การประชุมเชิงปฏิบัติการ “การดำเนินกิจกรรมบนระบบเครือข่ายสารสนเทศเพื่อพัฒนาการศึกษา” ครั้งที่ 36
ระหว่างวันที่ 17-19 มกราคม 2561 มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
ความเป็นมาของการดำเนินกิจกรรมบนระบบเครือข่ายสารสนเทศเพื่อพัฒนาการศึกษา
ปัจจุบันประเทศต่างๆทั่วโลกมีการแข่งขันทั้งด้านการพัฒนาทางเศรษฐกิจการศึกษา ตลอดจนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีประเทศไทยจึงจำเป็นต้องมีการพัฒนาในด้านต่างๆให้ทัดเทียม และยั่งยืนอย่างต่อเนื่องเพื่อให้เกิดการนำเทคโนโลยีมาใช้ในการพัฒนาเศรษฐกิจ สามารถสร้าง อำนาจต่อรองกับนานาอารยะประเทศได้การพัฒนาด้านการศึกษาและการวิจัยเป็นส่วนสำคัญมากที่สุด สามารถส่งผลที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์สูงสุดสร้างและนำมาประยุกต์ใช้ เพื่อสรรหาสิ่งที่ดีที่สุดมาใช้งาน ความก้าวหน้าทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในปัจจุบันเป็นไปในรูปแบบก้าวกระโดด มีผลผลักดันทางด้านการศึกษาวิจัยและพัฒนาในหมู่อาจารย์นักศึกษาและนักวิจัยภายในประเทศ ในปัจจุบันการพัฒนาด้านการวิจัยและพัฒนาโดยเฉพาะทางด้านเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา(Information CommunicationTechnology)ดังนั้นการวิจัยและพัฒนาความร่วมมือระหว่างสถาบันการศึกษาและกับ ประเทศต่างๆคือปัจจัยหนึ่งที่มีส่วนในการรักษาสมดุลของสถานะระบบเครือข่ายเทคโนโลยีสารสนเทศ ระบบเครือข่ายข้อมูลและระบบเครือข่ายการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ให้มีความตื่นตัวสามารถปรับปรุงและ พัฒนาได้ตลอดเวลา
โครงการเครือข่ายสารสนเทศเพื่อพัฒนาการศึกษา (Inter-university Network : Uninet) โดย สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา ผู้ดำเนินการวางระบบการเชื่อมโยงเครือข่ายความเร็วสูงระหว่างมหาวิทยาลัย/สถาบัน และสถาบันการศึกษาต่างๆภายในประเทศ เพื่อเป็นการกระจายโอกาสทางการศึกษาไปสู่ภูมิภาคและชุมชน เพื่อใช้ในการแบ่งปันทรัพยากรทางการศึกษาร่วมกันและได้ดำเนินกิจกรรมทางการศึกษาทั้งทางด้านการเรียน การสอนและการวิจัยที่เกี่ยวข้อง กับเทคโนโลยีสารสนเทศร่วมกันระหว่างมหาวิทยาลัย/สถาบันการศึกษาต่างๆ รวมถึงการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างสมาชิกที่เชื่อมต่ออยู่บนเครือข่ายดังกล่าวการประชุมเชิงปฏิบัติการ ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศของสมาชิกเครือข่ายสารสนเทศเพื่อการพัฒนาการศึกษาเป็นการแลกเปลี่ยนข้อมูล ประสบการณในการดูแลระบบและบริหารจัดการเคลือข่ายที่จะต้องใช้งานร่วมกัน ซึ่งนอกจากการได้แลกเปลี่ยน เทคโนโลยีเครือข่ายใหม่ๆ รวมทั้งการรวมกลุ่มกับเพื่อนสมาชิกเพื่อทำการศึกษาและวิจัย และการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการสนับสนุนการศึกษาและยังเป็นการพัฒนาศักยภาพ ของบุคลากรให้สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและเพื่อให้การเชื่อมโยงเครือข่ายสารสนเทศ เพื่อพัฒนาการศึกษากับเครือข่ายการศึกษาและวิจัยนานาชาติเกิดประโยชน์สูงสุดจึงจำเป็นต้องให้ บุคลากรของสถาบันที่เป็นสมาชิกเครือข่ายสารสนเทศเพื่อพัฒนาการศึกษา(UniNei) รับทราบ ข้อมูลเครือข่าย การศึกษาและวิจัยนานาชาติ ทั้งในด้านครือข่ายสารสนเทศและเนื้อหา(Content) บนเครือข่ายฯ ตลอดจนกิจกรรมการวิจัยและพัฒนาของสถาบันสมาชิกเครือข่าย
ดังนั้นเพื่อการพัฒนาศักยภาพของบุคลาการที่เป็นสมาชิกในเครือข่ายฯ ให้มีประสิทธิภาพ และเกิดประโยชน์สูงสุด สำนักงานบริหารเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อพัฒนาการศึกษาร่วมกับสถานบริการ เทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัย และสถาบันการศึกษาต่างๆ ที่เป็นสมาชิกของเครือข่าย UniNet จึงเห็นสมควรจัดให้มีการดำเนินการประชุมเชิงปฏิบัติการเรื่อง “การดำเนินกิจกรรมบนระบบเครือข่ายสารสนเทศเพื่อพัฒนาการศึกษาหรือที่รู้จักกันในนามงานWUNCA” ซึ่งจะจัดขึ้นเป็นประจำปีละสองครั้ง เป็นประจำทุกปี
วัตถุประสงค์
- เพื่อกำหนดแนวทางในการดำเนินกิจกรรมบนเครือข่ายสารสนเทศเพื่อพัฒนาการศึกษา (UniNet)
- เพื่อศึกษาวิจัย การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศบนเครือข่ายสารสนเทศเพื่อพัฒนาการศึกษา
- เพื่อแลกเปลี่ยนความรู้ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและระบบเครือข่ายระหว่างกลุ่มสมาชิก
- เพื่อให้ผู้เชี่ยวชาญด้านต่างประเทศถ่ายทอดความรู้และประสบการณ์และความเชี่ยวชาญในด้านเทคโนโลยีเครือข่าย Hardware and Software
ผลที่คาดว่าจะได้รับ
- ผู้เข้าร่วมสัมมนามีความรู้ความเข้าใจทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและเครือข่ายและมีการแลกเปลี่ยนความรู้ ประสบการณ์ซึ่งกันและกัน
- ได้รับการถ่ายทอดความรู้ ประสบการณ์และความเชี่ยวชาญในด้านเทคโนโลยีเครือข่าย Hardware and Software จากผู้เชี่ยวชาญจากต่างประเทศ
- สามารถกำหนดแนวทางในการดำเนินกิจกรรมของสมาชิกบนเครือข่ายสารสนเทศเพื่อพัฒนาการ
ธีมการจัดงาน
แนวคิดหลัก : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม นวัตกรรมเพื่อชุมชน
การใช้สีในการออกแบบสื่อ : ได้แก่ เว็บไซต์ ดิจิทัลโปสเตอร์ และสื่อประชาสัมพันธ์ต่าง ๆ เน้นการใช้โทนสีที่สะอาด เรียบง่าย
สีของมหาวิทยาลัย : เหลือง – เทา
สีที่เป็นตัวแทนของเทคโนโลยี : ฟ้าสว่าง
โลโก้
มาจากแนวคิด “นวตกรรมเพื่อชุมชน” (นวัตกรรม หรือ นวตกรรม การเน้นการเรียนรู้แบบเอกัตบุคคล)เราได้นำตัวอักษรบางตัวผสมผสานกับรูปทรงของพระธาตุนาดูน สิ่งที่ศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมืองของชาวจังหวัดมหาสารคาม และเลือกใช้สีเหลือ-เทา ซึ่งเป็นสีประจำมหาวิทยาลัย
มาสคอต
“มาสคอต” ของงานวังก้า ครั้งที่ 36 เลือกใช้ “ปูทูลกระหม่อม” พบได้ที่เดียวในโลก ที่จังหวัดมหาสารคาม นับเป็นอีกหนึ่งสัญลักษณ์ของจังหวัด แนวคิดในการออกแบบมาสคอต เลือกใช้สีของเสื้อผ้าให้อยู่ในโทนสีเมทัลลิก เพื่อแทนค่านวตกรรมและเทคโนโลยี และชุดเกราะแทนค่าสัญลักษณ์ของผู้ช่วยเหลือและดูแลชุมชน (ฮีโร่) ทั้งนี้เพื่อให้สอดคล้องกับธีม “มหาวิทยาลัยมหาสารคาม นวตกรรมเพื่อชุมชน