ในจุลศักราช 1227 นำความรู้จากซีกโลกตะวันตกมาเผยแพร่ในสยามยุคปลายรัชกาลที่ 3 เป็นจดหมายเหตุของหมอบรัดเลย์ซึ่งเป็นหนังสือพิมพ์ฉบับแรกของสยาม และยังเป็นรากฐานงานสื่อสารมวลชนในไทย โดยเริ่มต้นในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 ทรงดำริให้ตีพิมพ์ประกาศหลายฉบับสื่อสารกับประชาชน เช่น “ประกาศดาวหางขึ้นอย่าวิตก” ให้ข้อเท็จจริงชี้ให้ประชาชนเห็นว่าดาวหางเป็นปรากฏการณ์ธรรมชาติ
ดังนั้นจุดเริ่มต้นของสื่อสารมวลชนในไทย เริ่มในสมัยรัชกาลที่ 4 ขณะที่ตอนนั้นสื่อมวลชน ได้ทำหน้าที่ถ่ายทอดเรื่องราวต่างๆ และมีบทบาทอย่างมากในเหตุการณ์สำคัญของโลก การทำหน้าที่ตีแผ่เรื่องราวทำให้สื่อมวลชนกลายเป็นกลุ่มคนที่ขับเคลื่อนสังคม จากคนนำสาส์นจึงได้รับการขนานนามว่า “ฐานันดรที่ 4” คำๆ นี้เกิดขึ้นครั้งแรกในอังกฤษก่อนเผยแพร่ไปทั่วโลก
[box type=”note”]”ฐานันดรที่ 4″ หมายถึง นักหนังสือพิมพ์ แต่ใน ปัจจุบัน หมายถึง สื่อโทรทัศน์ วิทยุรวมเป็นสื่อสารมวลชน เข้ามาแทนที่ (พลาดิศัย สิทธิธัญกิจ, ม.ป.ป., Thai PBS, 2559)[/box]
การออกสื่อสมัยนั้นเหมือนการเล่าข่าว คนไทยยังรู้หนังสือไม่มาก มีผู้รู้ไปเล่าต่อ
ยังไม่มีหนังสือพิมพ์ที่เป็นหลักฐานแท้จริง จนมาถึงในยุคสมัยของรัชกาลที่ 4
มีเจ้านายออกหนังสือมากขึ้น ก็เป็นที่นิยมอ่าน หนังสือพิมพ์สมัยนั้นพิมพ์ไม่มาก
คนอ่านก็นำมาเล่าให้ประชาชนฟัง (พลาดิศัย สิทธิธัญกิจ, ม.ป.ป., Thai PBS, 2559)
วันนักข่าว ถือกำเนิดมาจากวันที่นักข่าวรุ่นบุกเบิกหลายท่านได้ร่วมชุมนุมกันก่อตั้งสมาคมนักข่าวแห่งประเทศไทยขึ้นมาเมื่อ 48 ปีที่แล้ว แต่ก่อนหน้านั้นหนังสือพิมพ์ทั้งหลายต่างให้ความสำคัญกับ “วันนักข่าว” กันเป็นอย่างดี ซึ่งถือว่าเป็นวันหยุดการทำงานของบรรดากระจอกข่าวทั้งหลายจะเป็นที่ทราบกันดีว่าวันที่ 6 มีนาคม ของทุกปีจะไม่มีหนังสือพิมพ์ออกมาขาย ต่อมาเมื่อความต้องการในข่าวสารมีมากขึ้นชาวนักข่าวทั้งหลายได้มีการแอบออกหนังสือพิมพ์มาขายในวันที่ 6 มีนาคม ทำให้หนังสือพิมพ์อื่นจำใจต้องเลิกประเพณีนี้ไป เมื่อวันที่ 5 เป็นวันหยุดของนักข่าว สมาคมนักข่าวแห่งประเทศไทยจึงกำหนดให้วันที่ 4 มีนาคมของทุกปี เป็นวันประชุมใหญ่สามัญประจำปี เพื่อที่วันรุ่งขึ้นจะได้จัดเฉลิมฉลองกันได้อย่างเต็มที่ ในการจัดงานประชุมใหญ่และงานเลี้ยงสังสรรค์ประจำปี แต่เดิมได้จัดที่บริเวณถนนราชดำเนินซึ่งบรรดาเหยี่ยวข่าวได้มาพบปะสังสรรค์กันที่ริมฟุตบาทถนนราชดำเนิน
เมื่อ 10 ปีที่ผ่านมาจำนวนสมาชิกของสมาคมได้เพิ่มมากขึ้น ประกอบกับถนนราชดำเนินได้เป็นถนนสายหลัก ที่มีผู้ใช้รถใช้ถนนเป็นจำนวนมากสถานที่ของสมาคมจึงคับแคบและการจัดงานของสมาคมยังสร้างความเดือดร้อนให้แก่บุคคลที่สัญจรไปมา การจัดการประชุมใหญ่ประจำปีของสมาคมจึงต้องย้ายสถานที่ไปตามโรงแรมต่างๆ ต่อมาเมื่อสมาคมนักข่าวแห่งประเทศไทยรวมเข้ากับสมาคมนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทยกลายเป็น “สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย” เมื่อ 3 ปี ที่ผ่านมาแต่ยังคงกำหนดให้วันที่ 4 มีนาคม เป็นวันประชุมใหญ่ประจำปีของสมาคมเช่นเดิม คณะกรรมการบริหารงานของสมาคมใช้เวลาในการปรับปรุงอาคาร ที่ทำการเดิมของสมาคมนักหนังสือพิมพ์เป็นเวลา 2 ปี จึงลงมือก่อสร้างและปรับปรุงให้เสร็จสมบูรณ์ไปเมื่อปลายปี 2545 ที่ผ่านมา อาคารแห่งนี้นอกจากจะเป็นที่ทำการของสมาคมแล้ว ยังเป็น ที่ทำการขององค์กรด้านวิชาชีพสื่อมวลชลตั้งแต่ระดับชาติไปจนถึงระดับภูมิภาค เช่น สภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ สมาพันธ์นักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย สมาคมนักข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย สถาบันพัฒนาสื่อมวลชนแห่งประเทศไทย เครือข่ายสนับสนุนสิทธิเสรีภาพสื่อมวลชนแห่งประเทศไทย และเครือข่ายสนับสนุนสิทธิเสรีภาพสื่อมวลชนในเอเชียอาคเนย์ เป็นต้น เรียกว่าเป็นศูนย์รวมขององค์กรด้านวิชาชีพสื่อสารมวลชนไทย
เป็นเวลา 20 ปีที่ผ่านมานั้น วันนักข่าวค่อยๆ แปรโฉมไปสู่ความมีสาระมากขึ้น โดยเฉพาะที่ได้กำหนดให้เป็นวันหยุดของนักข่าวก็ได้ถูกล้มเลิกไป ปัจจุบัน “วันนักข่าว” เป็นวันที่ทำงานตามปรกติของหนังสือพิมพ์ทุกฉบับมิใช่วันหยุดพักผ่อนอย่างเช่นที่แต่เดิมที่ผ่านมา ส่วนกิจกรรมที่ทำอยู่แล้วโดยเฉพาะการประกาศยกย่องหนังสือพิมพ์ หรือนักข่าว ช่างภาพ ที่มีผลงานดีเยี่ยมสมควรได้รับรางวัล ” อิศรา อมันตกุล ก็ยังคงมีต่อไป กิจกรรมทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้แก่รุ่นพี่นักข่าวผู้ล่วงลับไปก็ยังคงมีอยู่เหมือนแต่เดิมที่ได้จัดทำกันมา
5 มีนาคม “วันนักข่าว” มีพิธีมอบรางวัลข่าวและภาพข่าวยอดเยี่ยมที่โรงแรมอมารีวอเตอร์เกต ประตูน้ำ เวลา 17.00-20.00 น. นายกสมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย กล่าวถึงความสำคัญวันนักข่าวและรางวัลอิศรา อมันตกุล ดร.วิษณุ เครืองาม ปาฐกถาพิเศษ เรื่อง “ปฏิรูปกฎหมาย จุดเปลี่ยนประเทศไทย”
[box type=”note”] ผลการตัดสินรางวัลอิศรา อมันตกุล ประเภทข่าว ประจำปี 2560 ผลงานข่าวที่ได้รับรางวัลยอดเยี่ยม ได้แก่ ข่าว “แผนสกัด “ยีนดื้อยาพันธุ์ใหม่” จากหมูสู่คน” โดยกองบรรณาธิการหนังสือพิมพ์คมชัดลึก ได้รับโล่และเงินรางวัล 100,000 บาท และรางวัลชมเชย มี 2 รางวัล ได้แก่ ข่าว “ตีแผ่ชีวิตแรงงานนอกระบบพลเมืองชั้น 2 ไร้สวัสดิการคุ้มครอง!” โดยกองบรรณาธิการหนังสือพิมพ์เดลินิวส์ และข่าว “เปิดปมมะเร็งร้ายฟุตบอลไทย ล้มบอลไทยลีก ฉีกหน้าขบวนการจ้างนักเตะ-กรรมการ” โดยกองบรรณาธิการหนังสือพิมพ์เดลินิวส์ ได้รับโล่และเงินรางวัล 20,000 บาท ทั้งนี้ นายปราเมศ เหล็กเพ็ชร์ นายกสมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย และนายพงษ์ศักดิ์ พยัฆวิเชียร ประธานมูลนิธิอิศรา อมันตกุล เป็นผู้มอบรางวัล[/box] [box type=”note”] ผลการตัดสินรางวัลอิศรา อมันตกุล ประเภทภาพข่าว ประจำปี 2560 ผลงานภาพข่าวที่ได้รับรางวัลยอดเยี่ยม ได้แก่ ภาพ “ลวงบึ้ม” โดยนายอับดุลการิม รามันห์สิริวงศ์ หนังสือพิมพ์เดลินิวส์ ได้รับโล่และเงินรางวัล 50,000 บาท ภาพข่าวที่ได้รับรางวัลชมเชย ลำดับที่ 1 จำนวน 2 รางวัล ได้แก่ ภาพ “แหวนแม่ นาฬิกาเพื่อน” โดยนายชนัตถ์ กตัญญู หนังสือพิมพ์บางกอกโพสต์ และภาพ “ใจสลาย” โดยนายวิชาญ เจริญเกียรติภากุล หนังสือพิมพ์บางกอกโพสต์ ได้รับโล่และเงินรางวัล รางวัลละ 20,000 บาท[/box]รางวัลอิศรา อมันตกุล ได้มีการจัดประกวดครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2515 เพื่อเป็นการรำลึกถึงนายอิศรา อมันตกุล นักหนังสือพิมพ์ผู้ล่วงลับ และอดีตนายกสมาคมนักข่าวแห่งประเทศไทยคนแรก ซึ่งถือเป็นผู้มีส่วนสำคัญในการริเริ่มและบุกเบิกงานข่าวเชิงสืบสวนสอบสวนในประเทศไทย
มหาวิทยาลัยรามคำแหง. (2548). สนเทศน่ารู้ : วันนักข่าว 5 มีนาคม. เข้าถึงได้จาก http://www.lib.ru.ac.th/journal/mar/mar05-NewsppapermanDay.html
เรืองชัย ทรัพย์นิรันดร์. (2561, 2 มีนาคม). วันนักข่าวและรางวัลอิศรา อมันตกุล. มติชนรายวัน. น.16.
สมาคมนักข่าว นักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย. (2554). ประวัติวันนักข่าว 5 มีนาคม “วันนักข่าว”. เข้าถึงได้จาก http://www.tja.or.th/index.php?option=com_content&view=article&id=2314:-5-qq&catid=133:2011-03-25-09-28-42&Itemid=76
Thai PBS. (2559). 5 มีนาคม “วันนักข่าว” คุณค่าและความหมายของฐานันดรที่ 4. เข้าถึงได้จาก
http://news.thaipbs.or.th/content/250675