admin

การประชุมสุดยอดครั้งประวัติศาสตร์ระหว่างผู้นำสองเกาหลี 27 เม.ย. 2561

การประชุมสุดยอดครั้งประวัติศาสตร์ระหว่างผู้นำสองเกาหลี 27 เม.ย. 2561 การประชุมสุดยอดที่สองผู้นำจะได้พบพูดคุยกันเป็นครั้งแรกในรอบหลายปี และคาดว่าน่าจะเป็นการปูทางไปสู่สันติภาพได้ในที่สุด และอาจรวมถึงการรวมประเทศเป็นหนึ่งเดียวในคาบสมุทรเกาหลี เริ่มจากผู้นำทั้งสองพบกันเป็นการส่วนตัวที่บริเวณชายแดนเกาหลีเหนือและใต้ในเวลา 09.30 น. ตามเวลาท้องถิ่น หรือตรงกับ 07.30 น. ตามเวลาในประเทศไทย โดยมีทหารกองเกียรติยศนำผู้นำประเทศทั้งสองคนไปยังพิธีต้อนรับซึ่งจัดเตรียมที่ลานภายในหมู่บ้านปันมุนจอม เส้นแบ่งชายแดน และเป็นเขตปลอดทหาร นายคิม จอง อึน ผู้นำเกาหลีเหนือ เดินข้ามพรมแดนเกาหลี ตรงจุดเส้นแบ่งพรมแดนเขตปลอดทหาร โดยมีประธานาธิบดีมูน แจ อิน ของเกาหลีใต้ ให้การต้อนรับ จากนั้นทั้งสองได้เดินเข้าสู่การหารืออย่างเป็นทางการในเวลา 10.30 น. ตามเวลาท้องถิ่น (หรือเวลา 08.30 น.ในไทย) ที่อาคารสันติภาพ (Peace House) ก่อนหน้าการเจรจาระดับสูงสุดครั้งนี้ เคยเป็นข่าวล่าสุด เมื่อสำนักข่าวรอยเตอร์สรายงานอ้างแหล่งข่าวเจ้าหน้าที่ระดับสูงของสหรัฐว่า ไมค์ ปอมเปโอ ผู้อำนวยการสำนักข่าวกรองกลางสหรัฐ (ซีไอเอ) เดินทางไปคุยกับประธานาธิบดี คิมจองอึน แห่งเกาหลีเหนือ ในช่วงเทศกาลอีสเตอร์ เมื่อช่วงปลายเดือนมีนาคม ที่ผ่านมา เพื่อเตรียมจัดการเจรจาระหว่างผู้นำเกาหลีเหนือกับประธานาธิบดี โดนัลด์ ทรัมป์ ซึ่งคาดว่าจะเกิดขึ้นหลังการประชุมสุดยอดครั้งนี้(พ.ค. […]

การประชุมสุดยอดครั้งประวัติศาสตร์ระหว่างผู้นำสองเกาหลี 27 เม.ย. 2561 Read More »

วันสถาปนาสภากาชาดไทย

26 เมษายน พ.ศ. 2436 (ค.ศ. 1893) เป็นวันสถาปนาสภากาชาดไทย สภากาชาดไทยเดิมเรียก “สภาอุณาโลมแดง” ก่อตั้งขึ้นโดย “ท่านผู้หญิงเปลี่ยน ภาสกรวงษ์” หัวหน้าหญิงไทยสกุลสูงในสมัยนั้น มีภารกิจสำคัญคือ การส่งเวชภัณฑ์อาหาร เสื้อผ้าและของใช้ให้แก่ทหารในสนามรบในกรณีพิพาทเรื่องดินแดนฝั่งซ้ายแม่น้ำโขงระหว่างสยามกับฝรั่งเศสในปีนั้น โดยมี “สมเด็จพระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรี พระวรราชเทวี” (สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนี พันปีหลวง) ทรงเป็น “สภานายิกา” พระองค์แรกแห่งชาติสยาม   ความเป็นมาของสภากาชาดไทย เกิดขึ้นในสมัยรัชกาลที่ ๕ เมื่อ พ.ศ. 2436 (ร.ศ. 112) ขณะนั้นเกิดกรณีพิพาทเป็นเหตุให้เกิดการสู้รบกัน เรื่องดินแดนฝั่งซ้ายของแม่น้ำโขง ระหว่างประเทศสยามกับฝรั่งเศส มีทหารบาดเจ็บล้มตายเป็นจำนวนมาก ซึ่งในขณะนั้นยังไม่มีองค์การกุศลหลักที่ทำหน้าที่ช่วยเหลือพยาบาลและบรรเทาทุกข์ “ท่านผู้หญิงเปลี่ยน ภาสกรวงษ์” จึงได้ดำเนินการชักชวน และรวบรวมสตรีอาสาสมัครขึ้น ก่อนจะทำบันทึกกราบบังคมทูล “สมเด็จพระนางเจ้าสว่างวัฒนา พระบรมราชเทวี” (สมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า) ขอพระราชทานพระบรมราชานุญาต จัดตั้ง “สภาอุณาโลมแดงแห่งชาติสยาม” ขึ้น เพื่อทำหน้าที่ช่วยเหลือทหารที่ได้รับบาดเจ็บ    

วันสถาปนาสภากาชาดไทย Read More »

25 เมษายน วันมาลาเรียโลก

ไข้มาลาเรีย (Malaria) หรือ ไข้จับสั่นไข้ป่า ไข้ป้าง ไข้ร้อนเย็นหรือไข้ดอกสัก เป็นโรคที่มีประวัติอันยาวนานมาพร้อมกับการกําเนิดของมนุษยชาติ ในสมัย Hippocratis ( บิดาทางการแพทย์สมัยนั้น ) ได้ตั้งข้อ สังเกตเอาไว้ว่า โรคนี้มีความสัมพันธ์กับฤดูกาล ต่อมามีการค้นพบสัตว์เซลล์เดียวที่เรียก ว่า พลาสโมเดียม  (Plasmodium) ในวันที่ 6 พฤศจิกายน ค.ศ. 1880 โดย Laveran แพทย์ชาวฝรั่งเศส ว่าเป็นต้นเหตุของไข้มาลาเรีย ทําให้เขาได้รับรางวัลโนเบล เป็นการ เปิดศักราชใหม่ของการรักษาและควบคุมไข้มาลาเรีย โรคมาลาเรียเป็นโรคติดต่อ เกิดจากการติดเชื้อโปรโตซัว Plasmodium ซึ่ง เป็นสิ่งมีชีวิตเป็นสัตว์เซลล์เดียวอยู่ใน Class Sporozoa โดยมียุงก้นปล่องเป็นพาหะ มีวงจรชีวิตอยู่ทั้งในสัตว์มีกระดูกสันหลังและสัตว์จําพวกยุง เชื้อมาลาเรีย ปัจจุบันเชื้อมาลาเรียในประเทศไทย ที่พบได้ในคนมีทั้งหมด 5 ชนิด ได้แก่ (พงษ์วิทย์ บัวล้อมใบ, คะนึงนิจ คงพ่วง, เชิดชัย แก้วปา และฑิตถากร รอดนาค, 2552)

25 เมษายน วันมาลาเรียโลก Read More »

25 เมษายน วันคล้ายวันสวรรคตสมเด็จพระนเรศวรมหาราช

เนื่องจากวันที่ ๒๕ เมษายน ของทุกปี รัฐบาลกำหนดให้เป็นวันคล้ายวันสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระนเรศวรมหาราช พระองค์ทรงเป็นพระมหากษัตริย์นักรบกล้าหาญ และทรงได้กรอบกู้อิสรภาพของไทย ทรงทำนุบำรุงบ้านเมืองทั้งทางด้านเศรษฐกิจ สังคม ศิลปวัฒนธรรม ตลองจนปกป้องรักษาเอกราชของราชของชาติจนทำให้บ้านเมืองเจริญรุ่งเรืองมาตราบจนถึงปัจจุบันนี้ ภายหลังจากการยุทธหัตถี กับพระมหาอุปราชา ไม่นาน ขณะที่กรีฑาทัพไปตีเมืองนายและกรุงอังวะ ครั้นเมื่อสมเด็จพระนเรศวร กับสมเด็จพระเอกาทศรถ เสด็จยกกองทัพออกจากพระนคร เมื่อวันพฤหัสบดี แรม 8 ค่ำ เดือนยี่ ปีมะโรง พ.ศ. 2148 เสด็จโดยกระบวนเรือจากพระตำหนักป่าโมก แล้วเสด็จขึ้นบนที่ตำบล เอกราชไปตั้งทัพชัย ณ ตำบลพระหล่อ แล้วยกกองทัพบกไปทางเมืองกำแพงเพชรสู่เมืองเชียงใหม่ ครั้นเสด็จถึงเมืองเชียงใหม่ก็หยุดพักจัดกระบวนทัพอยู่หนึ่งเดือน แล้วให้กองทัพสมเด็จพระเอกาทศรถยกไปทางเมืองฝาง ส่วนกองทัพหลวงยกไปทางเมืองหาง ครั้นเสด็จถึงเมืองหางแล้วก็ให้ตั้งค่ายหลวงประทับอยู่ที่ทุ่งแก้ว สมเด็จพระนเรศวรทรงพระประชวรเป็นหัวระลอก (ฝี) ขึ้นที่พระพักตร์ แล้วกลายเป็นบาดทะพิษพระอาการหนัก จึงโปรดให้ข้าหลวงรีบไปเชิญเสด็จสมเด็จพระเอกาทศรถมาเฝ้า สมเด็จพระเอกาทศรถเสด็จฯ มาถึงได้ 3 วัน สมเด็จพระนเรศวรก็เสด็จสวรรคต เมื่อวันจันทร์ ขึ้น 8 ค่ำ เดือน 6 ปีมะเส็ง ตรงกับวันที่ 25

25 เมษายน วันคล้ายวันสวรรคตสมเด็จพระนเรศวรมหาราช Read More »

วันเทศบาล

24 เมษายน วันเทศบาล  วันสำคัญของกระทรวงมหาดไทย ได้ประกาศให้มีขึ้นเมื่อวันที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ.2532 ทั้งนี้ เพื่อตระหนักถึงบทบาท และความสำคัญของการปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบเทศบาล [quote font_size=”18″ color=”#ffdf42″ bgcolor=”#339933″ bcolor=”#ffdf42″ arrow=”yes”]เทศบาล เป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่จัดตั้ง ขึ้นตามพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2476[/quote] เทศบาลถือเป็นรูปแบบของการก่อกำเนิดขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบอื่น เช่น กรุงเทพมหานคร และเมืองพัทยา การปกครองท้องถิ่นในรูปแบบเทศบาลนับเป็นองค์กรที่มีความผูกพันใกล้ชิดกับประชาชนมากที่สุด  เพราะมีบทบาทสำคัญในการให้บริการสาธารณะ การสร้างความเจริญก้าวหน้า และการอำนวยความเป็นธรรมให้แก่ประชาชนในท้องถิ่น เป็นกำลังสำคัญในการสนับสนุนการพัฒนาประเทศและส่งเสริมการกินดีอยู่ดีของประชาชน [quote font_size=”18″ color=”#ffdf42″ bgcolor=”#339933″ bcolor=”#ffdf42″ arrow=”yes”]ประวัติความเป็นมา[/quote] ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระองค์ได้ทรงปฏิรูปการบริหารราชการแผ่นดินของไทยใหม่ ให้ทันสมัยเป็นอันเดียวกันกับนานาอารยะประเทศโดยจัดให้มีการปกครองส่วนท้องถิ่นขึ้นเป็นครั้งแรกในประเทศไทยในรูปแบบสุขาภิบาล ที่สุขาภิบาลท่าฉลอม จังหวัดสมุทรสาคร เมื่อวันที่ 18 ธันวาคม พ.ศ.2441 และได้ขยายการตั้งสุขาภิบาลออกไปในท้องถิ่นต่างๆ เพิ่มขึ้นทั่วประเทศ ต่อมาเมื่อประเทศไทยเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบบสมบูรณาญาสิทธิราชเป็นระบอบประชาธิปไตยในปี พ.ศ.2475 ได้มีการตราพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน แห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2476 ซึ่งได้ประกาศใช้พระราชบัญญัติจัดระเบียบเทศบาล จนกระทั่งได้ประกาศใช้พระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ.2496 จนถึงปัจจุบัน

24 เมษายน วันเทศบาล Read More »

วันหนังสือและลิขสิทธิ์สากล-World Book and Copyright Day 23 April

วันหนังสือและลิขสิทธิ์สากล (World Book and Copyright Day หรือ International Day of the Book or World Book Days 23 April) ตรงกับวันที่ 23 เมษายนของทุกปี เกิดขึ้นครั้งแรกในวันที่ 23 เมษายน 2538 โดย องค์การยูเนสโก โดยองค์การยูเนสโก (UNESCO) ด้วยเหตุผลที่ว่า หนังสือ คือ สิ่งที่มีพลังอำนาจสูงสุดและมีประสิทธิภาพมากที่สุด ในการกระจายความรู้และรักษาไว้ซึ่งความรู้นั้นๆ เพื่อมนุษยชาติ องค์การยูเนสโกต้องการให้ทั่วทั้งโลกส่งเสริมการอ่าน การจัดพิมพ์เผยแพร่ และการปกป้องทรัพย์สินทางปัญญาผ่านลิขสิทธิ์ และเหตุผลเนื่องจากในวันหนังสือและลิขสิทธิ์สากล-World Book and Copyright Day นี้เป็นวันที่มีความพิเศษตรงที่มันจะตรงกับวันคล้ายวันเกิด หรือวันเสียชีวิตของนักประพันธ์ที่มีชื่อเสียงในระดับโลกหลายท่าน อาทิ วันเกิดของวลาดิเมีย นาโบคอฟ (Vladimir Nabokov) นักประพันธ์ชาวรัสเซีย วันเกิดของมอริซ เมอฮูยอง (Maurice Druon) นักประพันธ์ชาวฝรั่งเศส วันเกิดของฮาลดูยง

วันหนังสือและลิขสิทธิ์สากล-World Book and Copyright Day 23 April Read More »

วันคุ้มครองโลก Earth Day

วันคุ้มครองโลก EARTH DAY  22 เมษายน วันคุ้มครองโลก Earth Day คำว่าโลกในที่นี้มีความหมายอยู่ 2 นัย นัยแรก หมายถึง โลกทางกายภาพ ที่มีภูเขา แม่น้ำ พื้นดิน แผ่นฟ้า มหาสมุทร ส่วนอีกนัยหนึ่ง หมายถึง ชาวโลก คือ สรรพชีวิตทั้งปวงที่อาศัยอยู่บนโลก การคุ้มครองโลก จึงหมายถึงการคุ้มครองทั้งสิ่งแวดล้อมและคุ้มครองชาวโลกด้วย ซึ่งในปัจจุบันโลกกำลังเผชิญปัญหาเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมเป็นพิษที่ทวีความรุนแรงมากขึ้นและพบกับภาวะที่ก่อให้เกิดอันตรายต่อชีวิตหลากหลายรูปแบบอย่างรวดเร็ว ไม่ว่าจะเป็นปัญหาเกี่ยวกับมลภาวะทางอากาศ ทางน้ำ หรือการทำลายป่าที่ส่งผลให้เกิดวาตภัย อุทกภัยอย่างไม่ทันตั้งตัว จนก่อให้เกิดความเสียหายทั้งชีวิตและทรัพย์สินต่อประชากรโลกในหลายๆ ประเทศ ด้วยเหตุนี้จึงมีคนกลุ่มหนึ่งรวมตัวกันเรียกร้องให้ชาวโลกหันมาสนใจ และตระหนักถึงความสำคัญของการ คุ้มครองโลกให้อยู่รอดปลอดภัยจากภัยต่าง ๆ (iEnergy Guru, ม.ป.ป.) ประวัติความเป็นมา วันคุ้มครองโลก Earth Day วันคุ้มครองโลก เป็นวันที่ตั้งขึ้นเพื่อให้ผู้คนบนโลกได้ตระหนักถึงความเสื่อมโทรมและพิษภัยต่างๆ ที่ส่งผลกระทบต่อระบบสภาพแวดล้อมในธรรมชาติ จนก่อให้เกิดวิกฤตการณ์ทางนิเวศวิทยา แนวคิดเรื่องวันคุ้มครองโลกเริ่มต้นขึ้นในปี 2505 โดย เกย์ลอร์ด เนลสัน (Gaylord Nelson)

วันคุ้มครองโลก Earth Day Read More »

วันสถาปนากรุงเทพมหานคร 21 เมษายน-อนุสาวรีย์พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก

21 เมษายน พ.ศ. 2325 วันสถาปนากรุงเทพมหานคร หลังจากที่ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ทรงปราบดาภิเษกขึ้นเป็นปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์จักรีเมื่อวันที่ 6 เมษายนปีเดียวกัน จากนั้นได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ย้ายราชธานีจากฝั่งธนบุรีมาที่ฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยา แล้วจัดพิธี ยกเสาหลักเมืองที่กรุงเทพมหานคร รวมทั้งโปรดเกล้าฯ ให้มีการก่อสร้างพระบรมมหาราชวัง ตลอดจนวัดพระศรีรัตนศาสดาราม หรือวัดพระแก้วขึ้น พร้อมทั้งพระราชทานนามพระนครใหม่ว่า “กรุงเทพมหานคร บวรรัตนโกสินทร์ มหินทรายุธยา มหาดิลกภพ นพรัตนราชธานีบูรีรมย์ อุดมราชนิเวศน์มหาสถาน อมรพิมานอวตารสถิต สักกะทัตติยวิษณุกรรมประสิทธิ์” เป็นชื่อเมืองที่ยาวที่สุดในโลก มีความหมายว่า “พระนครอันกว้างใหญ่ดุจเทพนคร อันเป็นที่สถิตของพระแก้วมรกต เป็นนครที่ไม่มีใครสามารถรบชนะ มีความงามอันมั่นคงและเจริญยิ่ง เป็นเมืองหลวงที่บริบูรณ์ด้วยแก้ว 9 ประการ น่ารื่นรมย์ยิ่ง มีพระราชนิเวศน์ใหญ่โตมากมาย เป็นวิมานเทพที่ประทับของพระราชาผู้อวตารลงมา ซึ่งท้าวสักกเทวราชพระราชทานให้พระวิษณุกรรมลงมาเนรมิตไว้”  ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 4 ได้ทรงเปลี่ยนจาก “…บวรรัตนโกสินทร์…” เป็น “…อมรรัตนโกสินทร์…” ในปี พ.ศ.2425 ซึ่งตรงกับรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 เป็นปีที่กรุงรัตนโกสินทร์ครบรอบหนึ่งศตวรรษ หรือ 100 ปี

วันสถาปนากรุงเทพมหานคร 21 เมษายน Read More »

ห้องสมุด-หนังสือ-แนะนำหนังสือ 16 เม.ย. 2561

[box type=”note”]ชื่อหนังสือ: ศาสตร์ของพระราชา : ผู้นำโลกในการพัฒนาอย่างยั่งยืน รวมกฎหมายสนับสนุนโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร ชื่อผู้แต่ง: สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา   Call Number: 923.1593 ศ371 2560 รายละเอียด: แนะนำหนังสือ “ศาสตร์ของพระราชา : ผู้นำโลกในการพัฒนาอย่างยั่งยืน รวมกฎหมายสนับสนุนโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร” เล่มนี้เป็นหนังสือซึ่งทางสภานิติบัญญัติแห่งชาติต้องการที่จะรวบรวม เรียบเรียง และถ่ายทอดองค์ความรู้ของโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ รวมถึงกฎหมายที่สนับสนุนโครงการฯ โดยมีรูปแบบการนำเสนอที่เป็นรูปธรรม มีเนื้อความครอบคลุมครบถ้วน อ่านเข้าใจง่าย ทั้งนี้ก็เพื่อเผยแพร่ศาสตร์ของพระราชาให้เห็นเป็นรูปธรรม และนำไปสู่การพัฒนาปรับปรุงกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ซึ่งเป็นการจัดทำเป็นครั้งแรก โดยแบ่งออกเป็น 13 ด้าน ได้แก่ ทรัพยากรน้ำ ทรัพยากรป่าไม้ ทรัพยากรดิน การเกษตร การส่งเสริมอาชีพ สาธารณสุข สวัสดิการสังคม การศึกษา คมนาคม การสื่อสาร สิ่งแวดล้อมและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ นวัตกรรม และหลักปรัชญาเศรษฐกิจ ทั้งนี้ยังเปิดโอกาสให้ประชาชนที่สนใจสามารถดาวน์โหลดไฟล์หนังสือผ่าน QR Code ทั้งในรูปแบบของ E-Book และไฟล์ PDF

แนะนำหนังสือ 16 เม.ย. 2561 Read More »

วันครอบครัว

13 เมษายน ของทุกปีเป็นวันสงกรานต์ คนไทยได้ยึดถือประเพณีอันดีงามสืบต่อกันมาแต่ โบราณกาล ถัดมาอีก 1 วันคือวันที่ 14 เมษายน ของทุกปีเป็น “วันครอบครัว” เพื่อมุ่งหวังจะให้มีการฟื้นฟูขนบธรรมเนียมประเพณีแต่ดั้งเดิม ซึ่งได้เปลี่ยนแปลงไปตามสถานการณ์ของเศรษฐกิจบ้านเมือง และยังเป็นช่วงที่คนไทยส่วนได้เดินทางกลับบ้าน ทำให้เทศกาลสงกรานต์ จึงถือเป็นโอกาส รวมญาติ รวมครอบครัว ทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้กับบุพการี รดน้ำดำหัว ขอพร ผู้เฒ่าผู้แก่ เพื่อเสริมสร้างความเป็นสิริมงคล และเพื่อความอบอุ่น เป็นสุขของครอบครัว ตามประเพณีไทยที่เคยปฏิบัติกันมา และรัฐบาลได้กำหนดให้วันอาทิตย์เป็นวันครอบครัว เพื่อสนับสนุนและส่งเสริมให้ประชาชนตระหนักถึงคุณค่า ของสถาบันครอบครัว และใช้เวลาว่างในวันหยุดสุดสัปดาห์ร่วมกันอีกทั้งยังส่งเสริมให้สมาชิกในครอบครัวได้อยู่พร้อมหน้าและ ทำกิจกรรมต่างๆ ร่วมกันเพื่อเป็นการกระชับความสัมพันธ์ ระหว่างสมาชิกในครอบครัวและสร้างความรักความอบอุ่นในครอบครัวจะส่งผลให้สังคมไทยเป็นสังคม ที่มีครอบครัวแข็งแรง ซึ่งจะช่วยลดปัญหาสังคมไทยในด้านต่าง ๆ [quote font_size=”18″ color=”#ffdf42″ bgcolor=”#339933″ bcolor=”#ffdf42″ arrow=”yes”]ประวัติวันครอบครัว[/quote] เมื่อวันที่ 31 ตุลาคม 2532 คณะรัฐมนตรี โดย พล.อ.ชาติชาย ชุณหะวัณ เป็นนายกรัฐมนตรี ได้มีมติเห็นชอบและอนุมัติให้วันที่ 14 เมษายนของทุกปีเป็นวันแห่งครอบครัว

14 เมษายน วันครอบครัว Read More »

วันผู้สูงอายุแห่งชาติ

รัฐบาลในสมัย พล.เอกเปรม ติณสูลานนท์ ได้ตระหนักถึงความสำคัญของผู้สูงอายุ และปัญหาต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้น คณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อ วันที่ 14 ธันวาคม 2525 อนุมัติให้วันที่ 13 เมษายน ของทุกปีเป็น วันผู้สูงอายุแห่งชาติ และได้เลือก “ดอกลำดวน” เป็นสัญลักษณ์ของผู้สูงอายุ [quote font_size=”18″ color=”#ffdf42″ bgcolor=”#339933″ bcolor=”#ffdf42″ arrow=”yes”] “วันผู้สูงอายุแห่งชาติ” เป็นวันที่ถูกผูกรวมไว้กับวันขึ้นปีใหม่ไทยหรือก็คือวันสงกรานต์ ซึ่งหน่วยงานและองค์กรทุกภาคส่วนก็ได้ร่วมกันจัดกิจกรรมขึ้นทุกปี หลังจากคณะรัฐมนตรีมีมติให้วันที่ 13 เมษายนของทุกปีให้เป็น “วันผู้สูงอายุแห่งชาติ” เพื่อร่วมรณรงค์ให้ประชาชนทุกกลุ่มให้ความสำคัญกับผู้สูงอายุ เห็นถึงคุณค่าและตระหนักถึงความสำคัญกับผู้สูงอายุ ส่งเสริมและสนับสนุนให้ผู้สูงอายุมีส่วนร่วมในกิจกรรมต่างๆตามศักยภาพของตนเองอย่างมีคุณค่าและมีศักดิ์ศรี ส่งเสริมการเรียนรู้และการเป็นแบบอย่างที่ดีของผู้สูงอายุ [/quote]   ความหมายของ ผู้สูงอายุ ผู้สูงอายุ หมายถึง บุคคลทั้งเพศชายและเพศหญิงที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป ซึ่งจะแบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือผู้สูงอายุตอนต้น คือบุคคลที่มีอายุ 60-69 ปีทั้งชายและหญิง และผู้สูงอายุตอนปลาย คือบุคคลที่มีอายุ 70 ปีขึ้นไปทั้งชายและหญิง

วันผู้สูงอายุแห่งชาติ Read More »

วันป่าชุมชนชายเลนไทย-thai mangroveforest day

[quote font_size=”18″ color=”#ffdf42″ bgcolor=”#339933″ bcolor=”#ffdf42″ arrow=”yes”]วันที่ 12 เมษายน “วันป่าชุมชนชายเลนไทย” เพื่อให้ทุกฝ่ายร่วมมือกันรักษาทรัพยากรธรรมชาตินี้ไว้ไม่ให้สูญหายไป รวมไปถึงการสร้างจิตสำนึก ในการอนุรักษ์ธรรมชาติให้แก่เด็กรุ่นหลัง เพื่อนำมาพัฒนาให้ป่าชายเลน ซึ่งเป็นบ้านของสัตว์น้อยใหญ่ ได้เป็นแหล่งที่อาศัยของพวกมันตลอดไป[/quote] ในอดีตป่าชายเลนในประเทศไทยที่อุดมสมบูรณ์นั้น กระจายอยู่ทั่วไป แต่ภายหลังจากในปี พ.ศ.2518 ซึ่งมีพื้นที่ป่าชายเลน 2 ล้านไร่ แต่ในปี พ.ศ.2534 กลับเหลือเพียง 1 ล้านไร่ ป่าหายไปไหน? พวกมันถูกทำลายด้วยมนุษย์จากการเพาะเลี้ยงกุ้งอย่างผิดวิธี การขยายตัวของอุตสาหกรรมที่รุกร้ำเข้าพื้นที่ป่า ทำให้ปัจจุบันนี้พื้นที่ดังกล่าวเหลืออยู่ไม่ถึง 1 ล้านไร่ แม้ว่าจะการปลูกป่าทดแทนเท่าไหร่ก็ได้แต่ไม้โกงกาง ซึ่งไม่สามารถสร้างระบบนิเวศที่ซับซ้อนเหมือนธรรมชาติได้ ป่าชายเลนเกิดจากตะกอนที่มากับแม่น้ำ สะสมรวมตัวกันเป็นหาดเลนกว้าง บริเวณรอยต่อของทะเลกับพื้นดิน ซึ่งเป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์น้ำและสัตว์บก โดยปัจจุบันป่าชายเลนถูกรุกล้ำทำให้ระบบนิเวศน์ต่างๆ เสียไป จึงมีการกำหนดให้วันที่ 12 เมษายน ของทุกปี เป็น “วันป่าชุมชนชายเลนไทย” เพื่อให้ทุกฝ่ายร่วมมือกันรักษาทรัพยากรธรรมชาตินี้ไว้ไม่ให้สูญหายไป รวมถึงสร้างจิตสำนึก ในการอนุรักษ์ธรรมชาติเพื่อนำมาพัฒนาให้ป่าชายเลนไทยดำรงอยู่ต่อไป [quote font_size=”18″ color=”#ffdf42″ bgcolor=”#339933″ bcolor=”#ffdf42″

วันป่าชุมชนชายเลนไทย Read More »