ไข้มาลาเรีย (Malaria) หรือ ไข้จับสั่นไข้ป่า ไข้ป้าง ไข้ร้อนเย็นหรือไข้ดอกสัก เป็นโรคที่มีประวัติอันยาวนานมาพร้อมกับการกําเนิดของมนุษยชาติ ในสมัย Hippocratis ( บิดาทางการแพทย์สมัยนั้น ) ได้ตั้งข้อ สังเกตเอาไว้ว่า โรคนี้มีความสัมพันธ์กับฤดูกาล ต่อมามีการค้นพบสัตว์เซลล์เดียวที่เรียก ว่า พลาสโมเดียม (Plasmodium) ในวันที่ 6 พฤศจิกายน ค.ศ. 1880 โดย Laveran แพทย์ชาวฝรั่งเศส ว่าเป็นต้นเหตุของไข้มาลาเรีย ทําให้เขาได้รับรางวัลโนเบล เป็นการ เปิดศักราชใหม่ของการรักษาและควบคุมไข้มาลาเรีย โรคมาลาเรียเป็นโรคติดต่อ เกิดจากการติดเชื้อโปรโตซัว Plasmodium ซึ่ง เป็นสิ่งมีชีวิตเป็นสัตว์เซลล์เดียวอยู่ใน Class Sporozoa โดยมียุงก้นปล่องเป็นพาหะ มีวงจรชีวิตอยู่ทั้งในสัตว์มีกระดูกสันหลังและสัตว์จําพวกยุง เชื้อมาลาเรีย ปัจจุบันเชื้อมาลาเรียในประเทศไทย ที่พบได้ในคนมีทั้งหมด 5 ชนิด ได้แก่ (พงษ์วิทย์ บัวล้อมใบ, คะนึงนิจ คงพ่วง, เชิดชัย แก้วปา และฑิตถากร รอดนาค, 2552)
- Plasmodium falciparum
- Plasmodium vivax
- Plasmodium malariae
- Plasmodium ovale
- Plasmodium knowlesi
อาการทั่วไป คือ มีไข้ อ่อนเพลีย อาเจียนและปวดศีรษะ ในรายที่รุนแรงอาจทำให้ตัวเหลือง ชัก โคม่าหรือเสียชีวิตได้ โรคมาลาเรียส่งผ่านโดยการกัดของยุงเพศเมียในสกุล Anopheles (ยุงก้นปล่อง) และปกติอาการเริ่ม 10 ถึง 15 วันหลังถูกกัด หากไม่ได้รับการรักษาอย่างเหมาะสม บุคคลอาจมีอาการของโรคในอีกหลายเดือนให้หลัง ในผู้ที่เพิ่งรอดจากการติดเชื้อ การติดเชื้อซ้ำมักมีอาการเบากว่า การต้านทานบางส่วนนี้จะหายไปในเวลาเป็นเดือนหรือปีหากบุคคลไม่ได้สัมผัสมาลาเรียอย่างต่อเนื่อง (วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี, ม.ป.ป)
ประเทศไทยประสบผลสำเร็จในการควบคุมโรคไข้มาลาเรียอย่างมาก โดยปัจจุบันพบอัตราป่วยเพียง 0.37 ต่อประชากรพันราย ซึ่งองค์การอนามัยโลกได้กระตุ้นให้ประเทศที่มีอัตราป่วยน้อยกว่า 1 ต่อประชากรพันราย ยกระดับนโยบายด้านมาลาเรียจากการควบคุมโรคเป็นการกำจัดโรคไข้มาลาเรียต่อไป นอกจากนี้กระทรวงสาธารณสุขได้พัฒนายุทธศาสตร์กำจัดโรคไข้มาลาเรียขึ้นโดยได้รับความร่วมมือจากทุกภาคส่วนทั้ง ภาครัฐและภาคประชาสังคม โดยยุทธศาสตร์กำจัดโรคมาลาเรียมีระยะเวลา 10 ปี (พ.ศ.2560-2569) โดยกำหนดเป้าหมายให้ประเทศไทยปลอดจากโรคไข้มาลาเรียทั้งประเทศ และได้รับการรับรองเป็นเขตปลอดโรคไข้มาลาเรียจากองค์การอนามัยโลก ภายในปี 2569
ซึ่งยุทธศาสตร์กำจัดโรคไข้มาลาเรีย ประกอบด้วยยุทธศาสตร์หลักเพื่อเร่งรัดการกำจัดการแพร่เชื้อมาลาเรีย ประกอบด้วย การพัฒนาระบบเฝ้าระวังให้ตอบโต้ได้รวดเร็วมีประสิทธิภาพ เพิ่มศักยภาพและความครอบคลุม การบริการตรวจรักษาในทุกกลุ่มประชากรเร่งรัดการค้นหาผู้ป่วยที่แสดงอาการและไม่แสดงอาการ เฝ้าระวังควบคุม ยุงพาหะและส่งเสริมการป้องกันตนเองในกลุ่มเสี่ยงและสร้างระบบเร่งรัดกำจัดเชื้อมาลาเรียดื้อยา ส่วนยุทธศาสตร์ สนับสนุนได้แก่ พัฒนาเทคโนโลยี นวัตกรรมมาตรการและรูปแบบที่เหมาะสม รวมถึงสร้างความร่วมมือระหว่าง ภาคีเครือข่ายและการส่งเสริมให้ประชาชนดูแลตนเอง การดำเนินงานในพื้นที่เพื่อควบคุมและยับยั้งการแพร่เชื้อมาลาเรีย มี 5 มาตรการหลักดังนี้
[dropcap font=”Arial” color=”#cc0033″]1[/dropcap]การจัดการในผู้ป่วยโดยให้ประชาชนเข้าถึงบริการได้ง่ายไม่ต้องเดินทางไปโรงพยาบาล ก็สามารถเข้ารับบริการได้ที่มาลาเรียคลินิก ของศูนย์ควบคุมโรคติดต่อนำโดยแมลง ซึ่งตั้งอยู่ในชุมชนทั่วไปที่เป็นพื้นที่เสี่ยง[dropcap font=”Arial” color=”#ff7742″]2[/dropcap]การให้มุ้งชุบสารเคมีครอบคลุมประชากรพื้นที่เสี่ยง เป็นมุ้งชุบสารเคมีไพรีทรอยด์ ซึ่งมีฤทธิ์ทำให้ยุงเป็นอัมพาตและตายในระยะเวลาอันสั้น ไม่เป็นอันตรายต่อคน
[dropcap font=”Arial” color=”#cc0033″]3[/dropcap]การฉีดพ่นสารเคมีที่มีฤทธิ์ตกค้างเพื่อฆ่ายุงก้นปล่องตัวเต็มวัยในกลุ่มพื้นที่ระบาด
[dropcap font=”Arial” color=”#ff9900″]4[/dropcap]ระบบการเฝ้าระวังผู้ป่วยมาลาเรียในพื้นที่ ทั้งในส่วนที่ต้องคัดกรองและส่วนที่ค้นหาเพื่อรักษ
[dropcap font=”Arial” color=”#83c8d4″]5[/dropcap]การให้การบริการเฝ้าระวังควบคุมโรคในประชากรกลุ่มเคลื่อนย้าย และแรงงานข้ามชาติ ส่วนพื้นที่ที่เป็นจุดเน้นในการดำเนินงานครั้งนี้คือ บริเวณชายแดนที่มีป่า สวนป่า เป็นต้น
การกำจัดโรคไข้มาลาเรียจะส่งผลให้ประชาชนมีสุขภาพดีโดยภาพรวม เป็นการลดค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพ รวมถึงลดความเหลื่อมล้ำในสังคมตามวิสัยทัศน์และเป้าหมายของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 12 นอกจากนี้ยังเป็นการส่งเสริมการท่องเที่ยวเพิ่มรายได้ของประเทศจากที่มีนักท่องเที่ยวที่เพิ่มขึ้นอีกด้วยโรคไข้มาลาเรียมียุงก้นปล่องเป็นพาหะนำโรค ยุงมีแหล่งเพาะพันธุ์บริเวณเขาสูง ป่าทึบ สวนยางพารา แหล่งน้ำธรรมชาติ เริ่มออกหากินเวลาใกล้ค่ำจนรุ่งสาง จึงขอแนะนำประชาชนที่อาศัยหรือเดินทางไปพักค้างคืนในพื้นที่แพร่เชื้อ
กระทรวงสาธารณสุข. สำนักโรคติดต่อนำโดยแมลง กรมควบคุมโรค. (ม.ป.ป). วันมาลาเรียโลก. เข้าถึงได้จาก http://www.thaivbd.org/n/contents/view/324874
พงษ์วิทย์ บัวล้อมใบ, คะนึงนิจ คงพ่วง, เชิดชัย แก้วปา และฑิตถากร รอดนาค. (ผู้เรียบเรียง). (2552). คู่มือ
การตรวจวินิจฉัยเชื้อมาเลเรียทางห้องปฏิบัติการ. เข้าถึงได้จาก http://odpc2.ddc.moph.go.th/lab/Malaria/MalariaBook.pdf
วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี. (ม.ป.ป). มาลาเรีย. เข้าถึงได้จาก https://th.wikipedia.org/wiki/มาลาเรีย
เว็บไซต์: Beating malaria through education https://www.worldvision.org.nz/stories/beating-malaria-through-education/