ช่วงนี้ ห้องสมุดมารวย และหอสมุดกลาง เปิดให้บริการ เวลา 09.00-15.30 น. 

สืบเนื่องจากมาตรการของรัฐในการรับมือกับโรคติดต่ออันตราย มหาวิทยาลัยสยามได้มี ประกาศ เรื่อง การเรียนการสอน Online และการปฏิบัติงานของบุคลากรในภาวะที่เชื้อโรค COVID-19 ระบาด แม้ว่าการเรียนการสอนในมหาวิทยาลัยจะเปลี่ยนไปใช้ระบบห้องเรียนออนไลน์ แต่หน่วยงานบริการต่างๆ รวมทั้ง ห้องสมุดมารวย และหอสมุดกลาง ยังคงเปิดให้บริการตามปกติ แต่จะเปิดให้บริการเวลา 09.00 และปิดบริการในเวลา 15.30 น. โดยเริ่มตั้งแต่วันที่ 18 มีนาคม 2563 เป็นต้นมา *กำหนดการ การเปิดให้บริการ หรือแนวทางการปฏิบัติ อาจมีการเปลี่ยนแปลงตามสถานการณ์

กระทรวง อว. ประกาศ มหาวิทยาลัย covid-19สืบเนื่องจาก โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ถูกประกาศให้เป็นโรคติดต่ออันตราย ตามพระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ.2558 (มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม พ.ศ.2563) และในขณะนี้ก็กำลังมีการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ไปทั่วโลก (ตามประกาศขององค์การอนามัยโลก, 11 มีนาคม 2563) รัฐบาลได้มีมาตรการให้ประชาชนและผู้ที่จะเดินทางไปต่างประเทศติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด รวมทั้งให้ความร่วมมือ และปฏิบัติตามคำแนะนำต่างๆ เพื่อความปลอดภัยทั้งของตนเองและผู้อื่น รวมทั้งลดผลกระทบในด้านเศรษฐกิจและสังคม (แหล่งที่มา: กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข)


ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติเห็นชอบให้ปิดสถานศึกษาทุกประเภท และสถานบริการทุกประเภท ไม่ว่าจะเป็นโรงภาพยนตร์ สถานบันเทิง ผับ บาร์ ร้านนวด และสนามมวย ทั้งในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑลหยุดทำการเป็นเวลา 14 วัน เริ่มตั้งแต่ 18 มีนาคม ไปจนถึง 31 มีนาคม 2563 นอกจากนี้ยังมีคำสั่งห้ามข้าราชการเดินทางไปต่างประเทศ งดการเดินทางข้ามจังหวัด และส่งเสริมให้หน่วยของรัฐ Work from home หรือทำงานที่บ้าน

 


เรื่อง ให้สถานศึกษาในสังกัดและในกำกับของกระทรวงศึกษาธิการปิดเรียนด้วยเหตุพิเศษ17 มี.ค. 2563 นายประเสริฐ บุญเรือง ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) เปิดเผยว่านายณัฏฐพล ทีปสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (รมว.ศธ.) ได้ลงนามในประกาศ ศธ. เรื่อง ให้สถานศึกษาในสังกัดและในกำกับของกระทรวงศึกษาธิการปิดเรียนด้วยเหตุพิเศษ เนื่องด้วยสถานการณ์การแพร่ระบาด มีการแพร่ระบาดในหลายประเทศ รวมถึงประเทศไทย ศธ. ตระหนักถึงความปลอดภัยในชีวิตของนักเรียนนักศึกษาที่จะได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดดังกล่าว จึงอาศัยอำนาจตามความในข้อ 9 ของระเบียบ ศธ.ว่าด้วยปีการศึกษาการเปิดและปิดสถานศึกษา พ.ศ.2549 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่2 ) พ.ศ.2558 จึงให้สถานศึกษาทุกแห่งของรัฐและเอกชนทั้งในระบบและนอกระบบ ซึ่งอยู่ในสังกัดและในกำกับของศธ.ปิดเรียนด้วยเหตุพิเศษตั้งแต่วันที่ 18 มีนาคมเป็นต้นไป จนกว่าจะมีประกาศเปลี่ยนแปลง

 


ประกาศมหาวิทยาลัยสยาม เมื่อวันที่ 17 มีนาคม 2563 เรื่อง การเรียนการสอน Online และการปฏิบัติงานของบุคลากรในภาวะที่เชื้อโรค COVID-19 ระบาด

*************************************

ด้วยปรากฏว่าเชื้อโรค COVID-19 ได้ระบาดและขยายตัวเป็นวงกว้าง เพื่อความปลอดภัยและ สุขอนามัยของนักศึกษา บุคลากร และคณาจารย์ และลดความเสี่ยงจากการระบาดของโรค COVID-19 จึงเห็น ควรให้ดําเนินการ ดังนี้

๑. ปรับระบบการเรียนการสอนทุกหลักสูตรทั้งระดับปริญญาตรี โท เอก เป็นระบบออนไลน์ เริ่มตั้งแต่วันพุธที่ ๑๘ มีนาคม ๒๕๖๓ โดยนักศึกษาไม่ต้องเข้าเรียนในชั้นเรียนตามปกติ และให้ดําเนินการสอน ออนไลน์ทุกรายวิชา โดยเริ่มตั้งแต่วันจันทร์ที่ ๒๓ มีนาคม ๒๕๖๓ สําหรับรายวิชาที่มีความจําเป็นต้องมีการ ปฏิบัติการ หรือรายวิชาชีพบางรายวิชา ให้ผู้สอนร่วมกับหัวหน้าหน่วยงานพิจารณาดําเนินการตามความ เหมาะสมและความจําเป็น โดยคํานึงถึงความเสี่ยงของผู้เกี่ยวข้องด้วย

  • ๑.๑ ให้คณะกรรมการประสานงานการเรียนการสอนในช่วงวิกฤติกําหนดรายละเอียดที่ เกี่ยวข้องกับการเรียนการสอนออนไลน์ที่เหมาะสม รวมทั้งการวัดผลและการรายงานผล โดยให้ผู้สอนเป็น ผู้รับผิดชอบหลัก โดยอาจใช้ระบบการทําข้อสอบไปทํานอกห้องสอบ (Take Home Exam) การมอบหมายงาน (Assignment) หรือการทํารายงาน (Report) ได้ตามความเหมาะสม และยกเว้นข้อกําหนดเกี่ยวกับการ เข้าเรียนร้อยละ ๘๐
  • ๑.๒ ให้คณะกรรมการสนับสนุนระบบเทคโนโลยีเพื่อการเรียนการสอนออนไลน์ (SUAIDOnline) ให้การสนับสนุนและส่งเสริม และช่วยเหลือผู้สอนในเรื่องเทคโนโลยีการสอน และ LMS ด้านต่างๆ ที่จําเป็น เพื่อให้การเรียนการสอนเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
  • ๑.๓ การสอบวัดคุณสมบัติ (Qualifying Examination) การสอบโครงร่างวิทยานิพนธ์ และ การสอบป้องกันวิทยานิพนธ์ สามารถใช้ระบบการประชุมออนไลน์ได้

๒. นักศึกษาที่พักในหอพัก ซึ่งประสานงานและบริหารจัดการโดยหน่วยงานของมหาวิทยาลัยให้กลับ ภูมิลําเนา และดําเนินการเรียนทาง Online

  • ๒.๑ ให้ยุติการปฏิบัติงานของนักศึกษาที่ฝึกงานหรือปฏิบัติงานสหกิจศึกษา โดยให้อาจารย์ ผู้รับผิดชอบได้มอบหมายงานและการทํารายงานรวมทั้งการประชุมออนไลน์เพื่อวัดผลการดําเนินการ

๓. ให้หน่วยงานต่างๆ ที่ให้บริการ อันได้แก่ แผนกบุคคล ฝ่ายการเงิน สํานักรับสมัคร สํานักทะเบียน และวัดผล สํานักวิชาการ สํานักกิจการนักศึกษา ศูนย์สุขภาพ สํานักแนะแนว แผนกอาคารสถานที่และสื่อการสอน สํานักวิเทศสัมพันธ์ สํานักงานอธิการบดี และหน่วยงานที่ให้บริการอื่นๆ ในการให้บริการ ดําเนินการตามปกติ โดยปรับเวลาเป็น ๐๙.๐๐ – ๑๕.๓๐ น. ทั้งนี้ตั้งแต่วันพุธที่ ๑๘ มีนาคม ๒๕๖๓ เป็นต้นไป

๔. สําหรับหน่วยงานอื่น ๆ ให้หัวหน้าส่วนงาน หรือรองอธิการบดีที่รับผิดชอบ พิจารณากําหนด รูปแบบการทํางานของบุคลากรให้เหมาะสมกับความจําเป็นของแต่ละส่วนงาน

  • ๔.๑ ปรับ หรือ เหลือมวัน หรือเวลาทํางานของบุคลากรได้ตามความเหมาะสม
  • ๔.๒ มอบหมายงานให้บุคลากรบางส่วนปฏิบัติโดยไม่จําเป็นต้องเดินทางมายังสถานที่ทํางาน (Work at Home) การดําเนินการดังกล่าวจะต้องไม่ทําให้งานที่เกี่ยวข้องกับการบริการนักศึกษา และผู้รับบริการเสียหาย

๕. กรณีที่มีนักศึกษา บุคลากร หรือคณาจารย์ที่มีความเสี่ยงจะติดต่อโรค COVID-19 ให้หัวหน้า หน่วยงาน หรือรองอธิการบดี ร่วมกับศูนย์สุขภาพ พิจารณาให้หยุดมาปฏิบัติงานเป็นเวลาอย่างน้อย ๑๔ วัน นับแต่วันที่ทราบภาวะดังกล่าว โดยไม่ถือเป็นวันลา

๖. ในกรณีที่จําเป็นเร่งด่วนให้หัวหน้าหน่วยงาน หรือรองอธิการบดี มีอํานาจสั่งให้บุคลากรมา ปฏิบัติงานได้

๗. ให้คณะกรรมการเฝ้าระวังการเผยแพร่ทางการระบาดของโรค COVID-19 เป็นผู้กําหนด รายละเอียด ที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงานของคณาจารย์ และบุคลากรนั้น ในระบบปกติ และ Work at Home รวมทั้งแผนการดําเนินการที่เหมาะสมกับสถานการณ์ เสนอต่อคณะกรรมการบริหารต่อไป

๘. การรับส่งคะแนนของสํานักทะเบียนและวัดผล สํานักวิชาการให้ดําเนินการตามปกติโดยใช้ระบบ Online หรือ e-mail และการปฏิบัติงานของศูนย์รับสมัครนักศึกษา ให้ดําเนินการไปตามปกติ ทั้งนี้ ให้พิจารณาปรับเปลี่ยนวิธีการ หรือ ใช้การสัมภาษณ์ในลักษณะ Online แทน ตามความเหมาะสม

๙. ให้คณะกรรมการบริหารมหาวิทยาลัย คณะกรรมการเฝ้าระวังฯ คณะกรรมการสนับสนุนระบบ เทคโนโลยีฯ และคณะกรรมการประสานงานการเรียนการสอนฯ ประชุมเพื่อสรุปสถานการณ์ แล้วรายงานให้ ทราบอย่างน้อยสัปดาห์ละครั้ง

จึงประกาศมาเพื่อทราบ และถือปฏิบัติโดยทั่วกัน จนกว่าจะมีประกาศ/คําสั่งเปลี่ยนแปลง
ประกาศ ณ วันที่ ๑๗ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๑๓
(ดร.พรชัย มงคลวนิช)
อธิการบดี มหาวิทยาลัยสยาม


(Preliminary Translation from the Thai-Version)
Memorandum of Siam University

Subject: Online teaching and preventive measures of lecturers and administrators during the spread of COVID-19

*************************************

As the COVID-19 has spread enormously during these days for the precautionary measure and the process to protect the members of Siam University community (students, lecturers and administrators) we have to compel the decision accordingly to the following steps:

  1. To update and improve the teaching methods in all the programs of study from Undergraduate and post-graduate levels to online mode starting from Wednesday 18 March 2020. The students do not need to physically enter the classes on the campus but have to attend the online classes in all the registered subjects.
  2. Students who are staying at the university dormitory are advised to go back to their home and study online. 2.1 Students who are doing internship and cooperative education should stop the internship period. The responsible lecturer to give the intern students to do assignment and report which can be evaluate by paper and online interview.
  3. Each Department of Siam University such as Human Resource department, Finance department, Admission department, Registration department, Academic department, Students affairs department, Health and wellbeing department, Thai student loan department, Maintenance and Communication department, International students department, President office, and other department that offer the service have to work regularly and normally from 09.00 a.m. till 15.30 starting from 18 March 2020.
  4. For Other departments of Siam University we request the Head of the department or the Vice Presidents of the university to advise and suggest the staff working methods in other responsible way such as:
    4.1 The staff can adjust and change the working method according to the work requirement and situation or work at home with given assignment This should be done in the way that it does not effect the quality of work and services.
  5. If infection or risk of infection of COVID-19 has been diagnosed, the section head or the supervising vice president as the case may shall be order the person (s) to refrain from going to classes or work and to receive full treatment or to be monitored for 14 days after the date of arrival in Thailand. Such absence shall not be counted as dereliction of duty or absence or leave days.
  6. If it is an urgent situation the Head of department or supervising Vice President has all the rights to call the staff back to work.
  7. We need the working committee to be careful and aware of the spread COVID-19 infection and also to set the rules and regulations of the faculty, staff administrators both sets of administrators for those who are regularly working from office and also for those who are working from home; also to project and showcase the plans of teaching methods towards the working academic committee in the next meeting.
  8. Siam University academic department advise that the grade submission and receiving the mark sheet to registration department will be done as generally done through the online and email system. While for admission department should be recommended to work normally nevertheless to the online interview instead of face to face interview.
  9. Siam University administrators such as president, vice president andassistant president, security and technology department, and academic department need to conduct a meeting in order to conclude and summarize the outcome and also to follow up and summarize the result at least once a week.

All students and staff members shall strictly comply with this announcement.

การเรียนการสอน Online และการปฏิบัติงานของบุคลากรในภาวะที่เชื้อโรค COVID-19 ระบาด