การให้บริการห้องสมุดดิจิทัล (Digital Library)

ตัวบ่งชี้ที่ 2.5 การให้บริการห้องสมุดดิจิทัล (Digital Library)

เกณฑ์มาตรฐานและผลการดำเนินงาน

เกณฑ์มาตรฐาน ผลการดำเนินงาน ข้อมูลหลักฐาน
1. มีการวางแผนและจัดระบบการให้บริการห้องสมุดดิจิทัล สำนักฯ มีเป้าหมายในการ “ให้บริการสารสนเทศและองค์ความรู้ที่สามารถเข้าถึงได้สะดวก รวดเร็ว และถูกต้อง” จึงได้วางแผนและจัดระบบการให้บริการห้องสมุดดิจิทัลไว้ ซึ่งอยู่ภายใต้ 2 แผนงาน และ 3 โครงการ ดังนี้

1.แผนงานพัฒนาคลังข้อมูลดิจิทัลของมหาวิทยาลัยสยาม มีโครงการภายใต้แผนงาน 2 โครงการ ได้แก่

  • 1) โครงการ “การเผยแพร่ทรัพย์สินทางปัญญาของมหาวิทยาลัยสยามในระบบ TDC ของเครือข่าย ThaiLIS”
  • 2) โครงการ “รวมรวมข้อมูลนักวิจัยของ มหาวิทยาลัยสยามที่มีผลงานในฐานข้อมูล SCOPUS”

2.แผนงานการประชาสัมพันธ์และการสื่อสาร มีโครงการภายใต้แผนงาน 1 โครงการ คือ โครงการ “การเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสารและบริการของสำนักหอสมุดและทรัพยากรสารสนเทศ”

เอกสารหมายเลข 4

แผนปฏิบัติการประจำ (Routine Action  Plan : RAP) สำนักหอสมุดและทรัพยากรสารสนเทศ ปีการศึกษา 2564

2. มีการจัดบริการที่ครอบคลุมแหล่งสืบค้น ฐานข้อมูลด้านการสอนและการวิจัย สำนักฯ ได้จัดบริการโปรแกรมสืบค้นและแหล่งสืบค้นทรัพยากรสารสนเทศภายในสำนักฯ และทรัพยากรอันเป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยสยาม รวมทั้งฐานข้อมูลวิชาการออนไลน์ที่สอดคล้องและครอบคลุมกับหลักสูตรการเรียนการสอนและการวิจัย ดังนี้

1. โปรแกรม EDS: EBSCO Discover Service คือ กล่องการสืบค้นเดียว (Single Search/One Search) สำหรับค้นหาทรัพยากรทั้งหมดของห้องสมุดมหาวิทยาลัยสยาม และของห้องสมุดเครือข่าย รวมทั้งทรัพยากรที่อยู่ในฐานข้อมูลระบบเปิด เพียงคลิกครั้งเดียวก็สามารถแสดงผลลัพธ์ได้ครอบคลุมทุกประเภททรัพยากรและเชื่อมโยงการให้บริการยืมระหว่างห้องสมุดจากห้องสมุดในประเทศไทยจำนวน 13 แห่ง ที่ใช้โปรแกรม EDS สามารถค้นหาทรัพยากรที่อยู่ในกล่องนี้ถึง 2,010,864,045 รายการ (ข้อมูล ณ วันที่ 17 มิถุนายน 2565)

2.ฐานข้อมูลทรัพยากรสารสนเทศที่มีภายในสำนักฯ (ELIB Information Resources/Catalog) ซึ่งมีทรัพยากรมากกว่า 230,000  รายการ เข้าถึงได้ที่ http://110.164.153.240/elib/

 3.  ฐานข้อมูลคลังปัญญามหาวิทยาลัยสยาม (e-Research / Digital Collection Siam Uinersity (วิจัย วิทยานิพนธ์ สารนิพนธ์ โครงงาน/สหกิจศึกษา) ซึ่งมีทรัพยากรจำนวน 7417  รายการ เข้าถึงได้ที่ https://e-research.siam.edu/

4. ฐานข้อมูลวิชาการออนไลน์เชิงพาณิชย์ EBSCO HOST ซึ่งประกอบด้วยฐานข้อมูลย่อยครอบคลุมในหลากหลายสาขาวิชา จำนวน 13 ฐาน ชึ่งมีข้อมูลที่มีเนื้อหาฉบับเต็ม 341,576 ชื่อเรื่อง (ข้อมูล ณ วันที่ 2 มิถุนายน 2565) ดังนี้

  1. EBSCO HOST : Academic Search Complete” เป็นฐานข้อมูลที่มีเนื้อหาครอบคลุมในหลายสาขาวิชาทั้งวิทยาศาสตร์ (รวมทั้ง food science) วิศวกรรมศาสตร์ คอมพิวเตอร์ สังคมศาสตร์ ศิลปศาสตร์ นิเทศศาสตร์  มี peer-reviewed full text มากถึง 10,593 บทความ
  2. EBSCO HOST : Academic Search Premierเป็นฐานข้อมูลที่มีเนื้อหาครอบคลุมในหลายสาขาวิชาทั้งวิทยาศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ คอมพิวเตอร์ สังคมศาสตร์ ศิลปศาสตร์ นิเทศศาสตร์ จากวารสารต่างๆ มี peer-reviewed full text มากถึง 6,050 บทความ
  3. EBSCO HOST : Business Source Complete” ซึ่งเป็นฐานข้อมูลที่มีเนื้อหาชนิดเต็มรูปแบบซึ่งครอบคลุมสาขาวิชาด้านการบริหารจัดการตั้งแต่ปี 1886 จากวารสารต่างๆ รวมกว่า 2,300 ชื่อเรื่อง มี peer-reviewed full text มากถึง 45,312 บทความ ในด้านธุรกิจการบริหารการตลาดการโฆษณา บัญชีการเงิน การลงทุน เศรษฐศาสตร์การธนาคาร MIS, POM ตลอดจนรายงานการประชุม การสัมมนารวมทั้งบทวิเคราะห์บริษัทชั้นนําทั่วโลกจากวารสารต่างๆ รวมกว่า 10,000 บริษัท
  4. EBSCO HOST : Business Source Premier” ซึ่งเป็นฐานข้อมูลที่มีเนื้อหาชนิดเต็มรูปแบบซึ่งครอบคลุมสาขาวิชาด้านการบริหารจัดการ มี peer-reviewed full text มากถึง 30,929 บทความ
  5. EBSCO HOST : Communication & Mass Media Complete” ครอบคลุมสาขาวิชาด้านนิเทศศาสตร์และที่เกี่ยวข้อง ตั้งแต่ปี 1915 จากวารสารวิชาการต่างๆ กว่า 553 ชื่อเรื่องที่ท่านสามารถเข้าไปสืบค้นได้ในรูปแบบ full text
  6. EBSCO HOST : Computers & Applied Sciences Complete” ครอบคลุมเนื้อหาการวิจัยและพัฒนาการทางด้านคอมพิวเตอร์และวิชาการที่เกี่ยวข้อง ซึ่งท่านสามารถสืบค้นข้อมูลฉบับเต็มได้จากวารสารทางด้านดังกล่าวถึงกว่า 1,253 ชื่อเรื่อง
  7. EBSCO HOST : Education Research Complete” ครอบคลุมสาขาวิชาด้านการศึกษาในทุกระดับการศึกษาตั้งแต่วัยเด็กจนถึงอุดมศึกษา จากวารสารต่างๆ ในรูปการค้นเนื้อหาฉบับเต็มรวมกว่า 2,275 ชื่อเรื่อง
  8. EBSCO HOST : Hospitality & Tourism Complete” ครอบคลุมเนื้อหาด้านอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวการโรงแรมตั้งแต่ปี 1965 จากวารสารต่างๆ โดยสามารถสืบค้นในรูปแบบเนื้อหาฉบับเต็มรวมกว่า 498 ชื่อเรื่อง
  9. EBSCO HOST : Regional Business News” ให้บริการข้อมูลในรูปแบบของเอกสารฉบับเต็ม จากหนังสือพิมพ์ วารสาร และสํานักข่าวทางสาขาบริหารธุรกิจกว่า 80 แหล่ง ที่ตีพิมพ์และเผยแพร่ในสหรัฐอเมริกา โดยสามารถสืบค้นในรูปแบบเนื้อหาฉบับเต็มรวมกว่า 413 ชื่อเรื่อง
  10. EBSCO HOST MEDLINE Complete” เป็นฐานข้อมูลทางด้านการแพทย์ที่สําคัญและเป็นที่รู้จักกันดีประกอบด้วยข้อมูลแบบเต็ม จากวารสารชั้นนําด้านการแพทย์โดยตรง จํานวนมากกว่า 2,100 รายชื่อและดรรชนีจากวารสารต่าง ๆ อีกมากมายนับไม่ถ้วน
  11. EBSCO HOST: EBSCO E-Books จำนวนกว่า 217,308 ชื่อเรื่อง
  12. EBSCO HOST: EBSCO Open Access Journalsวารสารต่างประเทศ (Publications Search) จำนวน 24,206 ชื่อเรื่อง
  13. “ERIC (The Education Resource Information Center)” ประกอบด้วยข้อมูลทางการศึกษาเป็นจํานวนมากกว่า 1.3 ล้านรายการโดยสามารถสืบค้นข้อมูลฉบับเต็มได้ถึงกว่า 323,000 รายการ ทั้งนี้ท่านสามารถสืบค้นย้อนหลังได้ถึงค.ศ.1966

5. ฐานข้อมูลวิชาการออนไลน์เชิงพาณิชย์ UptoDate เป็นฐานข้อมูลทางด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านฐานข้อมูลเชิงประจักษ์ทางการแพทย์ชั้นนำที่ให้ข้อมูลในการแนะนำและช่วยตัดสินใจแก่แพทย์ที่ประจำจุดรักษาพยาบาลได้อย่างทันท่วงที ให้เนื้อหาพร้อมทั้งเอกสารอ้างอิง, รูปภาพและวิดีโอประกอบเพื่อความเข้าใจได้ง่ายยิ่งขึ้น รวมไปถึงข้อมูลสำหรับผู้ป่วย และฐานข้อมูลยา >11,000 topics

6. ฐานข้อมูลวิชาการออนไลน์ระบบเปิด  (Open Access Database) ได้รวมรวมไว้บริการมากกว่า 60 ฐานข้อมูล โดยมีฐานข้อมูลงานวิจัย ในประเทศไทย ที่ได้รวมรวมไว้บริการมากกว่า 10 ฐานข้อมูล และได้รวบรวมฐานข้อมูลวิชาการออนไลน์ระบบเปิด“OPEN ACCESS DATABASE” มากกว่า 50 ฐานไว้ในฐานข้อมูลเดียว (EBSCO HOST) อาทิเช่น ฐานข้อมูล  DOAB, DOAJ, F1000Research, Nature Journals Online (Open Access), PLoS – Public Library of Science, ScienceDirect Open Access Titles เป็นต้น

7. ฐานข้อมูลทรัพยากรสารสนเทศเครือข่าย TU-THAIPUL / EDS THAIPUL ซึ่งมีจำนวนหนังสือ 2,097,729 รายการ และมีบทความมากกว่าล้านรายการที่อยู่ในฐานข้อมูลวิชาการออนไลน์มากกว่า 200 ฐานข้อมูล จาก 13 สถาบัน ได้แก่ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, มหาวิทยาลัยมหิดล, มหาวิทยาลัยกรุงเทพ, มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์, มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช, มหาวิทยาลัยพายัพ, มหาวิทยาลัยรังสิต มหาวิทยาลัยศรีปทุม, มหาวิทยาลัยสยาม, มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย, มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ และสถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น

เอกสารหมายเลข 11.4

https://e-library.siam.edu/ ที่เมนูหลัก“ค้นฐานข้อมูล”

  1) https://e-library.siam.edu

 2) http://110.164.153.240/elib/

 3) https://e-research.siam.edu/

4) https://e-library.siam.edu/ebsco-host/

5) https://e-library.siam.edu/uptodate/

6) https://e-library.siam.edu/open-access-database/

7) https://discovery.ebsco.com/

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

3. มีสิ่งอํานวยความสะดวกในการให้บริการในระบบดิจิทัล สำนักฯ ได้จัดสิ่งอํานวยความสะดวกในการให้บริการในระบบดิจิทัล ดังนี้

1. เปิดช่องทางการติดต่อสื่อสารในระบบดิจิทัลให้หลากหลาย เพื่อให้ผู้ใช้เข้าถึงห้องสมุดให้ได้มาก สะดวก และรวดเร็วที่สุด ซึ่งช่องทางหลักที่เข้าถึงได้ง่าย คือ WEBSITE (https://e-library.siam.edu/) และช่องทางการติดต่อสื่อสารและการประชาสัมพันธ์อื่นๆ ได้แก่ ทาง Facebook (ชื่อเพจ: ห้องสมุดมหาวิทยาลัยสยาม), Line Notify (แจ้งปัญหาหอสมุด/ Q & A), Line Group (LibrarySiamU), Line ของบุคลากร, Application (App: Strong Siam เมนู สืบค้นทรัพยากรสารสนเทศ), Channel MS Teams (ชื่อช่อง: ห้องสมุดออนไลน์), E-Mail (lib2@siam.edu), โทรศัพท์ (024570068 ต่อ 5142, 5245) เป็นต้น

2. จัดให้บริการในระบบดิจิทัล ตลอดจนการจัดพื้นที่ อุปกรณ์ เครื่องมือ และกิจกรรมที่สนับสนุนการเรียนการสอน และการวิจัย เพื่อให้สอดคล้องกับความก้าวหน้าของเทคโนโลยีสารสนเทศและเทคโนโลยีการสื่อสาร ได้แก่

1)    บริการระบบสืบค้นทรัพยากรสารสนเทศที่มีภายในสำนักฯ (Library Search System / WEB OPAC)

2)    บริการระบบสืบค้นข้อมูลช่องทางเดียวจาก 13 สถาบัน (One Search System-EDS-ThaiPUL/Ebsco Discovery Service)

3)    บริการตอบคำถามและช่วยค้นคว้าและแจ้งปัญหาการใช้ห้องสมุด (Line Notify Q & A)

4)    แจ้งช่วงเวลาเปิดให้บริการ (Libraries & Hours)

5)    บริการสมัครสมาชิกห้องสมุดทางออนไลน์ (Membership)

6)    บริการยืม-คืน (Circulation Service)

7)    บริการแนะนำ/เสนอซื้อทรัพยากรสารสนเทศเข้าห้องสมุด (Book Suggestion Service)

8)    บริการจัดส่งหนังสือ หรือขอรับตัวเล่มที่ห้องสมุด (Book Delivery Service)

9)    บริการตรวจสอบสถานะ-ยืมต่อ-จองหนังสือด้วยตนเองทางออนไลน์ (Partron Login/Self Renew) 

10)  บริการบทความอิเล็กทรอนิกส์/สำเนาบทความ (Electronic Information Service)

11)    บริการยืมระหว่างห้องสมุด (Inter-Library Loan Service)

12)   บริการอบรมและฝึกปฏิบัติการ (Workshops & Trainings Service)

13)   บริการแนะนำการเขียนอ้างอิงและบรรณานุกรม (Online Reference Service)

14)   บริการรวบรวมข้อมูลสารสนเทศและคอร์สออนไลน์ให้กับรายวิชา (ECTL: Excellence Center for Teaching & Learning)

15)   บริการรวบรวมฐานข้อมูลวิชาการออนไลน์ระบบเปิด  (Open Access Database)

16)   บริการรวบรวมข้อมูลนักวิจัยและผลงานวิชาการ ม.สยาม (Siam University Digital Repository Service)

17)   บริการฐานข้อมูลคลังปัญญามหาวิทยาลัยสยาม (e-Research / Digital Collection Siam University) ประกอบด้วยงานวิจัย วิทยานิพนธ์ สารนิพนธ์ โครงงาน/สหกิจศึกษา

18)  บริการฐานข้อมูลวิชาการออนไลน์เชิงพาณิชย์ (Online Databases)

19)  บริการวารสารต่างประเทศ (Publications Search)

20)  บริการสัญญาณอินเทอร์เน็ต ภายในบริเวณห้องสมุด (Wi-Fi Areas)

21)  บริการห้องศึกษาค้นคว้าแบบกลุ่ม (Study Room Service) จำนวน 12 ห้อง

22)  บริการรวบรวมทรัพยากรสารสนเทศ ประจำหลักสูตร เพื่อการรับรองหลักสูตร (Textbook & Resources Collection for Course Service)

23)  บริการรวบรวมรายชื่อวารสารและสิ่งพิมพ์ต่อเนื่องของแต่ละกลุ่มสาขาวิชา (Publications & Periodical Collection for Course Service)

24)  บริการรายงานประจำปี/ข้อมูลสารสนเทศประจำปีของสำนักฯ (Report Library)

25)  บริการดาวน์โหลดเอกสารและคู่มือการใช้บริการห้องสมุดและสืบคืนพิเศษต่างๆ (Service for Downloading Documents and Manuals for Library Services and Special Searches)

26)  พื้นที่ใช้บริการมัลติมีเดียและจัดฉายภาพยนตร์ 3 มิติ (Multimedia & 3D Theatre Zone)

27)   ห้องบริการคอมพิวเตอร์ หรือ ห้องดิจิทัล (Computer Service Room / Digital Service Room)

เอกสารหมายเลข 11  เว็บไซต์สำนักฯ https://e-library.siam.edu

1)      https://e-library.siam.edu/opac/

2)      https://discovery.ebsco.com/c/smokdd/

3)      https://e-library.siam.edu/

4)      https://e-library.siam.edu/library-open-hours/

5)      https://e-library.siam.edu/membership/

6)      https://e-library.siam.edu/circulation-service/

7)      https://e-library.siam.edu/suggestion-form-order/

8)      https://e-library.siam.edu/book-delivery/

9)      https://e-library.siam.edu/self-renew/

10)  https://e-library.siam.edu/electronic-information-service/

11)  https://e-library.siam.edu/tu-thaipul-2libplus-ill/

12)  https://e-library.siam.edu/training-service/

13)  https://e-library.siam.edu/reference-apa-6th-edition/

14)  https://ectl.siam.edu/courses/

15)  https://e-library.siam.edu/open-access-database/

16)  https://e-library.siam.edu/researcher-data-archives-repository-service/

17)  https://e-research.siam.edu/

18)   https://e-library.siam.edu/ebsco-host/

19)  https://publications.ebsco.com/?custId=s3576028&groupId=main&profileId=pfui

20)  http://110.164.153.252/web_auth.html

21)  https://e-library.siam.edu/group-study-room/

22)  https://e-library.siam.edu/category/information-for-researchers/textbook-resources/

23)  https://e-library.siam.edu/category/recommend/resourcestypes/

24)  https://e-library.siam.edu/category/รายงานประจำปี/

25)  https://e-library.siam.edu/manual-library-siamu/

4. บุคลากรมีสมรรถนะและความพร้อมในการให้บริการในระบบดิจิทัล ปัจจุบันบุคลากรของสำนักหอสมุดและทรัพยากรสารสนเทศ มีจำนวนทั้งหมด 14 คน โดยมีบุคลากรสายวิชาชีพบรรณารักษ์จำนวน 9 คนและสายวิชาชีพอื่นๆ จำนวน 5 คน (มีบุคลากร 1 คนที่เกษียณแต่มาปฏิบัติงาน 3 วัน/สัปดาห์ และบุคลากรอัตราพิเศษ(พิการ) 1 คน) โดยบุคลากร ได้รับการพัฒนา ให้มีความรู้ความสามารถและสมรรถนะ ให้มีความพร้อมในการให้บริการในระบบดิจิทัล ทั้งในด้านวิชาการ วิชาชีพ และที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงานด้วยการจัดส่งบุคลากรเข้าร่วม อบรม/ประชุม/สัมมนา/ศึกษาดูงาน/แลกเปลี่ยนเรียนรู้/ศึกษาด้วยตนเองทางออนไลน์ ซึ่งได้รับความรู้และได้รับประกาศนียบัตรจากการอบรม ซึ่งในภาคการศึกษาที่ 1/2564 มีบุคลากรจำนวนทั้งหมด 15 คน  ได้รับการพัฒนา จำนวน 14 คน คิดเป็นร้อยละ 93.33 เฉลี่ย 5 ครั้ง/ปีการศึกษา จากจำนวนเรื่องขององค์ความรู้ที่ได้เข้าร่วมทั้งหมด 72 เรื่อง

บุคลากรของสำนักฯ โดยเฉพาะในสายวิชาชีพบรรณารักษ์ได้รับการพัฒนาให้มีความรู้ในการสร้าง Digital Content เพื่อให้บริการในระบบดิจิทัล มาตั้งแต่ปีการศึกษา 2560 และได้นำความรู้มาพัฒนางานบริการต่างๆผ่านทางเว็บไซต์ และช่องทางการติดต่อสื่อสารและการประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อสังคมออนไลน์ (Social media) ตามที่มีผลการดำเนินงานในข้อ 3 ส่งผลให้เว็บไซต์ของสำนักฯ https://e-library.siam.edu ได้รับการจัดอันดับเว็บไซต์จาก Google Analytics ให้เป็นเว็บไซต์ อันดับ 1 ในมหาวิทยาลัยสยาม siam.edu ที่มีผู้ใช้งานมากที่สุด เมื่อปี 2561 เและในปี 2565 อยู่ในอันดับที่ 5

นักวิชาการและบรรณารักษ์ของสำนักฯ ได้เข้าร่วมพัฒนาเครือข่ายความร่วมมือและมีการให้บริการวิชาการแก่สังคม โดยได้รับการเลือกตั้งให้เป็นประธานกลุ่มงานของเครือข่ายห้องสมุด และได้รับเชิญเป็นวิทยากรและคณะทำงานจากองค์กรภายนอก ดังนี้

  1. อาจารย์วสันต์ อุทัยเลี้ยง (หัวหน้าศูยน์ฝึกอบรมและพัฒนาระบบสารสนเทศ สำนักฯ) เป็นคณะทำงาน ในโครงการ การพัฒนาแพลตฟอร์มต้นแบบ มหาวิทยาลัยดิจิทัล สถาบันคลังสมองของชาติ (วาระ 1 พฤศจิกายน 2564 – 31 ตุลาคม 2565) และเป็นคณะทำงาน ร่างมาตรฐานสถาปัตยกรรมองค์กร (Enterprise Architecture) สภาวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์(วสท.) และเป็นวิทยากร ด้านดิจิทัลเทคโนโลยีสารสนเทศ โครงการสามสมุทรหนึ่งตะวัน คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยสยาม
  2.  ดร.คมเดช บุญประเสริฐ (ผู้ช่วยผู้อำนวยการสำนักฯ) เป็นประธานกลุ่มงานบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ  ในคณะอนุกรรมการพัฒนาระบบและเครือข่ายห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษาเอกชน (อพส.) ชุดที่ 18 (วาระ 1 สิงหาคม 2564 – 31 กรกฎาคม 2566)
  3. นางพรรณี จิวพุทธิธรรม (หัวหน้าแผนกพัฒนาทรัพยากรสารสนเทศ สำนักฯ) เป็นประธานกลุ่มงานพัฒนาและวิเคราะห์ทรัพยากรสารสนเทศ  ในคณะอนุกรรมการพัฒนาระบบและเครือข่ายห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษาเอกชน (อพส.) ชุดที่ 18 (วาระ 1 สิงหาคม 2564 – 31 กรกฎาคม 2566)
เอกสารหมายเลข 11.5-6)

https://e-library.siam.edu/hr-development-2564/

เอกสารหมายเลข 11.5-8)

https://e-library.siam.edu/thaipul-sub-committee-library1-2564-1/

 

5. มีการประเมินความพึงพอใจผู้รับบริการในระบบดิจิทัล การประเมินความพึงพอใจผู้รับบริการในระบบดิจิทัลของห้องสมุด จะแทรกอยู่ในการประเมินความพึงพอใจประจำปี ดังนี้

1. การสำรวจความต้องการและความพึงพอใจของผู้ใช้บริการ ประจำปี  มีข้อที่เกี่ยวข้องกับการให้บริการในระบบดิจิทัล ได้แก่

  • มีสิ่งอํานวยความสะดวกในการให้บริการในระบบดิจิทัลเพียงพอและเหมาะสม ระดับความพึงพอใจผู้รับบริการ อยู่ในระดับมาก คะแนนเฉลี่ย 3.87
  • จำนวนฐานข้อมูลออนไลน์มีเพียงพอต่อการศึกษาค้นคว้า (ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ไทย/วิจัย (ThaiLIS) ,  EDS, EBSCO,  Uptodate ฯ) ระดับความพึงพอใจผู้รับบริการ อยู่ในระดับมาก คะแนนเฉลี่ย 3.75
  • ประสิทธิภาพ (ความเร็ว) และความพร้อม ของระบบเครือข่าย INTERNET / Wi-Fi ระดับความพึงพอใจผู้รับบริการ อยู่ในระดับมาก คะแนนเฉลี่ย 3.54
  • ความถูกต้องและทันสมัยของข้อมูลที่เผยแพร่ในเว็บไซต์ของสำนักฯที่  https://e-library.siam.edu ระดับความพึงพอใจผู้รับบริการ อยู่ในระดับมาก คะแนนเฉลี่ย 3.83

2. การสำรวจความพึงพอใจที่มีต่อ บริการอบรมและฝึกปฏิบัติการ (Workshops & Trainings Service) ผ่านออนไลน์  เรื่อง การค้นคว้าและการอ้างอิง จำนวน 3 ครั้ง ซึ่งผลการประเมินความพึงพอใจของผู้เข้ารับการอบรม ทั้ง 3 ครั้ง พบว่า ผู้เข้าอบรมมีความพึงพอใจโดยรวมอยู่ในระดับมาก-มากที่สุด ดังนี้

  • การฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ การค้นคว้าข้อมูลและการอ้างอิง ครั้งที่ 1 ปีการศึกษา 2564 (29 ต.ค. 2564) ระดับความพึงพอใจของผู้เข้ารับการอบรมอยู่ในระดับมาก คะแนนเฉลี่ย 4.22
  • การฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ การค้นคว้าข้อมูลและการอ้างอิง ครั้งที่ 2 ปีการศึกษา 2564 (11 มี.ค. 2565) ระดับความพึงพอใจของผู้เข้ารับการอบรมอยู่ในระดับมากที่สุด คะแนนเฉลี่ย 4.71
  • การฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ การค้นคว้าและการอ้างอิง ครั้งที่ 3 ปีการศึกษา 2564 (20 พ.ค. 2565) ระดับความพึงพอใจของผู้เข้ารับการอบรมอยู่ในระดับมาก คะแนนเฉลี่ย 4.22

3. การประเมินผลความสำเร็จการบรรลุเป้าหมายตามแผนการส่งเสริมการใช้บริการห้องสมุดและทรัพยากรสารสนเทศ เพื่อกระตุ้นการใช้ทรัพยากรสารสนเทศให้คุ้มค่าและเกิดประโยชน์สูงสุด โดยได้เปรียบเทียบสถิติการใช้บริการผ่านระบบดิจิทัล พบว่า 

  • การเข้าใช้เว็บไซต์สำนักฯ (https://e-library.siam.edu/) เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.76 จากการเปรียบเทียบสถิติการเข้าใช้เว็บไซต์ ของปีการศึกษา 2564 มีจำนวน 157,906 ครั้ง กับปีการศึกษา 2563 มีจำนวน 148,807 ครั้ง กับปีการศึกษา 2562 จำนวน 124,277 ครั้ง ปีการศึกษา 2564 เพิ่มขึ้นจำนวน 9,099 ครั้ง หรือคิดเป็นร้อยละ 5.76 (ปีการศึกษา 2562 เพิ่มขึ้นร้อยละ 14.09/ ปีการศึกษา 2563 เพิ่มขึ้นจำนวน 24,530 ครั้งหรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 16.48/ และปีการศึกษา 2564 เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.76)
  • การใช้ฐานข้อมูลวิชาการออนไลน์เชิงพาณิชย์ EBSCO HOST +EDS เพิ่มขึ้นร้อยละ 26.92 จากการเปรียบเทียบสถิติการเข้าใช้ฐานข้อมูลของของปีการศึกษา 2564 มีจำนวน 25,876 ครั้ง กับปีการศึกษา 2563 มีจำนวน 18,910 ครั้ง เพิ่มขึ้นจำนวน 6,966  ครั้ง หรือคิดเป็นร้อยละ 26.92
  • การใช้ฐานข้อมูลออนไลน์เชิงพาณิชย์ UptoDate เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.00 (ปีการศึกษา 2563 มีจำนวนการเข้าใช้  97,563 ครั้ง ปีการศึกษา 2562 จำนวน 91,705 ครั้ง) 
เอกสารหมายเลข 18

สรุปผลการประเมินความต้องการและความพึงพอใจของผู้ใช้บริการสำนักหอสมุดและทรัพยากรสารสนเทศ มหาวิทยาลัยสยาม ประจำปีการศึกษา 2564

เอกสารหมายเลข 17

สรุปผลการประเมินความพึงพอใจของผู้รับการอบรมเชิงปฏิบัติการ การค้นคว้าและการอ้างอิง

ครั้งที่ 1 https://e-library.siam.edu/wp-content/uploads/2022/05/Contentment-training-1-2564.pdf

ครั้งที่ 2 https://e-library.siam.edu/wp-content/uploads/2022/05/Contentment-training-2-2564.pdf

ครั้งที่ 3 https://e-library.siam.edu/wp-content/uploads/2022/05/Contentment-training-3-2564.pdf

เอกสารหมายเลข 5.3

โครงการ “การส่งเสริมการรู้สารสนเทศและการเรียนรู้ตลอดชีวิต ปีการศึกษา 2564”

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

6.มีการนําผลการประเมินมาปรับปรุงพัฒนา สำนักฯ นำผลการประเมินมาปรับปรุงพัฒนางานใน 2 งาน ดังนี้

1.    งานพัฒนาเว็บไซต์ มีการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์สำนักฯ จากการประเมินผลการเข้าใช้เว็บไซต์สำนักฯ เพิ่มขึ้นทุกปี ซึ่งแสดงให้เห็นว่าเว็บไซต์เป็นช่องทางหลักที่เข้าถึงผู้ใช้บริการได้มากที่สุด สำนักฯ จึงได้พัฒนาการให้บริการรูปแบบออนไลน์บนเว็บไซต์เพื่อเป็นช่องทางหลักในการให้บริการต่างๆ ด้วยการสร้าง Digital Content บนเว็บไซต์ ซึ่งในปีการศึกษา 2564 มีจำนวน Content การให้บริการทั้งหมด 448 เรื่อง

2.   งานส่งเสริมการใช้ห้องสมุดและส่งเสริมการรู้สารสนเทศ มีการจัดกิจกรรมอบรมผ่านออนไลน์ให้กับนักศึกษาในปีการศึกษา 2564 จำนวน 3 ครั้ง จากการประเมินจำนวนผู้เข้าอบรมและจำนวนครั้งในการอบรมยังน้อย ซึ่งแสดงให้เห็นว่า การประชาสัมพันธ์ยังไม่ทั่วถึงหรือหัวข้อการอบรมยังไม่ครอบคลุมบริการต่างๆ สำนักฯ จึงได้นำไปวางแผนพัฒนาด้านการจัดกิจกรรมในโครงการโครงการ “การส่งเสริมการรู้สารสนเทศและการเรียนรู้ตลอดชีวิต ปีการศึกษา 2565”

 

เอกสารหมายเลข 11

เว็บไซต์สำนักฯ https://e-library.siam.edu

เอกสารหมายเลข 3.1

แผนปฏิบัติการประจำ (Routine Action  Plan : RAP) สำนักหอสมุดและทรัพยากรสารสนเทศ ปีการศึกษา 2565: ภาคผนวก แบบฟอร์มเสนอโครงการ  ปีการศึกษา 2565

ผลการดำเนินงาน…..6…..ข้อ

 เกณฑ์การประเมิน

1 คะแนน 2 คะแนน 3 คะแนน 4 คะแนน 5 คะแนน
1 ข้อ 2 ข้อ 3-4 ข้อ  5 ข้อ 6 ข้อ

 เป้าหมายของสำนัก : ….6….. ข้อ

ผลการดำเนินงาน   : ….6…..  ข้อ

ผลการประเมินตนเอง   :   ….5…..  คะแนน