วันพระราชทานธงชาติไทย 28 กันยายน

Evolution of the Thai flag

ธงชาติ เป็นสัญลักษณ์สำคัญอันแสดงถึงความเป็นชาติของประเทศนั้น ๆ ซึ่งประเทศไทยมีการใช้ธงชาติไทยสมัยก่อนมานานนับร้อยปีแล้ว โดยมีวิวัฒนาการเรื่อยมา กระทั่งเป็น “ธงไตรรงค์” สีแดง ขาว น้ำเงิน ดังเช่นปัจจุบัน
วชิราวุธ-ลูกเสือไทยวันพระราชทานธงชาติไทย เป็นวันที่ระลึกถึงโอกาสที่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ประกาศพระราชบัญญัติแก้ไขพระราชบัญญัติธง พระพุทธศักราช 2460 โดยมีสาระสำคัญคือ การประกาศให้ธงไตรรงค์เป็นธงชาติไทยสืบต่อมาจนถึงปัจจุบัน ซึ่งได้มีการประกาศไว้ ณ วันที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2460 สำนักนายกรัฐมนตรีและสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี จึงเสนอให้วันที่ 28 กันยายน ของทุกปีเป็นวันพระราชทานธงชาติไทย และในวันที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2559 ในการประชุมคณะรัฐมนตรีประจำสัปดาห์ ที่ประชุมซึ่งนำโดย พลเอกประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม รักษาราชการแทนนายกรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบให้วันที่ 28 กันยายน ของทุกปีเป็น วันพระราชทานธงชาติไทย โดยให้เริ่มในวันที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2560 เป็นปีแรก เนื่องในโอกาสครบรอบ 100 ปี ธงชาติไทย แต่ไม่ถือเป็นวันหยุดราชการรวมทั้งกำหนดให้มีการชักธงและประดับธงชาติไทยในวันดังกล่าวด้วย เพื่อเป็นการสร้างความภาคภูมิใจของคนในชาติ และน้อมรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว และถือเป็นประเทศที่ 54 ของโลกที่มีวันธงชาติ โดยการกำหนดวันธงชาติของต่างประเทศ ล้วนอิงกับภูมิหลังทางประวัติศาสตร์ และการสร้างชาติของแต่ละประเทศ

[quote arrow=”yes”]ความหมายสีธงชาติไทย [/quote]

ธงชาติเป็นธงสี่เหลี่ยมผืนผ้ากว้าง 6 ส่วน ยาว 9 ส่วน แบ่งด้านยาวออกเป็น 5 แถบ แถบตรงกลางเป็นสีน้ำเงินแก่ กว้าง 2 ส่วน ถัดจากแถบสีน้ำเงินแก่ทั้งสองข้าง เป็นสีขาว กว้างข้างละ 1 ส่วน และต่อจากแถบสีขาวทั้งสองข้าง เป็นแถบสีแดง กว้างข้างละ 1 ส่วน ธงชาตินี้เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ธงไตรรงค์ (สำนักงานเสริมสร้างเอกลักษณ์ของชาติ, 2548, น.33)
โดยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 ทรงกำหนดความหมายของสีธงไตรรงค์แบบไม่เป็นทางการในพระราชนิพนธ์ เรื่อง เครื่องหมายแห่งไตรรงค์ ไว้ว่า

สีแดง หมายถึง เลือดอันยอมพลีให้แก่ชาติ
สีขาว หมายถึง ความบริสุทธิ์แห่งธรรมะอันเป็นหลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา
สีน้ำเงิน หมายถึง สีส่วนพระองค์ขององค์พระมหากษัตริย์

โดยต่อมาพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 โปรดเกล้าฯ ให้มีบันทึกเรื่องธงชาติ โดยให้ยึดเอาธงไตรรงค์เป็นธงชาติไทยตั้งแต่นั้นมา เพื่อจะได้ไม่ต้องเกิดความสับสนกับต่างประเทศ และจะได้ไม่ต้องเปลี่ยนแปลงธงชาติบ่อย ๆ จึงได้กำหนดความหมายของธงไตรรงค์ให้ชัดเจน แต่ก็ครอบคลุมอุดมการณ์เดิมของรัชกาลที่ 6 เอาไว้ด้วย ดังนี้

สีแดง หมายถึง ชาติ (ประชาชน)
สีขาว หมายถึง ศาสนา (ไม่ได้เน้นศาสนาใดโดยเฉพาะ)
สีน้ำเงิน หมายถึง พระมหากษัตริย์
ซึ่งความหมายนี้ ก็ใช้สืบทอดมาจนถึงปัจจุบัน

[quote arrow=”yes”]ความสำคัญของธงชาติไทย[/quote]

ธงชาติเป็นสัญลักษณ์ที่แสดงความชาติของประเทศต่าง ๆ ซึ่งแต่ละประเทศก็จะมีสีที่แตกต่างกันออกไป แต่บางทีก็มีคล้ายกันบ้าง โดยประเทศไทยใช้ธงไตรรงค์หรือธงชาติไทยเป็นสัญลักษณ์ที่บ่งบอกถึงเอกลักษณ์และศักดิ์ศรีความเป็นไทย อีกทั้งยังมีความหมายถึงชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ จึงถือได้ว่าธงชาติไทยนั้นเป็นเหมือนสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่ไม่อาจลบหลู่ และเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจของคนในชาติ ทั้งนี้เป็นผลเกิดจากการสร้างความหมายโดยรัฐ และจากพิธีกรรมเกี่ยวกับธงไตรรงค์ที่ดำรงอยู่ต่อมาจนปัจจุบัน

กิจกรรมที่ทำในวันพระราชทานธงชาติไทย
ถึงแม้จะไม่เป็นวันหยุดราชการ แต่ก็มีการกำหนดให้หน่วยงานราชการชักธงและประดับธงชาติไทยในวันพระราชทานธงชาติไทย เพื่อเป็นการน้อมรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่พระราชทานธงไตรรงค์เป็นธงชาติไทย และเป็นการสร้างความภาคภูมิใจของคนในชาติ อีกทั้งยังมีการจัดกิจกรรมในวันพฤหัสบดี ที่ 28 กันยายน 2560 ณ สนามราชมังคลากีฬาสถาน (หัวหมาก) เพื่อรวมพลังแสดงความรักชาติ

[quote font_size=”18″ color=”#eb0101″ bgcolor=”#060b82″ bcolor=”#eb0101″ arrow=”yes”]วันสำคัญที่ต้องชักธงและประดับธงชาติ[/quote]

นอกจากในวันพระราชทานธงชาติไทยแล้ว ธงชาติไทยยังมีการใช้ในวันสำคัญต่าง ๆ ตามที่ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการใช้ การชัก หรือการแสดงธงชาติ และ ธงชาติประเทศต่างๆ ในราชอาณาจักร (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2560 ได้ระบุไว้ให้ใช้ในโอกาสและวันพิธีสำคัญ ดังนี้

  • วันขึ้นปีใหม่ วันที่ 1 มกราคม 1 วัน
  • วันมาฆบูชา 1 วัน
  • วันพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช และวันที่ระลึกมหาจักรีบรม ราชวงศ์ วันที่ 6 เมษายน 1 วัน
  • วันสงกรานต์ วันที่ 13 เมษายน 1 วัน
  • วันฉัตรมงคล วันที่ 5 พฤษภาคม 1 วัน
  •  วันพืชมงคล 1 วัน
  • วันวิสาขบูชา 1 วัน
  • วันอาสาฬหบูชา 1 วัน
  • วันเข้าพรรษา 1 วัน
  • วันเฉลิมพระชนมพรรษาสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร วันที่ 28 และ 29 กรกฎาคม 2 วัน
  • วันเฉลิมพระชนมพรรษาสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ วันที่ 12 สิงหาคม 1 วัน
  • วันสหประชาชาติ วันที่ 24 ตุลาคม 1 วัน
  • วันคล้ายวันเฉลิมพระชนมพรรษาพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร วันชาติ และวันพ่อแห่งชาติ วันที่ 5 และ 6 ธันวาคม 2 วัน
  • วันรัฐธรรมนูญ วันที่ 10 ธันวาคม 1 วัน

PDF_thai_flag-compressed

คนไทยเริ่มยืนตรงเคารพธงชาติเมื่อใด

ยืนตรงเคารพธงชาติ14 กันยายน พ.ศ.2485 เป็นวันที่คนไทยเริ่มยืนตรงเคารพธงชาติอย่างจริงจัง เมื่อปี พ.ศ.2485 แต่ก่อนหน้านั้น การยืนตรงเคารพธงชาติยังไม่เป็นที่แพร่หลาย ทั้งๆ ที่มีการประกาศใช้ธงไตรรงค์ ตั้งแต่สมัยรัฐบาลพระยาพหลพลพยุหเสนา มานานหลายปีแล้วก็ตาม โดยกฎหมายฉบับแรกที่กำหนดระเบียบในการชักธงและการประดับธงชาติ ประกาศในราชกิจจานุเบกษา วันที่ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2478 จนกระทั่ง นายมั่น และนายคง ผู้ดำเนินรายการวิทยุกระจายเสียง ได้เชิญชวนประชาชนให้ช่วยกันเปิดวิทยุดังๆ ให้คนสัญจรทั่วไปได้ยิน เพื่อแสดงถึงความเป็นเอกราชของคนไทย ด้วยการยืนตรงเคารพธงชาติโดยพร้อมเพรียงกัน เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นในวันที่ 14 กันยายน พ.ศ.2485

 

 

 

 

ธงชาติไทย มาตรฐานสีตามหน่วยสากล

เพื่อให้มีมาตรฐานสีและเป็นมาตรฐานสีตามหน่วยสากล สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี ได้ดำเนินการ ในการกำหนดมาตรฐานแถบสี ธงชาติไทยใหม่ทั้งหมด (ปี พ.ศ.2560 ช่วงครบรอบ ธงชาติไทย 100 ปี) โดยมีหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน 9 แห่ง

  • กระทรวงการต่างประเทศ
  • กระทรวงอุตสาหกรรม
  • สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา
  • สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม
  • กรมวิทยาศาสตร์บริการ
  • สำนักงานเสริมสร้างเอกลักษณ์ของชาติ
  • สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี
  • สำนักงานกฎระเบียบกลาง
  • สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี

นอกจากนี้ยังเชิญหน่วยงานเอกชนที่เกี่ยวข้อง เข้ามาร่วมดำเนินการในการหาค่า มาตรฐานสีตามหน่วยสากล ด้วยการใช้เครื่องมือ Colorimetric spectrophotometer ตรวจวัดหาค่าสีธงชาติจาก 3 แหล่ง คือ

  • ธงชัยเฉลิมพล และ ธงไตรรงค์ ในพิพิธภัณฑ์แห่งชาติ
  • ธงชาติจากพิพิธภัณฑ์ธงชาติไทย
  • ธงจากราชนาวี

นำเสนอต่อที่ประชุมเพื่อกำหนดค่าสีของธงต้นแบบ และต่อมาได้มีประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 134 ตอนพิเศษ 245 ง ลงวันที่ 30 ก.ย.2560 เพื่อให้เป็นเกณฑ์ลักษณะของค่าแนะนำ สำหรับใช้ในหน่วยงานทางราชการ

 


 

  • ร่วมสร้างสรรค์แบ่งปันความรู้. (2560). มาตรฐานแถบสีธงชาติไทย. เข้าถึงได้จาก http://www.thailibrary.in.th/2017/10/15/thaiflag-color/
  • กระปุกดอทคอม. (2559). วันธงชาติไทย 28 กันยายน ประวัติ ธงชาติไทย. เข้าถึงได้จาก https://hilight.kapook.com/view/142405
  • วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี. (2561). วันพระราชทานธงชาติไทย. เข้าถึงได้จาก https://th.wikipedia.org/wiki/วันพระราชทานธงชาติไทย
  • สำนักงานเสริมสร้างเอกลักษณ์ของชาติ. (2548). ธงสำคัญของชาติ. กรุงเทพฯ: ผู้แต่ง.

วันพระราชทานธงชาติไทย The day of the Thai flag