ประชุมคณะอนุกรรมการพัฒนาระบบและเครือข่ายห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษาเอกชน ครั้งที่ ๑/๒๕๖๑
การประชุมกลุ่มงานพัฒนาและวิเคราะห์ทรัพยากรสารสนเทศ ในคณะอนุกรรมการพัฒนาระบบและเครือข่ายห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษาเอกชน (อพส.) ครั้งที่ ๑๘/๕/๒๕๖๕
กลุ่มงานพัฒนาและวิเคราะห์ทรัพยากรสารสนเทศ ในคณะอนุกรรมการพัฒนาระบบและเครือข่ายห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษาเอกชน (อพส.) ชุดที่ ๑๘ (๑ สิงหาคม ๒๕๖๔ – ๓๑ กรกฎาคม ๒๕๖๖) ได้จัดประชุม ครั้งที่ ๑๘/๕/๒๕๖๖ วันอังคารที่ ๑๔ มีนาคม ๒๕๖๖ เวลา ๑๓.๓๐ น. – ๑๖.๓๐ น. ผ่านระบบออนไลน์โปรแกรม Zoom เพื่อติดตามการดำเนินงานของกลุ่มงานพัฒนาและวิเคราะห์ทรัพยากรสารสนเทศ ซึ่งในการประชุมครั้งนี้ มีห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษาเอกชนในสมาชิกของกลุ่มงาน ที่เข้าร่วมประชุม จำนวน ๓๐ คน จาก ๑๗ สถาบัน ได้แก่ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต มหาวิทยาลัยคริสเตียน มหาวิทยาลัยเซาธ์อีสท์บางกอก มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ มหาวิทยาลัยฟาฏอนี มหาวิทยาลัยเมธารัถย์ (มหาวิทยาลัยชินวัตร) มหาวิทยาลัยรังสิต มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม กทม. มหาวิทยาลัยศรีปทุม ชลบุรี มหาวิทยาลัยสยาม มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย มหาวิทยาลัยหาดใหญ่ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ และสถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น
รายงานการประชุมกลุ่มงานพัฒนาและวิเคราะห์ทรัพยากรสารสนเทศ ครั้งที่ ๑๘/๕/๒๕๖๖ (PDF)
กลุ่มงานพัฒนาและวิเคราะห์ทรัพยากรสารสนเทศ ได้ดำเนินงานโครงการพัฒนาเพื่อให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ตามที่คณะอนุกรรมการพัฒนาระบบและเครือข่ายห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษาเอกชน (อพส.) ที่ได้กำหนดไว้ ซึ่ง อาจารย์พรรณี จิวพุทธิธรรม จากสำนักหอสมุดและทรัพยากรสารสนเทศ มหาวิทยาลัยสยาม ประธานกลุ่มงานพัฒนาและวิเคราะห์ทรัพยากรสารสนเทศ ชุดที่ ๑๘ (วาระที่ ๑ สิงหาคม ๒๕๖๔ – ๓๑ กรกฎาคม ๒๕๖๖) ได้ดำเนินการประชุม โดยสรุปหัวข้อการประชุม ครั้งที่ ๑๘/๕/๒๕๖๖ ดังนี้
๑. ประชาสัมพันธ์เผยแพร่องค์ความรู้การประชุม/อบรม/สัมมนา
จากโครงการพัฒนาและเผยแพร่ความรู้ด้านวิชาการ ประจำปี 2566 เรื่อง “การจัดระบบคอลเล็กชันดิจิทัลด้านมรดกทางวัฒนธรรมด้วยแนวคิด Linked Data: จากมาตรฐาน MARC สู่ BIBFRAME” จัดโดย สำนักหอสมุดแห่งชาติ วิทยากรโดย ผศ.ดร.สมศักดิ์ ศรีบริสุทธิ์สกุล หน่วยปฏิบัติการวิจัยภูมิทัศน์สารสนเทศ ภาควิชาบรรณารักษศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่อวันที่ ๒๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๖ ประกอบด้วยองค์ความรู้เกี่ยวกับ BIBFRAME ซึ่งเป็นนวัตกรรมใหม่สำหรับบรรณารักษ์ห้องสมุดต่างๆ ควรศึกษาไว้เพื่อใช้ประกอบการปฏิบัติงานของห้องสมุด
-
- สามารถศึกษาองค์ความรู้ย้อนหลังได้ที่ https://www.facebook.com/NationalLibraryThailand/videos/946687039659479
- เอกสารประกอบการบรรยายที่ https://shorturl.asia/DBjTH หรือที่ลิงค์เดิม https://chula-my.sharepoint.com/personal/somsak_sr_chula_ac_th/_layouts/15/onedrive.aspx?id=/personal/somsak_sr_chula_ac_th/Documents/Lenovo_My Services/National Library Bibframe 2566/From MARC to Bibframe.pdf&parent=/personal/somsak_sr_chula_ac_th/Documents/Lenovo_My Services/National Library Bibframe 2566&ga=1
๒. การประชุมของ คณะอนุกรรมการพัฒนาระบบและเครือข่ายห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษาเอกชน (อพส.) ชุดที่ ๑๘ ครั้งที่ ๓/๒๕๖๖
คณะอนุกรรมการพัฒนาระบบและเครือข่ายห้องสมุด สถาบันอุดมศึกษาเอกชน (อพส.) ชุดที่ ๑๘ ได้จัดการประชุมครั้งที่ ๓/๒๕๖๖ ในวันศุกร์ที่ ๒๔ มีนาคม ๒๕๖๖ เวลา ๑๓.๓๐ น. – ๑๖.๐๐ น. ณ สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ วิทยาเขตสุวรรณภูมิ โดยมีประธานกลุ่มงานทั้ง ๒ กลุ่มงานในสังกัด อพส. เข้าร่วมประชุม เพื่อรายงานผลการดำเนินงานของกลุ่มงานด้วย ในส่วนของกลุ่มงานพัฒนาและวิเคราะห์ทรัพยากรสารสนเทศ อยู่ระหว่างการจัดทำ “รายงานการดำเนินงานของ กลุ่มงานพัฒนาและวิเคราะห์ทรัพยากรสารสนเทศ ชุดที่ ๑๘ ต่อที่ประชุมคณะอนุกรรมการพัฒนาระบบและเครือข่ายห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษาเอกชน (อพส.) ครั้งที่ ๓/๒๕๖๖” ซึ่งเมื่อจัดทำเสร็จเรียบร้อยแล้วจะจัดส่งให้คณะอนุกรรมการกลุ่มงานพัฒนาฯ เพื่อพิจารณาก่อนนำเสนอต่อที่ประชุม อพส. ต่อไป
๓. โครงการพัฒนาทักษะใหม่ (UpSkill / ReSkill) บุคลากรกลุ่มงานพัฒนาและวิเคราะห์ทรัพยากรสารสนเทศ อพส.
กลุ่มงานได้จัด กิจกรรมการเพิ่มพูนความรู้ทักษะการสร้างสื่อมัลติมีเดียสำหรับบรรณารักษ์ในยุคดิจิทัล : เรื่อง “การสร้างสื่อให้ดึงดูดโดยใช้โปรแกรม Canva” วิทยากรผู้แบ่งปันความรู้/ถ่ายทอดความรู้ โดย อาจารย์พรรณี จิวพุทธิธรรม ประธานกลุ่มงานพัฒนาและวิเคราะห์ทรัพยากรสารสนเทศ และหัวหน้าแผนกพัฒนาทรัพยากรสารสนเทศ สำนักหอสมุดและทรัพยากรสารสนเทศ มหาวิทยาลัยสยาม โดยเริ่มกิจกรรมในเวลา ๑๓.๓๐ -๑๕.๐๐ น. ก่อนการประชุมวาระอื่นๆ (กำหนดเวลาประมาณ ๑ ชม. ๓๐ นาที)
มติที่ประชุม จากกิจกรรมข้างต้น ผู้เข้าร่วมกิจกรรมได้เพิ่มพูนความรู้มากขึ้น โดยมีผู้เข้าร่วมกิจกรรม จากคณะอนุกรรมการของกลุ่มงานพัฒนาฯ เข้าร่วมกิจกรรม จำนวน ๒๙ คน และบุคลากร อาจารย์ และนักศึกษา จากชุมชนของสถาบันอุดมศึกษาเอกชน จำนวน ๔๘ คน รวมจำนวนผู้เข้าร่วมกิจกรรมทั้งสิ้น ๗๗ คน
๔. ความคืบหน้าโครงการพัฒนาหัวเรื่องใหม่โดยผ่าน google.doc
ผู้รับผิดชอบโครงการจาก ศูนย์เรียนรู้และหอสมุด มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ นำเสนอความคืบหน้าโครงการพัฒนาหัวเรื่องใหม่โดยผ่าน google.doc โดยได้ดำเนินการรวบรวมและจัดสร้าง Link ใหม่ใน google.doc เพื่อใช้ในการนำเสนอหัวเรื่องใหม่ให้ที่ประชุมพิจารณาที่ลิงค์: https://shorturl.asia/YbItR
โดยมีหัวเรื่องใหม่ที่นำเสนอโดย มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย และมหาวิทยาลัยศรีปทุม ซึ่งรอการพิจารณาและตรวจสอบ รวมจำนวน ๑๘ หัวเรื่อง
มติที่ประชุม ที่ประชุมพิจารณาอนุมัติหัวเรื่องใหม่ ผ่าน ทั้ง ๑๘ หัวเรื่อง โดยมีรายการหัวเรื่องใหม่ที่ผ่านการอนุมัติตามลิงค์ข้างต้น
๕. ความคืบหน้าโครงการรวบรวมแหล่ง Open Access eBook & eJournal
ผู้รับผิดชอบโครงการจากมหาวิทยาลัยสยาม นำเสนอความคืบหน้าโครงการรวบรวมแหล่ง Open Access eBook & eJournal / eTheses & eResearch โดยในครั้งนี้ได้เพิ่มฐานข้อมูล eBook ๑ ฐาน คือ Cambridge Core Open Access และฐานข้อมูล eTextbooks อีก ๑ ฐาน คือฐานข้อมูล Open Textbook Library ซึ่งได้รวมฐานข้อมูลที่ได้อัพเดทไว้จากการประชุมครั้งที่ ๑๘/๔/๒๕๖๕ เป็นฐานข้อมูล Open Dissertation & Theses ซึ่งเป็นฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ ในต่างประเทศ อีก 8 ฐาน ได้แก่ ฐานข้อมูล Dissertations.se, DiVA portal, EBSCO Open Dissertation, EThOS e-theses online service, NDLTD: GLOBAL ETD SEARCH, OhioLINK, ProQuest Open-Access และ Theses Canada โดยได้เผยแพร่และอัพเดทแหล่งข้อมูลไว้ที่ https://e-library.siam.edu/open-access-database/ ทั้งนี้เมื่อครบวาระของกลุ่มงานพัฒนาฯ ชุดที่ ๑๘ ในเดือน กรกฎาคม ๒๕๖๖ จะสรุปจำนวนแหล่ง Open Open Access eBook & eJournal / eTheses & eResearch ทั้งหมดที่รวบรวมได้ ให้สมาชิกได้ทราบต่อไป
๖. ความคืบหน้าโครงการแบ่งปันความรู้สู่ชุมชน
ตามมติที่ประชุม ครั้งที่ ๑๘/๔/๒๕๖๕ ได้มีมติคงสถานะ โครงการแบ่งปันความรู้สู่ชุมชน ไว้เป็น อยู่ระหว่างดำเนินการ/ปรับเปลี่ยนโครงการอื่นทดแทน และประธานขอให้สมาชิกกลุ่มงานฯ ได้ระดมความคิดกันอีกครั้งในวาระการประชุมครั้งนี้ นั้น
ประธานกลุ่มงานพัฒนาฯ ได้เสนอแนะให้ปรับเปลี่ยนชื่อโครงการเป็น “โครงการแบ่งปันความรู้สู่ชุมชนเพื่อการพัฒนาทักษะใหม่ (UpSkill / ReSkill)” ส่วนรูปแบบการดำเนินงาน คือ คณะอนุกรรมการของกลุ่มงาน เป็นผู้แบ่งปัน/ถ่ายทอดความรู้ ให้กับชุมชน/สังคม ทางออนไลน์/ออนไซต์ และกำหนดการจัดกิจกรรมไว้อย่างน้อย ๑ ครั้ง หรืออาจมีการจัดกิจกรรมได้มากกว่า ๑ ครั้ง เพราะสามารถจัดควบคู่ไปกับ “โครงการพัฒนาทักษะใหม่ (UpSkill / ReSkill) บุคลากรกลุ่มงานพัฒนาและวิเคราะห์ทรัพยากรสารสนเทศ อพส.” โดยกลุ่มเป้าหมาย คือ ชุมชนของบุคลากร อาจารย์ และนักศึกษา ในสถาบันอุดมศึกษาเอกชน หรือบุคคลทั่วไปที่คณะอนุกรรมการของกลุ่มงานสามารถนำกิจกรรมของกลุ่มงานไปเผยแพร่ต่อได้ ซึ่งจากการจัดกิจกรรมการเพิ่มพูนความรู้ทักษะการสร้างสื่อมัลติมีเดียสำหรับบรรณารักษ์ในยุคดิจิทัล : เรื่อง “การสร้างสื่อให้ดึงดูดโดยใช้โปรแกรม Canva” ใน “โครงการพัฒนาทักษะใหม่ (UpSkill / ReSkill) บุคลากรกลุ่มงานพัฒนาและวิเคราะห์ทรัพยากรสารสนเทศ อพส.” ประธานของกลุ่มงานพัฒนาฯ ได้นำกิจกรรมดังกล่าวไปเผยแพร่ในกลุ่มไลน์ต่างๆ ได้แก่ กลุ่มงานบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ กลุ่มไลน์บุคลากรของมหาวิทยาลัยสยาม กลุ่มไลน์ SME เป็นต้น โดยมีผู้สนใจจากกลุ่มไลน์เหล่านี้ ได้สมัครเข้าร่วมกิจกรรมจำนวนเกือบ 50 คน ดังนั้น จึงถือได้ว่า “โครงการแบ่งปันความรู้สู่ชุมชนเพื่อการพัฒนาทักษะใหม่ (UpSkill / ReSkill)” ได้ดำเนินการจัดกิจกรรมไปแล้ว ๑ ครั้ง ในกิจกรรมเรื่อง “การสร้างสื่อให้ดึงดูดโดยใช้โปรแกรม Canva”
มติที่ประชุม ที่ประชุมเห็นควรปรับเปลี่ยนชื่อโครงการและรูปแบบการดำเนินงานโครงการ ตามที่ประธานได้เสนอแนะ และเห็นควรสรุปผลการประเมินความพึงพอใจผู้เข้าร่วมกิจกรรมเรื่อง “การสร้างสื่อให้ดึงดูดโดยใช้โปรแกรม Canva” ที่ได้ดำเนินการแล้ว โดยอาจประเมินแยกกลุ่มของผู้เข้าร่วมกิจกรรม เพื่อจะได้ทราบระดับความพึงพอใจและข้อเสนอแนะในการนำผลไปพัฒนาการจัดกิจกรรมในครั้งต่อไป
๗. สรุปผลการดำเนินงานโครงการ/กิจกรรม ของกลุ่มงานพัฒนาและวิเคราะห์ทรัพยากรสารสน เทศ ชุดที่ ๑๘ ที่ได้ดำเนินการบรรลุความสำเร็จเรียบร้อยแล้ว
โครงการ/กิจกรรม ที่ได้ดำเนินการบรรลุความสำเร็จเรียบร้อยแล้ว ดังนี้
๑) โครงการการจัดการความรู้ (KM) / การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ รวม ๓ กิจกรรม
๑.๑) กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้: เรื่อง ห้องสมุดสีเขียวสู่สำนักงานสีเขียว วิทยากรผู้แบ่งปันความรู้/ถ่ายทอดความรู้ โดย อาจารย์นฤมล พฤกษศิลป์ รองผู้อำนวยการ สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยรังสิต จัดเมื่อวันศุกร์ที่ ๔ มีนาคม ๒๕๖๕ โดยมีผู้เข้าร่วมกิจกรรมจำนวน ๓๒ คน
๑.๒) กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้: เรื่อง UNION CATALOG: การนำเข้าข้อมูลบรรณานุกรม ผู้รับผิดชอบกิจกรรม มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ นำเสนอความรู้ด้วยรูปแบบ Flow Chart และคู่มือการลงรายการตามมาตรฐานบนฐานข้อมูลสหบรรณานุกรม UC-TAL
๑.๓) กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้: เรื่อง การนำเข้าข้อมูล TDC-ThaiLis Digital Collection ผู้รับผิดชอบกิจกรรม มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ และมหาวิทยาลัยรังสิต นำเสนอความรู้ด้วยรูปแบบ Flow Chart และคู่มือการนำเข้าข้อมูล TDC-ThaiLis Digital Collection
๒) โครงการพัฒนาทักษะใหม่ (UpSkill / ReSkill) บุคลากรกลุ่มงานพัฒนาฯ รวม ๔ กิจกรรม
๒.๑) กิจกรรม: การเพิ่มพูนความรู้ทักษะการสร้างสื่อมัลติมีเดียสำหรับบรรณารักษ์ในยุคดิจิทัล เรื่อง “การนำ Line Notify มาประยุกต์ใช้ในงานห้องสมุด” วิทยากรผู้แบ่งปันความรู้/ถ่ายทอดความรู้ โดย อาจารย์พรรณี จิวพุทธิธรรม ประธานกลุ่มงานพัฒนาและวิเคราะห์ทรัพยากรสารสนเทศ และหัวหน้าแผนกพัฒนาทรัพยากรสารสนเทศ สำนักหอสมุดและทรัพยากรสารสนเทศ มหาวิทยาลัยสยาม จัดเมื่อวันพุธที่ ๑๗ สิงหาคม ๒๕๖๕ โดยมีผู้เข้าร่วมกิจกรรมจำนวน ๔๑ คน
๒.๒) กิจกรรม: การเพิ่มพูนความรู้ทักษะการสร้างสื่อมัลติมีเดียสำหรับบรรณารักษ์ในยุคดิจิทัล เรื่อง “FOLIO ระบบห้องสมุดอัตโนมัติที่ใช้มาตรฐานใหม่” วิทยากรผู้แบ่งปันความรู้/ถ่ายทอดความรู้ โดย คุณนันทรัตน์ นนทิวัฒน์วณิช จากบริษัท EBSCO จัดเมื่อวันพฤหัสบดีที่ ๒๗ ตุลาคม ๒๕๖๕ โดยมีผู้เข้าร่วมกิจกรรมจำนวน ๕๐ คน
๒.๓) กิจกรรม: การเพิ่มพูนความรู้ทักษะการสร้างสื่อมัลติมีเดียสำหรับบรรณารักษ์ในยุคดิจิทัล เรื่อง “การสร้างสื่อให้ดึงดูดโดยใช้โปรแกรม Canva” วิทยากรผู้แบ่งปันความรู้/ถ่ายทอดความรู้ โดย อาจารย์พรรณี จิวพุทธิธรรม ประธานกลุ่มงานพัฒนาและวิเคราะห์ทรัพยากรสารสนเทศ และหัวหน้าแผนกพัฒนาทรัพยากรสารสนเทศ สำนักหอสมุดและทรัพยากรสารสนเทศ มหาวิทยาลัยสยาม จัดในวันอังคารที่ ๑๔ มีนาคม ๒๕๖๖
๒.๔ กิจกรรม: การเพิ่มพูนความรู้ด้านลิขสิทธิ์ในยุคดิจิทัล กลุ่มงานไม่ได้จัดกิจกรรมเองโดยตรง แต่ได้ประชาสัมพันธ์ให้คณะอนุกรรมการของกลุ่มงานเข้าร่วม โครงการการประชุมวิชาการหอสมุดแห่งชาติ ประจำปี ๒๕๖๕ เรื่อง “บทบาทและการปรับตัว ของห้องสมุดในยุคดิจิทัล: The Changing Roles of Libraries in the digital age” ซึ่งประกอบด้วยองค์ความรู้ ดังนี้ การจัดการและดูแลรักษาสารสนเทศดิจิทัล, การจัดการสารสนเทศดิจิทัลในห้องสมุด, การนำเสนอข้อมูลให้น่าสนใจด้วย Data Visualization, พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลกับงานห้องสมุด, และสารสนเทศดิจิทัล: ลิขสิทธิ์และการใช้งานอย่างเป็นธรรม จัดเมื่อวันที่ ๑๙-๒๐ กรกฎาคม ๒๕๖๕ ดาวน์โหลดเอกสารองค์ความรู้ข้างต้น ได้ที่ https://bit.ly/3AXvRub
* รู้จัก กลุ่มงานพัฒนาและวิเคราะห์ทรัพยากรสารสนเทศ ในคณะอนุกรรมการพัฒนาระบบและเครือข่ายห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษาเอกชน (อพส.)
กลุ่มงานพัฒนาและวิเคราะห์ทรัพยากรสารสนเทศ จัดตั้งขึ้นโดยคณะอนุกรรมการพัฒนาระบบและเครือข่ายห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษาเอกชน (อพส.) หรือ ThaiPUL ก่อนจะรู้จักกับกลุ่มงาน ต้องทำความรู้จักกับ อพส.ก่อน อพส. หรือ คณะอนุกรรมการพัฒนาระบบและเครือข่ายห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษาเอกชน ได้เริ่มขึ้น ณ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ เมื่อวันที่ 9 กรกฎาคม พุทธศักราช 2528 ด้วยความร่วมมือของกลุ่มบรรณารักษ์จากห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษาเอกชน จำนวน 11 แห่ง ได้นัดหมายมาประชุมปรึกษาหารือเพื่อพิจารณาหารูปแบบของความร่วมมือที่เหมาะสมที่ห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษาเอกชนทุกแห่งจะพึงร่วมมือกันได้ โยมีนายบุญสิริ สุวรรณเพ็ชร์ หัวหน้าบรรณารักษ์ สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ เป็นประธานจัดการประชุม และมี รศ.ดร.นวนิตย์ อินทรามะ เป็นที่ปรึกษาที่ประชุมได้คัดเลือกคณะกรรมการดำเนินงานความร่วมมือเป็นชุดแรกจำนวน 6 คน และได้จัดตั้งเป็น “ชมรมห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษาเอกชน (ชสอ. หรือ HPEL Group)” มีนายบุญสิริสุวรรณเพ็ชร์ เป็นประธานชมรม ในปี พุทธศักราช 2530 ชมรมห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษาเอกชนได้เปลี่ยนสถานภาพเป็น“คณะอนุกรรมการพัฒนาห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษาเอกชน (อพห.)” อยู่ภายใต้การคำแนะนำของคณะอนุกรรมการฝ่ายพัฒนาในสังกัดสมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย(สสอท.) และจากมติที่ประชุมคณะกรรมการฝ่ายบริหาร สมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย(สสอท.) ครั้งที่ 6/2543 วันที่ 25 ตุลาคม 2543 ณ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ มีมติให้ เปลี่ยนชื่อย่อ จาก อพห. เป็น อพส. และมีชื่อเต็มคือ คณะอนุกรรมการพัฒนาระบบและเครือข่ายห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษาเอกชน
พันธกิจ
สร้างข้อตกลงในความร่วมมือด้านการจัดหา การสนับสนุน และการใช้ทรัพยากรสารสนเทศ เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดกับแต่ละสถาบัน ด้วยความประหยัด และยุติธรรม
วัตถุประสงค์
อพส. คือ กลไกการรวมพลัง ความสามัคคีระหว่างห้องสมุด ศูนย์สารสนเทศ สถาบันอุดมศึกษาเอกชน เพื่อผลักดันให้เกิดการพัฒนาคุณภาพงานบริการทางด้านวิชาการ ซึ่งมีวัตถุประสงค์หลัก ดังนี้ 1. ส่งเสริมความร่วมมือในการพัฒนาทรัยากรการเรียนรู้และบริการสารสนเทศให้เกิดประโยชน์สูงสุด 2. ส่งเสริมการพัฒนาคุณภาพและการบริการทางวิชาการของห้องสมุดและศูนย์สารสนเทศ 3. ส่งเสริมการค้นคว้าและวิจัยเพื่อผลิตผลงานในสาขาวิชาบรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์ 4. เป็นศูนย์กลางการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นทางวิชาการประสบการณ์ของบุคลากรในวิชาชีพ
หน้าที่ ของคณะอนุกรรมการพัฒนาระบบและเครือข่ายห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษาเอกชน (อพส.)
1. กำหนดนโยบายและประสานงานให้บรรลุวัตถุประสงค์ 2. มอบหมายงานให้ผู้เกี่ยวข้อง 3. แต่งตั้งกลุ่ม 4. ร่วมมือกันแก้ปัญหา 5. ประสานงานพื่อให้เกิดการทำงานอย่างแท้จริง
กิจกรรม ที่คณะอนุกรรมการพัฒนาระบบและเครือข่ายห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษาเอกชน (อพส.) ควรจัดทำ
1. กำหนดนโยบาย โครงสร้างให้เป็นลายลักษณ์อักษร 2. อนาคตของห้องสมุดควรจะพัฒนาไปในทิศทางของศูนย์สารนิเทศแห่งชาติ 3. บริการยืมคืนระหว่างห้องสมุดควรมีการขยายกว้างขึ้น 4. การนำคอมพิวเตอร์เข้ามาใช้ 5. อุปกรณ์การสื่อสาร 6. ฐานข้อมูลสำเร็จรูป 7. มีกลุ่มเทคโนโลยีสารสนเทศขึ้น 8. ควรมีการประเมิณผลของกิจกรรมที่ผ่านมา 9. ควรมีการวางแผนระยะสั้น-ระยะยาว 10. เผยแพร่ข่าวสารเพื่อความเข้าใจที่ถูกต้อง 11. ควรมีการประชาสัมพันธ์
การแบ่งกลุ่มงาน
2528 นับตั้งแต่ได้ร่วมมือกันปฏิบัติงานมาตั้งแต่ พุทธศักราช 2528 จนถึงปัจจุบัน พุทธศักราช 2546ได้ดำเนินการร่วมมือแบ่งกลุ่มงานพร้อมกับความร่วมมือของห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษาเอกชน ออกเป็น 5 กลุ่ม ดังนี้ 1. กลุ่มงานเทคนิค 2. กลุ่มงานบริการ 3. กลุ่มงานโสตทัศนบริการ 4. กลุ่มงานวารสาร 5. กลุ่มงานเทคโนโลยีสารสนเทศ 2552 คณะอนุกรรมการพัฒนาระบบและเครือข่ายห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษาเอกชน (อพส.) ครั้งที่ 12/1/2552 วันพุธที่ 5 สิงหาคม 2552 ณ ห้องประชุมสุรัตน์ 1 อาคารหอสมุด สุรัตน์โอสถานุเคราะห์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ วิทยาเขตรังสิต มีมิติให้รวมกลุ่มงาน โดยยุบรวมกลุ่มงานวารสารรวมเข้ากับกลุ่มงานพัฒนาทรัพยากรสารสนเทศ กลุ่มงานโสตทัศนบริการยุบรวมในกลุ่มงานเทคโนโลยีสารสนเทศ เหลือ 4 กลุ่มงาน ดังนี้ 1. กลุ่มงานบริการสารสนเทศ 2. กลุ่มงานพัฒนาทรัพยากรสารสนเทศ 3. กลุ่มงานวิเคราะห์ทรัพยากรสารสนเทศ 4. กลุ่มงานเทคโนโลยีสารสนเทศ 2561 คณะอนุกรรมการพัฒนาระบบและเครือข่ายห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษาเอกชน (อพส.) ครั้งที่ 1/2561 วันจันทร์ที่ 29 มกราคม 2561 ณ ห้องประชุม ช้ัน 8 อาคาร 24 มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย มีมิติให้รวมกลุ่มงาน เหลือเพียง 2 กลุ่มงาน ดังนี้ 1. กลุ่มงานพัฒนาและวิเคราะห์ทรัพยากรสารสนเทศ 2. กลุ่มงานบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ
วัตถุประสงค์ของกลุ่มงาน
คณะอนุกรรมการพัฒนาระบบและเครือข่ายห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษาเอกชน (อพส.) มีมติให้การส่งตัวแทนเข้าร่วมกลุ่มงานโดยพิจารณาหัวหน้างานหรือผู้มีอำนาจในการตัดสินใจรองจากหัวหน้างานเข้าร่วมประชุมคณะทำงานโดยมีวัตถุประสงค์ในการดำเนินงาน ดังนี้ 1. ส่งเสริมการผลิตงานทางวิชาการ 2. เป็นศูนย์กลางการแลกเปลี่ยนทางวิชาการของบุคลากร 3. ส่งเสริมความร่วมมือในการใช้ทรัพยากรร่วมกัน 4. ส่งเสริมการพัฒนาคุณภาพการบริการวิชาการ * ที่มา : http://www.thaipul.org/index.php/2016-02-19-07-17-31