วิธีแก้ปัญหา และป้องกันไวรัส Covid-19

วิธีแก้ปัญหา และป้องกันไวรัส Covid-19 WHO ได้เปลี่ยนชื่อ โคโรนาไวรัส สายพันธ์ใหม่ 2019 เป็น เชื้อ Covid-19 เพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาชื่อที่คล้องกับชื่อท้องถิ่นที่เกิดโรค อันอาจสร้างความเกลียดชัง และเข้าใจผิด ส่วนสถานการณ์ วิธีแก้ปัญหา และป้องกันไวรัส Covid-2019 หรือชื่อแรก ไวรัสอู่ฮั่น สำหรับในประเทศไทยล่าสุดพบผู้ติดเชื้อ 34 คน (16 ก.พ.63) ในขณะที่การประชุมครม.เศรษฐกิจ ได้ประเมินว่า จะมีนักท่องเที่ยวจีนเดินทางมาเที่ยวประเทศไทยลดลง เนื่องจากวิกฤตเชื้อไวรัส Covid-19 ที่ก่อโรคปอดอักเสบ (pneumonia) พบสถานการณ์การระบาดครั้งแรกที่เมืองอู่ฮั่น (Wuhan) มณฑลหูเป่ย (Hubei) ตอนกลางของจีน ซึ่งเป็นเมืองที่มีประชากรประมาณ 11 ล้านคน องค์การอนามัยโลก (WHO) ประกาศภาวะฉุกเฉินของโลก ด้านสาธารณสุขระหว่างประเทศ การแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ (New Straits Times, 2020), (CtoI News Desk, 2020)

 

ป้องกัน รักษา การระบาด ทั่วโลก ไวรัสอู่ฮั่น ไวรัสโคโรน่า เชื้อ covid-19 wuhan virus กราฟ จำลอง รูป แผนที่
เว็บไซต์แสดงแผนที่จำลองการระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19. เข้าถึงได้จาก https://multimedia.scmp.com/infographics/news/china/article/3047038/wuhan-virus/index.html

 เชื้อไวรัส COVID-19 ค้างคาว งูห่า ตลาดสดอู่ฮั่น ไวรัสโคโรน่า 2019
ภาพ: การค้าสัตว์หายากและแปลกใหม่ถูกจับมาจากป่า วางขายในตลาดสดต่างๆ ของเมืองอู่ฮั่น. (photo: Wikimedia Commons) เข้าถึงได้จาก https://www.sustainability-times.com/environmental-protection/after-new-viral-outbreak-china-must-ban-wildlife-meat-once-and-for-all/

วิธีแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19

วันที่ 31 ธันวาคม 2562  พบรายงานการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19 ในประเทศจีน โดยเริ่มจากการพบผู้ป่วยโรคปอดอักเสบที่ไม่รู้สาเหตุในเมืองอู่ฮั่นเพิ่มขึ้น และต่อมาได้ทราบว่ามีสาเหตุจากเชื้อไวรัส COVID-19 ที่แพร่จากคนสู่คน รัฐบาลจีนเริ่มส่งทีมเข้ามาสืบสวนหาสาเหตุ วันที่ 11 มกราคม 2563 ผลการตรวจเชื้อไวรัสในระดับรหัสสารพันธุกรรม ระบุว่าเป็น เชื้อไวรัส COVID-19 แม้จะยังไม่มีรายงานสรุปอย่างเป็นทางการ คาดว่าน่าจะมีความเกี่ยวข้องกันกับสัตว์ 2 ชนิด คือ งูเห่า และค้างคาวชนิดหนึ่ง”  โดยมีจุดเริ่มต้นของผู้ติดเชื้อ เกิดจากคนงานและลูกค้าของตลาดขายส่งอาหารทะเล และเนื้อสัตว์แปลกๆ หายาก ที่ถูกจับมาขายในตลาดสดในสภาพที่ยังเป็นๆ สัตว์เหล่านี้มีเชื้อไวรัสถูกขังเกิดความเครียดล้มป่วย และมีการติดเชื้อข้ามไปยังสัตว์อีกสายพันธุ์ที่อยู่ในบริเวณเดียวกัน กระทั่งผู้เคราะห์ร้ายได้ซื้อไปบริโภคและติดเชื้อไวรัสเข้าสู่ร่างกาย อาการคล้ายเป็นไข้ น้ำมูกไหล ไอจาม ธรรมดา แต่แตกต่างตรงที่เมื่อถึงระยะนึงปอดจะเกิดการอักเสบอย่างรุนแรง ยาลดไข้ทั่วไปไม่สามารถรักษาได้ทันเวลา หากไม่ได้รับการรักษาที่ดีพอ ก็จะกลายเป็นพาหะแพร่ระบาดไปสู่คนอื่นๆ และอาจเสียชีวิตได้ (คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล, 2563), (Chee Kin, 2020)

 

สาธารณสุข ตรวจคัดกรองไวรัส สนามบิน ประเทศไทย
ภาพ: ประเทศไทยตรวจคัดกรองนักท่องเที่ยวที่มาจากประเทศจีนทั้งหมด 100% พบผู้ป่วย 14 คน มาจากมณฑลเดียวกันทั้งหมด (28 มกราคม 2563) Photo By Thethaiger.com

สถานการณ์แพร่ระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19ล่าสุด (29 ม.ค.63)

สถานการณ์ทั่วโลกล่าสุด (16 ก.พ.63) ติดเชื้อ 69,264 เสียชีวิต 1,669 ยังพบการระบาดการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19 ไม่หยุด แนวโน้มยังคงทวีความรุนแรงขึ้น รัฐบาลจีนได้ออกคำสั่งพิเศษห้ามผู้คนออกจากบ้าน ห้ามจำหน่ายตั๋วโดยสาร เพื่อสกัดกั้นผู้คนไม่ให้มีการอพยพหนี และพบผู้ป่วยในประเทศต่างๆ เช่น ไทย ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ไต้หวัน ฮ่องกง มาเก๊า สหรัฐอเมริกา ทำให้คนไทย เกิดความตื่นตัว ติดตามข่าวสารอย่างใกล้ชิด ด้านกรมควบคุมโรค และกระทรวงสาธารณสุขสร้างความมั่นใจด้วยการตรวจเข้ม สืบสวน คัดกรองหาผู้ป่วยที่สนามบิน ทั้งขาเข้าและขาออก ห้ามนักท่องเที่ยวป่วยขึ้นเครื่องเด็ดขาด

 

ผู้ติดเชื่อ ไวรัสอู่ฮั่น โคโรน่าไวรัส ญี่ปุ่น
แพทย์ญี่ปุ่น แพ็คอย่างดีผู้ป่วยติดเชื้อไวรัส COVID-19ในเขตบุงเกียว ของกรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น เมื่อ 23 มกราคม 2563, ภาพถ่ายโดย: Yomiuri Shimbun

 

อาการของโรค การป้องกันโรค และวิธีรักษา

เชื้อไวรัส COVID-19 จะมีระยะฟักตัวประมาณ 2 ถึง 7 วัน  ดังนั้นจึงต้องใช้เวลาในการสังเกตอาการผู้ป่วยที่สัมผัสโรค หรือเดินทางมาจากแหล่งระบาดของโรคเป็นระยะเวลา 14 วัน อาการที่ต้องสงสัย คือ มีไข้ และอาการเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจ เช่นมี น้ำมูก ไอ เจ็บคอ หายใจลำบาก แม้โอกาสที่จะเกิดการระบาดในไทยค่อนข้างยาก ประชาชนสามารถใช้ชีวิตปกติ เพียงแต่หลีกเลี่ยงสัมผัสกับผู้ป่วย, หมั่นล้างมือด้วยสบู่ หรือน้ำยาฆ่าเชื้ออย่างสม่ำเสมอ บ่อยๆ, รับประทานอาหารปรุงสุก, ใช้ช้อนกลาง, ผู้ป่วยโรคทางเดินหายใจทุกราย ต้องสวมใส่หน้ากากอนามัย N95 ป้องกันการไอจาม คนทั่วไปสามารถใช้หน้ากากธรรมดาทั่วไปได้ โดยให้ส่วนที่เป็นสีเขียวหันออกด้านหน้า ขาวอยู่ด้านใน อย่าไปกลับสลับด้านหมุนเวียนใช้งาน ห้ามเด็ดขาด, หลีกเลี่ยงที่จะอยู่ในบริเวณที่มีผู้คน ไอ จาม, บุคลากรทางการแพทย์ต้องสวมใส่ชุดป้องกัน เพราะมีรายงานแพทย์ในพื้นที่ระบาดเสียชีวิตจากการติดเชื้อไวรัสแล้ว,(Eileen AJ Connelly, 2020) เตรียมพร้อมร่างกายให้แข็งแรงเพื่อสู้กับโรคภัยหากติดเชื้อ พักผ่อนอย่างเพียงพอ หากมีโรคประจำตัวต้องหมั่นตรวจรักษา ปัจจุบัน (28 ม.ค.63) ยังไม่มียาต้านไวรัส ต้องรักษาบรรเทาไปตามอาการของโรค จนกว่าร่างกายจะมีภูมิต้านทาน และหายเป็นปกติ ขณะนี้ยังไม่มีวัคซีนป้องกัน (กรุงเทพธุรกิจ, 2563)

https://www.facebook.com/138059226222231/videos/742563416269127/

วีดีโอ: ล้างมืออย่างถูกต้อง เผยแพร่โดย คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม

 

แพทย์ เมืองอู่ฮั่น ไวรัสโคโรน่า เสียชีวิต
ภาพ: แพทย์รักษาผู้ป่วยหนักที่โรงพยาบาลแห่งหนึ่งในเมืองอู่ฮั่น ภาพโดย: AP

 

วิธีแก้ปัญหา ป้องกันเชื้อไวรัส COVID-19

ขึ้นอยู่กับการควบคุมอำนาจแพร่ระบาด หรือการกระจายของโรค เช่น ประเทศจีนบังคับใช้วิธี ปิดเมือง ห้ามคนในออก คนนอกห้ามเข้า และส่งทีมแพทย์เข้าไปรักษาผู้ป่วยที่ติดเชื้อแล้วในพื้นที่ระบาด ใช้เวลาประมาณ 2-6 เดือน โดยคิดง่ายๆว่า ผู้ป่วย 1 คน กระจายโรคไปได้ 2 คน เมื่อรักษาผู้ป่วยแล้ว ก็จะได้ผู้ที่มีภูมิต้านทานมากขึ้น จนถึงครึ่งหนึ่งของผู้ป่วย หรือ 50% การระบาดก็จะอยู่ในสถานการณ์ที่เรียกว่า เริ่มสงบ โรคที่เกิดจากเชื้อไวรัสนี้ก็จะกลายเป็นแค่โรคประจำถิ่น (endemic) มีการติดเชื้อเป็นหย่อมๆ จนกว่าจะมีภูมิต้านทานกันหมดทุกคน (มติชนออนไลน์, 2563)

 

นายก จุดคัดกรอง โคโรน่าไวรัส สนามบิน
29 ม.ค. 63 นายกรัฐมนตรี ประเทศไทย ตรวจด่านควบคุมโรคที่ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ภาพข่าวจาก: ข่าวช่อง 3 http://news.ch3thailand.com/politics/100589

รัฐบาลเผชิญหน้ากับสถานการณ์ป้องกันโรคระบาดอย่างระมัดระวัง โดยเฉพาะท่าทีที่อาจส่งผลกระทบต่อจิตใจของประชาชนจีน แม้ว่าปีนี้ ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและธุรกิจเพื่อการปฏิรูป สถาบันเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต คาดว่า นักท่องเที่ยวจีนจะลดลง 1-2 ล้านคน ฉุดภาคท่องเที่ยวไทยและธุรกิจต่อเนื่องไม่ต่ำกว่า 1 แสนล้านบาท ดังนั้นเชื้อไวรัส COVID-19 ไม่ได้น่ากลัวหรือรุนแรงเท่าโรคซาร์สที่ระบาดเมื่อ 17 ปีที่แล้ว (ผศ.ดร.อนุสรณ์ ธรรมใจ, 2563) แต่ในวันนี้ไทยกลับได้รับผลกระทบต่อเนื่องอย่างคาดไม่ถึง มีคนกล่าวว่า “อดตาย กับป่วยติดเชื้อไวรัส… จะเลือกอันไหน” คำตอบง่ายๆ ก็คือ เลือกทางสายกลาง “ไม่อดตาย และก็ไม่ป่วยตายด้วย”

mask coronavirus


แหล่งข้อมูลอ้างอิง:

โพสที่เกี่ยวข้อง:

วิวิธีแก้ปัญหา และป้องกันไวรัส Covid-19