February 2018

พระราชวรวงศ์เธอกรมหมื่นพิทยาลงกรณ์ พระบิดาของสหกรณ์ในประเทศไทย

[box type=”note”] “การที่บุคคลหนึ่งบุคคลใดจะออมทรัพย์ไว้ได้มากหรือน้อยนั้น  ก็ย่อมจะต่างกันตามกำลังทรัพย์กำลังปัญญาของตน  แต่ทุกๆ คนต้องเข้าใจว่า  ถึงจะออมทรัพย์ได้ที่ละเล็กละน้อยก็เป็นประโยชน์แก่ตนและบ้านเมืองทั้งนั้น” พระราชดำรัส พระราชวรวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยาลงกรณ์ [/box] วันสหกรณ์แห่งชาติ ตรงกับวันที่ 26 กุมภาพันธ์ ของทุกปี สืบเนื่องมาจากสหกรณ์ในประเทศต่างๆ เจริญก้าวหน้าส่งผลดีในการพัฒนาประเทศ สำหรับประเทศไทยเมื่อ พ.ศ. 2458 นโยบายแห่งรัฐ เห็นสมควรนำวิธีการสหกรณ์ เข้ามาช่วยพัฒนาประเทศให้ประชาชนได้หลุดพ้นจากความยากจน โดยเฉพาะเกษตรกร พระราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้ารัชนีแจ่มจรัส กรมหมื่นพิทยาลงกรณ์ พระบิดาแห่งการสหกรณ์ไทย ได้ทรงส่งเสริมให้ก่อตั้งสหกรณ์แห่งแรกคือ “สหกรณ์วัดจันทร์ ไม่จำกัดสินใช้” ณ ตำบลวัดจันทร์ อำเภอเมืองพิษณุโลก จังหวัดพิษณุโลก และทรงเป็นนายทะเบียนสหกรณ์(พระองค์แรก) รับจดทะเบียนเป็นสหกรณ์แห่งแรก เมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2459 ตามรูปแบบสหกรณ์ เครดิตแบบไรฟ์ไฟเซน ที่ได้รับความสำเร็จ มาแล้วใน อินเดีย และพม่า ซึ่งทั้งสองประเทศได้ส่งคนไปศึกษาจากประเทศเยอรมนี และเมื่อวันที่ 9 ตุลาคมพ.ศ. 2527 ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีมีมติกำหนดให้วันที่ 26 กุมภาพันธ์ ของทุกปี […]

26 กุมภาพันธ์ วันสหกรณ์แห่งชาติ Read More »

วันวิทยุกระจายเสียง

[quote arrow=”yes”]ที่มาของ คำว่า “วิทยุกระจายเสียง”[/quote] คำว่า “วิทยุกระจายเสียง” นี้เดิมทีเดียว เรายังไม่มีคำใช้เรียกกันเป็นภาษาไทย  จอมพลเรือ กรมพินิจพระนครสวรรค์วรพินิจ ทรงใช้วิธีเรียกทับศัพท์ “Radio Telegraph” ว่า “ราดิโอโทรเลข” ต่อมาภายหลังพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงทรงบัญญัติใช้คำว่า “วิทยุ” แทนคำว่า “ราดิโอ” ต่อมาราชบัณฑิตยสสถาน จึงได้ให้ใช้คำเต็ม เป็นทางการ “วิทยุกระจายเสียง” ซึ่งมีความหมายตรงกับคำภาษาอังกฤษว่า Radio Broadcasting นั่นเอง (จุฑารัตน์  โสดาศรี, ม.ป.ป) วิทยุกระจายเสียงในประเทศไทยเริ่มมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2447 อันเป็นรัชสมัยสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งพอสรุปประวัติโดยย่อดังนี้ (บุญเกื้อ  ควรหาวช, 2545, วิกิพีเดียสารานุกรมเสรี, ม.ป.ป.) พ.ศ. 2447 เมื่อห้าง บี.กริม ซึ่งเป็นผู้แทนวิทยุและโทรทัศน์เยอรมัน ชื่อ เทเลฟุงเกน ได้นำเครื่องวิทยุโทรเลข เข้ามาตั้งเครื่องรับส่งวิทยุโทรเลขมาสองชุด โดยทดลองในกรุงเทพฯ และเกาะสีชัง หลังจากนั้นทางราชการกองทัพเรือ และกองทัพบกจึงได้นำเครื่องรับส่งวิทยุโทรเลขขนาดเล็ก มาใช้ราชการในเรือรบและในงานสนาม ในปี

วันวิทยุกระจายเสียงแห่งชาติ Read More »

วันศิลปินแห่งชาติ

[box type=”note” ]  พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ 2 มีพระอัจฉริยภาพในงานศิลปะหลายสาขา ทรงมีพระปรีชาสามารถในศิลปกรรม ทรงอุปถัมภ์บำรุงศิลปกรรมแขนงต่าง ๆ ตลอดจนทรงส่งเสริมเชิดชูศิลปินผู้มีฝีมือมาตลอดรัชสมัยพระองค์  เพื่อแสดงความระลึกถึงวันคล้ายพระราชสมภพของพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย (วันที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2310) เอกอัครศิลปินที่ยิ่งใหญ่ที่สุดแห่งกรุงรัตนโกสินทร์  จึงได้ถือเอาวันที่ 24 กุมภาพันธ์ ของทุกปี เป็นวันศิลปินแห่งชาติ[/box] พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยมีพระอัจฉริยภาพในงานศิลปะหลายสาขา ทั้งทางด้านประติมากรรม ได้ทรงร่วมกับช่างประติมากรรมฝีมือเยี่ยมในสมัยนั้นแกะสลักบานประตูไม้พระวิหาร วัดสุทัศน์เทพวรารามเป็นลายเครือเถารูปป่าหิมพานต์นับเป็นงานฝีมือชั้นเยี่ยมด้านวรรณกรรม ถือว่าทรงเป็นกวีเอกแห่งแผ่นดินพระองค์หนึ่ง[divide icon=”circle” width=”medium”] ทรงพระราชนิพนธ์วรรณกรรมไว้จำนวนมากมายหลายเรื่อง เช่น อิเหนา ซึ่งเป็นวรรณคดีที่ได้รับการยกย่องจากวรรณคดีสโมสรในรัชกาลที่ 6 ว่าเป็นยอดของกลอนบทละครรำ นอกจากนี้ยังทรงพระราชนิพนธ์ บทละครนอก 5 เรื่อง ได้แก่ ไกรทอง พระไชยเชษฐ์ คาวี สังข์ทอง และมณีพิชัย [divide icon=”circle” width=”medium”] ด้วยพระปรีชาสามารถของพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ในด้านวรรณกรรม  ทรงได้รับการยกย่องจากองค์การศึกษาวิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (UNESCO) ให้เป็นบุคคลสำคัญของโลกสาขาวรรณกรรม  และเพื่อเป็นการยกย่องศิลปินผู้สร้างสรรค์ผลงาน ทางกรมส่งเสริมวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรมจึงได้มอบรางวัลให้แก่ ศิลปินที่มีผลงานดีเด่นในด้านต่าง ๆ ทั้งนี้เพื่อเป็นการยกย่องและเชิดชูเกียรติศิลปิน [quote

วันศิลปินแห่งชาติ Read More »

wordcamp bangkok 2018

WordCamp Bangkok 2018 รอบ Conference Day จัดขึ้นในวันอาทิตย์ที่ 18 กุมภาพันธ์ 2018 ที่ มหาวิทยาลัยสยาม ตึก 19 โดยในปีนี้มีผู้เข้าลงทะเบียนเข้าร่วมงานมากกว่า 500 คน งานในปีนี้มีการแบ่งออกเป็น 2 วัน ชื่องาน Contributor Day และ Conference Dayโดยในครั้งนี้ห้องสมุดส่งเจ้าหน้าที่เข้าร่วมกิจกรรม 1 คน ในงาน Conference Day ภายในงานแบ่งเป็น 3 Track  เปิดเวทีคู่ขนานกันไป เริ่มเวลาประมาณ 09.00 น.โดยแต่ละห้องจะมีหัวข้อการสัมนาแตกต่างกันไป ผู้เข้าร่วมงานต้องเลือกเข้าฟังกิจกรรมที่ตนเองสนใจเป็นพิเศษ โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้ [quote font_size=”18″ color=”#ffdf42″ bgcolor=”#0066cc” bcolor=”#ffdf42″ arrow=”yes”]รอบเช้า Track 1[/quote] แนวทางการสร้าง Thought Leadership ให้กับแบรนด์ผ่านการเขียน Blog by Jakrapong Kongmalai

งาน WordCamp Bangkok 2018 มหาวิทยาลัยสยาม Read More »

แนะนำหนังสือ 16 ก.พ. 2561

[box type=”note”]ชื่อหนังสือ: โครงการพระราชดำริฝนหลวง ชื่อผู้แต่ง: ฝ่ายวิชาการ สถาพรบุ๊คส์, ผู้เรียบเรียง   Call Number: อ 551.577 ค961 2560 รายละเอียด: แนะนำหนังสือ “โครงการพระราชดำริฝนหลวง” เล่มนี้เป็นอีกเล่มหนึ่งในหนังสือชุด “ศาสตร์พระราชา” โดยได้น้อมนำโครงการตามพระราชดำริที่เป็นแบบอย่างอันดี ในการศึกษาหลักการทรงงานของพระองค์ท่าน ซึ่งมีหลักการสำคัญคือ  “เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา” เพื่อเป็นแรงบันดาลใจที่จะน้อมเกล้าน้อมกระหม่อมนำหลักคิดและพระราชกรณียกิจของพระองค์ไปศึกษาค้นคว้าและประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์แก่ตนเองและประเทศชาติสืบไป สำหรับโครงการพระราชดำริฝนหลวงเกิดขึ้นจากพระราชดำริส่วนพระองค์ เมื่อคราวเสด็จเยี่ยมราษฎรในพื้นที่แห้งแล้งทุรกันดาร 15 จังหวัด ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เมื่อพ.ศ. 2598 ทรงทราบถึงความเดือนร้อนทุกข์ยากของราษฎรที่ขาดแคลนน้ำอุปโภคบริโภคและการเกษตร ซึ่งในเส้นทางการเสด็จพระราชดำเนินในเวลานั้นทรงสังเกตเห็นว่ามีเมฆปริมาณมากปกคลุมท้องฟ้า   แต่ไม่สามารถก่อตัวจนเกิดเป็นฝนได้ จึงเริ่มทรงงานโดยใช้เวลาในการวิเคราะห์ วิจัย ศึกษาหาข้อมูลต่างๆกับผู้ที่เกี่ยวข้อง จึงเป็นที่มาของ “โครงการพระราชดำริฝนหลวง” ซึ่งเนื้อหาภายในเล่มนำเสนอในรูปแบบสองภาษา ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ[/box] [box] ชื่อหนังสือ: จดหมายเหตุการบูรณปฏิสังขรณ์เทวสถาน สำหรับพระนคร ชื่อผู้แต่ง: อนุชา เสมารัตน์…[และคนอื่น ๆ], บรรณาธิการ Call Number: อ 294.5

แนะนำหนังสือ 16 ก.พ. 2561 Read More »

วันตรุษจีน Chinese New Year

[box type=”note”] “ซินเจีย อยู่อี่ ซินนี่ ฮวดใช้” วันตรุษจีน Chinese New Year เป็นวันขึ้นปีใหม่ตามปฎิทินจีน สำหรับในปี 2561 นี้ วันตรุษจีน ตรงกับวันศุกร์ที่ 16 กุมภาพันธ์   ถือเป็นเทศกาลสำคัญของชาวจีน เป็นวันหยุดตามประเพณีของจีนที่สำคัญที่สุด ในประเทศจีน ยังมีอีกชื่อหนึ่งว่า “เทศกาลฤดูใบไม้ผลิ” ในประเทศไทยคนไทยเชื้อสายจีนก็จะเตรียมของไหว้บรรพบุรุษ เป็นวันรวมตัวของญาติๆ ที่จะได้มาพบปะกันด้วย[/box] [quote arrow=”yes”]ที่มาของ วันตรุษจีน (Chinese New Year) [/quote] เชื่อกันว่าประเพณีนี้มีมานานกว่าสี่พันปีแล้ว จัดขึ้นเพื่อฉลองเทศกาลฤดูใบไม้ผลิ เดิมที่ไม่ได้เรียกว่าเทศกาลตรุษจีน แต่มีชื่อเรียกต่างกันตามยุคสมัย คือเมื่อ 2100 ปีก่อนคริสตศักราชจะเรียกว่า “ซุ่ย” มีความหมายถึงการโคจรครบหนึ่งรอบของดาวจูปิเตอร์ ต่อมาในยุค 1000 กว่าปีก่อนคริสตศักราช เทศกาลตรุษจีนจะถูกเรียกว่า “เหนียน” หมายถึงการเก็บเกี่ยวได้ผลอุดมสมบูรณ์ และยังมีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า “วันชุงเจ๋” ซึ่งหมายถึงเทศกาลดูใบไม้ผลิ หรือขึ้นปีเพาะปลูกใหม่ เพราะช่วงก่อนตรุษจีนนั้น ตรงกับฤดูหนาว ไม่สามารถทำการเกษตรได้ ดังนั้นเมื่อเข้าสู่ฤดูใบไม้ผลิที่มีอากาศเหมาะสมแก่การเพาะปลูก ชาวจีนจึงสามารถทำนา ทำสวน ได้อีกครั้งหลังจากผ่านพ้นฤดูหนาวมานั่นเอง

วันตรุษจีน Chinese New Year Read More »

Valentine's Day-วันวาเลนไทน์ 14 กุมภาพันธ์ วันแห่งความรัก

[quote arrow=”yes”]ประวัติ วันวาเลนไทน์ (Valentine’s Day)[/quote] ประวัติความเป็นมาของ วันวาเลนไทน์ เราคงจะได้รับฟังต่อๆ กันมาว่ามีที่มาจากประวัติของ เซนต์วาเลนไทน์ (Saint Valentine) นักบวช ผู้เปี่ยมไปด้วยเมตตา ต่อเพื่อนมนุษย์ แม้ว่าสุดท้ายแล้วชีวิตของเขาจะต้องจบลงด้วยการถูกโทษประหาร ในวันที่ 14 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 270 หรือประมาณหนึ่งพันเจ็ดร้อยกว่าปีมาแล้ว ซึ่งในยุคนัั้นอยู่ในช่วงของจักรวรรดิโรมันเรืองอำนาจ ศาสนาคริสต์ยังไม่ปรากฎเป็นที่ยอมรับ และถูกบดขยี้โดยผู้ที่มีอำนาจในยุคนั้น แต่ก็ยังมีอีกหลากหลายประวัติที่หลายคนก็ยังไม่เคยรู้ สำหรับอีกประวัติที่เป็นที่มาของเทศกาลวาเลนไทน์ (Valentine’s Day) ซึ่งเป็นเรื่องราวที่ถูกปฎิเสธโดยคริสตจักรนั้น เกิดขึ้นมาตั้งแต่สมัยจักรวรรดิโรมัน ในกรุงโรมสมัยก่อน โดยในวันที่ 14 กุมภาพันธ์ จะเรียกว่าเป็นวันเฉลิมฉลองของจูโน่ “Juno Februata” ซึ่งเป็นเทพธิดาองค์หนึ่งในเหล่าทวยเทพและสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่ชาวโรมันบูชาและนับถือ ชาวโรมันรู้เชิดชูเทพธิดาองค์นี้ในฐานะของเทพธิดาแห่งอิสตรีและการแต่งงาน และในวันถัดมาคือวันที่ 15 กุมภาพันธ์ ก็จะเป็นวันเริ่มต้นงานเลี้ยงของ Lupercalia การดำเนินชีวิตของเด็กหนุ่มและเด็กสาวในสมัยนั้นจะถูกแยกจากกันอย่างเด็ดขาด แต่อย่างไรก็ตาม ยังมีประเพณี อย่างนึง ซึ่งเด็กหนุ่มสาวยังสืบทอดต่อกันมา คือ คืนก่อนวันเฉลิมฉลอง Lupercalia นั้นชื่อของเด็กสาวทุกคนจะถูกเขียนลงในเศษกระดาษเล็ก ๆ และจะใส่เอาไว้ในเหยือก เด็กหนุ่มแต่ละคนจะดึงชื่อของเด็กสาวออกจากเหยือก

Valentine’s Day-วันวาเลนไทน์ 14 กุมภาพันธ์ วันแห่งความรัก Read More »

รักนกเงือก-มรดกโลก-hornbill day

วันรักนกเงือก ตรงกับวันที่ 13 กุมภาพันธ์ของทุกปี “นกเงือก” (Hornbill) เป็นสัญลักษณ์ของสิ่งแทนคำว่า “รักแท้” เพราะนกเงือกจะมีลักษณะการครองคู่แบบ “รักเดียว ใจเดียว” หรือ “แบบผัวเดียวเมียเดียว”จนแก่จนเฒ่า หรืออยู่ครองคู่กันจนตายจากกัน ตัวผู้จะมีลักษณะเป็นหัวหน้าครอบครัวที่ขยันและซื่อสัตย์ คอยดูแลหาอาหารปกป้องครอบครัวให้ปลอดภัย หากตัวผู้ต้องถูกฆ่าตาย นกเงือกตัวเมียและลูกจะรออยู่ในรัง และรอตลอดไปจนกว่าจะตายตามไปด้วย นี่คือสัญชาตญาณอันน่าทึ่งของนกเงือก [quote arrow=”yes”]ความสำคัญของนกเงือกต่อระบบนิเวศ[/quote] เนื่องจากอาหารของนกเงือกก็คือเมล็ดพืชหลากหลายชนิด จำนวนมากกว่า 300 ชนิด ซึ่งนกชนิดอื่นๆ ไม่สามารถทำได้เช่นนี้ และจากพฤติกรรมที่บินออกหากินในระยะทางไกล รวมเข้ากับความสามารถในการกินเมล็ดพืชที่หลากหลายสายพันธุ์นี้เองทำให้ พืชพรรณต่างๆ สามารถกระจายเมล็ดพืชที่ถ่ายออกมาพร้อมกับมูลของนกเงือก แพร่กระจายไปในพื้นที่ถิ่นต่างๆ ทั่วผืนป่าได้ เช่น นกเงือกกรามช้างปากเรียบที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้งจะบินไปหาคู่ที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า ฮาลา-บาลา จังหวัดยะลา 2,000 กว่ากิโลเมตร ช่วงเดือนพฤษภาคมก่อนจะกลับมายังเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง ระหว่างทางบินก็จะทำหน้าที่เชื่อมโยงความหลากหลายของป่าด้วยการทิ้งมูลเมล็ดพันธุ์ไม้ นกเงือกแต่ละตัวสามารถช่วยกระจายเมล็ดพันธุ์ไม้มากกว่า 100 ต้น/สัปดาห์ ซึ่งนกเงือกมีอายุยืนยาวได้ถึง 30 ปี หมายความว่า หนึ่งชีวิตของนกเงือกจะสามารถปลูกไม้สำคัญของป่าได้ถึง500,000 ต้น อาจกล่าวเปรียบเทียบได้ว่า ถ้าหากบรรพบุรุษของช้างเป็นผู้ที่สร้างแม่น้ำ บรรพบุรุษของนกเงือกก็คือผู้ที่สร้างผืนป่านั่นเอง [divide style=”dots”

วันรักนกเงือก Read More »

อาสารักษาดินแดน-รัชกาลที่ 6-วชิราวุธ-ห้องสมุด-มหาวิทยาลัยสยาม

[quote arrow=”yes”]วันอาสารักษาดินแดน Volunteering Day[/quote] เมื่อวันที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2497 ได้มีการออกพระราชบัญญัติกองอาสารักษาดินแดน โดยให้อยู่ในความรับผิดชอบของกระทรวงมหาดไทย พระราชบัญญัติฉบับนี้มีผลบังคับใช้ทั่วประเทศ ในวัน 10 กุมภาพันธ์ จึงได้มีการกำหนดให้เป็นวันอาสารักษาดินแดนเป็นประจำทุกปี [quote arrow=”yes”]ประวัติวันอาสารักษาดินแดน[/quote]          ความจำเป็นที่จะต้องมีการฝึกอบรม และจัดตั้งหน่วยบังคับบัญชาเตรียมไว้ตั้งแต่เวลาปกติ  เป็นหน้าที่ของประชาชนพลเมืองทุกคน ที่จะต้องร่วมมือช่วยเหลือและจะต้องได้รับการศึกษาอบรมเพื่อให้มีความรู้ในการที่จะป้องกันตนเองและประเทศชาติ ซึ่งจะเป็นการป้องกันประเทศชาติในสถานการณ์สงครามปัจจุบัน  กองอาสารักษาดินแดน (อส.) ซึ่งเป็นองค์กรที่ขึ้นตรงกับกระทรวงมหาดไทย และมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยเป็นผู้บัญชาการ ซึ่งวันอาสารักษาดินแดน 10 กุมภาพันธ์ เกิดขึ้นจากการก่อตั้ง ของชาวบ้านซึ่งไม่ใช่กำลังทหารที่มักออกมารวมตัวกันต่อสู้เพื่อปกป้องแผ่นดินในยามเกิดศึกสงคราม ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 จึงทรงโปรดเกล้าฯ ให้สถาปนากองเสือป่าขึ้นเป็นครั้งแรก เมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม 2454 จาก เพื่อให้เป็นกองพลอาสาสมัคร และอบรมข้าราชการ ประชาชนให้รู้จักรักชาติ รู้จักหน้าที่ในการป้องกันรักษาประเทศชาติ ซึ่งในสมัยก่อน มีประเทศไทยต้องเจอกับเหล่าศัตรู และการสงครามมาอย่างยาวนาน ทำให้ประชาชนผู้รักชาติ และแผ่นดิน ยอมพลีกาย

วันอาสารักษาดินแดน 10 กุมภาพันธ์ Read More »

King Naresuan 6 (2015) ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ภาค 6 อวสานหงสา DVD กำกับโดย : หม่อมเจ้าชาตรีเฉลิม ยุคล นำแสดง : พันโทวันชนะ สวัสดี, ทักษอร ภักดิ์สุขเจริญ รายละเอียด : สู่บทสรุปของภาพยนตร์มหากาพย์อิงประวัติศาสตร์ จากตำนานกษัตริย์นักรบไทยอันเป็นที่รักของปวงชนชาวไทย กว่า 4 ศตวรรษ กับเรื่องราวในตำนานที่เกิดขึ้นหลังจากอภิมหาศึกคชยุทธ์ยุทธหัตถีจบลง บทสรุปของทุกตัวละครในตำนานที่เกิดขึ้น ภาพและวีดีโอคลิป โดย Warner Bros. Thailand Call Number : DVD 00647 M 2558 > Click ดูตัวอย่างหนัง < The Divergent series : Insurgent อินเชอร์เจนท์ คนกบฎโลก (2015) DVD กำกับโดย :

แนะนำ CD-DVD บันเทิง Read More »

วันมะเร็งโลก-world cancer day-ห้องสมุด มหาวิทยาลัยสยาม

[quote arrow=”yes”]วันมะเร็งโลก World Cancer Day[/quote] ปัจจุบันนี้ ประชาคมโลกได้ให้ความสำคัญกับโรคมะเร็งมากขึ้นและถือเป็นเรื่องใกล้ตัวที่ควรทำความรู้จักเนื่องจากในแต่ละปีมะเร็งได้คร่าชีวิตผู้คนทั่วโลกในอัตราที่สูงมากขึ้น ดังนั้น เพื่อให้คนทั่วโลกตระหนักถึงภัยร้ายจากโรคมะเร็ง รวมถึงรณรงค์ให้คนหันมาใส่ใจสุขภาพของตนเอง โดยในวันที่ 4 กุมภาพันธ์ของทุกปี เป็นวันที่องค์การอนามัยโลกและสมาคมต่อต้านมะเร็งสากลกำหนดให้เป็นวันมะเร็งโลก (World Cancer Day)  หลังจากพบว่ามะเร็งคือแชมป์อันดับ 1 ที่คร่าชีวิตคนทั่วโลกไปถึงปีละ 8,200,000 คน ซึ่งในจำนวนนี้มีคนอายุระหว่าง 30-69 ปี ถึง 4 ล้านคนที่เสียชีวิตก่อนวัยอันควร สะท้อนถึงแนวโน้มการเกิดโรคมากขึ้นในกลุ่มคนวัยทำงาน อันสืบเนื่องมาจากวิถีการดำเนินชีวิตยุคใหม่ที่เปลี่ยนแปลงไปจากอดีต การรณรงค์ให้ประชาชนทั่วทั้งโลกได้ตระหนักถึงสถานการณ์ความรุนแรงของโรคมะเร็ง และสร้างความร่วมมื่อเพื่อบรรเทาปัญหาการเจ็บป่วยและเสียชีวิตจากโรคมะเร็ง สำหรับในประเทศไทย โรคมะเร็งเป็นสาเหตุการตายอันดับ 1 ติดต่อกันหลายสิบปี โดยจากข้อมูลล่าสุดพบคนไทยเสียชีวิตจากโรคนี้ถึงปีละกว่า 67,000 คน หรือเฉลี่ยชั่วโมงละ 8 คน และพบผู้ป่วยรายใหม่เฉลี่ยราว 120,000 คนต่อปี  นายแพทย์สมศักดิ์ อรรฆศิลป์ อธิบดีกรมการแพทย์ กล่าวว่า ปกติผู้คนที่รับทราบข่าวสารมักจะได้ยินข่าวพบเพศหญิงป่วยและเสียชีวิตด้วยโรคมะเร็งมากกว่าเพศชาย แต่จากผลงานวิจัยของสถาบันวิจัยโรคมะเร็งอังกฤษเผยผลการศึกษาอัตราการเสียชีิวิตของผู้ป่วยโรคมะเร็ง พบในเพศชายมากกว่าเพศหญิง ถึง 70% โรคมะเร็งที่พบมากที่สุดในเพศชายคือ  มะเร็งตับและท่อน้ำดี มะเร็งปอด

วันมะเร็งโลก Read More »