แนวคิดการพัฒนาการเรียนรู้ด้วยตนเอง สู่องค์ความรู้ที่ยั่งยืนแนวคิดการพัฒนาการเรียนรู้ด้วยตนเอง สู่องค์ความรู้ที่ยั่งยืน
แนวคิดการพัฒนาการเรียนรู้ด้วยตนเอง สู่องค์ความรู้ที่ยั่งยืน Read More »
แนวคิดการพัฒนาการเรียนรู้ด้วยตนเอง สู่องค์ความรู้ที่ยั่งยืนแนวคิดการพัฒนาการเรียนรู้ด้วยตนเอง สู่องค์ความรู้ที่ยั่งยืน
แนวคิดการพัฒนาการเรียนรู้ด้วยตนเอง สู่องค์ความรู้ที่ยั่งยืน Read More »
10 สิงหาคม วันกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน เป็นตำแหน่งที่มีอยู่คู่กับสังคมและการปกครองของไทย มาอย่างยาวนาน มีหน้าที่เป็นผู้ช่วยเหลือนายอำเภอในการรักษาความสงบเรียบร้อย การแก้ไขปัญหาความเดือดร้อน การอำนวยความเป็นธรรม ดูแลความเป็นอยู่ ทุกข์สุขของราษฎร เป็นกลไกขับเคลื่อนนโยบายของรัฐ และปฏิบัติหน้าที่ ตามที่กฎหมายกำหนดในพื้นที่ตำบล หมู่บ้าน หัวใจของภารกิจงานกรมการปกครองอยู่ที่อำเภอ และตำบล หมู่บ้าน ซึ่งเป็นหน่วยการปกครองระดับฐานรากที่เป็นจุดเชื่อมในการยึดโยงสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ และหลอมรวมประชาชนให้มีความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน โดยมีกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน แพทย์ประจำตำบล สารวัตรกำนัน และผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน ทำหน้าที่ ช่วยเหลือบูรณาการการทำงานร่วมกับส่วนราชการ และทุกฝ่ายในพื้นที่ให้ประสบผลสำเร็จ ดัง พระราชดำรัสแห่งองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชฯ พระราชทานในการอบรมกำนันผู้ใหญ่บ้านในเขตชายแดน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 12 สิงหาคม 2505 (กรมการปกครอง. สำนักบริหารการปกครองท้องที่. ส่วนบริหารงานกำนันผู้ใหญ่บ้าน, ม.ป.ป.) ท่านเป็นผู้ที่ได้ร่วมทุกข์ร่วมสุขกับราษฎรในท้องที่ของท่านมาอย่างใกล้ชิด ย่อมเข้าถึงจิตใจและความต้องการของเขาเหล่านั้นได้ดีกว่าผู้ที่อยู่ห่างไกล ราษฎรย่อมจะต้องหวังพึ่งท่านเมืองมีความเดือดร้อน ฉะนั้น ข้าพเจ้าจึ่งหวังว่าท่านทั้งหลายจะเอาใจใส่ดูแลความเป็นอยู่ของเขาให้มาก และทำตัวเองให้เป็นที่พึ่งแก่เขาสมกับที่เขาได้ไว้วางใจเลือกท่านมาเป็นหัวหน้า จงพยายามบำเพ็ญตนให้สมกับตัวอักษร ที่ตราหน้าหมวกเครื่องแบบของท่านที่ว่า “ระงับทุกข์ บำรุงสุข” [divide icon=”circle” width=”medium”] [quote
10 สิงหาคม วันกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน Read More »
ดร. พรชัย มงคลวณิช อธิการบดีมหาวิทยาลัยสยาม พร้อมอาจารย์และนักศึกษามหาวิทยาลัยสยาม จัดกิจกรรม SU Save the world day ถือถุงผ้า พกแก้วน้ำ ในวันที่ 10 สิงหาคม 2561 มหาวิทยาลัยสยาม ร่วมกับ เซเว่น อีเลฟเว่น จะเริ่มรณรงค์การถือถุงผ้า พกพาแก้วน้ำ เนื่องจากแก้วถุงพลาสติก และโฟมนั้นยากที่จะย่อยสลายได้ เพื่อการปฏิบัติที่จริงจัง ทุกคนในมหาวิทยาลัยสยามจะเริ่มรณรงค์ “ถือถุงผ้า พกพาแก้วน้ำ” ในโครงการ Save the World – No straw, no more plastic. อ่านโพสฉบับเต็มที่ Siam.edu/th คลิก…
รณรงค์ ถือถุงผ้า พกพาแก้วน้ำ Read More »
เมื่อวันพุธที่ ๘ สิงหาคม ๒๕๖๑ ระหว่างเวลา ๑๔.๐๐ – ๑๖.๓๐ น. ณ ห้องดิจิตอล สำนักทรัพยากรสารสนเทศ อาคารเฉลิมพระเกียรติ ๑๒ อาจารย์ชยพล หมีทอง ผู้อำนวยการสำนักงานอธิการบดี ได้ให้เกียรติสละเวลามาเป็นวิทยากร ให้ความรู้ความเข้าใจเรื่อง “งานสารบรรณ” เนื่องจากงานสารบรรณเป็นงานที่มีอยู่ทุกหน่วยงาน การดำเนินงานต้องดำเนินงานด้วยระบบเอกสาร ดังนั้นจึงต้องมีการกำหนดและการควบคุมงานสารบรรณให้เป็นไปด้วยความเรียบร้อย โดยเริ่มตั้งแต่การจัดทำ การรับ การส่ง ทั้งในส่วนที่เป็นการจัดทำบันทึกข้อความ การเขียนเอกสารนำเสนอ ในรูปแบบตามความถูกต้องเพื่อให้เหมาะสมกับสภาพการณ์ในปัจจุบันที่มีการปฏิบัติงานสารบรรณด้วยระบบสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งเป็นการสอดคล้องกับการทำงานยุคใหม่ที่มุ่งเน้นผลสัมฤทธิ์ ความคุ้มค่า และการลดขั้นตอนการปฏิบัติงาน เพื่อให้เป็นการดำเนินงานที่มีระบบ มีความรวดเร็ว มีประสิทธิภาพ และลดความซ้ำซ้อนในการปฏิบัติงาน สำนักหอสมุดและทรัพยากรสารสนเทศขอขอบคุณที่ให้เกียรติสละเวลามาให้ความรู้และประสบการณ์ในครั้งนี้ งานสารบรรณ
บรรยายเรื่อง งานสารบรรณ โดย อาจารย์ชยพล หมีทอง ผู้อำนวยการสำนักงานอธิการบดี Read More »
เจ้าหน้าที่สำนักทรัพยากรสารสนเทศได้เข้าร่วมอบรมหลักสูตร “การจัดการองค์ความรู้: ห้องสมุดและวิชาชีพบรรณารักษ์” รุ่นที่ 4 วันที่ 6-7 สิงหาคม 2561 ณ ห้องประชุม ศ.สังเวียน อินทรวิชัย ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เพื่อพัฒนาบรรณารักษ์และเจ้าหน้าที่ห้องสมุดให้เป็นบรรณารักษ์มืออาชีพ เพื่อร่วมผลักดันทศวรรษแห่งการอ่านให้เกิดผลอย่างเป็นรูปธรรม โดยการสร้างองค์ความรู้สำหรับผู้ปฏิบัติงานด้านห้องสมุด เพื่อร่วมพัฒนาห้องสมุดให้เป็นแหล่งเรียนรู้ตลอดชีวิตและมีการมอบวุฒิบัตรหลังจบการอบรม วัตถุประสงค์ 1. เพื่อพัฒนาองค์ความรู้ด้านห้องสมุดและวิชาชีพบรรณารักษ์ทั้งงานบริหาร งานเทคนิค งานบริการ งานกิจกรรม และคู่มือการดำเนินงานสำหรับบรรณารักษ์ให้ทันสมัย และมาตรฐานสากล 2. เพื่อเป็นแนวทางในการศึกษาหาความรู้ พัฒนา ปรับปรุง เพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินงาน บริหาร บริการ งานห้องสมุดประเภทต่าง ๆ ในสังคมไทยให้มีศักยภาพยิ่งขึ้น 3. เพื่อร่วมนำพาห้องสมุดสังคมไทยก้าวไปสู่ห้องสมุดสังคมประชาคมอาเซียน แหล่งดาวน์โหลด e-book โครงการพัฒนาองค์ความรู้ ห้องสมุดและวิชาชีพบรรณารักษ์ องค์กรเพื่อสังคม setsocialimpact.com/home สมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทย http://tla.or.th/ ภาพข่าวจากแฟนเพจ สมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทยฯ การจัดการองค์ความรู้: ห้องสมุดและวิชาชีพบรรณารักษ์
การจัดการองค์ความรู้: ห้องสมุดและวิชาชีพบรรณารักษ์ รุ่นที่ 4 Read More »
วันรพี ตรงกับวันที่ 7 สิงหาคมของทุกปี เพื่อน้อมรำลึกถึงพระกรุณาธิคุณของพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้ารพีพัฒนศักดิ์ กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ คือ พระบิดาแห่งกฎหมายไทย[divide icon=”circle” width=”medium”] พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ ทรงมีพระนามเดิมว่าพระองค์เจ้ารพีพัฒนศักดิ์ เป็นพระราชโอรสองค์ที่ 14 ในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์ ซึ่งประสูติแต่เจ้าจอมมารดาตลับ ประสูติ ณ วันพุธ ขึ้น 11 ค่ำ เดือน 11 ปีจอ จุลศักราช 1236 ตรงกับวาระทางสุริยคติ 21 ตุลาคม พุทธศักราช 2417 พระองค์ทรงเป็นต้นราชสกุล รพีพัฒน์ [quote font_size=”18″ color=”#ffdf42″ bgcolor=”#AA7F4C” bcolor=”#ffdf42″ arrow=”yes”]การศึกษา[/quote] พระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้ารพีพัฒนศักดิ์ ทรงเข้าศึกษาภาษาไทยเป็นครั้งแรกในสำนักพระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อย อาจารยางกูร) เมื่อได้ทรงผ่านการศึกษาภาษาไทยเป็นเบื้องต้นแล้ว ทรงเข้าศึกษาภาษาอังกฤษชั้นต้นในสำนักครูรามสามิ และในพุทธศักราช 2426
วันรพี 7 สิงหาคม พระบิดาแห่งกฎหมายไทย Read More »
4 สิงหาคม วันสื่อสารแห่งชาติ [quote font_size=”18″ color=”#ffdf42″ bgcolor=”#996633″ bcolor=”#ffdf42″ arrow=”yes”]ประวัติวันสื่อสารแห่งชาติ (วันสื่อสารแห่งชาติ 2561, 2561)[/quote] การสื่อสารในประเทศไทยได้มีการเริ่มต้นขึ้นมา เมื่อสมัยพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งพระองค์ได้ทรง โปรดเกล้าฯ ให้สถาปนา “กรมไปรษณีย์และกรมโทรเลข” ขึ้น เมื่อวันที่ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2526 และได้ทรงแต่งตั้ง สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ กรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช ให้เป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ จนต่อมาในปี พ.ศ. 2441 จึงได้มีการวมทั้ง 2 กรมนี้เป็นกรมเดียวกัน โดยใช้ชื่อใหม่ว่า “กรมไปรษณีย์โทรเลข” การสื่อสารในประเทศไทย นอกจากพิราบสื่อสารและม้าเร็วแล้ว การสื่อสารเริ่มเข้ามามีบทบาทต่อประเทศไทยในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 3) ช่วงที่บ้านเมืองปลอดจากภัยสงคราม การเมืองภายในประเทศมีเสถียรภาพมั่นคง โดยวัตถุประสงค์ของการสื่อสารในยุคนั้น ก็เพื่อนำมาสนับสนุนกิจการด้านงานความมั่นคงของประเทศ ซึ่งยุคนั้นเรียกได้ว่า เป็นยุคเริ่มล่าอาณานิคมของชาติมหาอำนาจทั้งอังกฤษและฝรั่งเศส ต่างแย่งชิงผลประโยชน์ในภูมิภาคนี้ด้วยกัน และอารยะธรรมตะวันตกเริ่มหลั่งไหลเข้ามาสู่ภูมิภาคเอเชียอาคเนย์ ต่อมาในยุคพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 4) การสื่อสารได้เข้ามามีส่วนเกี่ยวข้องกับราชสำนัก
4 สิงหาคม วันสื่อสารแห่งชาติ Read More »
ผู้อำนวยการสำนักทรัพยากรสารสนเทศ มหาวิทยาลัยสยาม อ.สุธน สุภาวงศ์ และผู้ช่วยผู้อำนวยการฯ เข้าร่วมการประชุม EBSCO Annual Conferences 2018 ในวันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2561 ณ ห้องประชุม Sapphire Suite โรงแรมโนโวเทล กรุงเทพ แพลตทินั่ม ประตูนํ้า เวลา 08.30 – 16.30 น. EBSCO Annual Conferences 2018
EBSCO Annual Conferences 2018 Read More »
แนะนำ CD ประจำวันที่ 1 สิงหาคม 2561 ชื่อเรื่อง : Parkinson’s Disease ผู้แต่ง : Focus Media CALL NUMBER: VCD 1248 M 2555 รายละเอียด : แนะนำ CD Parkinson’s Disease ซึ่งเป็นผลงานของ Dr.Richard J.Davenport ที่ปรึกษาด้านประสาทวิทยา ผู้ทรงคุณวุฒิของราชวิทยาลัยอายุรแพทย์แห่งกรุงลอนดอน ภายในนำเสนอเนื้อหาเกี่ยวกับโรคพาร์กินสัน (PD) อธิบายถึงอาการของโรคซึ่งเกี่ยวข้องกับปมประสาทบาซัล (basal ganglia) ที่ทำหน้าที่เคลื่อนไหวผิดปกติ ให้รายละเอียดในเรื่องการรักษา กลไกการออกฤทธิ์ของยา การปลูกถ่ายเซลล์ Dopamine เป็นต้น รายละเอียดเพิ่มเติมที่ https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC3250289/ โรคพาร์กินสัน (PD) เป็นโรคทางระบบประสาทที่พบได้บ่อยและมีปัญหาต่อการดำเนินชีวิตประจำวันอย่างมากจึงได้มีการจัดตั้ง “วันโรคพาร์กินสัน” ขึ้น ซึ่งตรงกับวันที่ 11 เมษายนของทุกปี ซึ่งเป็นวันคล้ายวันเกิดของนายแพทย์ชาวอังกฤษ ชื่อ “เจมส์ พาร์กินสัน” (Dr.James Parkinson) ซึ่งเป็นแพทย์คนแรกที่ได้อธิบายลักษณะของผู้ป่วยที่เป็นโรคนี้ในปี
แนะนำ CD ประจำวันที่ 1 สิงหาคม 2561 Read More »
วันสตรีไทย Thai Women Day ตรงกับวันที่ 1 สิงหาคมของทุกปี ทุกวันที่ 1 สิงหาคมของทุกปีเป็นวันสตรีไทย ซึ่งวันนี้ถือเป็นวันสำคัญวันหนึ่งของไทย ที่เปิดให้หญิงไทยออกมาทำกิจกรรมร่วมกัน เพื่อแสดงให้เห็นถึงบทบาทของสตรีไทยในสังคม เนื่องจากในเดือนสิงหาคมเป็นเดือนแห่งมหามงคลสมัย ที่ปวงชนชาวไทยต่างก็ให้ความสำคัญอย่างมาก เนื่องจากเป็นเดือนเฉลิมพระชนมพรรษาของสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ในวันที่ 12 สิงหาคม ประดุจแม่ของแผ่นดิน จึงได้เกิดการร่วมใจกันของภาครัฐและเอกชน องค์กรสตรีทั่วประเทศไทย ร่วมกันกำหนดให้เกิดวันสตรีไทยขึ้น เพื่อเป็นการผลักดันสิทธิและบทบาทของสตรีไทยในสังคมให้เทียบเท่ากัน เป็นการผลักดันกระบวนทัศน์ ความคิด ที่มีเอกลักษณ์เฉพาะสตรีไทย และภูมิปัญญา ที่เป็นของตนเองให้ผนึกกันก้าวไปในแนวทางที่สอดคล้องกับนโยบายภาครัฐ เพื่อยกระดับ สถานภาพชีวิตของสตรีไทย และร่วมกันพัฒนาเพื่อความเจริญก้าวหน้า ของประเทศ ทั้งนี้ได้รับพระมหากรุณาธิคุณอันล้นเกล้า จากสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถ พระราชทานกำหนดให้วันที่ 1 สิงหาคมของทุกปี เป็น “วันสตรีไทย” ตั้งแต่พุทธศักราช 2546 เป็นต้นไป นอกจากนี้ยังมีวันที่มีความสำคัญคล้ายกันคือ วันสตรีสากล ซึ่งตรงกับทุกวันที่ 8 มีนาคมของทุกปี (ติวฟรี ดอทคอม, 2557) โดยจะมีการประกาศ ถึงเกียรติประวัติของสตรีชั้นแนวหน้าของโลกทั้งที่มีชีวิต และที่เสียชีวิตไปแล้ว
ชื่อหนังสือ: The Princess’ dog diary บันทึกคุณน้ำหอม สุนัขทรงเลี้ยงของเจ้าหญิง ชื่อผู้แต่ง: สิริวัณณวรีนารีรัตน์, พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้า Call Number: พ 636.7 ส732ป 2561 รายละเอียด: แนะนำหนังสือ 1 ส.ค. 2561 “The Princess’ dog diary บันทึกคุณน้ำหอม สุนัขทรงเลี้ยงของเจ้าหญิง” เล่มนี้เป็นพระนิพนธ์ใน “พระเจ้าหลานเธอพระองค์เจ้าสิริวัณณวรีนารีรัตน์” ที่ทรงถ่ายทอดความน่ารักและสายสัมพันธ์ระหว่างพระองค์หญิงและสุนัขทรงเลี้ยงและครอบครัวในรั้ววัง ที่สัมผัสได้ถึงความรักและความผูกพันจนต้องตกหลุมรัก เมื่อได้อ่านเรื่องราวของคุณน้ำหอม สุนัขทรงเลี้ยงที่เต็มเปี่ยมไปด้วยจินตนาการอันสดใส เมื่อคุณน้ำหอมมีความฝันที่ไม่เหมือนสุนัขตัวไหนในโลกยืนหยัดทำตามหน้าที่ที่จะอยู่เคียงข้าง คอยเป็นแรงใจให้กับเจ้านายที่รักผู้มีภารกิจมากมายในฐานะองค์หญิงของชาวไทย อีกทั้งยังต้องฝึกฝนตัวเอง เพื่อปฏิบัติหน้าที่เป็นสุนัขทรงเลี้ยงที่ดี มีความสนุก แสบ ป่วน ชวนฮา จึงบังเกิดขึ้น และยังถ่ายทอดผ่านภาพประกอบสวยงามด้วยเทคนิคการพิมพ์ 4 สี พิมพ์บนกระดาษถนอมสายตาอีกด้วย ชื่อหนังสือ: การตลาด 4.0 ชื่อผู้แต่ง: คอตเลอร์, ฟิลิป Call Number: 658.8
แนะนำหนังสือ 1 ส.ค. 2561 Read More »
วันเข้าพรรษา ตรงกับ แรม 1 ค่ำ เดือน 8 ถึง วันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 “เข้าพรรษา” แปลว่า “พักฝน” หมายถึง พระภิกษุสงฆ์ต้องอยู่ประจำ ณ วัดใดวัดหนึ่งระหว่างฤดูฝน โดยเหตุที่พระภิกษุในสมัยพุทธกาล มีหน้าที่จะต้องจาริกโปรดสัตว์ และเผยแผ่พระธรรมคำสั่งสอนแก่ประชาชนไปในที่ต่าง ๆ ไม่จำเป็นต้องมีที่อยู่ประจำ แม้ในฤดูฝน ชาวบ้านจึงตำหนิว่าไปเหยียบข้าวกล้าและพืชอื่นๆ จนเสียหาย พระพุทธเจ้าจึงทรงวางระเบียบการจำพรรษาให้พระภิกษุอยู่ประจำที่ตลอด 3 เดือน ในฤดูฝน คือ เริ่มตั้งแต่วันแรม 1 ค่ำ เดือน 8 ของทุกปี ถ้าปีใดมีเดือน 8 สองครั้ง ก็เลื่อนมาเป็นวันแรม 1 ค่ำ เดือนแปดหลัง และออกพรรษาในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 เว้นแต่มีกิจธุระเจ้าเป็นซึ่งเมื่อเดินทางไปแล้วไม่สามารถจะกลับได้ในเดียวนั้น ก็ทรงอนุญาตให้ไปแรมคืนได้ คราวหนึ่งไม่เกิน 7