วันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ 18 สิงหาคม

พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว-ร4-รัชกาลที่4วันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ ตรงกับวันที่ 18 สิงหาคม เป็นวันที่เกิดเหตุการณ์สำคัญในปี พ.ศ.2411 พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้เสด็จพระราชดำเนินชลมารคและสถลมารค ทอดพระเนตรสุริยุปราคาเต็มดวง ที่ทรงคำนวณพยากรณ์ไว้ล่วงหน้า 2 ปี ว่าจะเกิดในวันอังคาร ขึ้น 1 ค่ำ เดือน 10 ปีมะโรง สัมฤทธิศก จุลศักราช 1230 โดยจะเห็นหมดดวงและชัดเจนที่สุด คือ ที่หมู่บ้านหัววาฬ ตำบลหว้ากอ อำเภอเมือง จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ตั้งแต่บริเวณ เกาะจาน ขึ้นไปถึง ปราณบุรี และลงไปถึง จังหวัดชุมพร จึงโปรดฯ ให้เจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) ไปสร้างค่ายหลวงและพลับพลาที่ประทับ มีคณะนักดาราศาสตร์จากประเทศฝรั่งเศส และเซอร์แฮรี ออด เจ้าเมืองสิงคโปร์เดินทางมาเข้าเฝ้าฯ และร่วมในการสังเกตการณ์  จากเหตุการณ์ในครั้งนั้น ทำให้พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงรับเอาศิลปวิทยาการ และความคิดสมัยใหม่มาประยุกต์ใช้ในการปกครองประเทศ ด้วยเหตุนี้องค์การศึกษาวิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (ยูเนสโก) จึงได้ประกาศยกย่องพระเกียรติคุณของพระองค์ให้ทรงเป็นบุคคลสำคัญของโลก ด้วยพระราชกรณียกิจและพระเกียรติคุณนานัปการ โดยเฉพาะพระราชกรณียกิจด้านดาราศาสตร์

กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสมาคมวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ โดยเฉพาะทางด้านดาราศาสตร์ มีแนวคิดว่าน่าจะถือเอาวันที่ 18 สิงหาคมเป็นวันวิทยาศาสตร์ไทย ต่อมาในวันที่ 14 เมษายน พ.ศ.2525 คณะรัฐมนตรีได้มีมติเทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็น “พระบิดาแห่งวิทยาศาสตร์ไทย” พร้อมทั้งกำหนดให้วันที่ 18 สิงหาคม เป็น “วันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ”

เมื่อปี พ.ศ. 2527 กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ได้จัดงานสัปดาห์วิทยาศาสตร์แห่งชาติขึ้นเป็นครั้งแรก ระหว่างวันที่ 18-24 สิงหาคม โดยได้รับความร่วมมือจากหน่วยงานราชการต่างๆ จนได้รับความสนใจทั้งจากภาครัฐ เอกชน และประชาชนทั่วไป ซึ่งทำให้คณะรัฐมนตรีได้เล็งเห็นความสำคัญ ดังนั้น คณะรัฐมนตรีจึงได้อนุมัติให้กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ดำเนินการจัดงาน “สัปดาห์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ” เป็นประจำทุกปี

อุทยานวิทยาศาสตร์พระจอมเกล้า-ณ-หว้ากอ-ประจวบสำหรับ “อุทยานวิทยาศาสตร์” ที่บ้านหว้ากอ จ.ประจวบคีรีขันธ์ นั้น ในเวลาต่อมา พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานชื่ออุทยานนี้ว่า “อุทยานวิทยาศาสตร์พระจอมเกล้า ณ หว้ากอ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์” และได้รับพระบรมราชานุญาตให้จัดสร้าง พระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระบรมรูปหล่อประทับนั่งบนพระเก้าอี้ฉลองพระองค์เครื่องแบบทหารเรือ ชุดเดียวกับวันที่พระองค์ท่านเสด็จพระราชดำเนินมาบ้านหว้ากอ เพื่อเป็นการระลึกถึง “วันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ”

[quote arrow=”yes”]พระราชกรณียกิจทางด้านดาราศาสตร์ของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว[/quote]

 

พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงโปรดเกล้าฯ ให้สร้างหอดูดาวบนเขาวัง ในจังหวัดเพชรบุรี เมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2403 พระราชทานนามว่า “หอชัชวาลเวียงชัย” ซึ่งตลอดพระชนม์ชีพของพระองค์ ได้เคยทอดพระเนตรดาวหาง 3 ดวงคือ

  1. ดาวหางฟลูเกอร์กูส (Flaugergues s Comet) เป็นดาวหางที่มีขนาดใหญ่และมีหาง 2 หาง ปรากฏในรัชสมัย พระพุทธเลิศหล้านภาลัย เมื่อ พ.ศ. 2355 ขณะนั้นเจ้าฟ้ามงกฎมีพระชันษาราว 8 ปี เมื่อทรงเห็นแล้ว คงจะทรงติดตามศึกษาเรื่องดาวหางอยู่เสมอ เพราะว่าก่อนดวงที่ 2 จะมาปรากฏ พระองค์สามารถทรงนิพนธ์ประกาศฉบับแรกชื่อว่า “ประกาศดาวหางขึ้นอย่าได้วิตก” แจ้งแก่ประชาชน
  2. ดาวหางโดนาติ (Donati a Comet) เป็นดาวหางที่มีขนาดใหญ่มาก นักดาราศาสตร์อิตาเลียนค้นพบในคืนวันที่ 2 มิถุนายน พ.ศ. 2401 และคืนต่อ ๆ มา จนถึงวันที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2402 (รวมเวลา 9 เดือน) ชาวไทยคงจะเห็นด้วยตาเปล่า ระหว่างเดือนกันยายน-ตุลาคม พ.ศ. 2401ดาวหางดังกล่าวมีลักษณะเป็น 2 หาง หางหนึ่งเหยียดตรง อีกหางหนึ่งเป็นพู่โค้งสวยงามอยู่ราว 2 เดือน พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเกรงว่า เมื่อประชาชนเห็นดาวหางโดนาติ แล้วจะตื่นเต้นไปตามคำลือต่าง ๆ จึงทรงออกประกาศเตือนชื่อว่า “ประกาศดาวหางขึ้นอย่าได้วิตก” นับเป็นประกาศทางวิทยาศาสตร์ฉบับแรกของประเทศ มีความว่า “ดาวหางนี้ชาวยุโรปได้เห็นมาแล้วหลายเดือน ดาวหางนี้มีคติแลทางยาวไปในท้องฟ้า แล้วก็กลับมาได้เห็นในประเทศทั้งนี้อีก เพราะเหตุนี้อย่าให้ราษฎรทั้งปวงตื่นกัน และคิดวิตกเล่าลือไปต่าง ๆ ด้วยว่ามิใช่จะเห็นแต่ในพระนครนี้ และเมืองที่ใกล้เคียงเท่านั้นหามิได้ย่อมได้เห็นทุกบ้านทุกเมืองทั่วพิภพอย่างนี้แล”
  3. ดาวหางเทพบุท (Tebbut s Comet) เป็นดาวหางที่มีขนาดใหญ่ หางยาว และสว่างกว่าดาวหางโดนาติ ปรากฏแก่สายตาชาวโลก ระหว่างเดือนมิถุนายน-กรกฎาคม พ.ศ. 2404 เป็นดาวที่พระองค์ทรงสนพระราชหฤทัยมากยิ่งขึ้น ถึงกับทรงได้คำนวณไว้ล่วงหน้าว่า จะปรากฏเมื่อใด และได้ทรงออกประกาศไว้ล่วงหน้า มิให้ประชาชนตื่นตระหนก ทั้งนี้เพราะพระองค์มีพระราชประสงค์มุ่งขจัดความเชื่อ เกี่ยวกับเรื่องโชคลาง และทรงให้ราษฎรตั้งอยู่ในความไม่ประมาท เตรียมพร้อมที่จะเผชิญเหตุการณ์ (ถ้าจะเกิด) อย่างมีเหตุผลตามแบบวิทยาศาสตร์

หอดูดาว-พระนครคีรี-เขาวัง-เพชรบุรี

[quote font_size=”18″ color=”#ffdf42″ bgcolor=”#996633″ bcolor=”#ffdf42″ arrow=”yes”]วัตถุประสงค์ของการจัดงานวันสัปดาห์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ[/quote] [dropcap font=”Arial” color=”#cc0033″]1[/dropcap]เพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติและพระปรีชาสามารถทางด้านวิทยาศาสตร์ของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว “พระบิดาแห่งวิทยาศาสตร์ไทย”
[dropcap font=”Arial” color=”#ffdf42″]2[/dropcap]เพื่อเป็นการส่งเสริมและเผยแพร่ผลงานการค้นคว้าวิจัยทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ซึ่งมีความจำเป็นอย่างยิ่งต่อการพัฒนาประเทศ
[dropcap font=”Arial” color=”#cc0033″]3[/dropcap]เพื่อสนับสนุนให้กำลังใจและโอกาสแก่นักวิจัย นักประดิษฐ์ ได้แสดงผลงานต่อสาธารณชน
[dropcap font=”Arial” color=”#ff9900″]4[/dropcap]เพื่อส่งเสริมความร่วมมือระหว่าภาครัฐและเอกชนในการนำวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีไปใช้ในการพัฒนาประเทศอย่างมีประสิทธิภาพ
[dropcap font=”Arial” color=”#cc0033″]5[/dropcap]เพื่อเสริมสร้างบรรยากาศทางวิทยาศาสตร์ อันเป็นวิถีทางหนึ่งของการแก้ปัญหาการขาดแคลนกำลังคนทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี[divide icon=”circle” width=”medium”]

กิจกรรมที่ควรปฏิบัติในวันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ

  • ร่วมพิธีวางมาลาและเฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
  • จัดนิทรรศการเผยแพร่ พระราชประวัติ และพระราชกรณียกิจ ของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
  • จัดกิจกรรมส่งเสริมงานด้านวิทยาศาสตร์ และสิ่งประดิษฐ์ต่าง ๆ

พิธีวางพานพุ่มถวายราชสักการะพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวตัวแทนสโมสรนักศึกษา 61 คณาจารย์ นักศึกษา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม ร่วมพิธีวางพานพุ่มถวายราชสักการะพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 “พระบิดาแห่งวิทยาศาสตร์ไทย” เนื่องใน “วันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ” และเพื่อระลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณ ที่ทรงมีต่อวงการวิทยาศาสตร์ไทย ณ บริเวณลานหน้าพระบรมราชานุสาวรีย์ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ถนนพระราม 6 กรุงเทพมหานคร

 

 

นักวิทยาศาสตร์โลก สามารถอ่านเพิ่มเติมได้ที่:
http://cec-wys.org/category/วิทยาศาสตร์/

นักวิทยาศาสตร์ดีเด่นในปี 2561
รางวัล “นักวิทยาศาสตร์ดีเด่น” โดยมูลนิธิส่งเสริมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในพระบรมราชูปถัมภ์ ร่วมกับ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและเอกชนจัดขึ้น  สำหรับปีนี้นักวิทยาศาสตร์ไทยที่มีผลงานดีเด่นและเป็นแบบอย่างที่ดี  ได้มอบรางวัลนักวิทยาศาสตร์ดีเด่นประจำปี 2561 คือ ศาสตราจารย์ ดร.อรวรรณ ชัยลภากุล ภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย  จากผลงานวิจัย “การพัฒนาการตรวจวัดทางเคมีไฟฟ้าและการประยุกต์ใช้” 

ดร.อรวรรณ ชัยลภากุล
(ท่านที่ 3 จากซ้าย) ศาสตราจารย์ ดร.อรวรรณ ชัยลภากุล ภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ภาพข่าวจาก: MGROnline – 2018/08/02

ซึ่งงานวิจัยหลักคือ การนำขั้วไฟฟ้าเพชรเจือโบรอนมาประยุกต์ใช้เป็นเซ็นเซอร์สำหรับการตรวจวัด และทีมนักวิจัยยังได้พัฒนาขั้วไฟฟ้าโดยใช้นาโนคาร์บอน เช่น ท่อนาโนกราฟีน และนาโนคอมโพสิต รวมถึงอนุภาคโลหะขนาดนาโนเมตร อย่างอนุภาคทอง อนุภาคเงิน และควอนตัมดอท จนพัฒนาการตรวจวัดในรูปแบบใหม่ที่เรียกว่า อุปกรณ์ปฏิบัติการบนกระดาษ (Lab-on-paper) ที่ใช้ร่วมกับการตรวจวัดทางเคมีไฟฟ้าเป็นครั้งแรกของโลก โดยต่อยอดมาจากอุปกรณ์ปฏิบัติการบนชิพที่ช่วยลดปริมาณสารเคมีในการวิเคราะห์ ลดขนาด สามารถพกพาไปทดสอบภายนอกห้องปฏิบัติการได้

นอกจากนี้มูลนิธิส่งเสริมวิทยาศาสตร์ฯ ได้มอบรางวัลนักวิทยาศาสตร์รุ่นใหม่ ประจำปี 2561 ให้กับ “ดร.จุฬารัตน์ วัฒนกิจ” สำนักวิชาวิทยาการพลังงาน สถาบันวิทยสิริเมธี (VISTEC) จากผลงานวิจัย “ตัวเร่งปฏิกิริยานาโนสู่การพัฒนาอุตสาหกรรมที่ยั่งยืน” ซึ่งมุ่งเน้นพัฒนาตัวเร่งปฏิกิริยาเพื่อใช้ประโยชน์ในด้านอุตสาหกรรมปิโตรเคมี เพื่อเปลี่ยนสารประกอบที่มีมูลค่ำต่ำไปเป็นสารที่ต้องการและมีมูลค่าสูงได้ และ “ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เจ้าทรัพย์ บุญมาก” สาขาวิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น จากผลงานวิจัย “ผลึกวิทยาของวัสดุโคออร์ดิเนชั่นพอลิเมอร์และสารเชิงซ้อนชนิดใหม่” ซึ่งเป็นการสร้างองค์ความรู้ใหม่และนำไปสู่นวัตกรรมการตรวจวิเคราะห์ที่สามารถประยุกต์ใช้ในหลากหลายด้าน

รางวัล “นักวิทยาศาสตร์ดีเด่น” เป็นรางวัลอันทรงเกียรติสำหรับวงการวิทยาศาสตร์ไทย ที่หานักวิทยาศาสตร์ผู้ทำคุณประโยชน์ให้กับประเทศชาติมายาวนานจนผลงานเป็นที่ประจักษ์และก่อให้เกิดผลทางด้านเศรษฐกิจและสังคม


กระปุกดอทคอม.  (2551).  วันวิทยาศาสตร์ 2561 ประวัติวันวิทยาศาสตร์ 18 สิงหาคม.  เข้าถึงได้จาก https://hilight.kapook.com/view/27324

นาตยา คชินทร.  (2561, 9 สิงหาคม).  ศาสตราย์ ดร.อรวรรณ ชัยลภากุล นักวิทยาศาสร์ดีเด่น ปี 2561.  เดลินิวส์ , หน้า 24.

สำนักหอสมุดกลาง มหาวิทยาลัยรามคำแหง.  (2554).  วันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ ๑๘ สิงหาคม.  เข้าถึงได้จาก http://www.lib.ru.ac.th/journal/aug/aug18-ScienceDay.html

TK park อุทยานการเรียนรู้.  (ม.ป.ป.).  วันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ. เข้าถึงได้จาก https://www.tkpark.or.th/tha/articles_detail/123/วันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ

วันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ National Science Day