มูลนิธิสืบนาคะเสถียร ขอเชิญร่วมงาน รําลึก 29 ปี สืบ นาคะเสถียร ระหว่างวันที่ 31 สิงหาคม – 1 กันยายน 2562 ณ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง
รําลึก 29 ปี วัน สืบ นาคะเสถียร 2562 Read More »
มูลนิธิสืบนาคะเสถียร ขอเชิญร่วมงาน รําลึก 29 ปี สืบ นาคะเสถียร ระหว่างวันที่ 31 สิงหาคม – 1 กันยายน 2562 ณ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง
รําลึก 29 ปี วัน สืบ นาคะเสถียร 2562 Read More »
26 ธันวาคม วันคุ้มครองสัตว์ป่าแห่งชาติ สัตว์ป่า (Wildlife) หมายถึง สัตว์ทุกชนิดทั้งสัตว์บก สัตว์น้ำ สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ สัตว์ปีก และแมลง หรือแมง ที่เกิดและดำรงชีวิตอยู่ในป่า หรือแหล่งน้ำตามธรรมชาติอย่างเสรี รวมทั้งไข่ของสัตว์ทุกชนิด ยกเว้นสัตว์พาหนะที่ได้จดทะเบียนทำตั๋วรูปพรรณตามกฎหมายว่าด้วยสัตว์พาหนะและลูกที่เกิดมาภายหลัง วันคุ้มครองสัตว์ป่าแห่งชาติ ตรงกับวันที่ 26 ธันวาคม ของทุกปี ในอดีตทรัพยากรธรรมชาติของ ประเทศไทยอุดมสมบรูณ์ พื้นที่อุดมไปด้วยความหลากหลายทางชีวภาพทั้งพืช และสัตว์ จากจำนวนประชากรที่เพิ่มมากขึ้น ทำให้มีการทำลายป่า และล่าสัตว์มากขึ้นเป็นผลทำให้แหล่ง อาหารและที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่าถูกทำลาย สัตว์ป่าถูกล่าทำให้มีจำนวนลดลงอย่างรวดเร็ว และบางชนิด สูญพันธ์ไปจากประเทศไทย กฎหมายที่เกี่ยวกับการคุ้มครองสัตว์ป่ามีเพียงพระราชบัญญัติ ช้างป่า ร.ศ.1199 (พ.ศ.2443) ยังไม่มีการคุ้มครองสัตว์ป่าอื่น ๆ จนกระทั่งในปี พ.ศ.2503 รัฐบาลของจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัตน์ เป็นนายกรัฐมนตรี ได้ตรา กฎหมายว่าด้วยการสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่าขึ้น คือ พระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ.2503 โดยมีสมเด็จพระศรีนคริทราบรมราชชนนี เมื่อครั้งดำรงพระยศเป็นสมเด็จพระราชชนนีศรีสังวาล และ ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ได้ทรงลงนาม ในพระปรมาภิไธยเมื่อวันที่ 26
วันคุ้มครองสัตว์ป่าแห่งชาติ Read More »
วันสิ่งแวดล้อมไทย 4 ธันวาคม ความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรธรรมชาติ และการมีคุณภาพสิ่งแวดล้อมที่ดี เป็นสิ่งสะท้อนถึงคุณภาพชีวิตที่ดีของประชาชนในประเทศเราปฏิเสธไม่ได้ว่า การดำรงชีวิตของพวกเราทุกคนในแต่ละวัน ไปจนถึงการพัฒนาประเทศล้วนต้องใช้ฐานทรัพยากรธรรมชาติ ซึ่งมีส่วนในการปล่อยของเสียออกสู่สิ่งแวดล้อม ทั้งมลพิษทางอากาศ น้ำเสีย สารเคมีหรือแม้แต่ “ขยะ” ที่กำลังเป็นปัญหาในระดับโลกการดูแลรักษาทรัพยากรธรรมชาติ และการแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อมนั้นมีความซับซ้อน และเปราะบาง การดำเนินการโดยภาครัฐเพียงลำพังไม่สามารถบรรลุเป้าหมายให้สำเร็จได้โดยง่าย ต้องอาศัยความร่วมมือจากประชาชนทุกภาคส่วนที่ต้องร่วมกันขับเคลื่อนให้ประเทศไทยมีความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน และก้าวเป็นประเทศพัฒนาแล้ว โดยยึดแนวทางการพัฒนาตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง และยุทธศาสตร์การสร้างการเติบโตบนคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ทั้งการจัดระบบอนุรักษ์ ฟื้นฟู และป้องกันการทำลายทรัพยากรธรรมชาติเพื่อพัฒนาทุกภาคส่วนให้ก้าวไปในทิศทางเดียวกัน นั่นก็คือสู่เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals: SDGs) สร้างคุณภาพสิ่งแวดล้อมที่ดี ลดมลพิษ และลดผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชน และระบบนิเวศทั้งนี้ หัวใจสำคัญของการสร้างการมีส่วนร่วมที่เข้มแข็ง คือ จิตสำนึกรับผิดชอบอันเกิดจากความเข้าใจ และความตระหนักรู้ในคุณค่าของทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อมจึงมุ่งมั่นที่จะผลิต และเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารเพื่อประโยชน์ในการสร้างความรู้ ความเข้าใจ ตลอดจนส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนในการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน ความเป็นมาวันสิ่งแวดล้อมไทย วันที่ 4 ธันวาคม ของทุกปี เป็น “วันสิ่งแวดล้อมไทย” กำหนดขึ้นเพื่อระลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ที่ทรงมีพระราชดำรัสถึงสถานการณ์สิ่งแวดล้อมของประเทศไทยและสถานการณ์สิ่งแวดล้อมโลก เมื่อครั้งเสด็จออกให้คณะบุคคลต่างๆ เข้าเฝ้าถวายพระพรชัยมงคลเนื่องในวันเฉลิมพระชนมพรรษา ณ
วันคุ้มครองโลก EARTH DAY 22 เมษายน วันคุ้มครองโลก Earth Day คำว่าโลกในที่นี้มีความหมายอยู่ 2 นัย นัยแรก หมายถึง โลกทางกายภาพ ที่มีภูเขา แม่น้ำ พื้นดิน แผ่นฟ้า มหาสมุทร ส่วนอีกนัยหนึ่ง หมายถึง ชาวโลก คือ สรรพชีวิตทั้งปวงที่อาศัยอยู่บนโลก การคุ้มครองโลก จึงหมายถึงการคุ้มครองทั้งสิ่งแวดล้อมและคุ้มครองชาวโลกด้วย ซึ่งในปัจจุบันโลกกำลังเผชิญปัญหาเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมเป็นพิษที่ทวีความรุนแรงมากขึ้นและพบกับภาวะที่ก่อให้เกิดอันตรายต่อชีวิตหลากหลายรูปแบบอย่างรวดเร็ว ไม่ว่าจะเป็นปัญหาเกี่ยวกับมลภาวะทางอากาศ ทางน้ำ หรือการทำลายป่าที่ส่งผลให้เกิดวาตภัย อุทกภัยอย่างไม่ทันตั้งตัว จนก่อให้เกิดความเสียหายทั้งชีวิตและทรัพย์สินต่อประชากรโลกในหลายๆ ประเทศ ด้วยเหตุนี้จึงมีคนกลุ่มหนึ่งรวมตัวกันเรียกร้องให้ชาวโลกหันมาสนใจ และตระหนักถึงความสำคัญของการ คุ้มครองโลกให้อยู่รอดปลอดภัยจากภัยต่าง ๆ (iEnergy Guru, ม.ป.ป.) ประวัติความเป็นมา วันคุ้มครองโลก Earth Day วันคุ้มครองโลก เป็นวันที่ตั้งขึ้นเพื่อให้ผู้คนบนโลกได้ตระหนักถึงความเสื่อมโทรมและพิษภัยต่างๆ ที่ส่งผลกระทบต่อระบบสภาพแวดล้อมในธรรมชาติ จนก่อให้เกิดวิกฤตการณ์ทางนิเวศวิทยา แนวคิดเรื่องวันคุ้มครองโลกเริ่มต้นขึ้นในปี 2505 โดย เกย์ลอร์ด เนลสัน (Gaylord Nelson)
วันคุ้มครองโลก Earth Day Read More »
[quote font_size=”18″ color=”#ffdf42″ bgcolor=”#339933″ bcolor=”#ffdf42″ arrow=”yes”]วันที่ 12 เมษายน “วันป่าชุมชนชายเลนไทย” เพื่อให้ทุกฝ่ายร่วมมือกันรักษาทรัพยากรธรรมชาตินี้ไว้ไม่ให้สูญหายไป รวมไปถึงการสร้างจิตสำนึก ในการอนุรักษ์ธรรมชาติให้แก่เด็กรุ่นหลัง เพื่อนำมาพัฒนาให้ป่าชายเลน ซึ่งเป็นบ้านของสัตว์น้อยใหญ่ ได้เป็นแหล่งที่อาศัยของพวกมันตลอดไป[/quote] ในอดีตป่าชายเลนในประเทศไทยที่อุดมสมบูรณ์นั้น กระจายอยู่ทั่วไป แต่ภายหลังจากในปี พ.ศ.2518 ซึ่งมีพื้นที่ป่าชายเลน 2 ล้านไร่ แต่ในปี พ.ศ.2534 กลับเหลือเพียง 1 ล้านไร่ ป่าหายไปไหน? พวกมันถูกทำลายด้วยมนุษย์จากการเพาะเลี้ยงกุ้งอย่างผิดวิธี การขยายตัวของอุตสาหกรรมที่รุกร้ำเข้าพื้นที่ป่า ทำให้ปัจจุบันนี้พื้นที่ดังกล่าวเหลืออยู่ไม่ถึง 1 ล้านไร่ แม้ว่าจะการปลูกป่าทดแทนเท่าไหร่ก็ได้แต่ไม้โกงกาง ซึ่งไม่สามารถสร้างระบบนิเวศที่ซับซ้อนเหมือนธรรมชาติได้ ป่าชายเลนเกิดจากตะกอนที่มากับแม่น้ำ สะสมรวมตัวกันเป็นหาดเลนกว้าง บริเวณรอยต่อของทะเลกับพื้นดิน ซึ่งเป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์น้ำและสัตว์บก โดยปัจจุบันป่าชายเลนถูกรุกล้ำทำให้ระบบนิเวศน์ต่างๆ เสียไป จึงมีการกำหนดให้วันที่ 12 เมษายน ของทุกปี เป็น “วันป่าชุมชนชายเลนไทย” เพื่อให้ทุกฝ่ายร่วมมือกันรักษาทรัพยากรธรรมชาตินี้ไว้ไม่ให้สูญหายไป รวมถึงสร้างจิตสำนึก ในการอนุรักษ์ธรรมชาติเพื่อนำมาพัฒนาให้ป่าชายเลนไทยดำรงอยู่ต่อไป [quote font_size=”18″ color=”#ffdf42″ bgcolor=”#339933″ bcolor=”#ffdf42″
วันป่าชุมชนชายเลนไทย Read More »
[box type=”note”]วันที่ 21 มีนาคม ของทุกปี เป็นวันป่าไม้โลก (World forestry day) เพื่อให้คนทั่วโลก เล็งเห็นถึงคุณค่า และประโยชน์ของทรัพยากรป่าไม้ ที่มีอยู่จำกัด โดยจะมีกิจกรรม รณรงค์ปลูกป่าในวันนี้ด้วย [/box] [quote font_size=”18″ color=”#ffdf42″ bgcolor=”#339933″ bcolor=”#ffdf42″ arrow=”yes”]ประวัติความเป็นมาของวันป่าไม้โลก[/quote] วันป่าไม้โลก มีต้นกำเนิดมาจากการประชุมสมัชชาทั่วไปของสันนิบาตยุโรปด้านการเกษตร (European Confederation of Agriculture) ครั้งที่ 23 ในปี 2541 และในปีเดียวกันนั้น องค์กรอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) จึงได้มีการกำหนดให้ทุกวันที่ 21 มีนาคม ของทุกปี เป็นวันป่าไม้โลก (World Forestry Day) ตั้งแต่ปี 2514 เป็นต้นมา เพื่อให้คนทั่วโลกได้เล็งเห็นถึงคุณค่าและประโยชน์ของทรัพยากรป่าไม้ในปัจจุบันที่มีอยู่จำกัด [quote font_size=”18″ color=”#ffdf42″ bgcolor=”#339933″ bcolor=”#ffdf42″ arrow=”yes”]ความสำคัญของป่าไม้[/quote] ป่าไม้เป็นทรัพยากรที่มีความสำคัญต่อสิ่งมีชีวิต ไม่ว่าจะเป็นมนุษย์หรือสัตว์อื่นๆ
21 มีนาคม วันป่าไม้โลก (World forestry day) Read More »
3 มีนาคม เป็นวันสัตว์ป่าและพืชป่าโลก ซึ่งแปลมาจากชื่อภาษาอังกฤษ World Wildlife Day กำหนดขึ้นโดยมติที่ประชุมภาคีอนุสัญญาว่าด้วยการค้าระหว่างประเทศซึ่งชนิดสัตว์ป่าและพืชป่าที่ใกล้สูญพันธุ์ ครั้งที่ 16 หรือ CITES CoP16 ซึ่งจัดขึ้นที่กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย เมื่อวันที่ 3-14 มีนาคม 2556 เนื่องในโอกาสครบรอบ 40 ปีของการกำเนิดอนุสัญญาว่าด้วยการค้าระหว่างประเทศซึ่งชนิดสัตว์ป่าและพืชป่าที่ใกล้สูญพันธุ์ หรือ CITES ประเทศไทยในฐานะเจ้าภาพจัดการประชุมจึงเสนอขอความเห็นชอบในการกำหนดให้วันที่ 3 มีนาคม ซึ่งตรงกับวันที่มีการลงนามรับรองอนุสัญญา CITES ที่กรุงวอชิงตัน ดี ซี เมื่อปี พ.ศ. 2516 เป็นวันสัตว์ป่าและพืชป่าโลก โดยที่ประชุม CITES CoP16 ได้มีมติเอกฉันท์เห็นชอบในการกำหนดให้วันที่ 3 มีนาคม ของทุกปี เป็นวันสัตว์ป่าและพืชป่าโลก 20 ธันวาคม ปีเดียวกัน ที่ประชุมสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติ ครั้งที่ 68 ณ นครนิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา ได้ให้การรับรองและประกาศให้วันที่ 3
3 มีนาคม วันสัตว์ป่าและพืชป่าโลก Read More »