การประกันคุณภาพ-ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารและการตัดสินใจ 2561

การประกันคุณภาพการศึกษา-ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารและการตัดสินใจ สำนักหอสมุดและทรัพยากรสารสนเทศ ปีการศึกษา 2561

องค์ประกอบที่ 3 การบริหารจัดการ

ตัวบ่งชี้คุณภาพ 3.4 ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารและการตัดสินใจ

คำอธิบายตัวบ่งชี้: หน่วยงานควรมีการพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารและการตัดสินใจที่สอดรับกับนโยบายและการวางแผนระดับหน่วยงาน เพื่อให้เป็นระบบที่สมบูรณ์สามารถเชื่อมโยงกับทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภายในและภายนอก เป็นระบบที่ใช้งานได้ทั้งเพื่อการบริหาร การวางแผนและการตัดสินใจของผู้บริหารทุกระดับ เพื่อการปฏิบัติงานตามภารกิจทุกด้านของบุคลากร เพื่อการติดตามตรวจสอบและประเมินการดำเนินงาน ตลอดจนเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาหน่วยงาน  ทั้งนี้ ระบบดังกล่าวต้องมีความสะดวกในการใช้งานโดยประเมินจากความพึงพอใจของผู้ใช้

เกณฑ์มาตรฐานการประเมิน 5  ข้อ ดังนี้

  1. มีระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารและการตัดสินใจตามพันธกิจของหน่วยงาน การบริหารจัดการ การเงิน ฯลฯ สามารถนำไปใช้ในการบริหารและการตัดสินใจ
  2. มีการจัดทำฐานข้อมูลเพื่อตอบสนองหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
  3. มีการประเมินความพึงพอใจของผู้ใช้ระบบสารสนเทศ
  4. มีการนำผลการประเมินความพึงพอใจของผู้ใช้ระบบสารสนเทศมาปรับปรุงระบบสารสนเทศ
  5. มีการส่งข้อมูลผ่านระบบเครือข่ายของหน่วยงานภายนอกมหาวิทยาลัยที่เกี่ยวข้องตามที่กำหนด

เกณฑ์การประเมิน

ระดับคะแนน
1 2 3 4 5
1 ข้อ 2 ข้อ 3 ข้อ 4  ข้อ 5 ข้อ

หลักฐานที่ต้องการ:

  1. ระบบสารสนเทศ ฐานข้อมูลต่างๆ ที่ใช้เพื่อการบริหารจัดการและการตัดสินใจ
  2. รายงานการประเมินความพึงพอใจของผู้ใช้ระบบสารสนเทศ และแนวทางการพัฒนาจากผลการประเมิน
  3. ความเชื่อมต่อเครือข่ายกับหน่วยงานภายนอก

ผลการดำเนินงานของสำนักหอสมุดและทรัพยากรสารสนเทศ ตามเกณฑ์มาตรฐาน  ตัวบ่งชี้ที่ 3.4 ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารและการตัดสินใจ

เกณฑ์มาตรฐาน: 1. มีระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารและการตัดสินใจตามพันธกิจของหน่วยงาน  การบริหารจัดการ การเงิน ฯลฯ สามารถนำไปใช้ในการบริหารและการตัดสินใจ

ผลการดำเนินงาน: สำนักฯ มีระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารและการตัดสินใจตามพันธกิจของหน่วยงาน รวมทั้งระบบที่จัดในรูปแฟ้มเอกสารและเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ที่สามารถนำไปใช้ในการบริหารและการตัดสินใจหลายด้าน ประกอบด้วย

1.ด้านทรัพยากรสารสนเทศ: มีระบบ “ฐานข้อมูลทรัพยากรสารสนเทศ สำนักทรัพยากรสารสนเทศ มหาวิทยาลัยสยาม(WEB OPAC)”   ตลอดจนฐานข้อมูลวิชาการออนไลน์เชิงพาณิชย์อีก จำนวน 12 ฐาน ซึ่งทั้งหมดสามารถเรียกดูได้จาก เว็บไซต์หรือ WEB Application ของสำนักฯ ที่  https://e-library.siam.edu

2.ด้านการเงินและงบประมาณ: มีระบบการเงินในการจัดหาทรัพยากรสารสนเทศ ระบบการเงินในการพัฒนาโครงการต่างๆ และระบบการเงินด้านวัสดุ ครุภัณฑ์ ซึ่งทั้งหมดสามารถเรียกดูได้จากเลขานุการสำนักและจากทุกแผนก/งานของสำนักทรัพยากรสารสนเทศ ทั้งนี้เมื่อสิ้นสุดปีการศึกษาจะมีการรวบรวมไว้ ใน รายงานประจำปี ของทุกปีการศึกษา

3.ด้านการบริหารจัดการ:นปีการศึกษา 2561 สำนักฯได้จัดทำ  โครงการ “การเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ข้อมูลทางเว็บไซต์” โดยมีกิจกรรมเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ข้อมูลต่างๆ ของสำนักฯ รวมทั้งข้อมูลเพื่อการบริหารจัดการ ได้แก่
1) กิจกรรม จัดทำ Digital Content ด้านการบริหารและการพัฒนาบุคลากร เพื่อการบริหารและการตัดสิน
2) กิจกรรม จัดทำ Digital Content ด้านการจัดการความรู้ (KM) เพื่อการบริหารและการตัดสิน
3) กิจกรรม จัดทำ Digital Content ด้านการประกันคุณภาพการศึกษา เพื่อการบริหารและการตัดสิน
4) กิจกรรม จัดทำ Digital Content ด้านการบริหารและการพัฒนาทรัพยากรสารสนเทศ

ข้อมูลหลักฐาน: เอกสารหมายเลข 9 รายงานประจำปี 2561 สำนักหอสมุดและทรัพยากรสารสนเทศ  มหาวิทยาลัยสยาม
เอกสารหมายเลข 11.3 เว็บไซต์ใหม่ของสำนักฯ ที่https://e-library.siam.edu/ –ที่เมนู “ค้นฐานข้อมูล”   –ที่เมนู “บุคลากร”  –ที่เมนู การจัดการความรู้ (KM)  –ที่เมนู “การประกันคุณภาพการศึกษา”   –ที่เมนู แนะนำทรัพยากร และ–ที่เมนู “สารสนเทศเพื่อนักวิจัย


เกณฑ์มาตรฐาน: 2. มีการจัดทำฐานข้อมูลเพื่อตอบสนองหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

ผลการดำเนินงาน: สำนักฯ มีระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารและการตัดสินใจตามพันธกิจของหน่วยงานข้างต้นแล้ว ยังได้มีการจัดทำฐานข้อมูลเพื่อตอบสนองหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ประกอบด้วย

1.ด้านทรัพย์สินทางปัญญาของมหาวิทยาลัยสยาม: สำนักฯได้นำเข้าข้อมูลวิทยานิพนธ์ และผลงานวิจัย/วิชาการของมหาวิทยาลัยเข้าในระบบTDCของฐานข้อมูลเครือข่าย ThaiLIS พร้อมทั้งเชื่อมโยงเว็บไซต์ของระบบดังกล่าวไว้ในเว็บไซต์ของสำนักฯ ด้วย ที่ https://e-library.siam.edu ตามที่ได้สรุปผลไว้ในโครงการ “เผยแพร่ทรัพย์สินทางปัญญาของมหาวิทยาลัยสยามในระบบTDC ของเครือข่าย ThaiLIS”

2.ด้านความร่วมมือในการใช้ทรัพยากรสารสนเทศร่วมกัน:   ร่วมกับหน่วยงานภายนอก โดยสำนักฯมีระบบ EDS (EBSCO Discovery Service) ใช้ในการให้ บริการยืมระหว่างห้องสมุด ILL (Inter Library Loan) ในกลุ่มสถาบันสมาชิก จำนวน 10 สถาบัน  ได้แก่ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์  มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช มหาวิทยาลัยรังสิต มหาวิทยาลัยศรีปทุม มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย  และมหาวิทยาลัยสยาม  และในปี 2561-2562 มีสมาชิกเพิ่มขึ้นอีก 2 สถาบัน คือ มหาวิทยาลัยมหิดล และจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เพื่อให้ผู้ใช้บริการของสถาบันสมาชิกสามารถเลือกใช้ข้อมูลสารสนเทศได้ตรงประเด็น และช่วยให้นักวิจัยเข้าถึงข้อมูลได้ตรงกับความต้องการมากที่สุด ก่อให้เกิดการใช้ทรัพยากรสารสนเทศได้อย่างคุ้มค่าและเกิดประโยชน์สูงสุด

การใช้ทรัพยากรสารสนเทศร่วมกัน:ร่วมกับหน่วยงานภายในมหาวิทยาลัย อาทิเช่น คณะวิชาต่างๆ สำนักฯได้จัดทำเว็บไซต์ใหม่ http://e-library.siam.edu/e-journal   ในโครงการ “Siam e-books” เพื่อการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ข้อมูลสารสนเทศ วารสาร ตำรา เอกสารการสอนคู่มือต่างๆ หลักสูตร หนังสืออนุสรณ์ และเอกสารอันเป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยสยาม และร่วมมือกับห้องสมุดมารวย@มหาวิทยาลัยสยามจัดทำโครงการ “Siam e-Researchs” เพื่อการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ผลงานวิจัย/วิทยานิพนธ์ สารนิพนธ์ /ปริญญานิพนธ์ ที่เว็บไซต์ https://e-research.siam.edu/

3.ด้านการประกันคุณภาพ: สำนักฯได้มีการรวบรวมและจัดเก็บเอกสารอ้างอิงเพื่อการตรวจสอบในระบบการประกันคุณภาพการปฏิบัติงาน ไว้ในรูปแบบ Digital ทั้งเพื่อการเผยแพร่ข้อมูลภายในและภายนอกหน่วยงาน ให้รับทราบ อาทิเช่น สำนักประกันคุณภาพและสำนักแผนงานและวิจัยสถาบัน คณะวิชา เป็นต้น  

ข้อมูลหลักฐาน: เอกสารหมายเลข 5 สรุปแผนปฏิบัติการประจำ (Routine Action  Plan : RAP) ฯ 1) สรุปโครงการ “เผยแพร่ทรัพย์สินทางปัญญาของมหาวิทยาลัยสยามในระบบ TDC ของเครือข่าย ThaiLIS”
2) สรุปโครงการ “ความร่วมมือกับกลุ่ม TU-THAIPUL ในการให้บริการยืมระหว่างห้องสมุด (Interlibrary loan) ด้วยระบบออนไลน์ EDS (EBSCO Discovery Service)”
3) สรุปโครงการ “Siam e-books”
4) สรุปโครงการ “Siam e-Researchs”
เอกสารหมายเลข 11.3 เว็บไซต์ใหม่ของสำนักฯ ที่https://e-library.siam.edu/ –ที่เมนู  “การประกันคุณภาพการศึกษาเว็บไซต์ใหม่ http://e-library.siam.edu/e-journal  และเว็บไซต์ https://e-research.siam.edu/


เกณฑ์มาตรฐาน: 3. มีการประเมินความพึงพอใจของผู้ใช้ระบบสารสนเทศ

ผลการดำเนินงาน: เพื่อให้ผู้ใช้บริการได้รับความพึงพอใจในการบริการในทุกๆ ด้าน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านความทันสมัยของข้อมูลสำนักฯ ได้มีการปรับปรุงเว็บไซต์ด้านข้อมูลสารสนเทศ ข่าวสารและความสวยงามของหน้าเว็บเพจให้ทันสมัย ทุกวัน ทั้งนี้ได้มีการประเมินความพึงพอใจของผู้ใช้บริการในด้านต่างๆ โดยรวม ในทุกปีการศึกษา ตั้งแต่ปีการศึกษา 2544 เป็นต้นมา จนถึงปัจจุบัน ในปีการศึกษา 2561 ผู้ใช้บริการมีความพึงพอใจด้านทรัพยากรสารสนเทศและ ด้านการประชาสัมพันธ์และการสื่อสาร  อยู่ในระดับมาก คือ 3.85 และ 3.93 ตามลำดับ

ข้อมูลหลักฐาน: เอกสารหมายเลข 18.1 สรุปผลการสำรวจความพึงพอใจของผู้ใช้บริการในด้านต่างๆ ของสำนักทรัพยากรสารสนเทศมหาวิทยาลัยสยาม ประจำปีการศึกษา 2561


เกณฑ์มาตรฐาน: 4. มีการนำผลการประเมินความพึงพอใจของผู้ใช้ระบบสารสนเทศมาปรับปรุงระบบสารสนเทศ

ผลการดำเนินงาน: สำนักฯ ได้นำผลการประเมินความพึงพอใจของผู้ใช้บริการมาปรับปรุงระบบสารสนเทศ ดังจะเห็นได้จากการพัฒนาระบบสารสนเทศในปีการศึกษา 2561 โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการจัดทำ โครงการ “ความร่วมมือกับกลุ่ม TU-THAIPUL ในการให้บริการยืมระหว่างห้องสมุด (Interlibrary loan) ด้วยระบบออนไลน์ EDS (EBSCO Discovery Service)” และโครงการ “การเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ข้อมูลทางเว็บไซต์” อีกทั้งได้พัฒนาระบบข้อมูลสารสนเทศให้เป็น Digital Content ตาม นโยบาย Digital Content” ของท่านอธิการบดี ผ่านทางเว็บไซต์ของสำนักฯ

ผลการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารให้เป็น Digital content ผ่านทางเว็บไซต์สำนักฯ ทำให้เว็บไซต์ของสำนักฯ อยู่ในอันดับที่ดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง และเมื่อเดือนสิงหาคม 2562 Google Analics ได้จัดอันดับการใช้เว็บไซต์ของมหาวิทยาลัยสยาม ผลปรากฏว่า มีผู้เข้าใช้บริการเป็นอันดับ 1 ของเว็บไซต์ในมหาวิทยาลัยสยามข้อมูลหลักฐาน: เอกสารหมายเลข  11.3 เว็บไซต์ของสำนักฯที่ https://e-library. siam.eduและ https://e-library.siam.edu/e-journalและเว็บไซต์ https://e-research.siam.edu/


เกณฑ์มาตรฐาน: 5. มีการส่งข้อมูลผ่านระบบเครือข่ายของหน่วยงานภายนอกมหาวิทยาลัยที่เกี่ยวข้องตามที่กำหนด

ผลการดำเนินงาน: สำนักฯ ได้ส่งข้อมูลสารสนเทศต่างๆ ผ่านระบบเครือข่าย (Internet) ผ่านทางเว็บไซต์ให้กับหน่วยงานทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย ตัวอย่างเครือข่ายภายในมหาวิทยาลัย อาทิเช่น สำนักแผนงานและวิจัยสถาบัน สำนักประกันคุณภาพฯ เป็นต้น และตัวอย่างเครือข่ายภายนอกมหาวิทยาลัย ได้แก่ เครือข่ายคณะอนุกรรมการพัฒนาระบบและเครือข่ายห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษาเอกชน (อพส.) เครือข่าย ThaiLIS และเครือข่าย TU-THAIPUL  ที่ได้การนำระบบ EDS (EBSCO Discovery Service) มาใช้ในการให้บริการยืมระหว่างห้องสมุด ILL (Inter Library Loan) ซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่ทันสมัยสามารถใช้งานจากกล่องสืบค้นเดี่ยว (Single Search) ในการค้นหาทรัพยากรสารสนเทศจากสถาบันสมาชิกที่ใช้ระบบ EDS ร่วมกับ 10 สถาบัน ตาม โครงการ “ความร่วมมือกับกลุ่ม TU-THAIPUL ในการให้บริการยืมระหว่างห้องสมุด (Interlibrary loan) ด้วยระบบออนไลน์ EDS (EBSCO Discovery Service)”

ข้อมูลหลักฐาน: เอกสารหมายเลข  11.3 เว็บไซต์ของสำนักฯที่ https://e-library. siam.eduและ https://e-library.siam.edu/e-journalและเว็บไซต์ https://e-research.siam.edu/


เกณฑ์การประเมิน

1 คะแนน 2 คะแนน 3 คะแนน 4 คะแนน 5 คะแนน
1 ข้อ 2 ข้อ 3 ข้อ 4 ข้อ 5 ข้อ

เป้าหมายของสำนัก :  5  ข้อ

ผลการดำเนินงาน   :  5  ข้อ

ผลการประเมินตนเอง   :  5 คะแนน