วันสำคัญประจำปี

สาระความรู้เกี่ยวกับวันสำคัญของไทย และของต่างประเทศ-Important day of thailand and abroad

วันสากลแห่งความหลากหลายทางชีวภาพ-the-internationa-ogical-diversity

22 พฤษภา” วันสากลแห่งความหลากหลายทางชีวภาพ องค์การสหประชาชาติได้ประกาศเมื่อเดือน ธ.ค. 2000 ให้วันที่ 22 พ.ค. ของทุกปี เป็น “วันสากลแห่งความหลากหลายทางชีวภาพ” (International Day for Biological Diversity : IDB) เพื่อรำลึกถึงวันที่อนุสัญญาว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพ (Convention on Biological Diversity : CDB) เริ่มมีผลบังคับใช้คือ วันที่ 22 พ.ค. 1992 โดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่ออนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพ ใช้ประโยชน์องค์ประกอบของความหลากหลายทางชีวภาพอย่างยั่งยืน และการแบ่งปันผลประโยชน์ที่เกิดจากการใช้ทรัพยากรพันธุกรรมอย่างเท่าเทียมและยุติธรรม [box type=”note”]ความหลากหลายทางชีวภาพ หมายถึง สิ่งมีชีวิตนานาชนิด เช่น พืชและสัตว์รวมทั้งสิ่งมีชีวิตต่างๆ ที่มีความแตกต่างกันตามหน่วยของพันธุกรรมและสภาพถิ่นที่อยู่อาศัย สิ่งมีชีวิตเหล่านี้มีความหลากหลายทางพันธุกรรมเป็นสายพันธุ์  หากถิ่นที่อยู่อาศัยมีความแตกต่างกันมากเพียงใดก็ยิ่งมีสิ่งชีวิตหลากหลายมากยิ่งขึ้นเพียงนั้น[/box] [quote arrow=”yes”]ประวัติความเป็นมา[/quote] เรื่องความหลากหลายทางชีวภาพได้นำมาพิจารณากัน โดยโครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ (Unites Nation Environment Programme – UNPE) มาตั้งแต่ปี พ.ศ. […]

วันสากลแห่งความหลากหลายทางชีวภาพ 22 พ.ค Read More »

17 พฤษภาคม วันความดันโลหิตสูงโลก

โรคความดันโลหิตสูง เป็นหนึ่งในสาเหตุสำคัญที่ทำให้ประชากรทั่วโลกตายก่อนวัยอันควร และเป็นปัญหาที่กำลังมีความรุนแรงมากขึ้น ซึ่งภาวะความดันโลหิตสูงจะเรียกอีกอย่างว่า ฆาตกรเงียบ (Silent killer) เนื่องจากโรคนี้มักไม่มีสัญญาณเตือนถึงอาการและการแสดงของโรค ผู้คนจำนวนมากเป็นโรคนี้โดยที่ไม่รู้ตัวมาก่อนว่าตนเองมีความดันโลหิตสูง และหากไม่ได้รับการดูแลรักษาจะทำให้มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจ และโรคไต องค์กรอนามัยโลกรายงานว่า ปัจจุบันโรคความดันโลหิตสูงเป็นสาเหตุการตายทั่วโลกสูงถึง 7.5 ล้านคน หรือร้อยละ 12.8 ของสาเหตุการตายทั้งหมด จำนวนผู้ที่มีความดันโลหิตสูงทั่วโลกพบว่ามีจำนวนเกือบถึงพันล้านคน ซึ่งสองในสามจะอยู่ในประเทศกำลังพัฒนา และพบว่ากลุ่มวัยผู้ใหญ่ในเขตเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มี 1 คน ใน 3 คน มีภาวะความดันโลหิตสูง นอกจากนี้ยังพบว่าวัยผู้ใหญ่ที่มีอายุมากกว่า 25 ปี ประมาณ 4 ใน 10 คน จะมีความดันโลหิตสูงและในหลายๆประเทศพบว่า 1 ใน 5 คน เป็นกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง และมีการประมาณว่า 9 ใน 10 ของวัยผู้ใหญ่ที่มีอายุไปจนถึง 80 ปี จะเป็นโรคความดันโลหิตสูง (ศูนย์บริการสาธารณสุข 7 บุญมี ปุรุราชรังสรรค์, ม.ป.ป.)

17 พฤษภาคม วันความดันโลหิตสูงโลก Read More »

florence nightingale-วันพยาบาลสากล-มหาวิทยาลัยสยาม

วันที่ 12 พฤษภาคม ของทุกปี สภาพยาบาลระหว่างประเทศ กำหนดให้เป็นวันพยาบาลสากล   เพื่อระลึกถึงผู้ก่อกำเนิดวิชาชีพพยาบาล  รวมทั้งเพื่อเป็นการยกย่อง ให้เกียรติ ให้คนยึดถือเป็นแบบอย่าง ทั้งยังมีจุดมุ่งหมายให้พยาบาลทั่วโลกร่วมมือจัดกิจกรรมบำเพ็ญประโยชน์แก่สาธารณชน และกำหนดแนวทาง เพื่อให้พยาบาลทั่วโลกรณรงค์แก้ไขปัญหาสุขภาพในแต่ละปี [quote font_size=”18″ color=”#ffdf42″ bgcolor=”#ed3c3c” bcolor=”#ffdf42″ arrow=”yes”]ความเป็นมาของวันพยาบาลสากล[/quote] สภาพยาบาลระหว่างประเทศ (International Council of Nurses, ICN) ซึ่งเป็นองค์กรวิชาชีพพยาบาล ได้กำหนดให้วันที่ 12 พฤษภาคม ของทุกปี เป็นวันพยาบาลสากล (International Nurses Day) โดยเริ่มครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ.2514 (ค.ศ.1971) ทั้งนี้ วันที่ 12 พฤษภาคม เป็นวันเกิดของมิสฟลอเรนซ์ ไนติงเกล ผู้ก่อกำเนิดวิชาชีพการพยาบาล และเป็นผู้ที่มีอุดมการณ์ ตั้งใจจะบำเพ็ญสาธารณประโยชน์เพื่อมวลมนุษย์อย่างแท้จริง จนได้รับการยกย่องและเป็นที่รู้จักไปทั่วโลก [quote arrow=”yes”]จุดประสงค์ของการกำหนดวันพยาบาลสากล[/quote] วันพยาบาลสากลถูกกำหนดขึ้น เพื่อสดุดีคุณงามความดีของมิสฟลอเรนซ์ ไนติงเกล ที่ทำประโยชน์อย่างมากมายให้แก่มวลมนุษย์ รวมทั้งเพื่อเป็นการยกย่อง ให้เกียรติ

วันพยาบาลสากล Read More »

Henry Dunant

กาชาด  ถือกำเนิดมาเพื่อการช่วยเหลือบรรเทาทุกข์เพื่อนมนุษย์ วัตถุประสงค์ คือ การป้องกันชีวิต   และสุขภาพ  การเคารพในสิทธิของมนุษย์  รวมทั้งการส่งเสริมสัมพันธภาพ ความร่วมมือเพื่อสันติสุขที่ยั่งยืนของมนุษยชาติ   เป็นการช่วยเหลือโดยไม่แบ่งเชื้อชาติ สัญชาติ ศาสนา ชนชั้น และลัทธิการเมือง  นี่คือหลักการกาชาดที่สภากาชาดและสภาเสี้ยววงเดือนแดงประเภทต่าง ๆ ยึดถือปฏิบัติในการดำเนินงานตลอดมา คำว่า “ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์” (Human Dignity) ในการดำเนินงานของกาชาด จึงมีความสำคัญมาก เพราะมนุษย์ทุกคนมีคุณค่า มีศักดิ์ศรีที่ผู้อื่นมิอาจจะล่วงละเมิดได้ การปฏิบัติการของกาชาด จึงทำหน้าที่ ปกป้องศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ ทั้งในยามสงคราม และเมื่อเกิดภัยพิบัติต่างๆ และศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ จะต้องได้รับการคุ้มครองจากรัฐอีกด้วย [quote font_size=”18″ color=”#ffdf42″ bgcolor=”#ed3c3c” bcolor=”#ffdf42″ arrow=”yes”]ประวัติกาชาดสากล[/quote] นายอังรี ตูนังต์ (Henry Dunant) เกิดเมื่อวันที่ 8 พฤษภาคม พ.ศ.2371 ณ นครเจนีวา ประเทศ สวิตเซอร์แลนด์ เมื่อ พ.ศ. 2402 ในขณะที่เขาเดินทางไปประเทศอิตาลี และได้พบเห็นเหตุการณ์อันน่าสลด

วันกาชาดสากล Read More »

วันเสรีภาพสื่อมวลชนโลก-World Press Freedom Day

วันเสรีภาพสื่อมวลชนโลก (World Press Freedom Day) มีวัตถุประสงค์เพื่อที่จะสร้างความตระหนักถึง ความสำคัญของเสรีภาพสื่อ และย้ำเตือนรัฐบาลทั่วโลกให้เคารพ และสนับสนุน เสรีภาพในการแสดงออก [box] ประวัติความเป็นมา วันที่ 3 พฤษภาคม ของทุกปี องค์การการศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ หรือยูเนสโกเสนอให้สมัชชาใหญ่องค์การสหประชาชาติ ประกาศให้เป็น “วันเสรีภาพสื่อมวลชนโลก” (World Press Freedom Day) ตามข้อเสนอของยูเนสโก เมื่อ พ.ศ. 2534 ซึ่งอ้างอิงจากปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน ณ ที่ประชุมสมัชชาสหประชาติในปี พ.ศ.2491 ที่บัญญัติเรื่องเสรีภาพของสื่อมวลชนไว้ในข้อที่ 19 ว่า “ทุกคนมีสิทธิในอิสรภาพแห่งความเห็นและการแสดงออก สิทธินี้รวมถึงอิสรภาพในการที่จะถือเอาความเห็นโดยปราศจากการแทรกสอด และที่จะแสวงหา รับ และแจกจ่ายข่าวสาร และความคิดเห็นไม่ว่าโดยวิธีใดๆ และโดยไม่คำนึงถึงเขตแดน”   วันเสรีภาพสื่อมวลชนโลก ยังเป็นวันเดียวกันกับวันครบรอบการประกาศ ปฏิญญาวินด์ฮุค (Windhoek Declaration) ซึ่งว่าด้วยการส่งเสริมสื่อมวลชนที่เป็นอิสระและหลากหลาย ที่เมืองวินด์ฮุค ประเทศนามิเบีย เมื่อวันที่ 3 พฤษภาคม 2534

วันเสรีภาพสื่อมวลชนโลก-World Press Freedom Day Read More »

วันแรงงานแห่งชาติ 1 พฤษภาคม

วันแรงงานแห่งชาติ 1 พฤษภาคม หรือ เมย์เดย์ วันแรงงานสากล [box type=”note”]แรงงาน คือ ความสามารถในการทำงานเพื่อประโยชน์ในทางเศรษฐกิจ กิจการที่คนทำงานในการผลิตเศรษฐทรัพย์ ผู้ใช้แรงงาน (สมบัติ จำปาเงิน, 2547, น. 94)[/box] [quote arrow=”yes”]ประวัติวันแรงงานแห่งชาติ[/quote] วันแรงงานหรือในภาษาอังกฤษเรียกว่า “เมย์เดย์” เป็นวันเริ่มต้นการเข้าสู่ฤดูกาลใหม่ ที่เกษตรกรในประเทศแถบยุโรปจะหยุดงาน  เพื่อจัดพิธีเฉลิมฉลองและบวงสรวงเทพเจ้าแห่งการเกษตร  ต่อมาไม่นานเมื่อเศรษฐกิจหลักของประเทศพัฒนาเปลี่ยนจากเกษตรกรรมเป็นอุตสาหกรรม  ประเพณีวันหยุดประจำปีจึงถูกยกเลิก ขณะที่แรงงานมนุษย์ถูกมองเสมือนเครื่องจักรประเภทหนึ่ง ที่ทำงานสัปดาห์ละ 6 วัน วันละ 10-16 ชั่วโมง ในสิ่งแวดล้อมที่ย่ำแย่ ด้วยเหตุนี้ประชาชนในสหราชอาณาจักรจึงเริ่มเรียกร้องการปรับปรุงเวลาและเงื่อนไขการทำงาน  ซึ่งรู้จักกันในชื่อ “วันแปดชั่วโมง” หรือ “EIGHT-HOUR DAY” ในปี พ.ศ. 2360 ต่อมาในปี พ.ศ. 2399 แรงงานชาวออสเตรเลียพร้อมใจกันประกาศให้วันที่ 21 เมษายน เป็นวันหยุดประจำปีของแรงงานทุกคน เพื่อระลึกถึงเหตุการณ์ต่อสู้ในวันแปดชั่วโมง สหพันธ์สหภาพแรงงานจึงประกาศให้วันที่ 1 พฤษภาคม 2429 เป็นวันระลึกถึงวันแปดชั่วโมงทั่วโลกเมื่อได้ยินเช่นนั้น

วันแรงงานแห่งชาติ 1 พฤษภาคม Read More »

วันคุ้มครองผู้บริโภค

วันคุ้มครองผู้บริโภคเป็นอีกหนึ่งวันสำคัญที่จัดตั้งขึ้นเพื่อปกป้องและคุ้มครองผู้ใช้สินค้าและบริการต่าง ๆ ให้ได้รับความเป็นธรรม เพราะที่ผ่านมาเราต้องเผชิญกับเรื่องราวเอารัดเอาเปรียบสารพัด ไม่ว่าจะเป็น เครื่องสังฆทาน ที่มีการบรรจุสิ่งของด้อยคุณภาพ สินค้าหมดอายุ การจำหน่ายอุปกรณ์เครื่องใช้ต่างๆที่ไม่มีคู่มือ การขายสินค้า ไม่แสดงป้ายราคา แม่ค้าที่หันด้านตาชั่งเข้าหาตัวเอง สินค้ามือสองที่มีคุณภาพ ไม่ตรงตาม ที่เสนอขาย ใน ซุปเปอร์มาเกต ที่เอาสินค้าสดใกล้หมดอายุ หรือเสื่อมคุณภาพมาลดราคาวางจำหน่ายแทนที่ จะเก็บออกจาก ชั้นวาง การซื้อสินค้า ออนไลน์ ที่โอนทั้งของที่ไม่เป็นไปตามที่ระบุและอาจถูกหลอกลวงเงินทอง หรือที่ ร้องเรียนเข้ามาก็ต้องยกให้สินค้าประเภทอสังหาริมทรัพย์ทั้งหลายเมื่อผู้บริโภคส่วนใหญ่มักคุ้มครองตัวเองไม่ได้ การมีหน่วยงานที่คอยคุ้มครองผู้บริโภคจึงจำเป็นที่จะต้องเกิดขึ้นด้วยเหตุนี้ [quote font_size=”18″ color=”#ffdf42″ bgcolor=”#339933″ bcolor=”#ffdf42″ arrow=”yes”]ที่มาของวันคุ้มครองผู้บริโภค[/quote] จุดเริ่มต้นของวันคุ้มครองผู้บริโภคนั้น ย้อนไปเมื่อปี พ.ศ. 2512  ได้มีเจ้าหน้าที่สหพันธ์องค์กรผู้บริโภคระหว่างประเทศ จัดตั้งโดยสมาคมผู้บริโภคของประเทศต่าง ๆ รวมตัวกัน มีสำนักงานใหญ่อยู่ที่กรุงเฮก ประเทศเนเธอร์แลนด์ เข้ามาชักชวนองค์กรเอกชนในประเทศไทยให้เข้าร่วมสหพันธ์เช่นเดียวกับประเทศอื่น ๆ แต่เนื่องจากองค์กรเอกชนของประเทศไทยขณะนั้นยังไม่พร้อม จึงยังไม่ได้เกิดความร่วมมือกัน แต่ถึงกระนั้นทางสหพันธ์ก็ยังส่งเจ้าหน้าที่เข้ามาชักชวนอยู่เรื่อย ๆ กระทั่งในปี พ.ศ. 2514 องค์กรเอกชนของประเทศไทยได้จัดตั้งคณะกรรมการเพื่อการศึกษาปัญหาผู้บริโภคมีชื่อว่า “กรรมการศึกษาและส่งเสริมผู้บริโภค” และได้มีวิวัฒนาการเรื่อยมาในภาคเอกชน

วันคุ้มครองผู้บริโภค Read More »

วันสถาปนาสภากาชาดไทย

26 เมษายน พ.ศ. 2436 (ค.ศ. 1893) เป็นวันสถาปนาสภากาชาดไทย สภากาชาดไทยเดิมเรียก “สภาอุณาโลมแดง” ก่อตั้งขึ้นโดย “ท่านผู้หญิงเปลี่ยน ภาสกรวงษ์” หัวหน้าหญิงไทยสกุลสูงในสมัยนั้น มีภารกิจสำคัญคือ การส่งเวชภัณฑ์อาหาร เสื้อผ้าและของใช้ให้แก่ทหารในสนามรบในกรณีพิพาทเรื่องดินแดนฝั่งซ้ายแม่น้ำโขงระหว่างสยามกับฝรั่งเศสในปีนั้น โดยมี “สมเด็จพระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรี พระวรราชเทวี” (สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนี พันปีหลวง) ทรงเป็น “สภานายิกา” พระองค์แรกแห่งชาติสยาม   ความเป็นมาของสภากาชาดไทย เกิดขึ้นในสมัยรัชกาลที่ ๕ เมื่อ พ.ศ. 2436 (ร.ศ. 112) ขณะนั้นเกิดกรณีพิพาทเป็นเหตุให้เกิดการสู้รบกัน เรื่องดินแดนฝั่งซ้ายของแม่น้ำโขง ระหว่างประเทศสยามกับฝรั่งเศส มีทหารบาดเจ็บล้มตายเป็นจำนวนมาก ซึ่งในขณะนั้นยังไม่มีองค์การกุศลหลักที่ทำหน้าที่ช่วยเหลือพยาบาลและบรรเทาทุกข์ “ท่านผู้หญิงเปลี่ยน ภาสกรวงษ์” จึงได้ดำเนินการชักชวน และรวบรวมสตรีอาสาสมัครขึ้น ก่อนจะทำบันทึกกราบบังคมทูล “สมเด็จพระนางเจ้าสว่างวัฒนา พระบรมราชเทวี” (สมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า) ขอพระราชทานพระบรมราชานุญาต จัดตั้ง “สภาอุณาโลมแดงแห่งชาติสยาม” ขึ้น เพื่อทำหน้าที่ช่วยเหลือทหารที่ได้รับบาดเจ็บ    

วันสถาปนาสภากาชาดไทย Read More »

25 เมษายน วันมาลาเรียโลก

ไข้มาลาเรีย (Malaria) หรือ ไข้จับสั่นไข้ป่า ไข้ป้าง ไข้ร้อนเย็นหรือไข้ดอกสัก เป็นโรคที่มีประวัติอันยาวนานมาพร้อมกับการกําเนิดของมนุษยชาติ ในสมัย Hippocratis ( บิดาทางการแพทย์สมัยนั้น ) ได้ตั้งข้อ สังเกตเอาไว้ว่า โรคนี้มีความสัมพันธ์กับฤดูกาล ต่อมามีการค้นพบสัตว์เซลล์เดียวที่เรียก ว่า พลาสโมเดียม  (Plasmodium) ในวันที่ 6 พฤศจิกายน ค.ศ. 1880 โดย Laveran แพทย์ชาวฝรั่งเศส ว่าเป็นต้นเหตุของไข้มาลาเรีย ทําให้เขาได้รับรางวัลโนเบล เป็นการ เปิดศักราชใหม่ของการรักษาและควบคุมไข้มาลาเรีย โรคมาลาเรียเป็นโรคติดต่อ เกิดจากการติดเชื้อโปรโตซัว Plasmodium ซึ่ง เป็นสิ่งมีชีวิตเป็นสัตว์เซลล์เดียวอยู่ใน Class Sporozoa โดยมียุงก้นปล่องเป็นพาหะ มีวงจรชีวิตอยู่ทั้งในสัตว์มีกระดูกสันหลังและสัตว์จําพวกยุง เชื้อมาลาเรีย ปัจจุบันเชื้อมาลาเรียในประเทศไทย ที่พบได้ในคนมีทั้งหมด 5 ชนิด ได้แก่ (พงษ์วิทย์ บัวล้อมใบ, คะนึงนิจ คงพ่วง, เชิดชัย แก้วปา และฑิตถากร รอดนาค, 2552)

25 เมษายน วันมาลาเรียโลก Read More »

25 เมษายน วันคล้ายวันสวรรคตสมเด็จพระนเรศวรมหาราช

เนื่องจากวันที่ ๒๕ เมษายน ของทุกปี รัฐบาลกำหนดให้เป็นวันคล้ายวันสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระนเรศวรมหาราช พระองค์ทรงเป็นพระมหากษัตริย์นักรบกล้าหาญ และทรงได้กรอบกู้อิสรภาพของไทย ทรงทำนุบำรุงบ้านเมืองทั้งทางด้านเศรษฐกิจ สังคม ศิลปวัฒนธรรม ตลองจนปกป้องรักษาเอกราชของราชของชาติจนทำให้บ้านเมืองเจริญรุ่งเรืองมาตราบจนถึงปัจจุบันนี้ ภายหลังจากการยุทธหัตถี กับพระมหาอุปราชา ไม่นาน ขณะที่กรีฑาทัพไปตีเมืองนายและกรุงอังวะ ครั้นเมื่อสมเด็จพระนเรศวร กับสมเด็จพระเอกาทศรถ เสด็จยกกองทัพออกจากพระนคร เมื่อวันพฤหัสบดี แรม 8 ค่ำ เดือนยี่ ปีมะโรง พ.ศ. 2148 เสด็จโดยกระบวนเรือจากพระตำหนักป่าโมก แล้วเสด็จขึ้นบนที่ตำบล เอกราชไปตั้งทัพชัย ณ ตำบลพระหล่อ แล้วยกกองทัพบกไปทางเมืองกำแพงเพชรสู่เมืองเชียงใหม่ ครั้นเสด็จถึงเมืองเชียงใหม่ก็หยุดพักจัดกระบวนทัพอยู่หนึ่งเดือน แล้วให้กองทัพสมเด็จพระเอกาทศรถยกไปทางเมืองฝาง ส่วนกองทัพหลวงยกไปทางเมืองหาง ครั้นเสด็จถึงเมืองหางแล้วก็ให้ตั้งค่ายหลวงประทับอยู่ที่ทุ่งแก้ว สมเด็จพระนเรศวรทรงพระประชวรเป็นหัวระลอก (ฝี) ขึ้นที่พระพักตร์ แล้วกลายเป็นบาดทะพิษพระอาการหนัก จึงโปรดให้ข้าหลวงรีบไปเชิญเสด็จสมเด็จพระเอกาทศรถมาเฝ้า สมเด็จพระเอกาทศรถเสด็จฯ มาถึงได้ 3 วัน สมเด็จพระนเรศวรก็เสด็จสวรรคต เมื่อวันจันทร์ ขึ้น 8 ค่ำ เดือน 6 ปีมะเส็ง ตรงกับวันที่ 25

25 เมษายน วันคล้ายวันสวรรคตสมเด็จพระนเรศวรมหาราช Read More »

วันเทศบาล

24 เมษายน วันเทศบาล  วันสำคัญของกระทรวงมหาดไทย ได้ประกาศให้มีขึ้นเมื่อวันที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ.2532 ทั้งนี้ เพื่อตระหนักถึงบทบาท และความสำคัญของการปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบเทศบาล [quote font_size=”18″ color=”#ffdf42″ bgcolor=”#339933″ bcolor=”#ffdf42″ arrow=”yes”]เทศบาล เป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่จัดตั้ง ขึ้นตามพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2476[/quote] เทศบาลถือเป็นรูปแบบของการก่อกำเนิดขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบอื่น เช่น กรุงเทพมหานคร และเมืองพัทยา การปกครองท้องถิ่นในรูปแบบเทศบาลนับเป็นองค์กรที่มีความผูกพันใกล้ชิดกับประชาชนมากที่สุด  เพราะมีบทบาทสำคัญในการให้บริการสาธารณะ การสร้างความเจริญก้าวหน้า และการอำนวยความเป็นธรรมให้แก่ประชาชนในท้องถิ่น เป็นกำลังสำคัญในการสนับสนุนการพัฒนาประเทศและส่งเสริมการกินดีอยู่ดีของประชาชน [quote font_size=”18″ color=”#ffdf42″ bgcolor=”#339933″ bcolor=”#ffdf42″ arrow=”yes”]ประวัติความเป็นมา[/quote] ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระองค์ได้ทรงปฏิรูปการบริหารราชการแผ่นดินของไทยใหม่ ให้ทันสมัยเป็นอันเดียวกันกับนานาอารยะประเทศโดยจัดให้มีการปกครองส่วนท้องถิ่นขึ้นเป็นครั้งแรกในประเทศไทยในรูปแบบสุขาภิบาล ที่สุขาภิบาลท่าฉลอม จังหวัดสมุทรสาคร เมื่อวันที่ 18 ธันวาคม พ.ศ.2441 และได้ขยายการตั้งสุขาภิบาลออกไปในท้องถิ่นต่างๆ เพิ่มขึ้นทั่วประเทศ ต่อมาเมื่อประเทศไทยเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบบสมบูรณาญาสิทธิราชเป็นระบอบประชาธิปไตยในปี พ.ศ.2475 ได้มีการตราพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน แห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2476 ซึ่งได้ประกาศใช้พระราชบัญญัติจัดระเบียบเทศบาล จนกระทั่งได้ประกาศใช้พระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ.2496 จนถึงปัจจุบัน

24 เมษายน วันเทศบาล Read More »

วันหนังสือและลิขสิทธิ์สากล-World Book and Copyright Day 23 April

วันหนังสือและลิขสิทธิ์สากล (World Book and Copyright Day หรือ International Day of the Book or World Book Days 23 April) ตรงกับวันที่ 23 เมษายนของทุกปี เกิดขึ้นครั้งแรกในวันที่ 23 เมษายน 2538 โดย องค์การยูเนสโก โดยองค์การยูเนสโก (UNESCO) ด้วยเหตุผลที่ว่า หนังสือ คือ สิ่งที่มีพลังอำนาจสูงสุดและมีประสิทธิภาพมากที่สุด ในการกระจายความรู้และรักษาไว้ซึ่งความรู้นั้นๆ เพื่อมนุษยชาติ องค์การยูเนสโกต้องการให้ทั่วทั้งโลกส่งเสริมการอ่าน การจัดพิมพ์เผยแพร่ และการปกป้องทรัพย์สินทางปัญญาผ่านลิขสิทธิ์ และเหตุผลเนื่องจากในวันหนังสือและลิขสิทธิ์สากล-World Book and Copyright Day นี้เป็นวันที่มีความพิเศษตรงที่มันจะตรงกับวันคล้ายวันเกิด หรือวันเสียชีวิตของนักประพันธ์ที่มีชื่อเสียงในระดับโลกหลายท่าน อาทิ วันเกิดของวลาดิเมีย นาโบคอฟ (Vladimir Nabokov) นักประพันธ์ชาวรัสเซีย วันเกิดของมอริซ เมอฮูยอง (Maurice Druon) นักประพันธ์ชาวฝรั่งเศส วันเกิดของฮาลดูยง

วันหนังสือและลิขสิทธิ์สากล-World Book and Copyright Day 23 April Read More »