หนังสือชุดนี้มีทั้งหมด ๔ เล่ม แบ่งเป็นหนังสือพระราชพิธีบรมราชาภิเษก ฉบับภาษาไทย ฉบับภาษาอังกฤษ ประมวลบทความ และองค์ความรู้อย่างละ ๑ เล่ม เนื้อภายในหนังสือประกอบด้วยความเป็นมาของพระราชพิธีบรมราชาภิเษก ลำดับพระราชพิธี การเตรียมพระราชพิธีและสถานที่ พระราชพิธีเบื้องต้น พระราชพิธีเบื้องปลาย และพระปฐมบรมราชโองการ รวมทั้งแหล่งน้ำศักดิ์สิทธิ์ ตลอดจนส่วนต่างๆที่เกี่ยวข้องกับงานพระราชพิธีบรมราชาภิเษกในช่วงระหว่างวันที่ ๔-๖ พฤษภาคมที่จะถึงนี้
แนะนำหนังสือพระราชพิธีบรมราชาภิเษก
|
“หนังสือพระราชพิธีบรมราชาภิเษก” จัดทำขึ้นเนื่องในโอกาสมหามงคลการพระราชพิธีบรมราชาภิเษก พุทธศักราช ๒๕๖๒ กระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) เผยแพร่ในรูปแบบ ebook และจัดพิมพ์แจกจ่ายไปยัง สถานศึกษา สถานศึกษา ห้องสมุดประชาชน และหน่วยงาน เพื่อให้ความ ความเข้าใจเกี่ยวกับโบราณราชประเพณี กับประชาชน พระราชพิธีบรมราชาภิเษก ดาวน์โหลดได้ที่นี่ URL: ตรง / Link สำรอง |
“Royal Coronation Ceremony” In this book, the English spelling of the proper names of the palace and buildings inside the Grand Palace and Wat Phra Sri Rattana Satsadaram is based on King Rama VI’s Principles for the Romanization of the Thai script. URL: ตรง / Link สำรอง | |
“ประมวลองค์ความรู้ พระราชพิธีบรมราชาภิเษก” พระราชพิธีบรมราชาภิเษก พุทธศักราช ๒๕๖๒ ซึ่งมีรายละเอียด ขั้นตอน สถานที่ในการประกอบพระราชพิธีทั้งพระราชพิธีเบื้องต้น พระราชพิธีเบื้องกลาง และพระราชพิธีเบื้องปลาย รวมถึงจะปรากฏคำศัพท์สำคัญต่างๆ เป็นการเฉพาะที่เกี่ยวเนื่องกับการพระราชพิธีบรมราชาภิเษก URL: ตรง / Link สำรอง | |
“ประมวลบทความ เนื่องในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก” เนื้อหาเกี่ยวกับ ขั้นตอน สถานที่ ในการประกอบพระราชพิธี ทั้งพระราชพิธีเบื้องต้น พระราชพิธีเบื้องกลาง และพระราชพิธีเบื้องปลาย คำศัพท์สำคัญต่างๆ เป็นการเฉพาะที่เกี่ยวเนื่องกับการพระราชพิธีบรมราชาภิเษก เนื่องในโอกาสมหามงคลการพระราชพิธีบรมราชาภิเษก พุทธศักราช ๒๕๖๒ กระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) เผยแพร่ในรูปแบบ ebook และจัดพิมพ์แจกจ่ายไปยัง สถานศึกษา ห้องสมุดประชาชน และหน่วยงาน เพื่อให้ประชาชนมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับโบราณราชประเพณี นำเสนอความรู้ที่เกี่ยวเนื่องกับพระราชพิธี URL: ตรง / Link สำรอง |
พระราชพิธีบรมราชาภิเษก
พระมหากษัตริย์ไทยทุกพระองค์ จะต้องผ่านกระบวนการพิธีที่เรียกว่า บรมราชาภิเษก ก่อน คือการรับสมมติขึ้นเป็นพระเจ้าแผ่นดินเพื่อเป็นพระเกียรติยศ ในพิธีจะมีการถวายเครื่องเบญจราชกกุธภัณฑ์ หากพระเจ้าแผ่นดินยังไม่ได้ทำพิธีบรมราชาภิเษก หรือยังไม่ได้รับเบญจราชกกุธภัณฑ์ พระเกียรติยศจะยังไม่เต็มที่ เป็นต้นว่า คำสั่งของพระเจ้าแผ่นดินจะเรียกเพียงพระราชโองการ ไม่ใช้พระบรมราชโองการ พระนามว่าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวก็จะยังไม่ออกพระนามนี้ เรียกเพียงสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ฉัตรก็เพียง ๗ ชั้น เพราะฉัตร ๙ ชั้น เช่นเดียวกับชาวยุโรปที่สวมมงกุฎ แต่ของไทยจะไม่ใช้วิธีการสวมพระมหาพิชัยมงกุฎ เนื่องจากหัวใจสำคัญของพระราชพิธีบรมราชาภิเษกอยู่ที่การถวายน้ำอภิเษก หลังการถวายน้ำอภิเษกแล้วจึงถวายของซึ่งสิ่งของเหล่านี้นับเป็นของสำคัญสำหรับบ้านเมืองมาโดยตลอด (คณะกรรมการอำนวยการจัดงานพระราชพิธีบรมราชาภิเษก, 2562)
เครื่องเบญจราชกกุธภัณฑ์ ในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก
เครื่องเบญจราชกกุธภัณฑ์ เป็นเครื่องหมายแห่งความเป็นพระราชา ซึ่งพราหมณ์ผู้ทำพิธีจะนำขึ้นทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวาย ในวันที่ประกอบพระราชพิธีบรมราชาภิเษก เป็นเครื่องแสดงว่าได้เสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติ เป็นพระเจ้าแผ่นดินถูกต้องสมบูรณ์แล้ว ประกอบด้วย (กระทรวงวัฒนธรรม, 2562)
หมายกำหนดการพระราชพิธีบรมราชาภิเษก พ.ศ. ๒๕๖๒
- งานที่อ้างถึง
- กระทรวงวัฒนธรรม. (8 มีนาคม 2562). พระราชพิธีบรมราชาภิเษก. เข้าถึงได้จาก ห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์กระทรวงวัฒนธรรม : https://www.m-culture.go.th/adminli/main.php?filename=ebook_king
- คณะกรรมการอำนวยการจัดงานพระราชพิธีบรมราชาภิเษก. (5 มีนาคม 2562). ประมวลองค์ความรู้ พระราชพิธีบรมราชาภิเษก. เข้าถึงได้จาก พระราชพิธีบรมราชาภิเษก พุทธศักราช 2562: https://phralan.in.th/