเหมาะสมทั้งในด้านเทคนิคการปฏิบัติงาน และความรู้อื่นที่ประกอบการปฏิบัติงานให้เกิดประสิทธิภาพประสิทธิผล  ตามเป้าหมายของหน่วยงาน เกณฑ์มาตรฐานการประเมิน 7  ข้อ ดังนี้ มีแผนการบริหารและพัฒนาบุคลากรในหน่วยงาน การบริหารงานเป็นไปตามแผนที่กำหนด มีสวัสดิการและการสร้างขวัญและกำลังใจให้บุคลากรทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีระบบการติดตามให้บุคลากรนำความรู้และทักษะที่ได้จากการพัฒนามาใช้ในการปฏิบัติงาน มีการให้ความรู้ด้านจรรยาบรรณแก่บุคลากร มีการประเมินผลการดำเนินงานด้านการพัฒนาบุคลากร การนำผลการประเมินไปปรับปรุงการบริหารงานบุคลากร เกณฑ์การประเมิน ระดับคะแนน 1 2 3 4 5 1 ข้อ 2 ข้อ 3-4 ข้อ 5-6  ข้อ 7 ข้อ หลักฐานที่ต้องการ: แผนการบริหารบุคลากร และแผนงานพัฒนาบุคลากรของหน่วยงาน ระบบสวัสดิการที่จัดภายในหน่วยงานและระบบการสร้างขวัญกำลังใจ หลักฐานการนำความรู้และทักษะมาใช้ในการปฏิบัติงาน หลักฐานการประเมินผลการดำเนินการด้านการพัฒนาบุคลากรและแนวทางการปรับปรุง ผลการดำเนินงานของสำนักหอสมุดและทรัพยากรสารสนเทศ ตามเกณฑ์มาตรฐาน  ตัวบ่งชี้ที่ 3.3 ระบบการพัฒนาบุคลากร เกณฑ์มาตรฐาน: 1.

การประกันคุณภาพ-ระบบการพัฒนาบุคลากร 2561 Read More »

การประกันคุณภาพ-การพัฒนาหน่วยงานสู่การเป็นองค์กรการเรียนรู้ –สำนักหอสมุดและทรัพยากรสารสนเทศ ปีการศึกษา 2561 องค์ประกอบที่ 3 การบริหารจัดการ ตัวบ่งชี้คุณภาพ 3.2 การพัฒนาหน่วยงานสู่การเป็นองค์กรการเรียนรู้ คำอธิบายตัวบ่งชี้: มาตรฐานการอุดมศึกษาข้อที่ 3 กำหนดให้สถาบันมีการสร้างและพัฒนาสังคมฐานความรู้และสังคมแห่งการเรียนรู้ ซึ่งต้องมีการจัดการความรู้เพื่อมุ่งสู่การเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ โดยมีการรวบรวมองค์ความรู้ที่มีอยู่ในคณะซึ่งกระจัดกระจาย อยู่ในตัวบุคคลหรือเอกสารมาพัฒนาให้เป็นระบบ  เพื่อให้ทุกคนในหน่วยงานสามารถเข้าถึงความรู้ และพัฒนาตนเองให้เป็นผู้รู้ รวมทั้งปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ อันจะส่งผลให้หน่วยงาน มีความสามารถในเชิงแข่งขัน กระบวนการในการบริหารจัดการความรู้ในหน่วยงานประกอบด้วย การระบุความรู้ การคัดเลือก การรวบรวม การจัดเก็บความรู้ การเข้าถึงข้อมูล และการแลกเปลี่ยนความรู้ทั้งภายในและภายนอกสถาบัน การสร้างบรรยากาศและวัฒนธรรมการเรียนรู้ภายในหน่วยงานการกำหนดแนววิธีปฏิบัติงาน ตลอดจนการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการความรู้ในสถาบันให้ดียิ่งขึ้น เกณฑ์มาตรฐานการประเมิน 5  ข้อ ดังนี้ . มีการกำหนดประเด็นความรู้และเป้าหมายของการจัดการความรู้ที่สอดคล้องกับแผนกลยุทธ์ของหน่วยงานอย่างน้อยครอบคลุมพันธกิจ  กำหนดบุคลากรกลุ่มเป้าหมายที่จะพัฒนาความรู้และทักษะด้านการปฏิบัติงานชัดเจนตามประเด็นความรู้ที่กำหนดในข้อ 1 มีการแบ่งปันและแลกเปลี่ยนเรียนรู้จากความรู้ ทักษะของผู้มีประสบการณ์ตรง (tacit knowledge) เพื่อค้นหาแนวปฏิบัติที่ดีตามประเด็นความรู้ที่กำหนดในข้อ 1 และเผยแพร่ไปสู่บุคลากรกลุ่มเป้าหมายที่กำหนด มีการรวบรวมความรู้ตามประเด็นความรู้ที่กำหนดในข้อ 1 ทั้งที่มีอยู่ในตัวบุคคลและแหล่งเรียนรู้อื่นๆ ที่เป็นแนวปฏิบัติที่ดีมาพัฒนาและจัดเก็บอย่างเป็นระบบโดยเผยแพร่ออกมาเป็นลายลักษณ์อักษร (explicit knowledge) มีการนำความรู้ที่ได้จากการจัดการความรู้ในปีการศึกษาปัจจุบันหรือปีการศึกษาที่ผ่านมาที่เป็นลายลักษณ์อักษร (explicit knowledge)

การประกันคุณภาพ-การพัฒนาหน่วยงานสู่การเป็นองค์กรการเรียนรู้ 2561 Read More »

การประกันคุณภาพการศึกษา-ระบบและกลไกการจัดหาทรัพยากรสารสนเทศ –สำนักหอสมุดและทรัพยากรสารสนเทศ ปีการศึกษา 2561 องค์ประกอบที่ 2 การดำเนินงานตามภารกิจของหน่วยงาน ตัวบ่งชี้คุณภาพ 2.4 ระบบและกลไกการจัดหาทรัพยากรสารสนเทศ คำอธิบายตัวบ่งชี้: สำนักหอสมุดและทรัพยากรสารสนเทศ ต้องมีระบบและกลไกการจัดหาและรวบรวมทรัพยากรสารสนเทศทุกรูปแบบ ให้ครบถ้วนตามความจำเป็นและอย่างต่อเนื่อง เพื่อสนองตอบภาระหน้าที่ของมหาวิทยาลัย และดำเนินการจัดเก็บอย่างมีระบบ เพื่อให้สามารถสืบค้นได้อย่างมีประสิทธิภาพ สอดคล้องกับความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี นอกจากนี้ต้องมีการเพิ่มทรัพยากรสารสนเทศอย่างมีระบบและต่อเนื่องให้สอดคล้องกับตามความต้องการของผู้ใช้บริการ ในประเด็นสำคัญ คือ มีปริมาณที่เพียงพอ ทันสมัย และทันเวลาที่ต้องการใช้งาน โดยพิจารณาจากการประเมินความพึงพอใจของผู้ใช้บริการต่อการจัดหาทรัพยากรสารสนเทศ         นิยามศัพท์ ทรัพยากรสารสนเทศ หมายถึง สื่อสิ่งพิมพ์ สื่อโสตทัศน์และสื่ออิเล็กทรอนิกส์ เพื่อการเรียนรู้ทุกประเภท ฐานข้อมูลทรัพยากรห้องสมุด หมายถึง ข้อมูลบรรณานุกรมสิ่งพิมพ์และโสตทัศนวัสดุของสำนักหอสมุดและทรัพยากรสารสนเทศ เกณฑ์มาตรฐานการประเมิน 5  ข้อ ดังนี้ มีระบบและกลไกการจัดหาทรัพยากรสารสนเทศที่สอดคล้องกับพันธกิจหน่วยงาน และสอดคล้องตามความต้องการของผู้ใช้บริการ มีการดำเนินงานตามระบบการจัดหาทรัพยากรสารสนเทศ และสอดคล้องตามความต้องการของผู้ใช้บริการ มีการจัดทำฐานข้อมูลทรัพยากรห้องสมุด เพื่อความสะดวกรวดเร็วในการเข้าถึงทรัพยากรฯ มีการประเมินความพึงพอใจของผู้ใช้บริการต่อการจัดหาทรัพยากรสารสนเทศได้ทันเวลา มีความทันสมัยและเพียงพอ มีการนำผลการประเมินมาปรับปรุง/พัฒนา เกณฑ์การประเมิน ระดับคะแนน 1 2 3 4 5

การประกันคุณภาพ-ระบบและกลไกการจัดหาทรัพยากรสารสนเทศ 2561 Read More »

การประกันคุณภาพการศึกษา-ระบบและกลไกการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน -สำนักหอสมุดและทรัพยากรสารสนเทศ ปีการศึกษา 2561 องค์ประกอบที่ 3 การบริหารจัดการ ตัวบ่งชี้คุณภาพ 3.6 ระบบและกลไกการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน คำอธิบายตัวบ่งชี้: การประกันคุณภาพการศึกษาภายใน เป็นภารกิจสำคัญของคณะตามที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 แก้ไขเพิ่มเติม(ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545 ซึ่งหน่วยงานต้องมีระบบและกลไกในการควบคุมตรวจสอบ ประเมิน และพัฒนาการดำเนินงานของหน่วยงาน ให้เป็นไปตามนโยบายเป้าประสงค์ และระดับคุณภาพตามมาตรฐานที่กำหนดโดยสถาบันและหน่วยงานต้นสังกัดตลอดจนหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง มีการวัดผลสำเร็จของการประกันคุณภาพการศึกษาภายในรวมทั้งการรายงานผลการประกันคุณภาพต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และเปิดเผยต่อสาธารณชน มีการประเมินและปรับปรุงอย่างต่อเนื่องและมีนวัตกรรมที่เป็นแบบอย่างที่ดี การประกันคุณภาพการศึกษาภายใน ถือเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการบริหารการศึกษาที่ต้องดำเนินการอย่างต่อเนื่อง โดยมีการสร้างจิตสำนึกให้เห็นว่าเป็นความรับผิดชอบร่วมกันของทุกคนในการพัฒนาคุณภาพการศึกษา ทั้งนี้ เพื่อเป็นหลักประกันแก่สาธารณชนให้มั่นใจได้ว่า หน่วยงานสามารถสร้างผลผลิตที่มีคุณภาพ เกณฑ์มาตรฐานการประเมิน 5  ข้อ ดังนี้ 1. มีระบบและกลไกการประกันคุณภาพการศึกษาภายในที่เหมาะสมและสอดคล้องกับพันธกิจหน่วยงาน และดำเนินการตามระบบที่กำหนด 2. มีการดำเนินงานด้านการประกันคุณภาพการศึกษาภายในที่ครบถ้วน ประกอบด้วย 1) การควบคุม ติดตามการดำเนินงาน และประเมินคุณภาพ 2) การจัดทำรายงานประจำปีที่เป็นรายงานประเมินคุณภาพเสนอต่อสถาบันตามกำหนดเวลา โดยเป็นรายงานที่มีข้อมูลครบถ้วนตามที่สถาบันกำหนด 3) การนำผลการประเมินคุณภาพไปทำแผนการพัฒนาคุณภาพของหน่วยงาน 3. มีการนำผลการประกันคุณภาพการศึกษาภายในมาปรับปรุงการทำงาน และส่งผลให้มีการพัฒนาผลการดำเนินงานตามตัวบ่งชี้ของแผนกลยุทธ์ทุกตัวบ่งชี้ 4.

การประกันคุณภาพ-ระบบและกลไกการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน 2561 Read More »

การประกันคุณภาพการศึกษา-มีการสำรวจความต้องการของผู้รับบริการ –สำนักหอสมุดและทรัพยากรสารสนเทศ ปีการศึกษา 2561 องค์ประกอบที่ 2 การดำเนินงานตามภารกิจของหน่วยงาน ตัวบ่งชี้คุณภาพ 2.2 มีการสำรวจความต้องการของผู้รับบริการ คำอธิบายตัวบ่งชี้: ในการให้บริการของหน่วยงานต่างๆ ควรมีการสำรวจความต้องการของผู้รับบริการในกลุ่มต่างๆ เพื่อสามารถจัดบริการตอบสนองได้ตรงตามความต้องการ เกณฑ์มาตรฐานการประเมิน 5  ข้อ ดังนี้ มีแผนในการสำรวจความต้องการของผู้รับบริการครอบคลุมบริการทุกประเภทของหน่วยงาน ดำเนินการสำรวจความต้องการบริการตามแผนครอบคลุมบริการทุกประเภทของหน่วยงาน มีการสำรวจความต้องการจากผู้รับบริการครอบคลุมทุกกลุ่มผู้รับบริการ นำผลการสำรวจมาวิเคราะห์ข้อมูล นำผลการวิเคราะห์ไปปรับปรุงพัฒนาบริการของหน่วยงาน เกณฑ์การประเมิน ระดับคะแนน 1 2 3 4 5 1 ข้อ 2 ข้อ 3 ข้อ 4  ข้อ 5 ข้อ หลักฐานที่ต้องการ: แผนการสำรวจความต้องการของผู้รับบริการ แบบสำรวจความต้องการของผู้รับบริการ สรุปผลการสำรวจความต้องการของผู้รับบริการ ผลการดำเนินงานของสำนักหอสมุดและทรัพยากรสารสนเทศ ตามเกณฑ์มาตรฐาน  ตัวบ่งชี้ที่ 2.2 มีการสำรวจความต้องการของผู้รับบริการ เกณฑ์มาตรฐาน: 1. มีแผนในการสำรวจความต้องการของผู้รับบริการครอบคลุมบริการทุกประเภทของหน่วยงาน ผลการดำเนินงาน:  สำนักฯ ได้จัดทำแผนการสำรวจความต้องการของผู้ใช้บริการ โดยได้กำหนดไว้ใน

การประกันคุณภาพ-มีการสำรวจความต้องการของผู้รับบริการ 2561 Read More »

การประกันคุณภาพการศึกษา-การจัดสภาพแวดล้อมและสิ่งอำนวยความสะดวกให้เอื้อต่อการเรียนรู้ –สำนักหอสมุดและทรัพยากรสารสนเทศ ปีการศึกษา 2561 องค์ประกอบที่ 2 การดำเนินงานตามภารกิจของหน่วยงาน ตัวบ่งชี้คุณภาพ 2.5 การจัดสภาพแวดล้อมและสิ่งอำนวยความสะดวกให้เอื้อต่อการเรียนรู้ คำอธิบายตัวบ่งชี้:  ห้องสมุดควรจัดสภาพแวดล้อมและสิ่งอำนวยความสะดวกเพื่อให้เอื้อต่อการเรียนรู้ด้วยตนเอง และสอดคล้องกับความต้องการของผู้ใช้บริการ ทั้งการจัดการสภาพแวดล้อม อาทิเช่น พื้นที่และที่นั่งอ่านเพียงพอ เป็นสัดส่วนและพร้อมใช้บริการ แสงสว่าง การถ่ายเทอากาศ ความสะอาดเรียบร้อย ความเงียบสงบ ตลอดจนการจัดเรียงทรัพยากรสารสนเทศบนชั้นให้ถูกต้องง่ายต่อการค้นหา และการจัดหาสิ่งอำนวยความสะดวก ทั้งอุปกรณ์ เครื่องมือ เทคโนโลยีที่ทันสมัย และโทรคมนาคมที่จำเป็น อาทิเช่น จำนวนและประสิทธิภาพของเครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์ต่อพ่วงกับสื่อมัลติมีเดีย ระบบ WI-FI ที่มีประสิทธิภาพและครอบคลุมทุกพื้นที่ภายในห้องสมุด เพื่อช่วยให้ผู้ใช้บริการสามารถเข้าถึง ทรัพยากรสารสนเทศ ได้อย่างสะดวกและรวดเร็ว เกณฑ์มาตรฐานการประเมิน 5  ข้อ ดังนี้ มีการสำรวจความต้องการด้านสภาพแวดล้อม และด้านอุปกรณ์และเครื่องมือที่ให้บริการ มีการวางแผนการจัดการด้านสภาพแวดล้อม และด้านอุปกรณ์และเครื่องมือที่ให้บริการ ให้สอดคล้องกับความต้องการ มีการดำเนินงานตามแผนการที่กำหนด มีการประเมินผลความสำเร็จการบรรลุเป้าหมายตามแผนงาน/โครงการไม่ต่ำกว่าร้อยละ 80 มีการนำข้อเสนอแนะจากการประเมินมาปรับปรุงและพัฒนา เกณฑ์การประเมิน ระดับคะแนน 1 2 3 4 5

การประกันคุณภาพ-การจัดสภาพแวดล้อมและสิ่งอำนวยความสะดวกให้เอื้อต่อการเรียนรู้ 2561 Read More »

การประกันคุณภาพการศึกษา-ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารและการตัดสินใจ –สำนักหอสมุดและทรัพยากรสารสนเทศ ปีการศึกษา 2561 องค์ประกอบที่ 3 การบริหารจัดการ ตัวบ่งชี้คุณภาพ 3.4 ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารและการตัดสินใจ คำอธิบายตัวบ่งชี้: หน่วยงานควรมีการพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารและการตัดสินใจที่สอดรับกับนโยบายและการวางแผนระดับหน่วยงาน เพื่อให้เป็นระบบที่สมบูรณ์สามารถเชื่อมโยงกับทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภายในและภายนอก เป็นระบบที่ใช้งานได้ทั้งเพื่อการบริหาร การวางแผนและการตัดสินใจของผู้บริหารทุกระดับ เพื่อการปฏิบัติงานตามภารกิจทุกด้านของบุคลากร เพื่อการติดตามตรวจสอบและประเมินการดำเนินงาน ตลอดจนเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาหน่วยงาน  ทั้งนี้ ระบบดังกล่าวต้องมีความสะดวกในการใช้งานโดยประเมินจากความพึงพอใจของผู้ใช้ เกณฑ์มาตรฐานการประเมิน 5  ข้อ ดังนี้ มีระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารและการตัดสินใจตามพันธกิจของหน่วยงาน การบริหารจัดการ การเงิน ฯลฯ สามารถนำไปใช้ในการบริหารและการตัดสินใจ มีการจัดทำฐานข้อมูลเพื่อตอบสนองหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง มีการประเมินความพึงพอใจของผู้ใช้ระบบสารสนเทศ มีการนำผลการประเมินความพึงพอใจของผู้ใช้ระบบสารสนเทศมาปรับปรุงระบบสารสนเทศ มีการส่งข้อมูลผ่านระบบเครือข่ายของหน่วยงานภายนอกมหาวิทยาลัยที่เกี่ยวข้องตามที่กำหนด เกณฑ์การประเมิน ระดับคะแนน 1 2 3 4 5 1 ข้อ 2 ข้อ 3 ข้อ 4  ข้อ 5 ข้อ หลักฐานที่ต้องการ: ระบบสารสนเทศ ฐานข้อมูลต่างๆ ที่ใช้เพื่อการบริหารจัดการและการตัดสินใจ รายงานการประเมินความพึงพอใจของผู้ใช้ระบบสารสนเทศ

การประกันคุณภาพ-ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารและการตัดสินใจ 2561 Read More »

การประกันคุณภาพการศึกษา-ระบบและกลไกในการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารต่างๆของหน่วยงาน –สำนักหอสมุดและทรัพยากรสารสนเทศ ปีการศึกษา 2561 องค์ประกอบที่ 2 การดำเนินงานตามภารกิจของหน่วยงาน ตัวบ่งชี้คุณภาพ 2.1 มีระบบและกลไกในการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารต่างๆของหน่วยงาน คำอธิบายตัวบ่งชี้: การเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับบริการของหน่วยงานให้กับผู้เกี่ยวข้องและผู้รับบริการได้ทราบเป็นประเด็นสำคัญสำหรับหน่วยงานบริการ เพื่อให้ผู้รับบริการเข้าใจในภารกิจของหน่วยงานโดยหน่วยงานต้องกำหนดผู้รับผิดชอบและแนวทางในการเผยแพร่ ตลอดจนมีการประเมินผลการให้ข้อมูลเพื่อนำผลมาปรับปรุง เกณฑ์มาตรฐานการประเมิน 6  ข้อ ดังนี้ 1. มีการกำหนดข้อมูลและแนวทางการเผยแพร่ข้อมูลการให้บริการ 2. มีการกำหนดผู้รับผิดชอบดำเนินการในการเผยแพร่ข้อมูล 3. มีการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารที่จำเป็นของหน่วยงานให้ผู้เกี่ยวข้องและผู้รับบริการ 4. มีการตรวจสอบประเมินข้อมูลข่าวสารให้ถูกต้องและทันสมัย 5. มีการประเมินความพึงพอใจของผู้รับบริการข้อมูล 6. มีการนำผลการประเมินมาปรับปรุงและพัฒนาระบบการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสาร เกณฑ์การประเมิน ระดับคะแนน 1 2 3 4 5 1 ข้อ 2 ข้อ 3 ข้อ 4  ข้อ 5-6 ข้อ หลักฐานที่ต้องการ: 1. ข้อมูลการให้บริการ 2. ขั้นตอนการให้บริการและผู้รับผิดชอบ 3. ช่องทางเผยแพร่ข้อมูลการให้บริการ 4.

การประกันคุณภาพ-ระบบและกลไกในการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารต่างๆของหน่วยงาน 2561 Read More »