วันอาสาสมัครสาธารณสุขแห่งชาติ

[box type=”note”]อาสาสมัครสาธารณสุข คือ บุคคลที่สมัครใจจะทำงานเพื่อสังคมโดยส่วนรวมในด้านการพัฒนาสุขภาพ ตามแนวนโยบายของกระทรวงสาธารณสุข  โดยไม่ได้รับค่าตอบแทนเป็นรายเดือน [/box]

การสาธารณสุขมูลฐาน หมายถึง การดูแลสุขภาพที่จำเป็นซึ่งจัดให้อย่างทั่วถึงสำหรับทุกคนและทุกครอบครัวในชุมชน โดยการยอมรับและการมีส่วนร่วมอย่างเต็มที่ของทุกคนด้วยค่าใช้จ่ายที่ไม่เกินกำลังของชุมชนและประเทศจะรับได้ โดยการผสมผสานของระบบบริการสาธารณสุขและระบบการพัฒนาทางสังคม เศรษฐกิจของประเทศไปด้วยกัน (ไพจิตร  ปวะบุตร, 2537)

อาสาสมัครสาธารณสุข มีชื่อย่อว่า “อสม.” จำแนกเป็น 4 ประเภท (Guru Snook, 2556) ได้แก่
[dropcap font=”Arial” color=”#cc0033″]1[/dropcap]อาสาสมัครสาธารณสุขในพื้นที่ภูมิภาค หมายความว่า อาสาสมัครสาธารณสุขที่ปฏิบัติงานอยู่ในพื้นที่ส่วนภูมิภาค ทั้งในเขตชนบทและเขตเมือง รวมถึงเมืองพัทยา เรียกว่า อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.)
[dropcap font=”Arial” color=”#ffdf42″]2[/dropcap]อาสาสมัครสาธารณสุข ในเขตกรุงเทพมหานคร หมายความว่า อาสาสมัครสาธารณสุขที่ปฏิบัติงานอยู่ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร เรียกว่า อาสาสมัครกรุงเทพมหานคร (อสส.)
[dropcap font=”Arial” color=”#cc0033″]3[/dropcap]อาสาสมัครสาธารณสุข ของหน่วยงานหรือองค์กรต่าง ๆ ที่ผ่านการอบรมตามแนวทางของกระทรวงสาธารณสุข เช่น อาสาสมัครสาธารณสุขการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (อสม.กฟผ.) และอาสาสมัครสาธารณสุขขนส่งมวลชน (อสม.ขสมก) ฯลฯ
[dropcap font=”Arial” color=”#ff9900″]4[/dropcap]อาสาสมัครสาธารณสุขกิตติมศักดิ์ หมายความว่า บุคคลผู้ทำคุณประโยชน์หรือสนับสนุนการดำเนินงานของอาสาสมัครสาธารณสุข

[quote arrow=”yes”]ความเป็นมา วันอาสาสมัครสาธารณสุขแห่งชาติ[/quote]

กระทรวงสาธารณสุข มีนโยบายที่จะให้ประชาชนได้รับบริการสาธารณสุขอย่างทั่วถึง ตลอดจนมีส่วนร่วมในการดำเนินงาน และพัฒนาสาธารณสุข จึงได้มีการจัดตั้งอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน เมื่อปี พ.ศ. 2520 ซึ่งเริ่มด้วยการเป็นโครงการทดลองใน 20 จังหวัด จากนั้นก็ได้ขยายพื้นที่ทดลองไปเรื่อย ๆ ในทุกอำเภอ
กระทั่งในสมัย พลเอก เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ เป็นนายกรัฐมนตรี รัฐบาลได้เล็งเห็นความสำคัญของการสาธารณสุข จึงได้อนุมัติให้บรรจุ “โครงการสาธารณสุขมูลฐานแห่งชาติ” เข้าเป็นโครงการหนึ่งในแผนพัฒนาการสาธารณสุขแห่งชาติที่ถือเป็นนโยบายระดับชาติ และได้ลงมติอนุมัติให้เปลี่ยนคำว่า “สาธารณสุขเบื้องต้น” เป็น “การสาธารณสุขมูลฐาน” เมื่อวันที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2522
ต่อมาในปี พ.ศ. 2535 อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านก็ได้รับการยกระดับให้เป็น “อาสาสมัครสาธารณสุข” หรือ อสม. และถัดจากนั้นไม่นาน กระทรวงสาธารณสุขก็ได้เสนอเรื่องต่อคณะรัฐมนตรี เพื่อขอให้กำหนดเอาวันที่ 20 มีนาคมของทุกปีเป็น “วันอาสาสมัครสาธารณสุขแห่งชาติ” เพื่อเป็นการให้ความสำคัญของอาสาสมัครสาธารณสุข
ในที่สุดแล้ว เมื่อวันที่ 21 ธันวาคม 2536 คณะรัฐมนตรีสมัยนายชวน หลีกภัย ก็ได้มีมติอนุมัติให้ทุกวันที่ 20 มีนาคมของทุกปี เป็น “วันอาสาสมัครสาธารณสุขแห่งชาติ” ดังนั้น กระทรวงสาธารณสุขจึงได้เริ่มต้นจัดงานเฉลิมฉลองในนามวันอาสาสมัครสาธารณสุขแห่งชาติเป็นประจำทุกปี ตั้งแต่วันที่ 20 มีนาคม 2537 เป็นต้นมา[divide icon=”circle” width=”medium”]

 

[quote arrow=”yes”]บทบาทของอาสาสมัครสาธารณสุข[/quote]

อาสาสมัครสาธารณสุขหน้าที่หลัก ๆ ของอาสาสมัครสาธารณสุข หรือ อสม. คือ ทำหน้าที่ดูแลคุณภาพชีวิตของคนในชุมชนให้มีสุขภาพแข็งแรงอย่างทั่วถึงและต่อเนื่อง เพื่อให้คนในชุมชนปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ จนกลายเป็น “ชุมชนจัดการระบบสุขภาพเข้มแข็ง เมืองไทยแข็งแรง” ตามนโยบายของภาครัฐนั่นเอง
ทั้งนี้ ผู้ที่จะเข้ามาเป็นอาสาสมัครนั้น จะต้องมีความสมัครใจที่จะทำงานเพื่อส่วนรวมด้วยความเสียสละ และมีเวลาพอที่จะช่วยเหลือชุมชน นอกจากนี้ ควรจะเป็นคนที่มีที่อยู่อาศัยและประกอบอาชีพในหมู่บ้านนั้น ๆ ด้วย เพื่อให้ประชาชนเข้าไปติดต่อได้ง่าย[divide icon=”circle” width=”medium”]

 

[quote arrow=”yes”]วัตถุประสงค์ของงานอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน วัตถุประสงค์ในการดำเนินงานอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ได้แก่[/quote]

1. เพื่อให้ประชาชนได้มีส่วนร่วมในการดูแลสุขภาพกันเองด้วยวิธีที่ง่ายประหยัด และทั่วถึง

2. เพื่อช่วยบรรเทาภาวะขาดแคลนบุคลากรทางด้านสาธารณสุขในชนบท

3. เพื่อแก้ไขปัญหารักษาพยาบาลหรือดูแลรักษาสุขภาพที่ไม่ถูกต้องของประชาชน

[quote font_size=”18″ color=”#ffdf42″ bgcolor=”#ed3c3c” bcolor=”#ffdf42″ arrow=”yes”]คุณสมบัติของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ผู้ที่จะเข้ามาเป็นอาสาสมัครในการดูแลสุขภาพอนามัยของเพื่อน บ้านโดยมิหวังผลตอบแทนใดๆ เรียกว่า อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน หรือ อสม. ควรมีคุณสมบัติดังต่อไปนี้[/quote] [dropcap font=”Arial” color=”#cc0033″]1[/dropcap]มีความสมัครใจที่จะทำงานเพื่อส่วนรวมด้วยความเสียสละ และมีเวลาพอที่จะช่วยเหลือชุมชน
[dropcap font=”Arial” color=”#ffdf42“]2[/dropcap]มีความรู้อ่านออกเขียนได้
[dropcap font=”Arial” color=”#cc0033″]3[/dropcap]เป็นผู้ที่ชาวบ้านไว้วางใจ
[dropcap font=”Arial” color=”#ff9900″]4[/dropcap]มีที่อยู่อาศัยและประกอบอาชีพในหมู่บ้านนั้น ๆ
[dropcap font=”Arial” color=”#cc0033″]5[/dropcap]มีอาชีพแน่นอนและมีรายได้เลี้ยงตนเอง
[dropcap font=”Arial” color=”#ffdf42“]6[/dropcap]ตั้งบ้านเรือนอยู่ในสถานที่ที่ประชาชนไปติดต่อได้ง่าย
[dropcap font=”Arial” color=”#cc0033″]7[/dropcap]ไม่จำกัดเพศ และไม่จำกัดอายุ
[dropcap font=”Arial” color=”#ff9900″]8[/dropcap]ไม่ควรเป็นข้าราชการ กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน หรือแพทย์ประจำตำบล[divide icon=”circle” width=”medium”]

 

ในการคัดเลือกอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน จะคัดเลือกโดยวิธีออกเสียงในที่ประชุม ซึ่งประกอบด้วยกรรมการพัฒนาหมู่บ้าน (ถ้ามี) กลุ่มผู้สื่อข่าวสาธารณสุข และเจ้าหน้าที่สาธารณสุขตำบล แต่จะไม่มีการแต่งตั้งอย่างเป็นทางการจากทางราชการ เพื่อหลีกเลี่ยงความเข้าใจว่า อสม. เป็นข้าราชการ ตลอดระยะเวลากว่า 20 ปี ที่อาสาสมัครสาธารณสุข ได้มีส่วนร่วมในการให้ความช่วยเหลือประชาชนให้มีสุขภาพอนามัยดีขึ้น ช่วยให้ประเทศชาติลดค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลที่ไม่จำเป็นลง ได้อย่างมหาศาล

โดยทำหน้าที่ไนการ “แก้ข่าวร้ายกระจ่ายข่าวดีชี้บริการ ประสานงานสาธารณสุข บำบัดทุกข์ประชาชน ทำตนเป็นตัวอย่างที่ดี” ด้วยความวิริยุอุตสาหะ โดยปัจจุบันได้มีอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน หรือ อสม. เป็นจำนวนถึง 686,537 คน กระจายอยู่ทั่วประเทศทั้งในเขตเมือง และเขตชนบท เพื่อทำหน้าที่ในการ ถ่ายทอดความรู้ กระตุ้นเตือน และส่งเสริมชักชวนให้พี่น้องประชาชนดูแลสุขภาพและป้องกันโรค โดยปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพให้ถูกต้องตามแนวสุขบัญญัติแห่งชาติ 10 ประการ ทำให้ประชาชนมีสุขภาพอนามัยและคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

หน้าที่ความรับผิดชอบของอาสาสมัครสาธารณสุข (อสม.)

สื่อข่าวสารสาธารณสุขระหว่างเจ้าหน้าที่และประชาชนในหมู่บ้าน
ให้การส่งเสริมสุขภาพ การควบคุมและป้องกันโรค โดยให้คำแนะนำ ถ่ายทอดความรู้แก่เพื่อนบ้านและแกนนำสุขภาพประจำครอบครัว แกนนำชุมชนในเรื่องต่างๆ เกี่ยวกับการสร้างเสริมสุขภาพพลานามัยให้แข็งแรง และเกิดการเจ็บป่วยน้อยที่สุด

ให้บริการสาธารณสุขแก่ประชาชน เช่น การรักษาพยาบาลเบื้องต้น การปฐมพยาบาลเบื้องต้น การจ่ายถุงยางอนามัย การตรวจวัดความดันโลหิต การตรวจหาน้ำตาลในปัสสาวะ การตรวจหาน้ำตาลในเลือด การส่งต่อผู้ป่วย และการติดตามดูแลผู้ป่วยที่ได้รับการส่งต่อมาจากสถานบริการ
ปฏิบัติงานที่ ศูนย์สาธารณสุขมูลฐานชุมชน (ศสมช.) หรือสถานที่ตามกำหนดของหมู่บ้าน
จัดกิจกรรมเฝ้าระวังและป้องกันปัญหาสาธารณสุขในหมู่บ้าน เช่น กิจกรรมเฝ้าระวังทางโภชนาการ โดยการชั่งน้ำหนักเด็ก การติดตามหญิงมีครรภ์ให้มาฝากท้องและตรวจครรภ์ตามกำหนด ให้บริการชั่งน้ำหนักหญิงมีครรภ์เป็นประจำทุกเดือน ติดตามเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี และตรวจสุขภาพตามกำหนด กิจกรรมเฝ้าระวังด้านสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค โดยการติดตามให้มารดานำเด็กไปรับวัคซีนตามกำหนด และกิจกรรมเฝ้าระวังเรื่องโรคระบาดและโรคติดต่อประจำถิ่น โดยการกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์เชื้อโรคหรือพาหะนำโรค
บริหารจัดการวางแผน แก้ไขปัญหาและพัฒนาชุมชน โดยใช้งบประมาณจากองค์การบริหารส่วนตำบลและจากแหล่งอื่นๆ
ชักชวนเพื่อนบ้านเข้าร่วมกิจกรรมพัฒนาสุขภาพและพัฒนาคุณภาพชีวิตของชุมชน
ดูแลสิทธิประโยชน์ด้านหลักประกันสุขภาพและสาธารณสุขของประชาชนในหมู่บ้าน โดยเป็นแกนนำในการประสานงานกับผู้นำชุมชน องค์การบริหารส่วนตำบลและเครือข่ายสุขภาพ กระตุ้นให้มีการวางแผนและดำเนินงานเพื่อพัฒนางานสาธารณสุขของหมู่บ้าน บนพื้นฐานข้อมูลของชุมชน สอดคล้องกับเศรษฐกิจพอเพียง โดยเน้นพัฒนาและแก้ไขปัญหาด้านสังคมเศรษฐกิจและจิตใจควบคู่กันไป

[quote arrow=”yes”]กิจกรรมวันอาสาสมัครสาธารณสุขแห่งชาติ[/quote]

ในวันที่ 20 มีนาคมของทุกปี หน่วยงานและจังหวัดต่าง ๆ จะจัดกิจกรรมพิเศษเพื่อเป็นการเสริมสร้างความเข้มแข็ง ความสามัคคีในหมู่คณะ และสร้างขวัญกำลังใจในการปฏิบัติงานของ อสม. โดยจะมีการมอบประกาศเกียรติคุณและเชิดชูเกียรติให้แก่ อสม. ผู้ที่ปฏิบัติงานดีเด่นให้ปรากฏแก่สาธารณชน

นอกจากนี้ กระทรวงสาธารณสุขจะทำการคัดเลือก อสม. ที่มีผลงานดีเด่นตั้งแต่ระดับท้องถิ่นถึงระดับชาติ เพื่อจัดงานมอบรางวัลยกย่องและประกาศเกียรติคุณในวันอาสาสมัครสาธารณสุขแห่งชาติอีกด้วย

 

วันอาสาสมัครสาธารณสุข National health volunteer day