กระบวนการพัฒนาแผน

ตัวบ่งชี้ที่ 1.1  กระบวนการพัฒนาแผน

เกณฑ์มาตรฐานและผลการดำเนินงาน

เกณฑ์มาตรฐาน ผลการดำเนินงาน ข้อมูลหลักฐาน
1. มีการจัดทำแผนกลยุทธ์ที่สอดคล้องกับพันธกิจ วัตถุประสงค์และเป้าหมายของหน่วยงาน มีการนำแผนกลยุทธ์ไปเป็นแผนปฏิบัติการ โดยการมีส่วนร่วมของบุคลากรในหน่วยงาน และได้รับความเห็นชอบจากมหาวิทยาลัย       สำนักฯได้จัดทำแผนกลยุทธ์ที่สอดคล้องกับพันธกิจ วัตถุประสงค์และเป้าหมายของสำนักฯ ตามที่ปรากฎใน “แผนกลยุทธ์ และสรุปผลการดำเนินงานตามแผน สำนักหอสมุดและทรัพยากรสารสนเทศ ปีการศึกษา 2560-2564 : หน้า 6” โดยมีกลยุทธ์ 5 กลยุทธ์ ที่สอดคล้องกับ พันธกิจ 4 ด้าน วัตถุประสงค์ 4 ข้อ และเป้าหมายของสำนักฯ 6 ข้อ และมีตัวบ่งชี้ของแผนกลยุทธ์ จำนวน 21 ตัวบ่งชี้ ซึ่งนำไปสู่การจัดทำแผนปฏิบัติการประจำปี ซึ่งประกอบด้วยแผนงานและโครงการต่างๆ ที่สอดคล้อง กับยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยสยาม กับแผนกลยุทธ์ของสำนักหอสมุดฯ โดยบุคลากรในแต่ละแผนก/งานเป็นผู้นำเสนอแผนงาน/โครงการให้สอดคล้องกับเป้าหมายของสำนักฯ ที่ได้กำหนดไว้ ตามที่ปรากฎใน แผนปฏิบัติการประจำ (Routine Action  Plan : RAP) สำนักหอสมุดและทรัพยากรสารสนเทศ ปีการศึกษา 2564 : หน้า 4” ซึ่งแผนงาน/โครงการของสำนักฯ ได้นำเสนอไปยังสำนักแผนงานและวิจัยสถาบัน ซึ่งเป็นหน่วยงายที่เป็นศูนย์กลางรวมรวบแผนงาน/โครงการ เพื่อนำเสนอต่อมหาวิทยาลัยให้ความเห็นชอบ ในต้นปีการศึกษา

ความสอดคล้องของแผนกลยุทธ์กับพันธกิจ และวัตถุปรสงค์สำนักฯ
แผนกลยุทธ์

5 กลยุทธ์

พันธกิจ 4 ด้าน วัตถุประสงค์  4 ข้อ
1.บริหารทรัพยากรสารสนเทศ อย่างมีประสิทธิภาพสอดคล้องกับความต้องการของคนยุคใหม่ 1. พัฒนาทรัพยากรสารสนเทศของห้องสมุดให้สอดคล้องกับหลักสูตร และความต้องการของผู้ใช้บริการ 1. เพื่อจัดหาและรวบรวม (จัดซื้อรับบริจาค, แลกเปลี่ยน, และสร้างเครือข่าย) ทรัพยากรสารสนเทศที่สอดคล้อง เหมาะสมทั้งปริมาณและคุณภาพ และครอบคลุมทุกหลักสูตร/สาขาวิชาที่มหาวิทยาลัยเปิดสอน (Information Resource Center)
2.ความร่วมมือในการใช้ทรัพยากรร่วมกัน 2. พัฒนาห้องสมุดให้เป็นแหล่งเรียนรู้หลักของชุมชน และเอื้อต่อการเรียนรู้ตลอดชีวิต 2. เพื่อเป็นแหล่งให้บริการสารสนเทศ อย่างมีประสิทธิภาพ ด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัย
3.พัฒนาทักษะสารสนเทศ และทักษะการรอบรู้เทคโนโลยีสารสนเทศ

ให้กับผู้รับบริการ

 

3. พัฒนาบริการของห้องสมุดให้มีคุณภาพและส่งเสริมทักษะการเข้าถึงสารสนเทศ 3. เพื่อให้บริการวิชาการและส่งเสริมสนับสนุนการพัฒนาความรู้และการศึกษาเรียนรู้ด้วยตนเองให้กับบุคลากรภายในหน่วยงาน และบุคคลภายนอก ทั้งในมหาวิทยาลัยชุมชนและสังคม เพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิต
4.บริหารจัดการอย่างมีประสิทธิภาพสู่คุณภาพที่ยั่งยืน 4. พัฒนาการบริหารจัดการห้องสมุดให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล 4. เพื่อเป็นแหล่งข้อมูลข่าวสารที่ทันสมัย และแหล่งรวมคลังข้อมูลทรัพย์สินทางปัญญาของมหาวิทยาลัยสยาม
5.พัฒนาความรู้สู่การปฏิบัติ

 

4. พัฒนาการบริหารจัดการห้องสมุดให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล  
โดยมีบุคลากรในแต่ละแผนก/งานนำเสนอแผนงาน/โครงการที่สอดคล้องกับเป้าหมายสำนักฯ 6 ข้อ ดังนี้
เป้าหมาย 6 ข้อ

 

แผนงาน

10แผนงาน

โครงการ

14 โครงการ

1.มีทรัพยากรสารสนเทศครอบคลุมทุกสาขาวิชาที่เปิดสอน ทันสมัยและเพียงพอต่อความต้องการของผู้ใช้บริการ และทรัพยากรฯ มีการถูกใช้อย่างคุ้มค่า แผนงานที่ แผนพัฒนาและการจัดการทรัพยากรสารสนเทศ 1. โครงการ “การจัดหาทรัพยากรสารสนเทศ/ทรัพยากรที่เอื้อต่อการเรียนรู้”

2. โครงการ “การปรับปรุงคุณภาพรายการทรัพยากรสารสนเทศ”

2.สร้างเครือข่ายความร่วมมือกับภายนอกมหาวิทยาลัย เพื่อส่งเสริมการใช้ทรัพยากรสารสนเทศและบริการร่วมกันได้อย่างคุ้มค่าและมีประสิทธิภาพ พัฒนาแหล่งเรียนรู้ให้โรงเรียนและสถานประกอบการ และมีส่วนร่วมในการให้บริการแก่สังคม แผนงานที่ แผนพัฒนาเครือข่ายแหล่งเรียนรู้

 

3. โครงการ “ความร่วมมือกับกลุ่ม TU-THAIPUL ในการให้บริการยืมระหว่างห้องสมุด (Interlibrary loan) ด้วยระบบออนไลน์ EDS (EBSCO Discovery Service)”

4.โครงการ “ความร่วมมือการพัฒนาระบบ
สหบรรณานุกรม (Union Catalog) กับ
ห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษา”

3.ให้บริการสารสนเทศและองค์ความรู้ที่สามารถเข้าถึงได้สะดวกรวดเร็ว และถูกต้อง

 

แผนงานที่ แผนงานส่งเสริมการใช้บริการห้อง สมุดและทรัพยากรสารสนเทศ

แผนงานที่ แผนพัฒนาคุณภาพภายใน (Improvement Plan)

 

แผนงานที่ แผนงานบริหารความเสี่ยง (SU-ERM 2)

5. โครงการ “การส่งเสริมการรู้สารสนเทศและการเรียนรู้ตลอดชีวิต ปีการศึกษา 2564”

6. โครงการ “การประกันคุณภาพการปฏิบัติงานของสำนักหอสมุดและทรัพยากรสารสนเทศ มหาวิทยาลัยสยาม ปีการศึกษา 2564”

7.โครงการ “การปรับปรุงสภาพแวดล้อมและสิ่งอำนวยความสะดวกให้เอื้อต่อการเรียนรู้เพื่อมุ่งสู่ความเป็นห้องสมุดสีเขียว”

8.โครงการ “การบริหารจัดการความเสี่ยง”

4.เป็นศูนย์กลางการบริหารจัดการและการเผยแพร่ทรัพย์สินทางปัญญาของมหาวิทยาลัยสยาม ให้เกิดประโยชน์สูงสุด และเป็นแหล่งข้อมูลข่าวสารที่ทันสมัยของมหาวิทยาลัย

รวมทั้งมีระบบสารสนเทศเพื่อใช้ในการบริหารจัดการและการตัดสินใจ ได้อย่างเหมะสม

แผนงานที่ 6 แผนงานส่งเสริมคุณ ภาพการเรียนการสอนและการวิจัย

 

 

 แผนงานที่ 7  แผนงานการประชาสัมพันธ์และการสื่อสาร

 

แผนงานที่ 8 แผนงานพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารและการตัดสินใจ

9. โครงการ “เผยแพร่ทรัพย์สินทางปัญญาของมหาวิทยาลัยสยามในระบบTDC ของเครือข่าย ThaiLIS”

10.โครงการ “จัดทำฐานข้อมูลนักวิจัยของ
มหาวิทยาลัยสยาม”

11. โครงการ “การเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสารและบริการของสำนักหอสมุดและทรัพยากรสารสนเทศ”

12.โครงการ “การเผยแพร่ข้อมูลสารสนเทศเพื่อการบริกหารและการตัดสินใจด้วย Digital Content”

5.เป็นองค์กรต้นแบบแห่งการเรียนรู้ แผนงานที่ 9  แผนงานการจัดการความรู้ (KM) 13. โครงการ “การแบ่งปันและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ (KM): เพื่อการพัฒนาคุณภาพการปฏิบัติงาน”
6.บุคลากรมีสมรรถนะและศักยภาพแบบมืออาชีพ แผนงานที่ 10   แผนงานบริหารและการพัฒนาบุคลากร 14.โครงการ “เสริมทักษะและองค์ความรู้ของบุคลากรสำนักหอสมุดและทรัพยากรสารสนเทศ”
เอกสารหมายเลข 2

รายงานการประชุม คณะกรรมการบริหารสำนักทรัพยากรสารสนเทศ”

เอกสารหมายเลข 3

แผนกลยุทธ์ และสรุปผลการดำเนินงานตามแผน สำนักหอสมุดและทรัพยากรสารสนเทศ ปีการศึกษา 2560-2564 : หน้า 6

เอกสารหมายเลข 4

แผนปฏิบัติการประจำ (Routine Action  Plan : RAP) สำนักหอสมุดและทรัพยากรสารสนเทศ ปีการศึกษา 2564 :  หน้า 4

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

2. มีแผนระยะสั้นและระยะยาวในการให้บริการแก่ผู้รับบริการตามพันธกิจและวัตถุประสงค์ของ หน่วยงาน

 

สำนักฯ มีแผนระยะสั้น ซึ่งได้วางแผนไว้ในทุกปีการศึกษา โดยในปีการศึกษา 2564 สำนักฯ ได้วางแผนการดำเนินงานตามที่ปรากฏใน แผนปฏิบัติการประจำ (Routine Action  Plan : RAP) สำนักหอสมุดและทรัพยากรสารสนเทศ ปีการศึกษา 2564

ในส่วนของแผนระยะยาว สำนักฯได้วางแผนไว้ในระยะ 5 ปี เพื่อให้สอดคล้องกับแผนยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยสยาม ซึ่งอยู่ในระยะเวลา 5 ปี เช่นกัน คือ แผนกลยุทธ์ สำนักหอสมุดและทรัพยากรสารสนเทศ ปีการศึกษา 2560-2564 ซึ่งได้แสดงให้เห็นถึงความสอดคล้องของแผนกลยุทธ์ กับพันธกิจ และวัตถุปรสงค์ของสำนักฯ ตามที่ปรากฏใน แผนกลยุทธ์ และสรุปผลการดำเนินงานตามแผน สำนักหอสมุดและทรัพยากรสารสนเทศ ปีการศึกษา 2560-2564

เอกสารหมายเลข 4

แผนปฏิบัติการประจำ (Routine Action  Plan : RAP) สำนักหอสมุดและทรัพยากรสารสนเทศ ปีการศึกษา 2564 

เอกสารหมายเลข 3

แผนกลยุทธ์ และสรุปผลการดำเนินงานตามแผน สำนักหอสมุดและทรัพยากรสารสนเทศ ปีการศึกษา 2560-2564

3. มีตัวบ่งชี้ของแผนงานและโครงการ และค่าเป้าหมายของแต่ละตัวบ่งชี้ เพื่อวัดความสำเร็จของการดำเนินงานตามแผนและโครงการ        สำนักฯ มีแผนงานรวม 10 แผนงาน ได้กำหนดตัวบ่งชี้และค่าเป้าหมายเพื่อวัดความสำเร็จของตัวบ่งชี้ของแผนงาน รวม 11 ตัวบ่งชี้ และมีโครงการทั้งหมด 14 โครงการ โดยมีตัวบ่งชี้และค่าเป้าหมายเพื่อวัดความสำเร็จของโครงการรวมทั้งหมด  30  ตัวบ่งชี้  ได้แก่

แผนงานที่ 1  แผนพัฒนาและการจัดการทรัพยากรสารสนเทศ ตัวบ่งชี้ของแผนงาน: ระบบและกลไกการจัดหาทรัพยากรสารสนเทศ มีค่าคะแนนอยู่ในระดับ 5 (ดีมาก) 

ตัวบ่งชี้ความสำเร็จของโครงการ 2 โครงการ  4 ตัวชี้วัด

1.โครงการ “การจัดหาทรัพยากรสารสนเทศ/ทรัพยากรที่เอื้อต่อการเรียนรู้ตามความต้องการของผู้ใช้บริการ ปีการศึกษา 2564”

  • ร้อยละของการจัดซื้อจัดหาทรัพยากรฯ ที่ตรงตามความต้องการของผู้ใช้บริการ (จาก“แบบเสนอแนะทรัพยากรสารสนเทศสำหรับผู้ใช้เพื่อจัดหาเข้าสำนักหอสมุดฯ”) ร้อยละ 90
  • มีการจัดซื้อจัดหาทรัพยากรฯ ที่ตรงตามหลักสูตรที่เปิดสอนในมหาวิทยาลัย (จาก มคอ.3 ) ครบทุกกลุ่มสาขาวิชา(6 กลุ่มสาขาวิชา)
  • ความคุ้มค่าของการใช้งบประมาณในการจัดซื้อทรัพยากรสารสนเทศ ต่อการใช้ทรัพยากรสารสนเทศ อยู่ในระดับดีขึ้นกว่าปีการศึกษาที่ผ่านมา

2.โครงการ “การปรับปรุงคุณภาพรายการทรัพยากรสารสนเทศ”

  • มีจำนวนหนังสือที่มีภาพปกและสารบัญอิเล็กทรอนิกส์ใน “ฐานข้อมูลทรัพยากรสารสนเทศของสำนักทรัพยากรสารสนเทศ (OPAC)”เพิ่มขึ้น 300 ชื่อเรื่อง

แผนงานที่ 2  แผนพัฒนาเครือข่ายแหล่งเรียนรู้ ตัวบ่งชี้ของแผนงาน:  มีความร่วมมือในการใช้ทรัพยากรร่วมกันอย่างน้อย 1 หน่วยงาน/เครือข่าย : 

ตัวบ่งชี้ความสำเร็จของโครงการ 2 โครงการ  3 ตัวชี้วัด

1.โครงการ “ความร่วมมือกับกลุ่ม TU-THAIPUL ในการให้บริการยืมระหว่างห้องสมุด (Interlibrary loan) ด้วยระบบออนไลน์ EDS (EBSCO Discovery Service)”

  • สถาบันกลุ่ม TU-THAIPUL มีความร่วมมือ ในการใช้ทรัพยากรสารสนเทศร่วมกันด้วยระบบ EDS สามารถลดงบประมาณในการจัดซื้อทรัพยากรสารสนเทศที่ยืมระหว่างห้องสมุด ILL (Inter Library Loan ลงได้มาก กว่า 1 ล้านบาท/ ปี
  • สมาชิกของสำนักหอสมุดและทรัพยากรสารสนเทศมหาวิทยาลัยสยาม สามารถขอใช้ทรัพยากรฯ ของกลุ่ม TU-THAIPUL ได้สำเร็จ ร้อยละ 90

2.โครงการ “ความร่วมมือการพัฒนาระบบสหบรรณานุกรม (Union Catalog) กับห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษา”

  • ห้องสมุดของมหาวิทยาลัยสยามได้เข้าร่วมเครือข่ายสหบรรณานุกรม(Union Catalog)ของห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษา

แผนงานที่ 3  แผนงานส่งเสริมการใช้บริการห้องสมุดและทรัพยากรสารสน ตัวบ่งชี้ของแผนงาน: ระดับความสำเร็จการบรรลุเป้าหมายตามแผนการส่งเสริมการใช้บริการห้องสมุดและทรัพยากรสารสนเทศไม่ต่ำกว่าร้อยละ 80: 

ตามตัวบ่งชี้ความสำเร็จของโครงการ 1 โครงการ  2  ตัวชี้วัด

  1. โครงการ “การส่งเสริมการรู้สารสนเทศและการเรียนรู้ตลอดชีวิต ปีการศึกษา 2564”
  • ร้อยละของการจัดกิจกรรมตามที่กำหนดไว้ ร้อยละ 80
  • ระดับความพึงพอใจของผู้เข้าร่วมกิจกรรมอยู่ในระดับมากขึ้นไป

แผนงานที่ 4  แผนพัฒนาคุณภาพภายใน (Improvement Plan) ตัวบ่งชี้ของแผนงาน: 1) การประกันคุณภาพการศึกษาภายในของสำนักฯมีค่าคะแนนอยู่ในระดับดีกว่าปีการศึกษาที่ผ่านมา (ปีการศึกษา 2563 คะแนน 4.21 คะแนน) 2) ผลการพัฒนาและปรับปรุงการปฏิบัติงานด้านที่ได้คะแนนน้อยที่สุด (การจัดสภาพแวดล้อมและสิ่งอำนวยความสะดวกให้เอื้อต่อการเรียนรู้) มีค่าคะแนน อยู่ในระดับดีขึ้นกว่าปีการศึกษาที่ผ่านมา (ปีการศึกษา 2563 คะแนน 2 คะแนน) :

ตัวบ่งชี้ความสำเร็จของโครงการ 2 โครงการ 5 ตัวชี้วัด

1.โครงการ “การประกันคุณภาพการปฏิบัติงานของสำนักหอสมุดและทรัพยากรสารสนเทศ ปีการศึกษา2564”

  • มีเอกสาร รายงานการประเมินตนเอง (SAR)” และ“รายงานประจำปี” เพื่อการตรวจประเมินได้ทันตามที่กำหนดภายใน 1 สัปดาห์ก่อนวันตรวจประเมิน
  • มีการนำผลการประเมินความพึงพอใจด้านที่ได้คะแนนในระดับน้อยที่สุดจากปีการศึกษาที่ผ่านมา มาแก้ไขปรับปรุงและพัฒนาการให้บริการให้ได้คะแนนเพิ่มมากขึ้น
  • ผลการประเมินตนเองประจำปีการศึกษา 2564 มีคะแนนเพิ่มขึ้น

2.โครงการ “การปรับปรุงสภาพแวดล้อมและสิ่งอำนวยความสะดวกให้เอื้อต่อการเรียนรู้เพื่อมุ่งสู่ความเป็นห้องสมุดสีเขียว”

  • ร้อยละ 80 ของการดำเนินงานตามกิจกรรมที่กำหนดไว้
  • ผู้ใช้บริการมีความพึงพอใจด้านที่ได้คะแนนอยู่ในระดับน้อยคือด้านอุปกรณ์และเครื่องมือที่ให้บริการ มีค่าระดับคะแนนเพิ่มขึ้นอยู่ในระดับมากกว่า ปีการศึกษาที่ผ่านมา (67)

แผนงานที่ 5  แผนงานบริหารความเสี่ยง (SU-ERM 2) ตัวบ่งชี้ของแผนงาน:  5  ความเสี่ยงของสำนักฯ ที่อยู่ในระดับสูง ลดลงอย่างน้อย 1 ปัจจัย: ตัวบ่งชี้ความสำเร็จของโครงการ 1 โครงการ 2 ตัวชี้วัด

1.โครงการ “การจัดการความเสี่ยง”

  • สำนักฯ มีการวิเคราะห์ความเสี่ยงและมีแผนบริหารความเสี่ยง
  • ระดับความเสี่ยงสูงลดลงหรือไม่เพิ่มขึ้นอย่างน้อย 1 ประเด็น

แผนงานที่ 6  แผนงานพัฒนาคลังข้อมูลดิจิทัลของมหาวิทยาลัยสยาม ตัวบ่งชี้ของแผนงาน: มีคลังข้อมูล เพื่อการเผยแพร่ทรัพย์สินทางปัญญาของมหาวิทยาลัยสยาม ตามโครงการในแผนงานบรรลุผลสำเร็จ ร้อยละ 100บรรลุ

ตัวบ่งชี้ความสำเร็จของโครงการ 2 โครงการ  3 ตัวชี้วัด

1.โครงการ “เผยแพร่ทรัพย์สินทางปัญญาของมหาวิทยาลัยสยามในระบบTDC ของเครือข่าย ThaiLIS”

  • จำนวนของข้อมูลผลงานวิชาการ/วิจัยและวิทยานิพนธ์เนื้อหาฉบับเต็ม (Full Text)ของมหาวิทยาลัยสยาม ในระบบTDC ของเครือข่าย ThaiLIS ในปี 2564 มีร้อยละ 80 จากจำนวนทั้งหมดที่เผยแพร่ในฐานข้อมูลภายในของมหาวิทยาลัยสยาม

2.โครงการ “รวมรวมข้อมูลนักวิจัยของมหาวิทยาลัยสยามที่มีผลงานในฐานข้อมูล SCOPUS

  • รวบรวมข้อมูลนักวิจัยของมหาวิทยาลัยสยามจากฐานข้อมูล SCOPUS ได้ครบถ้วน
  • มีข้อมูลและผลงานของนักวิจัยมหาวิทยาลัยสยามที่ https://e-library.siam.edu/e-journal  เพิ่มขึ้นร้อยละ 10

แผนงานที่ 7  แผนงานการประชาสัมพันธ์และการสื่อสาร ตัวบ่งชี้ของแผนงาน: ระบบและกลไกในการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารต่างๆ ของหน่วยงานอยู่ในระดับ 5 (ดีมาก): 

ตัวบ่งชี้ความสำเร็จของโครงการ 1 โครงการ  4  ตัวชี้วัด

  1. โครงการ “การเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสารและบริการของสำนักหอสมุดและทรัพยากรสารสนเทศ”
  • ร้อยละของการจัดกิจกรรมการเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสารของสำนักฯตามที่กำหนดร้อยละ 80
  • มีการพัฒนาข้อมูล /ข่าวสาร/สารสนเทศ ไม่น้อยกว่า 366 เรื่อง/ปี
  • มีการเข้าใช้เว็บไซต์สำนักฯ เพิ่มมากขึ้นกว่าปีการศึกษาที่ผ่านมา ไม่น้อยกว่าร้อยละ 10
  • ผู้ใช้บริการมีความพึงพอใจด้านการประชาสัมพันธ์และการสื่อสารของสำนักฯ ไม่ต่ำกว่าระดับ 51

แผนงานที่ 8 แผนงานพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารและการตัดสินใจ ตัวบ่งชี้ของแผนงาน: ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารและการตัดสินใจของสำนักฯ มีค่าคะแนนอยู่ในระดับ 5 (ดีมาก): 

ตัวบ่งชี้ความสำเร็จของโครงการ 1 โครงการ 2 ตัวชี้วัด

1.โครงการ “การเผยแพร่ข้อมูลสารสนเทศเพื่อการบริหารและการตัดสินใจด้วย Digital Content

  • สำนักฯ มีข้อมูลสารสนเทศ เพื่อการบริหารและการตัดสินใจครบทุกด้านตามที่กำหนดไว้ในกิจกรรมร้อยละ 80
  • ระดับความพึงพอใจของผู้ใช้ข้อมูลสารสนเทศมีค่าระดับเฉลี่ยไม่ต่ำกว่า 51

แผนงานที่ 9 แผนงานการจัดการความรู้ (KM) ตัวบ่งชี้ของแผนงาน: ระบบการพัฒนาหน่วยงานสู่การเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้อยู่ในระดับ 5 (ดีมาก): บรรลุ

ตัวบ่งชี้ความสำเร็จของโครงการ 1 โครงการ  2  ตัวชี้วัด

  1. โครงการ “การแบ่งปันและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ (KM): เพื่อการพัฒนาคุณภาพการปฏิบัติงาน”
  • มีการเผยแพร่องค์ความรู้ที่รวบรวมได้จากกิจกรรมการแบ่งปันและแลกเปลี่ยนเรียนรู้อย่างน้อย 3 เรื่อง
  • บุคลากรที่เข้าร่วมกิจกรรม สามารถนำประเด็นความรู้ที่ได้รับไปประยุกต์ ใช้ในการปฏิบัติงานจริง อย่างน้อย 3 เรื่อง

แผนงานที่ 10   แผนงานบริหารและการพัฒนาบุคลากร ตัวบ่งชี้ของแผนงาน: ระบบการบริหารและพัฒนาบุคลากรอยู่ในระดับ 5 (ดีมาก) : บรรลุ

ตัวบ่งชี้ความสำเร็จของโครงการ 1 โครงการ  3  ตัวชี้วัด

1.โครงการ “เสริมทักษะและองค์ความรู้ของบุคลากรสำนักหอสมุดและทรัพยากรสารสนเทศ”

  • จำนวนบุคลากรของสำนักฯที่ได้รับการพัฒนาเป้าหมายไม่ต่ำกว่าร้อยละ 85 ต้องได้รับการพัฒนาสมรรถนะ ทั้งทางด้านความรู้และทักษะต่างๆไม่ต่ำกว่า 2 ครั้งต่อ 1 ปี
  • บุคลากรสำนักฯ อย่างน้อย 8 คน (ร้อยละ 33) ต้องเรียนออนไลน์ และได้รับประกาศนียบัตร/ E-Certification จำนวน 2 รายวิชา
  • บุคลากรได้รับการพัฒนาศักยภาพและทักษะด้านภาษาอังกฤษ เป้าหมายร้อยละ 50 ที่ได้รับการอบรมหรือเรียนออนไลน์รายวิชาภาษาอังกฤษ และได้รับประกาศนียบัตร/ E-Certification  อย่างน้อยคนละ 2 ใบ/ปีการศึกษา
เอกสารหมายเลข 4

แผนปฏิบัติการประจำ (Routine Action  Plan : RAP) สำนักหอสมุดและทรัพยากรสารสนเทศ ปีการศึกษา 2564: หน้า 9-10

 

4. มีการดำเนินงานตามแผนงานและโครงการตามพันธกิจของหน่วยงาน   สำนักฯ มีแผนงานรวม 10 แผนงาน ได้กำหนดตัวบ่งชี้และค่าเป้าหมายเพื่อวัดความสำเร็จของตัวบ่งชี้ของแผนงาน รวม 11 ตัวบ่งชี้ และมีโครงการทั้งหมด 14 โครงการ โดยมีตัวบ่งชี้และค่าเป้าหมายเพื่อวัดความสำเร็จของโครงการรวมทั้งหมด  30  ตัวบ่งชี้  และได้มีการดำเนินงานตามแผนงานและโครงการตามพันธกิจของหน่วยงานที่ได้กำหนดไว้บรรลุผลสำเร็จตามตัวบ่งชี้ของแผนงานและโครงการ ดังนี้

  • บรรลุเป้าหมายตามตัวบ่งชี้ความสำเร็จของแผนงานจำนวน 8 ตัวชี้วัดคิดเป็นร้อยละ 72.73
  • บรรลุเป้าหมายตามตัวบ่งชี้ความสำเร็จของโครงการจำนวน 23 ตัวชี้วัด คิดเป็นร้อยละ 76.66
เอกสารหมายเลข

สรุปแผนปฏิบัติการประจำ (Routine Action  Plan : RAP) สำนักหอสมุดและทรัพยากรสารสนเทศ ปีการศึกษา 2564 

5. มีการติดตามและประเมินผลการดำเนินงานตามตัวบ่งชี้ของแผนงานและรายงานผลต่อผู้บริหาร เพื่อพิจารณา         “คณะกรรมการบริหารสำนักหอสมุดและทรัพยากรสารสนเทศ” ได้มีการติดตามผลการดำเนินงานของแผนงานและโครงการ โดยได้รายงานผลต่อ สำนักแผนงานและวิจัยสถาบันของมหาวิทยาลัย ปีละ 2 ครั้ง ซึ่งสำนักแผนงานฯ เป็นผู้ทำหน้าที่ในการนำเสนอต่อสภามหาวิทยาลัยตามลำดับต่อไป สำนักฯรายงานผลการดำเนินงานครั้งที่ 1 ในภาคการศึกษาที่ 1/2563 โดยได้แจ้งผลการดำเนิงานตาม แบบฟอร์มสำรวจโครงการปีการศึกษา 2564” ไปยัง“สำนักแผนงานและวิจัยสถาบัน” ทาง email เมื่อวันที่ 16 .. 2564 และเมือสิ้นสุดปีการศึกษา 2564 สำนักฯได้รายงานผลการดำเนินงานครั้งที่ 2 ตามเอกสารสรุปแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ของสำนักหอสมุดและทัพยากรสารสนเทศ ประจำปีการศึกษา 2564” ทาง email ภายในวันที่ 15 มิ.ย. 2565 เอกสารหมายเลข 22.3

email ลงวันที่ 16 .. 64

เอกสารหมายเลข 22.4

email ลงวันที่ 15 มิ.. 65

6. มีการนำผลการพิจารณา ข้อคิดเห็น และข้อเสนอแนะของสถาบันไปปรับปรุงแผนกลยุทธ์และแผนปฏิบัติการประจำปี คณะทำงานด้านแผนงาน/โครงการ ของสำนักฯ ได้นำข้อเสนอแนะจากคณะกรรมการผู้ตรวจประเมินการประกันคุณภาพ ซึ่งได้เสนอแนะด้านแผนกลยุทธ์และแผนปฏิบัติการประจำปีไว้ จากการประเมินคุณภาพการปฏิบัติงานของสำนักฯ ปีการศึกษา 2563 และได้นำปัญหาจากการดำเนินงานตามแผนงาน/โครงการในปีการศึกษา 2564 ไปแก้ไขปรับปรุงในปีการศึกษา 2565 โดยสำนักฯ ได้นำมาปรับปรุง ดังนี้

ข้อเสนอแนะ : ควรระบุให้ชัดเจนถึงความสอดคล้องระหว่างแผนกลยุทธ์ กับพันธกิจ วัตถุประสงค์และเป้าหมายของสำนักฯ โดยแสดงให้เห็นว่าแผนกลยุทธ์ใดสอดคล้องกับพันธกิจ วัตถุประสงค์และเป้าหมายใดของสำนักฯ

การปรับปรุง : คณะทำงานด้านแผนงานโครงการ สำนักฯ ได้มีการปรับปรุงแผนกลยุทธ์ โดยได้กำหนดค่าเป้าหมายความสำเร็จของแผนกลยุทธ์ในปีการศึกษา 2564 ไว้ที่ร้อยละ 80 จากค่าเป้าหมายความสำเร็จ 21 ตัวชี้วัด รวมทั้งระบุความสอดคล้องระหว่างแผนกลยุทธ์ กับพันธกิจ วัตถุประสงค์และเป้าหมายของสำนักฯ ไว้อย่างชัดเจนตามตาราง“แผนกลยุทธ์ที่สอดคล้องกับพันธกิจ วัตถุประสงค์และเป้าหมายสำนักฯ” ซึ่งปรากฏอยู่ใน“แผนกลยุทธ์ และสรุปผลการดำเนินงานตามแผน สำนักหอสมุดและทรัพยากรสารสนเทศ ปีการศึกษา 2560-2564 : หน้า 6-8”

ข้อเสนอแนะ : สำนักฯ ควรมีการปรับตัวบ่งชี้ของแต่ละแผนงานให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของแผน เพื่อให้สามารถประเมินได้อย่างชัดเจนว่าการดำเนินงานตามแผนนั้นบรรลุวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้หรือไม่อย่างไร

การปรับปรุง : สำนักฯ ได้มีการปรับปรุงตัวบ่งชี้ของแต่ละแผนงานให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของแผน จากจำนวนแผนงานทั้งหมด 10 แผนงาน และปรับปรุงตัวชี้วัด 11 ตัวชี้วัด ให้สอดคล้องกับ 11 วัตถุประสงค์ของแผนงาน  เพื่อให้สามารถประเมินได้อย่างชัดเจนตามตาราง “แผนงาน/โครงการ ที่สอดคล้องกับเป้าหมาย/เป้าประสงค์ของสำนักฯ ปีการศึกษา 2564” ซึ่งปรากฏอยู่ใน “แผนปฏิบัติการประจำ (Routine Action  Plan : RAP) สำนักหอสมุดและทรัพยากรสารสนเทศ ปีการศึกษา 2564 : หน้า 10-13”

ปัญหาจากการดำเนินงานแผนงาน/โครงการในปีการศึกษา 2564 : คณะทำงานด้านแผนงาน/โครงการ ไม่สื่อสารหรือถ่ายทอดแผนกลยุทธ์ไปยังบุคลากร และสำนักฯ มีหลายส่วนงานการนำเสนอโครงการมาจากบุคลากรหลายส่วนงานเพื่อให้ครอบคลุมงานตามพันธกิจของสำนักฯ จึงเกิดความล่าช้าในการจัดส่งแผนงาน/โครงการไปยังสำนักแผนงานฯ

การปรับปรุงในปีการศึกษา 2565 : สำนักฯ ได้รวบรวมแผนงาน/โครงการที่มีงบประมาณค่าใช้จ่าย จัดส่งไปยังสำนักแผนงานฯ ตามกรอบระยะเวลาที่สำนักแผนงานฯ กำหนด และปรับปรุงหรือนำเสนอแผนงาน/โครงการที่ไม่มีค่าใช้จ่ายใน ภายหลัง และได้รวบรวมแผนงานและโครงการให้ครบถ้วน พร้อมทั้งจัดทำ “แผนปฏิบัติการประจำ (Routine Action  Plan : RAP) สำนักหอสมุดและทรัพยากรสารสนเทศ ปีการศึกษา 2565

เอกสารหมายเลข 3

แผนกลยุทธ์ และสรุปผลการดำเนินงานตามแผน สำนักหอสมุดและทรัพยากรสารสนเทศ ปีการศึกษา 2560-2564 : หน้า 6-8

เอกสารหมายเลข 4

แผนปฏิบัติการประจำ (Routine Action  Plan : RAP) สำนักหอสมุดและทรัพยากรสารสนเทศ ปีการศึกษา 2564 : หน้า 10-13

ผลการดำเนินงาน  ……6…… ข้อ

 

 เกณฑ์การประเมิน

1 คะแนน 2 คะแนน 3 คะแนน 4 คะแนน 5 คะแนน
1-2 ข้อ 3 ข้อ 4 ข้อ 5 ข้อ 6 ข้อ

 เป้าหมายของสำนัก ..6.. ข้อ

ผลการดำเนินงาน   ..6.. ข้อ

ผลการประเมินตนเอง   :   ..5.. คะแนน