วันสำคัญประจำปี

สาระความรู้เกี่ยวกับวันสำคัญของไทย และของต่างประเทศ-Important day of thailand and abroad

วันคุ้มครองโลก Earth Day

วันคุ้มครองโลก EARTH DAY  22 เมษายน วันคุ้มครองโลก Earth Day คำว่าโลกในที่นี้มีความหมายอยู่ 2 นัย นัยแรก หมายถึง โลกทางกายภาพ ที่มีภูเขา แม่น้ำ พื้นดิน แผ่นฟ้า มหาสมุทร ส่วนอีกนัยหนึ่ง หมายถึง ชาวโลก คือ สรรพชีวิตทั้งปวงที่อาศัยอยู่บนโลก การคุ้มครองโลก จึงหมายถึงการคุ้มครองทั้งสิ่งแวดล้อมและคุ้มครองชาวโลกด้วย ซึ่งในปัจจุบันโลกกำลังเผชิญปัญหาเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมเป็นพิษที่ทวีความรุนแรงมากขึ้นและพบกับภาวะที่ก่อให้เกิดอันตรายต่อชีวิตหลากหลายรูปแบบอย่างรวดเร็ว ไม่ว่าจะเป็นปัญหาเกี่ยวกับมลภาวะทางอากาศ ทางน้ำ หรือการทำลายป่าที่ส่งผลให้เกิดวาตภัย อุทกภัยอย่างไม่ทันตั้งตัว จนก่อให้เกิดความเสียหายทั้งชีวิตและทรัพย์สินต่อประชากรโลกในหลายๆ ประเทศ ด้วยเหตุนี้จึงมีคนกลุ่มหนึ่งรวมตัวกันเรียกร้องให้ชาวโลกหันมาสนใจ และตระหนักถึงความสำคัญของการ คุ้มครองโลกให้อยู่รอดปลอดภัยจากภัยต่าง ๆ (iEnergy Guru, ม.ป.ป.) ประวัติความเป็นมา วันคุ้มครองโลก Earth Day วันคุ้มครองโลก เป็นวันที่ตั้งขึ้นเพื่อให้ผู้คนบนโลกได้ตระหนักถึงความเสื่อมโทรมและพิษภัยต่างๆ ที่ส่งผลกระทบต่อระบบสภาพแวดล้อมในธรรมชาติ จนก่อให้เกิดวิกฤตการณ์ทางนิเวศวิทยา แนวคิดเรื่องวันคุ้มครองโลกเริ่มต้นขึ้นในปี 2505 โดย เกย์ลอร์ด เนลสัน (Gaylord Nelson) […]

วันคุ้มครองโลก Earth Day Read More »

วันสถาปนากรุงเทพมหานคร 21 เมษายน-อนุสาวรีย์พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก

21 เมษายน พ.ศ. 2325 วันสถาปนากรุงเทพมหานคร หลังจากที่ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ทรงปราบดาภิเษกขึ้นเป็นปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์จักรีเมื่อวันที่ 6 เมษายนปีเดียวกัน จากนั้นได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ย้ายราชธานีจากฝั่งธนบุรีมาที่ฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยา แล้วจัดพิธี ยกเสาหลักเมืองที่กรุงเทพมหานคร รวมทั้งโปรดเกล้าฯ ให้มีการก่อสร้างพระบรมมหาราชวัง ตลอดจนวัดพระศรีรัตนศาสดาราม หรือวัดพระแก้วขึ้น พร้อมทั้งพระราชทานนามพระนครใหม่ว่า “กรุงเทพมหานคร บวรรัตนโกสินทร์ มหินทรายุธยา มหาดิลกภพ นพรัตนราชธานีบูรีรมย์ อุดมราชนิเวศน์มหาสถาน อมรพิมานอวตารสถิต สักกะทัตติยวิษณุกรรมประสิทธิ์” เป็นชื่อเมืองที่ยาวที่สุดในโลก มีความหมายว่า “พระนครอันกว้างใหญ่ดุจเทพนคร อันเป็นที่สถิตของพระแก้วมรกต เป็นนครที่ไม่มีใครสามารถรบชนะ มีความงามอันมั่นคงและเจริญยิ่ง เป็นเมืองหลวงที่บริบูรณ์ด้วยแก้ว 9 ประการ น่ารื่นรมย์ยิ่ง มีพระราชนิเวศน์ใหญ่โตมากมาย เป็นวิมานเทพที่ประทับของพระราชาผู้อวตารลงมา ซึ่งท้าวสักกเทวราชพระราชทานให้พระวิษณุกรรมลงมาเนรมิตไว้”  ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 4 ได้ทรงเปลี่ยนจาก “…บวรรัตนโกสินทร์…” เป็น “…อมรรัตนโกสินทร์…” ในปี พ.ศ.2425 ซึ่งตรงกับรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 เป็นปีที่กรุงรัตนโกสินทร์ครบรอบหนึ่งศตวรรษ หรือ 100 ปี

วันสถาปนากรุงเทพมหานคร 21 เมษายน Read More »

วันครอบครัว

13 เมษายน ของทุกปีเป็นวันสงกรานต์ คนไทยได้ยึดถือประเพณีอันดีงามสืบต่อกันมาแต่ โบราณกาล ถัดมาอีก 1 วันคือวันที่ 14 เมษายน ของทุกปีเป็น “วันครอบครัว” เพื่อมุ่งหวังจะให้มีการฟื้นฟูขนบธรรมเนียมประเพณีแต่ดั้งเดิม ซึ่งได้เปลี่ยนแปลงไปตามสถานการณ์ของเศรษฐกิจบ้านเมือง และยังเป็นช่วงที่คนไทยส่วนได้เดินทางกลับบ้าน ทำให้เทศกาลสงกรานต์ จึงถือเป็นโอกาส รวมญาติ รวมครอบครัว ทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้กับบุพการี รดน้ำดำหัว ขอพร ผู้เฒ่าผู้แก่ เพื่อเสริมสร้างความเป็นสิริมงคล และเพื่อความอบอุ่น เป็นสุขของครอบครัว ตามประเพณีไทยที่เคยปฏิบัติกันมา และรัฐบาลได้กำหนดให้วันอาทิตย์เป็นวันครอบครัว เพื่อสนับสนุนและส่งเสริมให้ประชาชนตระหนักถึงคุณค่า ของสถาบันครอบครัว และใช้เวลาว่างในวันหยุดสุดสัปดาห์ร่วมกันอีกทั้งยังส่งเสริมให้สมาชิกในครอบครัวได้อยู่พร้อมหน้าและ ทำกิจกรรมต่างๆ ร่วมกันเพื่อเป็นการกระชับความสัมพันธ์ ระหว่างสมาชิกในครอบครัวและสร้างความรักความอบอุ่นในครอบครัวจะส่งผลให้สังคมไทยเป็นสังคม ที่มีครอบครัวแข็งแรง ซึ่งจะช่วยลดปัญหาสังคมไทยในด้านต่าง ๆ [quote font_size=”18″ color=”#ffdf42″ bgcolor=”#339933″ bcolor=”#ffdf42″ arrow=”yes”]ประวัติวันครอบครัว[/quote] เมื่อวันที่ 31 ตุลาคม 2532 คณะรัฐมนตรี โดย พล.อ.ชาติชาย ชุณหะวัณ เป็นนายกรัฐมนตรี ได้มีมติเห็นชอบและอนุมัติให้วันที่ 14 เมษายนของทุกปีเป็นวันแห่งครอบครัว

14 เมษายน วันครอบครัว Read More »

วันผู้สูงอายุแห่งชาติ

รัฐบาลในสมัย พล.เอกเปรม ติณสูลานนท์ ได้ตระหนักถึงความสำคัญของผู้สูงอายุ และปัญหาต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้น คณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อ วันที่ 14 ธันวาคม 2525 อนุมัติให้วันที่ 13 เมษายน ของทุกปีเป็น วันผู้สูงอายุแห่งชาติ และได้เลือก “ดอกลำดวน” เป็นสัญลักษณ์ของผู้สูงอายุ [quote font_size=”18″ color=”#ffdf42″ bgcolor=”#339933″ bcolor=”#ffdf42″ arrow=”yes”] “วันผู้สูงอายุแห่งชาติ” เป็นวันที่ถูกผูกรวมไว้กับวันขึ้นปีใหม่ไทยหรือก็คือวันสงกรานต์ ซึ่งหน่วยงานและองค์กรทุกภาคส่วนก็ได้ร่วมกันจัดกิจกรรมขึ้นทุกปี หลังจากคณะรัฐมนตรีมีมติให้วันที่ 13 เมษายนของทุกปีให้เป็น “วันผู้สูงอายุแห่งชาติ” เพื่อร่วมรณรงค์ให้ประชาชนทุกกลุ่มให้ความสำคัญกับผู้สูงอายุ เห็นถึงคุณค่าและตระหนักถึงความสำคัญกับผู้สูงอายุ ส่งเสริมและสนับสนุนให้ผู้สูงอายุมีส่วนร่วมในกิจกรรมต่างๆตามศักยภาพของตนเองอย่างมีคุณค่าและมีศักดิ์ศรี ส่งเสริมการเรียนรู้และการเป็นแบบอย่างที่ดีของผู้สูงอายุ [/quote]   ความหมายของ ผู้สูงอายุ ผู้สูงอายุ หมายถึง บุคคลทั้งเพศชายและเพศหญิงที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป ซึ่งจะแบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือผู้สูงอายุตอนต้น คือบุคคลที่มีอายุ 60-69 ปีทั้งชายและหญิง และผู้สูงอายุตอนปลาย คือบุคคลที่มีอายุ 70 ปีขึ้นไปทั้งชายและหญิง

วันผู้สูงอายุแห่งชาติ Read More »

วันป่าชุมชนชายเลนไทย-thai mangroveforest day

[quote font_size=”18″ color=”#ffdf42″ bgcolor=”#339933″ bcolor=”#ffdf42″ arrow=”yes”]วันที่ 12 เมษายน “วันป่าชุมชนชายเลนไทย” เพื่อให้ทุกฝ่ายร่วมมือกันรักษาทรัพยากรธรรมชาตินี้ไว้ไม่ให้สูญหายไป รวมไปถึงการสร้างจิตสำนึก ในการอนุรักษ์ธรรมชาติให้แก่เด็กรุ่นหลัง เพื่อนำมาพัฒนาให้ป่าชายเลน ซึ่งเป็นบ้านของสัตว์น้อยใหญ่ ได้เป็นแหล่งที่อาศัยของพวกมันตลอดไป[/quote] ในอดีตป่าชายเลนในประเทศไทยที่อุดมสมบูรณ์นั้น กระจายอยู่ทั่วไป แต่ภายหลังจากในปี พ.ศ.2518 ซึ่งมีพื้นที่ป่าชายเลน 2 ล้านไร่ แต่ในปี พ.ศ.2534 กลับเหลือเพียง 1 ล้านไร่ ป่าหายไปไหน? พวกมันถูกทำลายด้วยมนุษย์จากการเพาะเลี้ยงกุ้งอย่างผิดวิธี การขยายตัวของอุตสาหกรรมที่รุกร้ำเข้าพื้นที่ป่า ทำให้ปัจจุบันนี้พื้นที่ดังกล่าวเหลืออยู่ไม่ถึง 1 ล้านไร่ แม้ว่าจะการปลูกป่าทดแทนเท่าไหร่ก็ได้แต่ไม้โกงกาง ซึ่งไม่สามารถสร้างระบบนิเวศที่ซับซ้อนเหมือนธรรมชาติได้ ป่าชายเลนเกิดจากตะกอนที่มากับแม่น้ำ สะสมรวมตัวกันเป็นหาดเลนกว้าง บริเวณรอยต่อของทะเลกับพื้นดิน ซึ่งเป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์น้ำและสัตว์บก โดยปัจจุบันป่าชายเลนถูกรุกล้ำทำให้ระบบนิเวศน์ต่างๆ เสียไป จึงมีการกำหนดให้วันที่ 12 เมษายน ของทุกปี เป็น “วันป่าชุมชนชายเลนไทย” เพื่อให้ทุกฝ่ายร่วมมือกันรักษาทรัพยากรธรรมชาตินี้ไว้ไม่ให้สูญหายไป รวมถึงสร้างจิตสำนึก ในการอนุรักษ์ธรรมชาติเพื่อนำมาพัฒนาให้ป่าชายเลนไทยดำรงอยู่ต่อไป [quote font_size=”18″ color=”#ffdf42″ bgcolor=”#339933″ bcolor=”#ffdf42″

วันป่าชุมชนชายเลนไทย Read More »

วันสงกรานต์

วันสงกรานต์ (Songkran day) ตรงกับวันที่ 13 เมษายน ของทุกปี คนไทยได้ยึดถือประเพณีอันดีงามสืบต่อกันมาแต่ โบราณกาล ปกติวันสงกรานต์จะมี 3 วัน คือ เริ่มวันที่ 13 เมษายน ถึงวันที่ 15 เมษายน วันแรกคือวันที่ 13 เป็นวันมหาสงกรานต์ วันที่พระอาทิตย์ต้องขึ้นสู่ราศีเมษ วันที่ 14 เป็นวันเนา (พระอาทิตย์คงอยู่ที่ 0 องศา) วันที่ 15 เป็นวันเถลิงศกใหม่ และเริ่มจุลศักราชในวันนี้ เมื่อก่อนจริงๆ มีถึง 4 วัน คือวันที่ 13-16 เป็นวันเนาเสีย 2 วัน (วันเนาเป็นวันอยู่เฉยๆ) เป็นวันว่าง พักการงานนอกบ้านชั่วคราว จะเห็นได้ว่า วันสงกรานต์เป็นวันขึ้นปีใหม่ตั้งแต่สมัยกรุงสุโขทัย จนถึง พ.ศ. 2483 ทางราชการจึงได้เปลี่ยนไหม่ โดยกำหนดเอาวันที่ 1 มกราคม เป็นวันขึ้นปีใหม่ เพื่อให้เข้ากับ หลักสากลที่นานาประเทศนิยมปฏิบัติ

วันสงกรานต์ Read More »

วันอนามัยโลก- world health day

ประวัติและความเป็นมา วันอนามัยโลก องค์การอนามัยโลก (World Health Organization, WHO) เป็นองค์การชำนาญพิเศษของสหประชาชาติ (Specialized Agencies of the United Nations System) ซึ่งมีกำเนิดมาจากการที่ประชากรโลกถูกภัยคุมคามจากโรคระบาดต่าง ๆ ทำให้เกิดปัญหาที่ต้องพิจารณากันในระหว่างประชาชาติต่าง ๆ เพราะจะมีโรคระบาดแพร่จากประเทศหนึ่งไปยังประเทศหนึ่งอยู่เสมอ ทำให้ต้องมีการป้องกันและควบคุมโรคติดต่อระหว่างประเทศต่าง ๆ ต่อมาได้มีความร่วมมือกันในการจัดการประชุมเกี่ยวกับสุขภาพอนามัยระหว่างประเทศเป็นครั้งแรกที่กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส เมื่อพ.ศ. ๒๓๔๙ เพื่อวางมาตรการควบคุมและกักกันโรคระบาดระหว่างประเทศ ในเวลาต่อมา คณะมนตรีด้านสังคมและเศรษฐกิจแห่งสหประชาชาติ ได้จัดให้มีการประชุมว่าด้วยสุขภาพระหว่างประเทศ เมื่อ พ.ศ. ๒๔๘๙ ที่เมืองนิวยอร์ก ประเทศสหรัฐอเมริกา ที่ประชุมได้เล็งเห็นว่าสุขภาพของประชาชนเป็นรากฐานของสันติภาพและความมั่นคงปลอดภัยของประชาชาติทั้งมวล จึงได้จัดตั้งคณะกรรมาธิการเพื่อเตรียมการสถาปนาองค์การอนามัยโลก โดยจัดการร่างธรรมนูญขององค์การ อนามัยโลกแล้วเสร็จ ประกาศใช้ธรรมนูญเมื่อวันที่ ๗ เมษายน พ.ศ. ๒๔๙๑ ซึ่งงานขององค์การอนามัยโลก ดำเนินการภายใต้นโยบายและการปกครองของสมัชชาอนามัยโลก ที่ประกอบไปด้วยผู้แทน ของประเทศสมาชิก และเพื่อเป็นการกระจายการ ปฏิบัติงานขององค์การฯ ให้ทั่วถึงส่วนต่างๆ ของโลก สมัชชาอนามัยโลกในการประชุมสมัยที่ ๑ ได้มีมติ กำหนดพื้นที่การดำเนินงานออกเป็น

วันอนามัยโลก World Health Day Read More »

วันจักรี

[box type=”note”]วันจักรี Chakri Memorial Day ตรงกับ วันที่ 6 เมษายนของทุกปี เป็นวันที่ระลึกถึงพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชและมหาจักรีบรมราชวงศ์[/box] วันจักรี สำคัญอย่างไร วันจักรี หมายถึง วันที่ระลึกถึงพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกฯ ปฐมบรมราชวงศ์จักรี เสด็จกรีฑาทัพถึงพระมหานครทรงรับอัญเชิญขึ้นเถลิงถวัลย์ราชสมบัติ ดำรงราชอาณาจักรสยามประเทศ [quote font_size=”18″ color=”#ffdf42″ bgcolor=”#339933″ bcolor=”#ffdf42″ arrow=”yes”]ประวัติวันจักรี[/quote] เมื่อวันที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2325 เป็นวันที่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช (ร.1) เสด็จปราบดาภิเษก ขึ้นครองราชย์เป็นกษัตริย์แห่งราชวงศ์จักรี และทรงสร้างกรุงเทพมหานครขึ้นเป็นเมืองหลวงของไทย มาจนถึงทุกวันนี้ ด้วยพระมหากรุณาธิคุณดังกล่าว ในปี พ.ศ. 2416 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (ร.5) จึงโปรดเกล้าฯ ให้หล่อพระบรมรูปของพระเจ้าอยู่หัวทั้ง 4 พระองค์ (ร.1 – ร.4) เพื่อประดิษฐานไว้ให้พระมหากษัตริย์องค์ต่อๆ มา พระบรมวงศานุวงศ์ ข้าราชการ และประชาชนได้ถวายบังคมสักการะ โดยเป็นการระลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณ เป็นธรรมเนียมปีละครั้ง

วันจักรี 6 เมษายน Read More »

วันอนุรักษ์มรดกไทย

[box type=”note”]วันอนุรักษ์มรดกไทย ตรงกับวันที่ ๒ เมษายนของทุกปี ซึ่งตรงกับวันคล้ายวันพระราชสมภพของ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในฐานะที่ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณ อย่างใหญ่หลวงในงานด้านศิลปวัฒนธรรมของชาติ[/box] อนุรักษ์ คือ พิทักษ์รักษาให้คงอยู่ในรูปเดิม ตามรักษา ระวัง ป้องกัน มรดก คือ ทรัพย์สมบัติของผู้ตายที่ยกให้ทายาท มรดกไทย คือ ทุกสิ่งที่คนไทยรับสืบทอดกันมา วันอนุรักษ์มรดกไทย หมายถึง มรดกทางวัฒนธรรมที่แสดงออกถึงสัญลักษณ์ของความเป็นชาติ ซึ่งได้แก่ โบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ โบราณสถาน วรรณกรรม ศิลปหัตถกรรม นาฏศิลป์และดนตรี ตลอดจนถึงการดำเนินชีวิตและคุณค่าประเพณีต่าง ๆ อันเป็นผลผลิตร่วมกันของผู้คนในผืนแผ่นดินในช่วงระยะเวลาที่ผ่านมา และยังเป็น วันเทิดพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ที่พระองค์ทรงเป็นแบบอย่าง ในการบำเพ็ญพระราชกรณียกิจ ในด้านการอนุรักษ์มรดกของชาติในสาขาต่าง ๆ รวมทั้งได้เจริญรอยตามเบื้องพระยุคคลบาท ในการสร้างสรรค์และรักษามรดกของชาติให้ยั่งยืนตกทอดถึงลูกหลานไทย[divide icon=”circle” width=”medium”] รัฐบาลในช่วงปี พ.ศ.๒๕๒๘ ซึ่งมีพลเอกเปรม ติณสูลานนท์ เป็นนายกรัฐมนตรี ได้มีมติเมื่อวันที่ ๒๖ กุมภาพันธ์ ประกาศให้วันที่

2 เมษายน วันอนุรักษ์มรดกไทย Read More »

วันออมสิน+มหาวิทยาลัยสยาม+ห้องสมุด

[box type=”note”]“แบงค์ลีฟอเทีย” ต้นแบบการออม รัชกาลที่ 6 ทรงเห็นคุณประโยชน์ของการออมทรัพย์ เพื่อให้ประชาชนรู้จักการประหยัดการเก็บออม มีสถานที่เก็บรักษาทรัพย์สินเงินทองของประชาชน ให้ปลอดภัยจากโจรผู้ร้าย จึงทรงริเริ่มจัดตั้งคลังออมสินทดลองขึ้น โดยทรงพระราชทานนามแบงค์ว่า “ลีฟอเทีย”[/box]   [quote arrow=”yes”]ประวัติความเป็นมา[/quote] คลังออมสิน ถือกำเนิดขึ้นเมื่อวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2456 โดยพระราชประสงค์ของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 ที่ทรงตระหนักถึงความสำคัญของการเก็บรักษาทรัพย์ให้ปลอดภัยจากโจรผู้ร้าย ด้วยพระราชปณิธานที่จะให้คลังออมสินเป็นที่เก็บรักษาทรัพย์สินอย่างปลอดภัย และฝึกฝนให้ราษฎรรู้จักเก็บออมทรัพย์อย่างถูกวิธี  และทรงจัดตั้งคลังออมสินขึ้นโดยสังกัด กรมพระคลังมหาสมบัติ ดำเนินธุรกิจภายใต้พระราชบัญญัติคลังออมสิน พ.ศ.2456 ต่อมาในปี พ.ศ.2472 คลังออมสินได้ไปอยู่ในความรับผิดชอบของกรมไปรษณีย์  โทรเลข  ต่อมาภายหลังเมื่อสงครามโลกครั้งที่ 2 ยุติลงรัฐบาลได้เห็นถึงคุณประโยชน์ของการออมทรัพย์จึงได้ยกฐานะ ของคลังออมสินขึ้นเป็นองค์กรของรัฐบาล ภายใต้พระราชบัญญัติธนาคารออมสินมีการบริหารโดยอิสระ ภายใต้การควบคุมคณะกรรมการ ซึ่งได้รับการแต่งตั้งจาก รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง  จนมาถึงปี พ.ศ. 2489  ซึ่งถือเป็นพระมหากรุณาธิคุณอันล้นพ้นที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9  ได้ทรงโปรดเกล้าฯให้ยกฐานะคลังออมสินขึ้นเป็นธนาคารออมสิน  โดยทรงตราพระราชบัญญัติธนาคารออมสินขึ้นเพื่อรองรับกับความก้าวหน้าของกิจการคลังออมสิน และเปิดดำเนินการในรูปแบบธนาคารตั้งแต่เมื่อวันที่ 1 เมษายน พ.ศ.

วันออมสินของไทย Read More »

วันข้าราชการพลเรือน Civil servant day-รับรางวัล

เนื่องด้วยวันที่ ๑ เมษายน พ.ศ. ๒๔๗๑ เป็นวันที่พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พุทธศักราช ๒๔๗๑  มีผลใช้บังคับ เป็นการจัดระเบียบข้าราชการฝ่ายพลเรือน ให้เป็นมาตรฐาน จึงกำหนดเอาวันที่ ๑ เมษายน เป็น วันข้าราชการพลเรือน (Civil servant day) [box type=”note”] พระบรมราโชวาทของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช พระราชทานแก่ข้าราชการพลเรือน เนื่องในโอกาสวันข้าราชการพลเรือน ปีพุทธศักราช ๒๕๕๘ งานราชการนั้น คืองานของแผ่นดิน มีผลเกี่ยวเนื่องถึงประโยชน์ของบ้านเมืองและประชาชนทุกคน. งานทุกอย่างจึงต้องมีผู้ปฏิบัติและมีผู้รับช่วง เพื่อให้งานดำเนินต่อเนื่องไปไม่ขาดสาย. ดังนั้น ผู้ปฏิบัติบริหารงานราชการทุกฝ่ายทุกระดับจึงไม่ควรยกเอาเรื่องใครเป็นผู้ทำมาก่อน หรือใครเป็นผู้รับช่วงงานขึ้นเป็นข้อสำคัญนัก จะต้องถือประโยชน์ที่จะเกิดจากงานเป็นหลักใหญ่ แล้วร่วมกันคิดร่วมกันทำ ด้วยความอุตสาหะเสียสละและด้วยความสุจริตจริงใจ. งานทุกอย่างจึงจะดำเนินไปได้ อย่างราบรื่น ไม่ติดขัด และสำเร็จผลเป็นประโยชน์ได้แท้จริง และยั่งยืนตลอดไป. อาคารเฉลิมพระเกียรติ โรงพยาบาลศิริราช วันที่ ๓๑  มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๘ [/box] [divide icon=”circle” width=”medium”] ข้าราชการคำโบราณมีความ หมายถึง

วันข้าราชการพลเรือน Read More »

พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่3

[box type=”note”]๓๑ มีนาคม ของทุกปี เป็นวันที่ระลึกพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว  พระมหาเจษฎาราชเจ้า ซึ่ง คณะรัฐมนตรีได้มีมติให้ถือเป็นวันสำคัญของชาติเพื่อประกอบงานรัฐพิธีถวายราช สักการะ โดยมิต้องถือเป็นวันหยุด ราชการ และเห็นชอบให้ถวายพระราชสมัญญามหาราชว่า “ พระมหาเจษฎาราชเจ้า ” แปลว่า “ พระเจ้า แผ่นดินผู้เป็นใหญ่ ”[/box] ด้วยพระมหากรุณาธิคุณอันใหญ่หลวง ของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่ทรงปกครอง บ้าน เมืองและเหล่าพสกนิกรของพระองค์ ตลอดจนพระชนม์ชีพทำให้ประเทศชาติมั่นคง และมีความเจริญรุ่งเรือง เป็นอเนกประการนั้น ประชาชนชาวไทยต่างสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณของพระองค์เป็นอย่างสูง [quote arrow=”yes”]พระราชประวัติ[/quote] พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว พระมหากษัตริย์ลำดับที่ ๓ ของราชวงศ์จักรี แห่งกรุงรัตนโกสินทร์  ทรงเป็นพระราชโอรสองค์ใหญ่ในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยกับสมเด็จพระศรีสุลาลัย (เจ้าจอมมารดาเรียม) พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระนามเดิมว่า  พระองค์เจ้าชายทับ ประสูติเมื่อวันจันทร์ แรม ๑๐ ค่ำ เดือน ๔ ปีมะแม ตรงกับ วันที่ ๓๑ มีนาคม พ.ศ.๒๓๓๐ ทรงสวรรคต เมื่อวันที่

๓๑ มีนาคม วันที่ระลึกพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว Read More »