วันวิสาขบูชาโลก The 15th United Nations Day of Vesak Celebration เป็นวันฉลองที่สำคัญของชาวพุทธทั่วโลก และได้รับการเสนอจากเอกอัครราชทูต ประเทศศรีลังกา เมื่อปี ค.ศ.1999 หรือ พ.ศ.2542 ในที่ประชุมสมัชชาใหญ่องค์การสหประชาชาติ จนมีมติให้วันวิสาขบูชาเป็นวันสำคัญของโลก ที่เรียกว่า “The United Nations Day of Vesak” เมื่อวันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ.2542 ในปีเดียวกัน ก็ได้มีการเฉลิมฉลองวันวิสาขบูชาในฐานะวันสำคัญของโลกครั้งแรก พร้อมทั้งจัดงานประชุมทางวิชาการด้านพระพุทธศาสนาอย่างเป็นทางการขึ้นที่สำนักงานใหญ่องค์การสหประชาชาติมหานครนิวยอร์ก เมื่อวันที่ 15 พฤษภาคม ปี ค.ศ.2000 หรือ พ.ศ.2543 โดยมีสมาชิก 34 ประเทศ ที่นับถือพุทธศาสนาเข้าร่วมในพิธีเฉลิมฉลองโดยพร้อมเพรียงกันเป็นครั้งแรก
[box type=”note”]ประเทศไทยได้รับความไว้วางใจให้เป็นเจ้าภาพจัดงานเฉลิมฉลองวันวิสาขบูชาโลก International Day of Vesak อีกหลายครั้ง รวมถึงในปี พ.ศ.2561 นี้ก็ได้รับเกียรติให้เป็นเจ้าภาพจัดงานในการจัดงานพิธีเฉลิมฉลองวันวิสาขบูชาโลก ครั้งที่ 15 ด้วย โดยงาน เริ่มตั้งแต่วันที่ 25 พฤษภาคม ไปจนถึง วันที่ 27 พฤษภาคม 2561
วันที่ 25-26 พ.ค. เป็นการประชุมทางวิชาการ จัดขึ้นที่ มหาวิทยาลัยจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ณ อาคาร มวก. 48 พรรษา
– สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช เสด็จเป็นองค์ประธานและประทานสัมโมทนียกถา
-ปาฐกถาพิเศษ เรื่อง “พระพุทธศาสนากับการพัฒนามนุษย์” โดย ฯพณฯ นายกรัฐมนตรี นาย เชอริง ต๊อบเกย์ แห่งราชอาณาจักรภูฏาน เป็นประธานกล่าวนำ และมีการเชิดชูพระมหากรุณาธิคุณของ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ที่องค์การสหประชาชาติได้ถวายรางวัลสดุดีในฐานะ “พระมหากษัตริย์นักพัฒนา” ไว้เมื่อ ปี พ.ศ.2549
วันที่ 27 พ.ค. ปาฐกถาพิเศษจากนายกรัฐมนตรี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ท่านเลขาธิการองค์การสหประชาชาติ นาย อันโตนิโอ กูเตอร์เรส และ นายอิรินา โบโกวา เลขาธิการองค์การยูเนสโก ร่วมกันประกาศ “ปฏิญญากรุงเทพมหานคร 2018/2561” เนื่องในโอกาสครบรอบ 15 ปี วันวิสาขบูชานานาชาติ แห่งองค์การสหประชาชาติ จากนั้นในตอนค่ำ คณะผู้นับถือพุทธศาสนาทั่วโลก และบุคคลสำคัญของสหประชาชาติ ที่มาเข้าร่วมประชุม เดินทางไปยัง พุทธมณฑลสถาน จังหวัดนครปฐม ณ ลานหน้าองค์พระศรีศากยะทศพลญาณ เพื่อร่วมพิธีธรรมยาตรา และเวียนเทียนร่วมกัน
[/box]
[accordions type=”toggle” handle=”arrows” space=”no” icon_color=”#c74c4c” icon_current_color=”#ffa507″ state=”close”]
[accordion title=”คลิกเปิดอ่าน.. ปฏิญญากรุงเทพมหานคร ในงานฉลองวันวิสาขบูชาโลก ครบ 15 ปี” icon=”linecon-icon-bulb” state=”close”]
ฯพณฯ นายกรัฐมนตรี เซอริ่ง ต๊อบเกย์ แห่งราชอาณาจักรภูฏาน เป็นผู้กล่าวปาฐกถา ในหัวข้อ คุณูปการพระพุทธศาสนาต่อการพัฒนามนุษย์ เพื่อให้เกิดความเข้าใจซึ่งกันและกันและการร่วมมือกันระหว่างองค์กรและพุทธศาสนิกชนทั่วโลก ในช่วงสรุปของการเฉลิมฉลองและการประชุมอย่างประสบความสำเร็จ ได้มีข้อตกลงร่วมกัน (เมื่อวันที่ 27 พ.ค.2561 ณ มหาวิทยาลัยจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา) ดังนี้
1. เพื่อยืนยันว่า มุมมองของในโลกของพระพุทธศาสนามีความสอดคล้องกับพันธกิจที่จะทำงานอย่างอุตสาหะ เพื่อที่จะให้บรรลุเป้าหมายการพัฒนาขององค์การสหประชาชาติในปี ค.ศ. 2023 (2573) เราได้อุทิศร่วมกันเพื่อให้บรรลุข้อตกลงดังกล่าว
2. เพื่อที่จะแสดงการขอบคุณต่อการจัดงานวันวิสาขบูชานานาชาติฯ ครั้งที่ 14 ที่ประสบความความสำเร็จ ณ กรุงโคลัมโบ และเมืองแคนดี้ ประเทศศรีลังกา ในปี ค.ศ. 2017 (2560)
3. เพื่อชื่นชมการตีพิมพ์พระไตรปิฎกสากล ฉบับภาษาอังกฤษ พิมพ์ครั้งที่ 2 และฉบับแปลภาษาไทย พิมพ์ครั้งที่ 1 ของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
4. เพื่อแสดงยินดีต่อข้อตกลงที่เป็นทางการที่ทำร่วมกับมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยในนามแปลพระไตรปิฎกฉบับสากลฯ ให้เป็นภาษาจีน ฮังการี อินโดนีเซีย ญี่ปุ่น โปรตุเกส สเปน และเวียดนาม ที่ได้รับมอบหมายในระหว่างการเฉลิมฉลองวันวิสาขบูชานานาชาติ
5. เพื่อที่จะได้ทราบถึงความก้าวหน้าในการเผยแพร่บัญชีรายชื่อของพระไตรปิฎกที่จะใช้แทนพระไตรปิฎกฉบับภาษาบาลีออนไลน์ของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย โดยเพิ่มวัตถุประสงค์ของพระไตรปิฎกฉบับอื่นๆ ให้ครอบคลุมมากขึ้น
6. เพื่อที่จะแสดงความชื่นชมอย่างยิ่งต่อปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช แห่งประเทศไทย ซึ่งมีพื้นฐานมาจากมรรค 8 มีองค์ประกอบ 8 ส่วนคือ พอเพียง มีเหตุมีผล ภูมิคุ้มกัน
7. เพื่อที่จะแสดงความขอบคุณอย่างสุดซึ้ง ต่อแนวคิดของความสุขประชาชาติมวลรวม ที่ทราบกันเป็นอย่างดี ของสมเด็จพระราชาธิบดีจิกมี เคเซอร์ นัมเกล วังชุก แห่งราชอาณาจักรภูฏาน โดยวัดจากความเป็นอยู่ที่ดีทางด้านจิตใจ ความผาสุกของชุมชน ความหลากหลายทางนิเวศวิทยาและวัฒนธรรม ภูมิคุ้มกัน สุขภาพ การศึกษา หลักธรรมภิบาล และคุณภาพชีวิตที่ดี
8. เพื่อส่งเสริมการพัฒนามนุษย์บนพื้นฐานของข้อมูลเชิงลึกและนำเสนอโดยผู้เชี่ยวชาญจากทั่วโลกที่ถูกจัดเป็น 4 หัวข้อตามที่อธิบายไว้ด้านล่าง:
สำหรับหัวข้อ ความจำเป็นในการสร้างความสมดุลระหว่างการพัฒนาทางเศรษฐกิจกับการพัฒนาด้านจิตวิทยาและจิตวิญญาณ ซึ่งไม่สามารถลดได้เพื่อให้ได้มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นในการพึ่งพาทางร่างกายได้ ดังนั้น วิธีปกติในสังคมที่พัฒนาทางเศรษฐกิจ และพัฒนามนุษย์เพียงอย่างเดียว ในแง่ของการปรับปรุงมาตรฐานการครองชีพการดูแลสุขภาพและการศึกษาซึ่งไม่เพียงพอ แต่ต้องมีปัจจัยหลายอย่างที่จำเป็น เพื่อให้มีการสนับสนุน มิติทางนิเวศวิทยา สังคม และวัฒนธรรม ดังนั้น เราจึงจำเป็นต้องส่งเสริมให้เกิดความหลากหลายทางชีวภาพ ความยืดหยุ่นและพัฒนาชุมชน และการเชื่อมต่อที่เห็นอกเห็นใจกับผู้อื่น นอกจากนี้ ยังเป็นสิ่งสำคัญในการเชื่อมความสัมพันธ์รุ่นสู่รุ่นโดยเฉพาะอย่างยิ่งเพื่อให้เยาวชนมีโอกาสในการหาวิธีการนำธรรมะในการดำรงชีวิตอย่างสร้างสรรค์ในการมีชีวิตอยู่ในธรรม
โดยเฉพาะอย่างยิ่ง:
8.1 หัวข้อที่ 1. คุณูปการพระพุทธศาสนาต่อการพัฒนามนุษย์
เพื่อส่งเสริมให้เกิดความเข้าใจเกี่ยวกับความเชื่อมโยงระหว่างกันของการพัฒนาภายในและความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อมภายนอก เพื่อกระตุ้นให้ผู้นำทางศาสนาและชุมชนของตนให้มีพันธสัญญาต่อกันความมุ่งมั่นในการใช้ทรัพยากรอย่างมีความรับผิดชอบ เพื่อสร้างชุมชนให้มีความกรุณาต่อกันที่มีเมตตาร่วมกันเพื่อแก้ไขปัญหาเพื่อตัดวงจรของความไม่เท่าเทียมกันในสังคมและความเหลื่อมล้ำทางสังคม ซึ่งเป็นอันตรายต่อทั้งผู้มีสิทธิพิเศษและผู้ด้อยโอกาสใช้หลักพุทธศาสนาและการปฏิบัติทางจิตใจเพื่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและจิตวิญญาณอย่างสร้างสรรค์ เช่น พุทธศาสตร์สงเคราะห์
8.2 Panel 2. การเสริมสร้างศักยภาพของเยาวชนผ่านการศึกษาทางพุทธศาสนา
ใช้คำสอนทางพุทธศาสนา เช่นการดำรงชีวิตอย่างมีน้ำใจ ความเอื้ออาทร ความรู้ของมนุษย์และโลกมีความไว้วางใจในความดีงามและภูมิปัญญาของมนุษย์ในการแก้ปัญหาความท้าทายที่เยาวชนเผชิญ เพื่อยืนยันว่าการศึกษาทางพุทธศาสนาที่ดีที่สุดคือ การมีชีวิตอยู่ในธรรม เราสามารถช่วยให้เยาวชนสร้างแรงบันดาลใจและสนับสนุนพวกเขาได้ดีที่สุดเพื่อหาแนวทางที่สร้างสรรค์ในการบูรณาการธรรมในชีวิตของตนเองเพื่อส่งเสริมให้สติในเด็กและเยาวชน ยุวพุทธ ให้เป็นจุดเริ่มต้นที่มีประโยชน์สำหรับสังคมที่สงบสุข
8.3 Panel 3. พุทธศาสนาเพื่อสวัสดิการสังคม
เพื่อปรับหลักการของพุทธศาสนาที่เกี่ยวข้องกับสังคมให้เข้ากับปัญหาทางสังคมในปัจจุบันและในบริบททางโลก เช่น การให้คำปรึกษาและจิตบำบัดการรักษายาเสพติดและเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์เพื่อเปลี่ยนความรุนแรงให้กลายเป็นความไม่รุนแรง ความโลภ กลายเป็นความพึงพอใจ ความสับสนไปสู่ความเข้าใจ
8.4 Panel 4. รักษาเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมในโลกที่เชื่อมต่อกัน
เพื่อส่งเสริมการเคารพซึ่งกันและกันระหว่างตัวตนทางวัฒนธรรม เราจะส่งเสริมวัฒนธรรมของความรู้ความเข้าใจซึ่งกันและกัน และการเข้าใจซึ่งขึ้นอยู่กับคุณค่าสากลและความเข้าใจในกฎหมายของการพึ่งพาซึ่งกันและกัน ในเรื่องอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรม เพื่อปลูกฝังความเข้าใจเกี่ยวกับการปฎิรูปของบุคคลและการเปลี่ยนแปลงตัวตนส่วนบุคคล และส่วนรวมที่ส่งเสริมความสามัคคีภายในด้วยความหลากหลายทางอัตลักษณ์
ข้อมูลจาก: สำนักข่าวไทย. “ปฏิญญากรุงเทพมหานคร ในโอกาสครบรอบ 15 ปีวันวิสาขบูชานานาชาติ” http://www.tnamcot.com/view/5b0a8314e3f8e4f60085acc6 เมื่อวันที่ 27 พ.ค. 2018
[/accordion][/accordions]
ภายในงานการประชุมทางวิชาการ จัดขึ้นที่ มหาวิทยาลัยจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย จังหวัดพระนครศรีอยุธยาครั้งนี้ ได้มีการเปิดตัวหนังสือ “พระไตรปิฎกฉบับสากลภาคภาษาไทย” อันเป็นนวัตกรรมในทางพระพุทธศาสนา มอบให้กับบุคคลที่มาร่วมงาน ลงทะเบียนล่วงหน้าที่ www.vesak.org (ปิดรับลงทะเบียนแล้ว)
วันวิสาขบูชา เป็นวันที่เกิดเหตุการณ์อัศจรรย์ 3 ประการ คือ เป็นวันที่พระพุทธเจ้าประสูติ ตรัสรู้อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ และเสด็จดับขันธปรินิพพาน
- เหตุการณ์ทั้งหมดได้เกิดขึ้นเมื่อ 2,500 กว่าปีก่อน ในดินแดนชมพูทวีป ยุคสมัยพุทธกาล พระนางสิริมหามายาได้ประสูติพระโอรส ณ ใต้ต้นสาละ ในพระราชอุทยานลุมพินีวัน ซึ่งตรงกับวันเพ็ญเดือน 6 ปีจอ ก่อนพุทธศักราช 80 ปี ได้รับการถวายพระนามว่า “สิทธัตถะ” แปลว่า “สมปรารถนา”
- เหตุการณ์ต่อมาเป็น “วันที่เจ้าชายสิทธัตถะได้บรรลุพระสัมมาสัมโพธิญาณ ตรัสรู้เป็นองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า” ในตอนเช้ามืดของวันพุธ ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน 6 ปีระกา ก่อนพุทธศักราช 45 ปี ณ ใต้ต้นโพธิ์ ริมฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา ตำบลอุรุเวลาเสนานิคม ปัจจุบันสถานที่ตรัสรู้แห่งนี้เรียกว่า พุทธคยา สิ่งที่ตรัสรู้ คือ อริยสัจสี่ เป็นความจริงอันประเสริฐ 4 ประการของพระพุทธเจ้า
- เมื่อพระพุทธองค์ได้ตรัสรู้และแสดงธรรมเป็นเวลานานถึง 45 ปี จนมีพระชนมายุได้ 80 พรรษา ทรงประชวรอย่างหนัก ทรงเสด็จไปยังเมืองกุสินารา ประทับ ณ ป่าสาละ ในพระราชอุทยานของเจ้ามัลละ เมืองกุสินารา เพื่อเตรียมเสด็จดับขันธ์ปรินิพพาน ก่อนวาระสุดท้ายในคืนวันเพ็ญเดือน 6 พระพุทธองค์ ได้ทรงประทานปัจฉิมโอวาทว่า “ดูก่อนภิกษุทั้งหลายอันว่าสังขารทั้งหลายย่อมมีความเสื่อมสลายไปเป็นธรรมดา ท่านทั้งหลายจงยังกิจทั้งปวงอันเป็นประโยชน์ของตนและประโยชน์ของผู้อื่นให้ บริบูรณ์ด้วยความไม่ประมาทเถิด”
โดยทั้งสามเหตุการณ์ ล้วนเกิดตรงกับวันเพ็ญเดือนหก หรือเดือนวิสาขะนี้ทั้งสิ้น ชาวพุทธจึงนับถือว่าวันเพ็ญเดือนหก 6 เป็นวันที่รวมวันคล้ายวันเกิดเหตุการณ์สำคัญ ๆ ของพระพุทธเจ้าไว้ และได้นิยมประกอบพิธีบำเพ็ญบุญกุศลและประกอบพิธีพุทธบูชาต่าง ๆ เพื่อเป็นการถวายสักการะรำลึกถึงแด่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าสืบทอดยาวมาจนปัจจุบัน
วันวิสาขบูชา เริ่มต้นครั้งแรกในประเทศไทยตั้งแต่สมัยกรุงสุโขทัยเป็นราชธานี
วันวิสาขบูชานี้ ปรากฏตามหลักฐานว่า ได้มีมาตั้งแต่ครั้งกรุงสุโขทัยเป็นราชธานี ซึ่งสันนิษฐานว่า คงจะได้แบบอย่าง มาจากลังกา กล่าวคือ เมื่อประมาณ พ.ศ. ๔๒๐ พระเจ้าภาติกุราช กษัตริย์แห่งกรุงลังกา ได้ประกอบพิธีวิสาขบูชาอย่าง มโหฬาร เพื่อถวายเป็นพุทธบูชา กษัตริย์ลังกาในรัชกาลต่อ ๆ มา ก็ทรงดำเนินรอยตาม แม้ปัจจุบันก็ยังถือปฏิบัติอยู่
สมัยสุโขทัย นั้น ประเทศไทยกับประเทศลังกามีความสัมพันธ์ด้านพระพุทธศาสนาใกล้ชิดกันมากเพราะพระสงฆ์ชาวลังกา ได้เดินทางเข้ามาเผยแพร่พระพุทธศาสนา และเชื่อว่าได้นำการประกอบพิธีวิสาขบูชามาปฏิบัติในประเทศไทยด้วย
ในหนังสือนางนพมาศได้กล่าวบรรยากาศการประกอบพิธีวิสาขบูชาสมัยสุโขทัยไว้ พอสรุปใจความได้ว่า ” เมื่อถึงวันวิสาขบูชา พระเจ้าแผ่นดิน ข้าราชบริพาร ทั้งฝ่ายหน้า และฝ่ายใน ตลอดทั้งประชาชนชาวสุโขทัยทั่วทุก หมู่บ้านทุกตำบล ต่างช่วยกันทำความสะอาด ประดับตกแต่งพระนครสุโขทัยเป็นการพิเศษ ด้วยดอกไม้ของหอม จุดประทีปโคมไฟแลดูสว่างไสวไปทั่วพระนคร เป็นการอุทิศบูชาพระรัตนตรัย เป็นเวลา ๓ วัน ๓ คืน พระมหากษัตริย์ และบรมวงศานุวงศ์ ก็ทรงศีล และทรงบำเพ็ญพระราชกุศลต่างๆ ครั้นตกเวลาเย็น ก็เสด็จพระราช ดำเนิน พร้อมด้วยพระบรมวงศานุวงศ์ และนางสนองพระโอษฐ์ต ลอดจนข้าราชการทั้งฝ่ายหน้า และฝ่ายใน ไปยังพระ อารามหลวง เพื่อทรงเวียนเทียนรอบพระประธาน
ส่วนชาวสุโขทัยชวนกันรักษาศีล ฟังธรรมเทศนา ถวายสลากภัต ถวายสังฆทาน ถวายอาหารบิณฑบาต แด่พระภิกษุ สามเณรบริจาคทรัพย์แจกเป็นทานแก่คนยากจน คนกำพร้า คนอนาถา คนแก่ คนพิการ บางพวกก็ชวนกันสละทรัพย์ ปล่อยสัตว์ ๔ เท้า ๒ เท้า และเต่า ปลา เพื่อชีวิตสัตว์ให้เป็นอิสระ โดยเชื่อว่าจะทำให้คนอายุ ยืนยาวต่อไป ”
ในสมัยอยุธยา สมัยธนบุรี และสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น ด้วยอำนาจอิทธิพลของศาสนาพราหมณ์ เข้าครอบงำประชาชนคนไทย และมีอิทธิพลสูงกว่าอำนาจของพระพุทธศาสนา จึงไม่ปรากฎหลักฐานว่า ได้มีการประกอบพิธีบูชาในวันวิสาขบูชา จนมาถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยรัชกาลที่ ๒ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ (พ.ศ. ๒๓๖๐) ทรงดำริกับ สมเด็จพระสังฆราช (มี) สำนักวัดราชบูรณะ มีพระราชประสงค์จะให้ฟื้นฟู การประกอบพระราชพิธีวันวิสาขบูชาขึ้นใหม่ โดย สมเด็จพระสังฆราช ถวายพระพรให้ทรงทำขึ้น เป็นครั้งแรกในวันขึ้น ๑๔ ค่ำ ๑๕ ค่ำ และวันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๖ พ.ศ. ๒๓๖๐ และให้จัดทำตามแบบอย่างประเพณีเดิมทุกประการ เพื่อมีพระประสงค์ให้ประชาชนประกอบการบุญการกุศล เป็นหนทางเจริญอายุ และอยู่เญ็นเป็นสุขปราศจากทุกข์โศกโรคภัย และอุปัทวันตรายต่างๆ โดยทั่วหน้ากัน
ฉะนั้น การประกอบพิธีในวันวิสาขบูชาในประเทศไทย จึงได้รื้อฟื้นให้มีขึ้นอีกครั้งหนึ่งในรัชสมัย พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ ๒ และถือปฏิบัติมาจวบจนกระทั่งปัจจุบัน
การจัดงานเฉลิมฉลองในวันวิสาขบูชาที่ยิ่งใหญ่กว่าทุกยุคทุกสมัย คงได้แก่การจัดงานเฉลิมฉลอง วันวิสาขบูชา พ.ศ.๒๕๐๐ ซึ่งทางราชการเรียกว่างาน ” ฉลอง ๒๕ พุทธศตวรรษ ” ตั้งแต่วันที่ ๑๒ ถึง ๑๘ พฤษภาคม รวม ๗ วัน ได้จัดงานส่วนใหญ่ขึ้นที่ท้องสนามหลวง ส่วนสถานที่ราชการ และวัดอารามต่างๆ ประดับธงทิวและโคมไฟสว่างไสวไปทั่วพระ ราชอาณาจักร ประชาชนถือศีล ๕ หรือศีล ๘ ตามศรัทธาตลอดเวลา ๗ วัน มีการอุปสมบทพระภิกษุสงฆ์รวม ๒,๕๐๐ รูป ประชาชน งดการฆ่าสัตว์ และงดการดื่มสุรา ตั้งแต่วันที่ ๑๒ ถึง ๑๔ พฤษภาคม รวม ๓ วัน มีการก่อสร้าง พุทธมณฑล จัดภัตตาหาร เลี้ยงพระภิกษุสงฆ์วันละ ๒,๕๐๐ รูป ตั้งโรงทานเลี้ยงอาหารแก่ประชาชน วันละ ๒๐๐,๐๐๐ คน เป็นเวลา ๓ วัน ออกกฎหมาย สงวนสัตว์ป่าในบริเวณนั้น รวมถึงการฆ่าสัตว์ และจับสัตว์ในบริเวณวัด และหน้าวัดด้วย และได้มีการปฏิบัติธรรมอันยิ่งใหญ่ อย่างพร้อมเพรียงกัน เป็นกรณีพิเศษ ในวันวิสาขบูชาปีนั้นด้วย
แหล่งที่มาของข้อมูล: ประวัติความเป็นมา วันวิสาขบูชาในประเทศไทย: https://archive.clib.psu.ac.th/online-exhibition/visakha/page4.html
กิจกรรมในวันวิสาขบูชา
การทำบุญถวายภัตตาหารที่วัด การกรวดน้ำอุทิศส่วนกุศลให้ญาติที่ล่วงลับ และเจ้ากรรมนายเวร ปฏิบัติธรรม ฟังพระธรรมเทศนา รักษาศีล 5 ศีล 8 ละเว้นการทำบาป ทำบุญถวายสังฆทาน
การทำทานด้วยการช่วยชีวิตสัตว์ โดยเฉพาะสัตว์ที่จะต้องถูกฆ่าเป็นอาหารของคน เพื่อสร้างกุศลให้กับตัวเอง ตามหลักคำสอนที่ให้หลีกเลี่ยงจากการฆ่าสัตว์ตัดชีวิต
การเวียนเทียน โดยหลังจากกิจกรรมทำบุญทำทานในช่วงกลางวันแล้ว ในช่วงตอนค่ำ จะเข้าร่วมพิธีเวียนเทียนรอบอุโบสถที่วัด เพื่อรำลึกถึงพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ โดยจุดธูปเทียน และดอกไม้เป็นเครื่องสักการบูชา เดินเวียนประทักษิณาวัตร คือเวียนขวา 3 รอบ เป็นเครื่องหมายถึงการแสดงออกซึ่งการเคารพบูชาต่อสิ่งนั้นๆ อย่างสูงสุด
[accordions type=”toggle” handle=”arrows” space=”no” icon_color=”#c74c4c” icon_current_color=”#ffa507″ state=”close”] [accordion title=”คลิกอ่านคติธรรม โดย สมเด็จพระสังฆราช เนื่องในวันวิสาขบูชา 2561″ icon=”linecon-icon-bulb” state=”close”]คติธรรม ที่ สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก(อัมพร อัมพโร) ประทานเนื่องในวันวิสาขบูชา ปี 2561 ความว่า ดิถีวิสาขบูชาเวียนมาบรรจบอีกคำรบหนึ่ง นอกจากพุทธบริษัททุกหมู่เหล่า จักได้บูชาพระรัตนตรัยเป็นกรณีพิเศษ ยังเป็นวาระเฉลิมฉลองของชาวโลกที่องค์การสหประชาชาติ ประกาศให้วันวิสาขบูชาเป็นวันสำคัญสากลของโลก นับเป็นที่น่าอนุโมทนาอย่างยิ่ง สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงสั่งสอนให้เราทั้งหลายรู้เท่าทันจิตใจของตนเองอยู่ตลอดเวลาความรู้เท่าทันดังกล่าวนี้คือ การรู้แจ้งสภาพธรรมทั้งหลาย ไม่ว่ารูปธรรมหรือนามธรรม ว่าไม่ใช่ตัวตน ว่าไม่ใช่เรา และไม่ใช่ของเราหากแต่เป็นสภาวะที่เกิดและดับ สลับกันไปมิรู้จบสิ้น ความไม่รู้เท่าทันสภาวะเช่นนี้เองที่อำพรางให้คนเราคิดผิด เปรียบเสมือนการใช้เวลาตลอดชีวิตเพื่อชมมายากลโดยมิรู้เท่าทันว่าภาพอันดำเนินต่อเนื่องนั้นเป็นเพียงมายาที่ลวงตาทั้งสิ้น
ถ้าเมื่อใดบุคคลมีความรู้แจ้งในสภาพทุกข์ ความเปลี่ยนแปลง และความว่างจากตัวตน เขาย่อมสามารถละความโลภ ความ โกรธ และความหลง ที่ล้วนเกิดจากความเห็นแก่ตัวได้ อย่างไรก็ตาม การจะละคลายความยึดมั่นถือมั่นอันเป็นบ่อเกิดแห่งทุกข์ ย่อมไม่อาจเกิดขึ้นได้เลย หากขาดสภาพธรรมะที่เรียกว่า “สติ” ความทุกข์ยากในโลกมนุษย์ที่เราเผชิญกันอยู่ทุกวันนี้ ล้วนเกิดจากภาวะขาดสติด้วยกันทั้งสิ้น สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า จึงประทานพระบรมพุทโธวาทไว้ว่า “สติเป็นเครื่องตื่นอยู่ในโลก” เพราะฉะนั้นบุคคลใด ครอบครัวใด ชุมชนใด และสังคมใด ปรารถนาจะประสบสันติสุขอันไพบูลย์ บุคคลนั้น ครอบครัวนั้น ชุมชนนั้นและสังคมนั้น จำเป็นต้องสั่งสมภาวะแห่งการตื่นรู้ เพื่อจักได้รู้เท่าทันการคิด การพูด และการกระทำด้วย “สัมมาสติ” อันเป็นหนทางไปสู่ปัญญา นำมาซึ่งความหลุดพ้นจากห้วงทุกข์ได้อย่างแท้จริง
เนื่องในดิถีวิสาขบูชา ขอเชิญชวนสาธุชนทั้งหลาย จงอย่าได้ละเลยการอบรมเจริญสติ ให้รู้เท่าทัน กาย วาจา และใจของตน อันจักได้ชื่อว่าเป็นการกระทำหน้าที่ชาวพุทธ ได้ปฏิบัติบูชาตามที่พระพุทธองค์ทรงสรรเสริญ และเป็นการสืบอายุพระพุทธศาสนาให้ยั่งยืนอยู่คู่โลกนี้สืบไป ตราบกาลนาน.
[/accordion][/accordions]ความรู้เกี่ยวกับวันสำคัญไทย (เสฐียรโกเศศ และ พระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุตโต) ,๒๕๔๑ : ๓๙ – ๕๙) ข้อมูลจากเว็บไซต์: ธรรมะไทย “วันวิสาขบูชา” http://www.dhammathai.org/day/visaka.php
THE 15th UNITED NATIONS DAY OF VESAK CELEBRATIONS 2018 www.vesak.org