ประชุม: ทบทวนและแลกเปลี่ยนแนวทางการดำเนินงานของห้องสมุดตามเกณฑ์ AUN-QA

สำนักหอสมุดและทรัพยากรสารสนเทศ ได้จัดประชุม ทบทวนและแลกเปลี่ยนแนวทางการดำเนินงานของห้องสมุดตามเกณฑ์ AUN-QA (โครงการ“การแบ่งปันและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ (KM): เพื่อการพัฒนาคุณภาพการปฏิบัติงาน”) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มพูนความรู้ของบุคลากรห้องสมุดและคณะกรรมการบริหารสำนักฯ ด้านการประกันคุณภาพภายในตามเกณฑ์ AUN-QA และพัฒนาหน่วยงานห้องสมุดตามเกณฑ์ “Digital Library” ซึ่งจัดการประชุมในวันศุกร์ที่ 1 พฤศจิกายน 2567 เวลา 14.00-16.30 น. สถานที่ ณ ห้องดิจิทัล สำนักหอสมุดฯ วิทยากรบรรยายและถ่ายทอดความรู้ โดย ศ.นพ. สุวัฒน์ เบญจพลพิทักษ์ คณบดีคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม

 การประกันคุณภาพการศึกษาในอาเซียน ASEAN University Network Quality Assurance – AUN-QA Version 4.0

การประกันคุณภาพการศึกษาในระดับหลักสูตร มีเกณฑ์คุณภาพที่เกี่ยวข้องกับหน่วยงานสนับสนุน โดยมี Criteria / Requirements และเกณฑ์การประเมินที่เกี่ยวข้องกับห้องสมุดมี 3 เกณฑ์หลัก จากเกณฑ์คุณภาพทั้งหมด 8 เกณฑ์หลัก จากคู่มือ AUN-QA Version 4.0 The Guide to AUN-QA Assessment at Programme Level Version 4.0 ดังนี้

AUN-QA 6: Student Support Services (การบริการเพื่อการสนับสนุนนักศึกษา) / 6.5 The competences of the support staff rendering student services are shown to be identified for recruitment and deployment. These competences are shown to be evaluated to ensure their continued relevance to stakeholders needs. Roles and relationships are shown to be well-defined to ensure smooth delivery of the services. (สมรรถนะของบุคลากรสายสนับสนุนแสดงให้เห็นว่า ได้ถูกกำหนดเพื่อใช้ในการสรรหาบุคลากรและบรรจุแต่งตั้ง เพื่อทำให้มั่นใจได้ว่า บุคลากรสายสนับสนุนมีสมรรถนะที่เพียงพอและตอบสนองความต้องการของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย)

AUN-QA 7: Facilities and Infrastructure (โครงสร้างพื้นฐานและสิ่งอำนวยความสะดวก)  / 7.3 A digital library is shown to be set-up, in keeping with progress in information and communication technology. (ห้องสมุดดิจิทัลแสดงให้เห็นว่า มีความสอดคล้องกับความก้าวหน้าของเทคโนโลยีสารสนเทศและเทคโนโลยีการสื่อสาร)

AUN-QA 7: Facilities and Infrastructure (โครงสร้างพื้นฐานและสิ่งอำนวยความสะดวก)  / 7.8 The competences of the support staff rendering services related to facilities are shown to be identified and evaluated to ensure that their skills remain relevant to stakeholder needs. (สมรรถนะของบุคลากรสายสนับสนุน ซึ่งทำหน้าที่ให้บริการที่เกี่ยวกับสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ แสดงให้เห็นว่า ได้มีการกำหนดและประเมินสมรรถนะ เพื่อให้มั่นใจว่าบุคลากรสายสนับสนุนยังคงมีทักษะที่สามารถจะตอบสนองความต้องการของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียได้)

AUN-QA 7: Facilities and Infrastructure (โครงสร้างพื้นฐานและสิ่งอำนวยความสะดวก)  / 7.9 The quality of the facilities (library, laboratory, IT, and student services) are shown to be subjected to evaluation and enhancement. (คุณภาพของโครงสร้างพื้นฐานและสิ่งอำนวยความสะดวก (ห้องสมุด ห้องปฏิบัติการ เทคโนโลยีสารสนเทศ และบริการนักศึกษา) แสดงให้เห็นว่า ได้รับการประเมินและยกระดับ)

AUN-QA Criteria 8: Output and Outcomes (ผลผลิตและผลลัพธ์) / 8.5 Satisfaction level of the various stakeholders are shown to be established, monitored, and benchmarked for improvement. (ระดับความพึงพอใจของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียกลุ่มต่างๆ  แสดงให้เห็นว่า ได้มีการจัดเก็บและวิเคราะห์ กำกับติดตาม และเทียบเคียง เพื่อปรับปรุงให้ดีขึ้น)


เกณฑ์การประเมินห้องสมุดดิจิทัล (Digital Library) 7.3 A digital library is shown to be set-up, in keeping with progress in information and communication technology

เกณฑ์คุณภาพในการระเมินระดับหลักสูตร (AUN-QA) ที่ใช้ในการประเมินความเป็นห้องสมุดดิจิทัล Digital Library ของสำนักหอสมุดและทรัพยากรสารสนเทศ ในปีการศึกษา 2566 อยู่ใน ตัวบ่งชี้ที่ 2.5 การให้บริการห้องสมุดดิจิทัล (Digital Library) โดยได้กำหนดเกณฑ์การประเมินไว้ 6 ข้อ คือ

  1. มีการวางแผนและจัดระบบการให้บริการห้องสมุดดิจิทัล
  2. มีการจัดบริการที่ครอบคลุมแหล่งสืบค้น ฐานข้อมูลด้านการสอนและการวิจัย
  3. มีสิ่งอำนวยความสะดวกในการให้บริการในระบบดิจิทัล
  4. บุคลากรมีสมรรถนะและความพร้อมในการให้บริการในระบบดิจิทัล
  5. มีการประเมินความพึงพอใจผู้รับบริการในระบบดิจิทัล
  6. มีการนําผลการประเมินมาปรับปรุงพัฒนา

    ผลการดำเนินงาน ข้อมูลหลักฐานตามเกณฑ์การประเมิน การให้บริการห้องสมุดดิจิทัล (Digital Library) ของสำนักหอสมุดและทรัพยากรสารสนเทศ

1.มีการวางแผนและจัดระบบการให้บริการห้องสมุดดิจิทัล

1.1  มหาวิทยาลัย มีห้องสมุดดิจิทัลที่ได้รับการสร้างขึ้นให้เหมาะสมกับความก้าวหน้าของเทคโนโลยีสารสนเทศและเทคโนโลยีการสื่อสาร ซึ่งดำเนินงานโดยสำนักหอสมุดและทรัพยากรสารสนเทศ ซึงเป็นห้องสมุดที่ให้บริการในลักษณะของ ห้องสมุดดิจิทัล ที่ประกอบด้วย 4 องค์ประกอบ ดังนี้

  • 1) มีระบบเทคโนโลยีสารสนเทศที่ใช้ในการจัดการทรัพยากรสารสนเทศผ่านอินเตอร์เน็ต ซึ่งสำนักหอสมุดฯ มีระบบห้องสมุดอัตโนมัติ ELIB Library System ในการจัดการทรัพยากรฯ และมี Website ของห้องสมุด (https://e-library.siam.edu) เพื่อการจัดการและการจัดบริการข้อมูลสารสนเทศในรูแบบออนไลน์
  • 2) มีระบบการเข้าถึงทรัพยากรสารสนเทศและสื่อการเรียนรู้ที่ทันสมัย คือ มีระบบการสืบค้นข้อมูลและฐานข้อมูลได้ทุกอุปกรณ์ ทุกเวลา ทุกสถานที่ทั้งจากภายในและภายนอกประเทศ ซึ่งสำนักฯ ใช้ระบบ Single Search EBSCO Discover Service (EDS) และระบบ Online Public Access Catalog (OPAC)
  • 3) มีทรัพยากรสารสนเทศรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ (E-Resource) ให้บริการที่ครอบคลุมทุกหลักสูตร ได้แก่ eBook, eJournal, eArticles, Online Databases,  Audiovisual Materials, และ eIR ของสถาบัน
  • 4) มีการจัดให้บริการต่างๆ (Library Service) เพื่อสนับสนุนและช่วยเหลือผู้ใช้บริการ ซึ่งสำนักฯ มีบริการในระบบดิจิทัล/บริการออนไลน์/กิจกรรมที่สนับสนุนการเรียนการสอน และการวิจัย ที่สอดคล้องกับความก้าวหน้าของเทคโนโลยีสารสนเทศและเทคโนโลยีการสื่อสาร มากกว่า 30 บริการ

1.2 มีการวางแผนและจัดสรรงบประมาณในภาพรวมครอบคลุมสื่อการเรียนการสอนและการพัฒนาระบบการให้บริการห้องสมุดดิจิทัล สำนักฯ มีการจัดสรรงบประมาณในการจัดซื้อตำรา วารสาร ฐานข้อมูล และระบบบริการ ตามที่ปรากฎในโครงการต่างๆ ดังนี้

  • 1) มีโครงการพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ ของสำนักฯ ที่ใช้อยู่ในปัจจุบันให้ดีขึ้น ในกิจกรรม การจัดการความเสี่ยงระบบห้องสมุดอัตโนมัติ ELIB ล่ม (โครงการ 3041000-67003)
  • 2) มีโครงการพัฒนาระบบการเข้าถึงทรัพยากรสารสนเทศและสื่อการเรียนรู้ที่ทันสมัยในโครงการ “การปรับปรุงฐานข้อมูลทรัพยากรสารสนเทศของห้องสมุด (ELIB WEB OPAC)” (โครงการ 3041002-67002) และโครงการ “ปรับปรุงฐานข้อมูลงานวิจัยมหาวิทยาลัยสยาม (e-ResearchSiamU)” (โครงการ 3041002-67003)
  • 3) มีโครงการจัดหาทรัพยากรสารสนเทศรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ (E-Resource) ในโครงการ “การจัดหาทรัพยากรสารสนเทศ/ทรัพยากรที่เอื้อต่อการเรียนรู้” (โครงการ 3041002-67001)
  • 4) มีโครงการการจัดให้บริการต่างๆ (Library Service)  ในโครงการ “การปรับปรุงสภาพแวดล้อมและสิ่งอำนวยความสะดวกให้เอื้อต่อการเรียนรู้” (โครงการ 3041000-67007), โครงการ “ความร่วมมือกับกลุ่ม TU-THAIPUL ในการให้บริการยืมระหว่างห้องสมุด (Interlibrary loan) ด้วยระบบออนไลน์ EDS (EBSCO Discovery Service)” (โครงการ 3041001-67001),  โครงการ “การเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสารและบริการผ่านระบบดิจิทัล” (โครงการ 3041001-67002), และโครงการ “เผยแพร่ทรัพย์สินทางปัญญาของมหาวิทยาลัยสยามในระบบ TDC ของเครือข่าย ThaiLIS” (โครงการ 3041003-67001)

2.มีการจัดบริการที่ครอบคลุมแหล่งสืบค้น ฐานข้อมูลด้านการสอนและการวิจัย

2.1 มีแหล่งสืบค้น/ฐานข้อมูลที่ได้รับการคัดเลือก คัดกรองและมีความสอดคล้องกับวัตถุประสงค์การเรียนรู้ของหลักสูตร โดยมีคณะกรรมการบริหารสำนักฯ พิจารณา เสนอแนะ คัดเลือกทรัพยากรสารสนเทศและสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ ให้สอดคล้องกับหลักสูตรและเหมาะสมกับความต้องการของผู้ใช้บริการ จากการเสนอรายชื่อทรัพยากรฯผ่านแบบฟอร์มทั้งแบบออนไลน์และออฟไลน์ อีเมล์ หรือแจ้งต่อเจ้าหน้าที่โดยตรง

2.2 มีทรัพยากรห้องสมุดเพียงพอสำหรับการเรียนการสอนและการวิจัย สำนักฯ ได้จัดหาทรัพยากรสารสนเทศใหม่เพิ่มเติมทุกปีการศึกษา โดยมีทรัพยากรฯทั้งในรูปแบบสิ่งตีพิมพ์และรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์/ฐานข้อมูล ที่สอดคล้องและครอบคลุมกับหลักสูตร (ดูข้อมูลทรัพยากรฯของแต่ละหลักสูตรที่เว็บไซต์สำนักฯ ที่เมนู “ทรัพยากรฯ ประจำหลักสูตร”) มีหนังสือไทยและต่างประเทศฉบับพิมพ์ มากกว่า 2 แสน E-Books มากกว่า 1 แสน, วารสารไทยและต่างประเทศฉบับพิมพ์มากกว่า 70 รายการ E-Journals มากกว่า 58 ล้านรายการ หนังสือพิมพ์ ทั้งฉบับพิมพ์และออนไลน์ 17 รายการ, วัสดุุไม่ตีพิมพ์อื่นๆ ได้แก่ Netflix, Board Game, CD, CD-ROM, DVD และฐานข้อมูลออนไลน์เชิงพาณิชย์และ OPEN Access มากกว่า 90 ฐาน อาทิเช่น

  • 1) ฐานข้อมูล EDS: EBSCO Discover Service สำหรับค้นหาทรัพยากรฯทั้งหมดของห้องสมุดมหาวิทยาลัยสยาม และของห้องสมุดเครือข่าย รวมทั้งทรัพยากรที่อยู่ในฐานข้อมูลระบบเปิด เพียงคลิกครั้งเดียวก็สามารถแสดงผลลัพธ์ได้ครอบคลุมทุกประเภททรัพยากรและเชื่อมโยงการให้บริการยืมระหว่างห้องสมุดจากห้องสมุดในประเทศไทยจำนวน 14 สถาบัน ที่ใช้โปรแกรม EDS สามารถค้นหาทรัพยากรที่อยู่ในฐานนี้ถึง 2,147,483,647 รายการ (ข้อมูล ณ วันที่ 15 พฤษภาคม 2567) เข้าถึงได้ที่หน้าแรกของเว็บไซต์สำนักฯ https://e-library.siam.edu
  • 2) ฐานข้อมูลทรัพยากรสารสนเทศที่มีภายในสำนักฯ (ELIB Information Resources/Catalog) ซึ่งมีทรัพยากรมากกว่า 230,000  รายการ เข้าถึงได้ที่ http://110.164.153.240/elib/ หรือเว็บไซต์สำนักฯ เมนู OPAC
  •  3) ฐานข้อมูลคลังปัญญามหาวิทยาลัยสยาม (e-Research / Digital Collection Siam University (วิจัย วิทยานิพนธ์ สารนิพนธ์ โครงงาน/สหกิจศึกษา) ซึ่งมีทรัพยากรจำนวน 5,663  รายการ เข้าถึงได้ที่ https://e-research.siam.edu/
  • 4) คลังข้อมูลดิจิทัลและข้อมูลนักวิจัยของมหาวิทยาลัยสยาม (E-Books & E-Journals & Article) เข้าถึงได้ที่ https://e-library.siam.edu/e-journal
  • 5) ฐานข้อมูลวิชาการออนไลน์เชิงพาณิชย์ EBSCO HOST ซึ่งประกอบด้วยฐานข้อมูลย่อยครอบคลุมในหลากหลายสาขาวิชา จำนวน 10 ฐาน ซึ่งมีทรัพยากรจำนวน 157,716,267 รายการ (ข้อมูล ณ วันที่ 15 พฤษภาคม 2567) เข้าถึงได้ที่ https://e-library.siam.edu/ebsco-host/ ดังนี้
  • 5.1) “EBSCO HOST : Academic Search Complete” เป็นฐานข้อมูลที่มีเนื้อหาครอบคลุมในหลายสาขาวิชาทั้งวิทยาศาสตร์ (รวมทั้ง food science) วิศวกรรมศาสตร์ คอมพิวเตอร์ สังคมศาสตร์ ศิลปศาสตร์ นิเทศศาสตร์  มี peer-reviewed full text มีข้อมูล 43,909,046 รายการ
  • 5.2) “EBSCO HOST : Communication & Mass Media Complete” ครอบคลุมสาขาวิชาด้านนิเทศศาสตร์และที่เกี่ยวข้อง ตั้งแต่ปี 1915 จากวารสารวิชาการต่างๆ กว่า 552 ชื่อเรื่อง/ 1,032,416 รายการ ที่ท่านสามารถเข้าไปสืบค้นได้ในรูปแบบ full text
  • 5.3) “EBSCO HOST : Computers & Applied Sciences Complete” ครอบคลุมเนื้อหาการวิจัยและพัฒนาการทางด้านคอมพิวเตอร์และวิชาการที่เกี่ยวข้อง ซึ่งท่านสามารถสืบค้นข้อมูลฉบับเต็มได้จากวารสารทางด้านดังกล่าวถึงกว่า 1,241 ชื่อเรื่อง/ 1,056,568 รายการ
  • 5.4) “EBSCO HOST : Education Research Complete” ครอบคลุมสาขาวิชาด้านการศึกษาในทุกระดับการศึกษาตั้งแต่วัยเด็กจนถึงอุดมศึกษา จากวารสารต่างๆ ในรูปการค้นเนื้อหาฉบับเต็มรวมกว่า 2,269 ชื่อเรื่อง/ 5,947,709 รายการ
  • 5.5) “ERIC (The Education Resource Information Center)” ประกอบด้วยข้อมูลทางการศึกษาเป็นจํานวน 2,011,286 รายการ โดยสามารถสืบค้นข้อมูลฉบับเต็มได้ถึงกว่า 323,000 รายการ ทั้งนี้ท่านสามารถสืบค้นย้อนหลังได้ถึงค.ศ.1966
  • 5.6) “EBSCO HOST : MEDLINE Complete” เป็นฐานข้อมูลทางด้านการแพทย์ที่สําคัญและเป็นที่รู้จักกันดีประกอบด้วยข้อมูลแบบเต็ม จากวารสารชั้นนําด้านการแพทย์โดยตรง จํานวนมากกว่า 2,100 รายชื่อและดรรชนีจากวารสารต่าง ๆ 37,947,976 รายการ
  • 5.7) “EBSCO HOST: EBSCO E-Journals” วารสารอิเล็กทรอนิกส์ภาษาต่างประเทศ จำนวน 23,874 ชื่อเรื่อง/บทความจำนวน 58,025,883 รายการ5.8) “EBSCO HOST : OPEN DESSERTATIONS” วิทยานิพนธ์ของต่างประเทศ จำนวน 1,446,984 ชื่อเรื่อง
  • 5.9) “EBSCO HOST : Newswires” ข้อมูลข่าวสาร จำนวน 616,303 ชื่อเรื่อง
  • 5.10) “EBSCO HOST: EBSCO Books” จำนวนกว่า 122,268 ชื่อเรื่อง
  • 6) ฐานข้อมูลวิชาการออนไลน์เชิงพาณิชย์ UptoDate เป็นฐานข้อมูลทางด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านฐานข้อมูลเชิงประจักษ์ทางการแพทย์ชั้นนำที่ให้ข้อมูลในการแนะนำและช่วยตัดสินใจแก่แพทย์ที่ประจำจุดรักษาพยาบาลได้อย่างทันท่วงที ให้เนื้อหาพร้อมทั้งเอกสารอ้างอิง, รูปภาพและวิดีโอประกอบเพื่อความเข้าใจได้ง่ายยิ่งขึ้น รวมไปถึงข้อมูลสำหรับผู้ป่วย และฐานข้อมูลยา >11,000 topics เข้าถึงได้ที่ https://e-library.siam.edu/uptodate/
  • 7) ฐานข้อมูลวิชาการออนไลน์เชิงพาณิชย์ AccessMedicine เป็นฐานข้อมูลทางการแพทย์ที่ประกอบไปด้วย หนังสือ eBook มากกว่า 160 รายการ กรณีศึกษา การทำแบบทดสอบ มัลติมีเดีย แอนิเมชั่น และวีดิโอ ตลอดจนรูปภาพทางการแพทย์ และการศึกษาเรียนรู้ด้านกายวิภาคศาสตร์ คลังข้อมูลยา อินโฟกราฟิกโรคต่างๆ คู่มือดูแลรักษาผู้ป่วย และอื่นๆอีกมากมาย เข้าถึงได้ที่ https://e-library.siam.edu/accessmedicine/
  • 8) ฐานข้อมูล SE-ED E-library มี eBooks ภาษาไทย จำนวน 138 ชื่อเรื่อง เข้าถึงได้ที่ https://e-library.siam.edu/ebooks-se-ed-e-library/
  •  9) ฐานข้อมูลวิชาการออนไลน์ระบบเปิด  (Open Access Database) ได้รวมรวมไว้บริการมากกว่า 60 ฐานข้อมูล โดยมีฐานข้อมูลงานวิจัย ในประเทศไทย ที่ได้รวมรวมไว้บริการมากกว่า 10 ฐานข้อมูล และได้รวบรวมฐานข้อมูลวิชาการออนไลน์ระบบเปิด“OPEN ACCESS DATABASE” มากกว่า 50 ฐานไว้ในฐานข้อมูลเดียว (EBSCO HOST) อาทิเช่น ฐานข้อมูล  DOAB, DOAJ, F1000Research, Nature Journals Online (Open Access), PLoS – Public Library of Science, ScienceDirect Open Access Titles เป็นต้น เข้าถึงได้ที่ https://e-library.siam.edu/open-access-database/
  •  10) ฐานข้อมูลทรัพยากรสารสนเทศเครือข่าย TU-THAIPUL / EDS THAIPUL ซึ่งมีจำนวนหนังสือ จำนวน 3,633,800 รายการ (ข้อมูล ณ วันที่ 15 พ.ค. 2567)และมีฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ทางวิชาการที่สามารถขอใช้บริการ ILL ในเครือข่าย TU-THAIPUL มากกว่า 200 ฐานข้อมูล จาก 15 สถาบัน ได้แก่ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, มหาวิทยาลัยมหิดล, มหาวิทยาลัยกรุงเทพ, มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์, มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช, มหาวิทยาลัยพายัพ, มหาวิทยาลัยรังสิต, มหาวิทยาลัยศรีปทุม, มหาวิทยาลัยสยาม, มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย, มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ, มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต มหาวิทยาลัยเซาธ์อีสท์บางกอก และสถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น เข้าถึงได้ที่ https://discovery.ebsco.com/
  • 11) ฐานข้อมูล TDC/ThaiLIS ฐานข้อมูลเอกสารฉบับเต็มของ วิทยานิพนธ์และรายงานการวิจัยของอาจารย์ รวบรวมจากมหาวิทยาลัยต่าง ๆ ทั่วประเทศ  มากกว่า 641,307 รายการเข้าถึงได้ที่ https://tdc.thailis.or.th/tdc/

3.มีสิ่งอำนวยความสะดวกในการให้บริการในระบบดิจิทัล

3.1 สามารถเข้าถึงห้องสมุดได้ง่าย ทั้งในแง่ของที่ตั้ง ช่วงระยะเวลาเปิดให้บริการ และช่องทางการติดต่อสื่อสาร ซึ่งสำนักฯ ตั้งอยู่ที่ชั้น 2-3 อาคาร 12 มีการเปิดให้บริการทุกวัน ในวันอังคาร-เสาร์ เวลา 08.00-18.30 น. และวันอาทิตย์-วันจันทร์ เวลา 08.30-16.30 น. และเปิดช่องทางการติดต่อสื่อสารในระบบดิจิทัลให้หลากหลาย เพื่อให้ผู้ใช้เข้าถึงห้องสมุดให้ได้มาก สะดวก และรวดเร็วที่สุด ซึ่งช่องทางหลักที่เข้าถึงได้ง่าย คือ WEBSITE (https://e-library.siam.edu/) และช่องทางการติดต่อสื่อสารและการประชาสัมพันธ์อื่นๆ ได้แก่ ทาง Facebook (ชื่อเพจ: ห้องสมุดมหาวิทยาลัยสยาม), Line Notify (แจ้งปัญหาหอสมุด/ Q & A), Line Group (LibrarySiamU), Line ของบุคลากร, Application (App: Strong Siam เมนู สืบค้นทรัพยากรสารสนเทศ), Channel MS Teams (ชื่อช่อง: ห้องสมุดออนไลน์), E-Mail (lib2@siam.edu), โทรศัพท์ (024570068 ต่อ 5142, 5245) เป็นต้น

3.2 มีสิ่งอำนวยความสะดวก และมีเจ้าหน้าที่ประจำเพื่อให้การช่วยเหลือ สำนักฯ มีคอมพิวเตอร์ให้บริการภายในห้องสมุด จำนวน 48 เครื่อง / มีสัญญาณ wifi ภายในห้องสมุด/มีการจัดพื้นที่การเรียนรู็เฉพาะกลุ่มและอเนกประสงค์ พร้อมอุปกรณ์ เครื่องมือ อาทิเช่น พื้นที่ 3D Theatre Zone & Netflix, Co Working Space, ห้อง Study Rooms, Digital/Virtual Room / มีบรรณารักษ์หรือเจ้าหน้าที่ประจำจุดให้บริการภายในสำนักฯทุกจุด (6 จุดบริการ/ 6 คน) ตลอดจนจัดกิจกรรมอบรมให้ความรู้ต่างๆที่สนับสนุนการเรียนการสอนและการวิจัย โดยจัดให้บริการในระบบดิจิทัล/บริการออนไลน์ บนเว็บไซต์มากกว่า 30 บริการ ได้แก่

4.บุคลากรมีสมรรถนะและความพร้อมในการให้บริการในระบบดิจิทัล

4.1 มีการกำหนดคุณสมบัติของบุคลากรห้องสมุด ที่ใช้ในการสรรหาและบรรจุแต่งตั้ง ตามประกาศทบวงมหาวิทยาลัย เรื่อง มาตรฐานห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษา พ.ศ. 2544 และประกาศมหาวิทยาลัยสยาม เรื่อง การกำหนดเกณฑ์ผ่านการทดสอบภาษาอังกฤษของบุคลากรมหาวิทยาลัยสยาม

4.2 บุคลากรของห้องสมุด ได้รับการอบรมและการพัฒนาเพื่อเพิ่มทักษะและความรู้ในการปฏิบัติงานที่เกี่ยวกับห้องสมุด โดยได้มีการจัดสรรงบประมาณตามแผนงานบริหารและการพัฒนาบุคลากร และดำเนินงานตามโครงการ “เสริมทักษะองค์ความรู้ของบุคลากรสำนักหอสมุดและทรัพยากรสารสนเทศ”

4.3 บุคลากรของห้องสมุด มีสมรรถนะและความพร้อมในการให้บริการในระบบดิจิทัล จากการปฏิบัติงานและการพัฒนางาน ดังนี้

  • 1) บุคลากรมีการพัฒนากระบวนการให้บริการในระบบดิจิทัล/สร้าง Digital Content บนเว็บไซต์ บุคลากรของสำนักฯ โดยเฉพาะในสายวิชาชีพบรรณารักษ์มีสมรรถนะและความพร้อมในการพัฒนา/สร้าง Digital Content เพื่อให้บริการในระบบดิจิทัล และได้พัฒนางานบริการต่างๆ ผ่านทางเว็บไซต์ มากกว่า 30 บริการ และสร้างช่องทางการติดต่อสื่อสารและการประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อสังคมออนไลน์ (Social media) ตามที่มีผลการดำเนินงานในข้อ 3 ส่งผลให้เว็บไซต์ของสำนักฯ https://e-library.siam.edu ได้รับการจัดอันดับเว็บไซต์จาก Google Analytics ให้เป็นเว็บไซต์ อันดับ 1 ในมหาวิทยาลัยสยาม siam.edu ที่มีผู้ใช้งานมากที่สุด เมื่อปี 2561 และในปี 2566 อยู่ในอันดับที่ 4
  • 2) บุคลากรมีการพัฒนาเครือข่ายความร่วมมือและบริการวิชาการแก่สังคม โดยบุคลากรของสำนักฯ ได้รับการเลือกตั้งให้เป็นประธานกลุ่มงานของเครือข่ายห้องสมุด และได้รับเชิญเป็นวิทยากรและคณะทำงานจากองค์กรภายนอก ดังนี้
  • 2.1) เครือข่าย อพส.หรือ คณะอนุกรรมการพัฒนาระบบและเครือข่ายห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษาเอกชน โดยบุคลากรของสำนักฯ ดร.คมเดช บุญประเสริฐ (ผู้ช่วยผู้อำนวยการสำนักฯ) เป็นประธานกลุ่มงานบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ ของเครือข่าย และนางพรรณี จิวพุทธิธรรม (หัวหน้าแผนกพัฒนาทรัพยากรสารสนเทศ สำนักฯ) เป็นประธานกลุ่มงานพัฒนาและวิเคราะห์ทรัพยากรสารสนเทศ  โดยดูรายละเอียดได้ที่ https://e-library.siam.edu/thaipul-sub-committee-library1-2566-5/
  • 2.2) เครือข่ายความร่วมมือเทคโนโลยีบล็อกเซน (Blockchain) โดยดร.คมเดช บุญประเสริฐ (ผู้ช่วยผู้อำนวยการสำนักฯ) ได้จัดตั้งศูนย์เทคโนโลยีบล็อกเซน (Blockchain) และเป็นคณะทำงานให้กับเครือข่ายของศูนย์ โดยมีการจัดกิจกรรมและอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีบล็อกเซน (Blockchain) ให้กับคณาจารย์ นักศึกษา และผู้ประกอบการธุรกิจ ปีการศึกษาละ 2 ครั้ ง 
  • 3) บุคลากรมีการพัฒนาคุณภาพผลงานวิชาการของนักศึกษาด้านการอ้างอิง  โดยนางพรรณี จิวพุทธิธรรม (หัวหน้าแผนกพัฒนาทรัพยากรสารสนเทศ สำนักฯ) ได้ปรับปรุงคู่มือการเขียนอ้างอิงและบรรณานุกรมตามรูปแบบ APA 7th edition เผยแพร่ไว้ที่เว็บไซต์สำนักฯ และจัดบริการแนะนำและตรวจแก้ไขการเขียนอ้างอิงและบรรณานุกรม (Online Reference Service)
  • 4) บุคลากรมีสมรรถนะและความพร้อมในการถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านการค้นคว้าและการใช้ห้องสมุดในระบบดิจิทัล โดยดร.คมเดช บุญประเสริฐ และนางพรรณี จิวพุทธิธรรม เป็นวิทยากรถ่ายทอดความรู้ต่างๆ อาทิเช่น การใช้บริการห้องสมุดผ่านระบบออนไลน์ การสืบค้นฐานข้อมูลวิชาการออนไลน์ EBSCO Host & EDS, UpToDate และการใช้บริการยืมระหว่างห้องสมุดด้วยระบบ EDS และการใช้ Generative AI เป็นต้น

5.มีการประเมินความพึงพอใจผู้รับบริการในระบบดิจิทัล

  • มีการสำรวจความต้องการและความพึงพอใจของผู้ใช้บริการทุกปี โดยในปีการศึกษา 2567 ได้แก้ไขแบบสอบถามออนไลน์ และแจกแบบสอบถามทางอีเมล์ ไลน์กลุ่ม และที่เว็บไซต์สำนักฯ https://e-library.siam.edu/form-library-service-2567 และจะทำการสรุปผลการประเมินและรวบรวมข้อสนอแนะเมื่อสิ้นสุดปีการศึกษา โดยจะเผยแพร่ไว้ที่ https://e-library.siam.edu/contentment-library

6.มีการนําผลการประเมินมาปรับปรุงพัฒนา

นำผลการประเมินความต้องการและความพึงพอใจของผู้ใช้บริการ และข้อเสนอแนะของผู้รับบริการ มาปรับปรุงห้องสมุด อาทิเช่น

  • 1) การจัดซื้อหนังสือ eBook ตามที่ผู้ใช้บริการเสนอแนะ (โครงการ “การจัดหาทรัพยากรสารสนเทศ/ทรัพยากรที่เอื้อต่อการเรียนรู้”)
  • 2) เพิ่มเนื้อหา/Content เพื่อประชาสัมพันธ์กิจกรรมของห้องสมุดและการให้บริการรูปแบบออนไลน์บนเว็บไซต์ เพิ่มมากขึ้น (โครงการ “การเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสารและบริการผ่านระบบดิจิทัล”)
  • 3) เพิ่มการจัดกิจกรรมอบรมการใช้ห้องสมุดและส่งเสริมการรู้สารสนเทศ แก่นักศึกษา ให้ได้ครบทุกคณะวิชา