บริการแนะนำ การเขียนอ้างอิง และบรรณานุกรม APA 7th edition

 

 


มีปัญหาหรือข้อสงสัย เขียนไม่ได้ สอบถามเพิ่มเติมได้ที่:

สำนักหอสมุดและทรัพยากรสารสนเทศ ยินดีให้คำปรึกษา โทร. 0-2457-0068 ต่อ 5245 กด 22 คุณพรรณี จิวพุทธิธรรม  หรือส่งผลงานให้ช่วยตรวจสอบได้ที่ email: lib2@siam.edu หรือตามแบบฟอร์มนี้ 


รูปแบบการเขียนอ้างอิงและบรรณานุกรมที่เป็นที่ยอมรับ ในระดับนานาชาติ  มีหลายรูปแบบตามมาตรฐาน ของแต่ละสาขาวิชา เช่น มาตรฐานของ APA, Chicago, Index Medicus, ISO, MLA, Nature, Science, Vancouver ฯลฯ สำหรับ มหาวิทยาลัยสยาม ได้กำหนดให้ ทุกคณะวิชา และบัณฑิตวิทยาลัยทุกสาขา  ใช้รูปแบบการเขียนอ้างอิง และบรรณานุกรมตามรูปแบบ APA 7th edition (American Psychological Association 7th edition) ในการจัดทำผลงานทางวิชาการ ตำรา ผลงานวิจัย บทความทางวิชาการ วิทยานิพนธ์ ปริญญานิพนธ์ และการจัดทำรายงานกรณีศึกษา ตาม ประกาศ มหาวิทยาลัยสยาม เรื่อง  กำหนดรูปแบบการอ้างอิงหลักฐาน และบรรณานุกรมในผลงานทางวิชาการ (ฉบับที่ 2) 

การอ้างอิง หมายถึง การบอกรายละเอียดของแหล่งข้อมูลสารสนเทศ ที่ใช้อ้างอิงในการศึกษาค้นคว้า ซึ่งนําเสนอในรูปของรายงาน ภาคนิพนธ์ วิทยานิพนธ์ บทความ หนังสือวิชาการ และรายงานการวิจัย

ความสําคัญของการอ้างอิง

  1.  เพื่อให้เกียรติแก่ผู้แต่งหรือเจ้าของผลงานที่ใช้อ้างอิง
  2.  เพื่อให้ผู้อ่านหรือผู้ที่มาศึกษาค้นคว้า สามารถตรวจสอบหรือติดตามศึกษาเพิ่มเติมได้
  3.  เพื่อสร้างความน่าเชื่อถือแก่ผลงาน ให้กับผู้ที่ได้อ่าน

วิธีเขียนอ้างอิงและบรรณานุกรม

จะปรากฏอยู่ทั้งในส่วนเนื้อหาและท้ายเล่ม คือ

  1. ส่วนเนื้อหา คือ รายการอ้างอิง (Reference List) ซึ่งจะมีรูปแบบการอ้างอิงที่ใช้อยู่ทั่วไป 3 แบบ ได้แก่ แบบเชิงอรรถ แบบแทรกในเนื้อหา และแบบอ้างอิงท้ายบท
  2. ส่วนท้ายเล่ม คือ บรรณานุกรม (Bibliography) ซึ่งได้แก่รายละเอียดของแหล่งข้อมูลสารสนเทศที่ใช้อ้างอิงในเนื้อหาทุกรายการ ทั้งที่ปรากฏชัดเจนในการเขียนอ้างอิง ไว้ในเนื้อหา และส่วนที่ไม่ปรากฏชัดเจน แต่อาจจะเป็นเพียงการรวบรวมความคิดหลายๆ แนว แล้วนำมาเรียบเรียงใหม่

ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมในการเขียนอ้างอิงและบรรณานุกรม:


เว็บไซต์เผยแพร่ผลงานทางวิชาการของมหาวิทยาลัยสยาม:

  1. https://e-library.siam.edu/e-journal/
  2. https://e-research.siam.edu/

การเขียนอ้างอิง และบรรณานุกรม-APA 7th edition