วันสุนัขโลก วันสุนัขแห่งชาติ (National Dog Day)

Colleen Paige-วันสุนัขโลก หรือวันสุนัขแห่งชาติ (National Dog Day)
Colleen Paige ผู้เชี่ยวชาญสัตว์เลี้ยง และชีวิตความเป็นอยู่ของสัตว์

ที่ประเทศสหรัฐอเมริกา มีวันสำคัญที่เกี่ยวกับสุนัขก็คือ วันสุนัขโลก หรือวันสุนัขแห่งชาติ (National Dog Day) ตรงกับวันที่ 26 สิงหาคม ของทุกปี ผู้คนต่างแชร์ภาพสุนัขของตน แต่ยังมีสุนัขไร้บ้านอีกมากมายที่ถูกทิ้งให้เผชิญชะตากรรม วันสุนัขโลก หรือวันสุนัขแห่งชาติ  ได้ถือกำเนิดขึ้น เมื่อปี ค.ศ. 2004 หรือปีพ.ศ. 2547 โดย คอลลีน เพจ (Colleen Paige) ผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับสัตว์เลี้ยง และชีวิตความเป็นอยู่ของสัตว์ (Pet & Family Lifestyle Expert) สร้างขึ้นเพื่อเป็นการให้ผู้คนหันมา ให้ความสำคัญในชีวิตความเป็นอยู่ และส่งเสริมให้มีการนำมาเลี้ยงดู ตลอดจนให้ความเป็นอยู่ที่ดี เป็นเกียรติแก่สุนัข เพราะสุนัขมีความอดทน ซื่อสัตย์ จงรักภักดี และเป็นมิตรที่ทำให้รู้สึก ปลอดภัยตลอดเวลา ซึ่งในวันที่ 26 สิงหาคม นับว่าเป็นวันสำคัญของคอลลีน เพจ เพราะเป็นวันแรกที่ครอบครัวของเธอ อนุญาตให้เธอเลี้ยงสุนัขตัวแรกที่มีชื่อว่า “เชลตี้” (Sheltie) ในขณะที่เธอมีอายุได้ 10 ขวบ นอกจากนี้เธอยังเป็นผู้ก่อตั้ง วันลูกสุนัขแห่งชาติ (วันที่ 23 มีนาคม) อีกด้วย
วันสุนัขโลก วันสุนัขแห่งชาติ (National Dog Day) เป็นวันที่จัดให้มีขึ้นเพื่อเป็นการเฉลิมฉลองให้กับสุนัขทุกสายพันธุ์ ไม่ว่าจะเป็นสายพันธุ์แท้ หรือสายพันธุ์ผสม เป้าหมายของ คอลลีน เพจ คือการกระตุ้นให้ประชาชนตระหนัก และมองเห็นถึงจำนวนของสุนัขที่ควรต้องได้รับความช่วยเหลือ ในแต่ละปี อีกทั้งยังเป็นการตระหนักถึงความเสียสละของสุนัข ในการทำหน้าที่อุทิศตัวทำงานเพื่อสังคม ไม่ว่าจะเป็นการรักษาชีวิต ช่วยให้เรามีความปลอดภัย รวมถึงการทำให้ความเป็นอยู่ของมนุษย์มีความสะดวกสบายมากยิ่งขึ้น อาทิ การช่วยเหลือผู้พิการ งานที่เกี่ยวข้องกับเสรีภาพและความปลอดภัย ยกตัวอย่างเช่น การค้นหาและตรวจสอบวัตถุระเบิด การค้นหายาเสพติด แม้แต่การช่วยชีวิตผู้ที่ต้องตกเป็นเหยื่อ ในเหตุการณ์โศกนาฏกรรม หรือสงคราม กระทั่งการช่วยคุมฝูงสัตว์ เรียกว่า สุนัขเป็นเพื่อนแสนรู้ ที่ทำงานร่วมกับมนุษย์ มาอย่างช้านาน

วันสุนัขโลก หรือวันสุนัขแห่งชาติ (National Dog Day) ยังเป็นวันที่ต่อต้านการกำจัดสุนัข ทุกสายพันธุ์ ซึ่งสุนัขเหล่านั้น ไม่ควรถูกทำให้ถึงแก่ความตาย และต้องมาทนทุกข์ทรมานด้วยฝีมือของมนุษย์ ในขณะเดียวกันที่ คอลลีน เพจ เองก็มีความรู้สึกว่า ชาวเอมริกัน หรือแม้แต่คนทั่วไป ก็มีสิทธิตามกฎหมายที่จะซื้อสุนัขสายพันธุ์แท้ หรือสุนัขสายพันธุ์ผสมมาเลี้ยงดู หรือให้ที่พัก  ไม่สนับสนุน ให้มีการซื้อสุนัขมาจาก อินเทอร์เน็ต หรือจากโฆษณา ตามหน้าหนังสือพิมพ์ นอกจากนั้น ยังไม่สนับสนุนสุนัขสายพันธุ์ใหม่ เช่น สุนัขหลายๆ พันธุ์ผสมกันแล้ว ได้พันธุ์ใหม่ เพราะจะทำให้สายพันธุ์ดั้งเดิมของสุนัขเสีย ซึ่งไม่เป็นผลดี กับสุนัขทั้งสิ้น

[quote font_size=”18″ color=”#ffdf42″ bgcolor=”#996633″ bcolor=”#ffdf42″ arrow=”yes”]วันสำคัญอื่นๆ ที่เกี่ยวกับสุนัข[/quote]

วันป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าของโลก 28 กันยายน

องค์กรเพื่อการรณรงค์และควบคุมโลกพิษสุนัขบ้าของโลก ต้องการเผยแพร่ให้ประชาชนได้รับทราบข้อมูล และเกิดความเข้าใจ โรคพิษสุนัขบ้า(Rabies) มากยิ่งขึ้น โดยจัดให้มีกิจกรรมในเดือนกันยายน มีการประชุมตัวแทนจากประเทศต่างๆ จำนวน 46 ประเทศทั่วโลก มาร่วมกันจัดกิจกรรม หมุนเวียนกันไปในแต่ละประเทศ โดยมีพันธกิจที่สำคัญ คือ ร่วมมือกัน กำจัดโรคพิษสุนัขบ้าให้หมดไป ให้เหลือเพียงตำนานในอดีต “Together We Can Make Rabies History”

Louis Pasteurในประเทศไทย ได้ให้ความสำคัญกับปัญหาโรคพิษสุนัขบ้า นำโดย สถานเสาวภา สภากาชาดไทย กรุงเทพมหานคร โดยที่ประชุมเครือข่ายการป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าโลก องค์การอนามัยโลก (WHO) และองค์กรโรคระบาดสัตว์ระหว่างประเทศ (OIE) ได้กำหนดให้จัดกิจกรรม วันป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าโลก ในวันที่ 28 กันยายน ของทุกปี ซึ่งเป็นวันครบรอบการเสียชีวิตของหลุยส์ ปาสเตอร์ (Louis Pasteur : พ.ศ.2365-2438) ซึ่งเป็นนักวิทยาศาสตร์เคมีและจุลวิทยาชาวฝรั่งเศส ผู้ผลิตวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าสำหรับฉีดให้คนที่ถูกสุนัขบ้ากัด ได้สำเร็จเป็นครั้งแรก เมื่อ พ.ศ.2428 โดยผลิตจาก เนื้อเยื่อเซลล์ประสาทของกระต่ายทดลอง และเริ่มนำมาฉีดให้กับมนุษย์เป็นครั้งแรกของโลก โดยใช้รักษาให้กับเด็กชาย โจเซฟ เมสเตเกกดร์ (Joseph Meister) วัย 9 ขวบ เหตุการณ์นี้ตรงกับช่วงรัชสมัยของรัชกาลที่ 5 ในประเทศไทย (แหล่งที่มา: http://time.com/3925192/rabies-vaccine-history/)

วันแห่งสุนัข (犬の日 : Inu No Hi) ในประเทศญี่ปุ่น

ตรงกับวันที่ 11 พฤศจิกายน ของทุกปี เพื่อส่งเสริมให้คนรักและระลึกถึงสุนัข นอกจากนี้ยังมีวันที่เกี่ยวกับสุนัขที่คนทั่วโลกกล่าวขวัญถึงกันเป็นอย่างมาก ก็คือ วันแห่งสุนัขผู้ซื่อสัตย์ฮาจิโกะ ตรงกับวันที่ 8 เมษายน ตั้งขึ้นในปี 1936 เพื่อรำลึกถึงสุนัขที่ชื่อ ฮาจิโกะ (Hachiko) สุนัขญี่ปุ่นพันธุ์ Akita ที่แสนจะซื่อสัตย์ เสียชีวิตที่หน้าสถานีรถไฟชิบุย่า เมื่อวันที่ 8 มีนาคม ปี 1935 หลังจากรอคอยเจ้านายของมันถึง 10 ปี (ศาสตราจารย์อุเอะโนะ เสียชีวิตอย่างกระทันหันด้วยอาการเลือดออกในสมอง ทำให้ไม่ได้กลับไปพบเจ้า ฮาจิโกะ ที่รอคอยอยู่ที่สถานีชิบูย่าได้อีก

วันแห่งสุนัขผู้ซื่อสัตย์ฮาจิโกะ
ฮาจิโกะ (Hachiko) สุนัขญี่ปุ่นพันธุ์ Akita ที่แสนจะซื่อสัตย์ เสียชีวิตที่หน้าสถานีรถไฟชิบุย่า เมื่อวันที่ 8 มีนาคม ปี 1935

ชื่อเสียงความภักดีของฮาจิที่เกิดจากการมานั่งเฝ้ารอเจ้านายมาตลอด 10 ปี ได้ทราบไปถึงพระราชินีแห่งประเทศญี่ปุ่น พระองค์จึงทรงมอบหมายให้ศิลปินช่างหล่อชื่อดังในยุคนั้น ก็คือ อันโดะ เทะรุ สร้างรูปหล่อทองแดง ฮาจิโกะ ในเดือนเมษายน 1934 เพื่อยกย่อง และนำไปตั้งไว้ที่บริเวณสถานีรถไฟชิบูยะ ต่อมาไม่นาน ในวันที่ 8 มีนาคม 1935 ฮาจิโกะก็จากไป โดยมีคนพบว่าฮาจิโกะนอนตายยังจุดที่มันคอยมารอเจ้านายของมัน ซึ่งข่าวการตายของฮาจิโกะนั้นถือว่าเป็นข่าวใหญ่มาก จนถูกตีพิมพ์ลงบนหน้า 1 ของหนังสือพิมพ์ญี่ปุ่น สำหรับร่างของฮาจิโกะนั้นถูกนำไปเก็บรักษาเอาไว้ที่พิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์ แห่งชาติ ในกรุงโตเกียว

คลิกดูแผนที่ตั้งรูปหล่อของฮาจิโกะ

[quote font_size=”18″ color=”#ffdf42″ bgcolor=”#996633″ bcolor=”#ffdf42″ arrow=”yes”]ประเภทและพันธ์สุนัขแบ่งตามกลุ่ม ดังนี้[/quote] [dropcap font=”Arial” color=”#cc0033″]1[/dropcap]กลุ่มสุนัขใช้งาน ลักษณะเด่นคือ มีความกระตือรือร้นตลอดเวลา โดยเฉพาะมีสัญชาติญาณที่ดีมากขณะอยู่ในน้ำหรืออยู่ในป่า ซึ่งลักษณะดังกล่าวนี้เอง จึงมีการนำมาใช้ในการล่าสัตว์ เป็นสุนัขชี้ทาง Pointing ไล่ฝูงนก ใช้ให้สุนัขเก็บของ มีการนำสุนัขบางพันธุ์นำทางคนตาบอดได้ สุนัขในกลุ่มนี้ต้องออกกำลังการอย่างสม่ำเสมอ เช่น ชาร์เป่ย, ดัลเมเชียน, บิชอง, ฟริเซ่, ปักกิ่ง, ร็อตไวเลอร์, อลาสกัน มาลามิวท์, อาคิตะ อินุ, อเมริกัน พิทบูล เทอร์เรีย, เซนต์เบอร์นาร์ด, โคมอนดอร์, โดเบอร์แมน, ไซบีเรียน ฮัสกี้ และไทยบางแก้ว
[dropcap font=”Arial” color=”#ffdf42″]2[/dropcap]กลุ่มสุนัขกีฬา เป็นสุนัขที่ใช้ในเกมกีฬาล่าสัตว์ เช่นเวลาเจ้าของยิงนกเป็นนำ มะหมาพวกนี้จะช่วยไปคาบนกกลับมา เช่น ลาบราดอร์ รีทรีฟเวอร์, อิงลิช พอยน์เตอร์, อเมริกัน ค็อกเกอร์สเปเนียล, โกลเด้น รีทรีฟเวอร์

[dropcap font=”Arial” color=”#cc0033″]3[/dropcap]กลุ่มที่ไม่ใช่สุนัขกีฬา เป็นสุนัขที่ไม่สามารถจัดเข้ากลุ่มใดได้เนื่องจากมีความหลากหลาย ทั้งขนาด ขน อุปนิสัยเฉพาะตัว และลักษณะทั่วไป เช่น บลูด็อก, บอสตัน เทอร์เรีย, บาเซนจิ และเชา เชา

[dropcap font=”Arial” color=”#ff9900″]4[/dropcap]กลุ่มใช้คุมฝูงสัตว์ เป็นสุนัขที่ใช้ในการคุมฝูงปศุสัตว์ ต้อนวัวต้อนแกะให้เข้าคอก เช่น บอร์เดอร์ คอลลี, ชเนาเซอร์, พูลี่, พ็อมโบรค เวล์ช คอร์กี้, เยอรมันเชฟเฟิร์ด และโอลด์อิงลิชชีปด็อก
[dropcap font=”Arial” color=”#cc0033″]5[/dropcap]กลุ่มเทอร์เรีย กลุ่มนี้มีความแตกต่างกันตั้งแต่ขนาดไม่ถึง 1 ฟุต จนถึงขนาดความสูงขนาดใหญ่กว่า 3 ฟุต โดยแต่เดิมมะหมากลุ่มนี้ ใช้จับหนูและล่าสัตว์ เช่น ชิวาวา, บูลล์เทอร์เรีย, อเมริกัน สแตปฟอร์ดชายส์ เทอร์เรีย, เวส ไฮแลนด์ ไวท์ เทอร์เรีย และ แจ็ค รัสเซล เทอร์เรียร์
[dropcap font=”Arial” color=”#ffdf42″]6[/dropcap]กลุ่มทอย เป็นสุนัขตัวเล็ก เหมือนตุ๊กตา น้ำหนักอยู่ระหว่าง1-18ปอนด์ (0.45-8กก.) เช่น ชิสุ, ปอมเมอเรเนียน, ปั๊ก, พูเดิ้ล, มิเนเจอร์พินช์เชอร์ และ ยอร์คเชียร์เทอร์เรีย
[dropcap font=”Arial” color=”#cc0033″]7[/dropcap]กลุ่มฮาวด์ เป็นสุนัขที่ใช้ไล่ล่าสัตว์ค้นหาตำแหน่ง กวางหรือกระต่ายในโพรง สุนัขกลุ่มนี้จะมีจมูกหรือสายตาที่ดีมาก เช่น ชิบะ..อินุ ดัชชุน, บีเกิล, อัฟกัน ฮาวนด์ อิตาเลียน เกรย์ฮาวด์ และไทยหลังอาน
[dropcap font=”Arial” color=”#ff9900″]8[/dropcap]กลุ่มอื่นๆ เป็นสุนัขอีกหลากหลายสายพันธุ์ ที่ยังไม่ได้จดทะเบียนอยู่ในกลุ่มต่างๆ ดังกล่าวข้างต้นของสมาคม The American Kennel Club (AKC)
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมที่ http://www.mymamha.com [divide icon=”circle” width=”medium”]

กิจกรรมในวันสุนัขโลก วันสุนัขแห่งชาติ (National Dog Day)

ในวันสุนัขโลก วันสุนัขแห่งชาติ (National Dog Day) นอกจากจะเป็นอีกหนึ่งวัน ที่เป็นเสมือนวันเกิดของสุนัขทั่วโลกแล้ว วันนี้ก็ยังมีกิจกรรมพิเศษ เพื่อมอบความสุขให้กับสุนัข รวมถึงกิจกรรม เพื่อการกุศลต่างๆ เช่น กิจกรรมรณรงค์ ช่วยเหลือสุนัขจรจัดไร้บ้าน ไร้เจ้าของอีกด้วย[divide icon=”circle” width=”medium”]

สายพันธุ์สุนัข-หมา

สำหรับประเทศไทยมีการประกาศใช้พระราชบัญญัติป้องกันการทารุณกรรมและการจัดสวัสดิภาพสัตว์ พ.ศ. ๒๕๕๗
http://www.vet.cmu.ac.th/web/file/Act-2.pdf

ข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่อง การควบคุมการเลี้ยงหรือปล่อยสุนัข พ.ศ. 2548 http://www.tungkhoodog.com/uploads/data/province_control_dogs.pdf
เป็นกฎหมายท้องถิ่นที่แต่จะพื้นที่จะออกกฎหมายมาบังคับใช้กับคนที่อาศัยอยู่ในท้องที่นั้น ๆ ให้ปฏิบัติตามข้อบังคับ ซึ่งสำหรับกรุงเทพมหานครก็มีข้อบัญญัติ ที่เกี่ยวข้องกับการเลี้ยง หรือการปล่อยสุนัข เช่นกัน

สุนัขควบคุมพิเศษ

ห้ามบุคคลอายุต่ำกว่าสิบห้าปี หรือเกินกว่าหกสิบห้าปี นำสุนัขควบคุมพิเศษออกนอกสถานที่เลี้ยง เว้นแต่จะอยู่ในกรง ที่ขัง หรือเครื่องควบคุมอื่น ที่มั่นคงแข็งแรง เพียงพอ ที่จะป้องกันสุนัข มิให้เข้าถึงบุคคลภายนอก

สุนัขควบคุมพิเศษ

(1) สุนัขสายพันธุ์ที่ดุร้าย เช่น พิทบูลเทอเรีย  บูลเทอเรีย สเตฟฟอร์ดเชอร์บูลเทอเรีย รอทไวเลอร์ และฟิล่าบราซิลเรียโร เป็นต้น
(2) สุนัขที่มีประวัติทำร้ายคน หรือพยายามทำร้ายคน

ในการเลี้ยงสุนัข เจ้าของสุนัขต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ ดังนี้

(1) จัดสถานที่เลี้ยงตามความเหมาะสมของสุนัข โดยมีขนาดเพียงพอแก่การดำรงชีวิตของสุนัข มีแสงสว่างและการระบายอากาศ ที่เพียงพอ มีระบบการระบายน้ำและกำจัดสิ่งปฏิกูลให้ถูกสุขลักษณะ กรณีเป็นสุนัขควบคุมพิเศษ จะต้องเลี้ยงในสถานที่ หรือกรงที่สุนัขไม่สามารถเข้าถึงบุคคลภายนอก และมีป้ายเตือนให้ระมัดระวัง โดยสังเกตได้อย่างชัดเจน
(2) ควบคุมสุนัขมิให้ออกนอกสถานที่เลี้ยงโดยปราศจากการควบคุม
(3) ควบคุมดูแลสุนัขมิให้ก่อเหตุเดือดร้อนรำคาญ เช่น ก่อให้เกิดเสียงดังติดต่อกัน เป็นระยะเวลานาน ๆ เป็นต้น
(4) รักษาสถานที่เลี้ยงสุนัขให้สะอาดอยู่เสมอ จัดเก็บสิ่งปฏิกูลให้ถูกสุขลักษณะเป็นประจำ ไม่ปล่อยให้เป็นที่สะสมหมักหมม จนเกิดกลิ่นเหม็นรบกวนผู้ที่อยู่บริเวณใกล้เคียง
(5) ต้องรับผิดชอบต่อความเป็นอยู่ของสุนัข เช่น เรื่องอาหาร ความสะอาด เป็นต้น ถ้าเจ้าของสุนัข ไม่สามารถเลี้ยงดูสุนัขได้เป็นการชั่วคราว จะต้องจัดให้มีผู้ดูแลความเป็นอยู่ของสุนัข ให้เป็นปกติสุข

ห้ามมิให้ผู้ใดเลี้ยงสุนัขในที่ หรือทางสาธารณะ หรือในที่ของบุคคลอื่น โดยปราศจากความยินยอม

ข้อปฎิบัติสำหรับ ผู้ใดที่นำสุนัขออกนอกสถานที่เลี้ยง

(1) พกบัตรประจำตัวสุนัข และต้องแสดงบัตรประจำตัวสุนัข เมื่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นเจ้าพนักงานสาธารณสุข หรือพนักงานเจ้าหน้าที่เรียกตรวจ
(2) ผูกสายลากจูงสุนัขที่แข็งแรง และจับสายลากจูงตลอดเวลา ในกรณีที่เป็นสุนัขควบคุมพิเศษ ต้องใส่อุปกรณ์ครอบปาก และจับสายลากจูงห่างจากตัวสุนัข ไม่เกินห้าสิบเซนติเมตรตลอดเวลา


แฟนเพจ: วันสุนัขโลก วันสุนัขแห่งชาติ (National Dog Day)

Sanook.com.  (2559).  วันสุนัขแห่งชาติ (National Dog Day).  เข้าถึงได้จาก https://guru.sanook.com/27941/

Mymamha.com.  (ม.ป.ป.).  รวมพันธ์สุนัข.  เข้าถึงได้จาก http://www.mymamha.com

Nationaldogday.com.  (2004).  About National Dog Day.   Retrieved from https://www.nationaldogday.com

วันสุนัขโลก วันสุนัขแห่งชาติ (National Dog Day)