การประชุมกลุ่มงานพัฒนาและวิเคราะห์ทรัพยากรสารสนเทศ ในคณะอนุกรรมการพัฒนาระบบและเครือข่ายห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษาเอกชน (อพส.) ครั้งที่ ๑๘/๖/๒๕๖๖

ประชุมคณะอนุกรรมการพัฒนาระบบและเครือข่ายห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษาเอกชน ครั้งที่ ๑/๒๕๖๑

การประชุมกลุ่มงานพัฒนาและวิเคราะห์ทรัพยากรสารสนเทศ ในคณะอนุกรรมการพัฒนาระบบและเครือข่ายห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษาเอกชน (อพส.) ครั้งที่ ๑๘/๖/๒๕๖๕  

กลุ่มงานพัฒนาและวิเคราะห์ทรัพยากรสารสนเทศ ในคณะอนุกรรมการพัฒนาระบบและเครือข่ายห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษาเอกชน (อพส.) ชุดที่ ๑๘ (๑ สิงหาคม ๒๕๖๔ – ๓๑ กรกฎาคม ๒๕๖๖) ได้จัดประชุม ครั้งที่ ๑๘/๖/๒๕๖๖ วันศุกร์ที่ ๓๐ มิถุนายน ๒๕๖๖ เวลา ๑๓.๓๐ น. – ๑๖.๓๐ น. ผ่านระบบออนไลน์โปรแกรม Zoom พื่อติดตามการดำเนินงานของกลุ่มงานพัฒนาและวิเคราะห์ทรัพยากรสารสนเทศ ซึ่งในการประชุมครั้งนี้ มีห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษาเอกชนในสมาชิกของกลุ่มงาน ที่เข้าร่วมประชุม จำนวน ๒๙ คน จาก ๑๗ สถาบัน ได้แก่ มหาวิทยาลัยกรุงเทพมหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี มหาวิทยาลัยเกริก มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต มหาวิทยาลัยคริสเตียน มหาวิทยาลัยเซาธ์อีสท์บางกอก มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ มหาวิทยาลัยพายัพ มหาวิทยาลัยเมธารัถย์ (ม.ชินวัตร) มหาวิทยาลัยรังสิต มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม กทม. มหาวิทยาลัยศรีปทุม ชลบุรี มหาวิทยาลัยสยาม มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ และสถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น 

รายงานการประชุมกลุ่มงานพัฒนาและวิเคราะห์ทรัพยากรสารสนเทศ ครั้งที่ ๑๘/๖/๒๕๖๖  (PDF)

กลุ่มงานพัฒนาและวิเคราะห์ทรัพยากรสารสนเทศ ได้ดำเนินงานโครงการพัฒนาเพื่อให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ตามที่คณะอนุกรรมการพัฒนาระบบและเครือข่ายห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษาเอกชน (อพส.) ที่ได้กำหนดไว้ ซึ่ง อาจารย์พรรณี จิวพุทธิธรรม จากสำนักหอสมุดและทรัพยากรสารสนเทศ มหาวิทยาลัยสยาม ประธานกลุ่มงานพัฒนาและวิเคราะห์ทรัพยากรสารสนเทศ ชุดที่ ๑๘ (วาระที่ ๑ สิงหาคม ๒๕๖๔ – ๓๑ กรกฎาคม ๒๕๖๖) ได้ดำเนินการประชุม โดยสรุปหัวข้อการประชุม ครั้งที่ ๑๘/๖/๒๕๖๖ ดังนี้

. ประชาสัมพันธ์เผยแพร่องค์ความรู้การประชุม/อบรม/สัมมนา

สำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ร่วมกับหอสมุดแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จัดงานสัมมนาความร่วมมือระหว่างห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษา ครั้งที่ 35 หัวข้อ: นักปฏิรูปการเรียนรู้แห่งห้องสมุดที่ปราดเปรียว = Agile library : the adaptive learning agent เมื่อวันจันทร์ที่ 19 – วันอังคารที่ 20 มิถุนายน 2566 ณ ห้องคอนเสิร์ตฮอล อาคารอุทยานเรียนรู้ ป๋วย 100 ปี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต จังหวัดปทุมธานี องค์ความรู้ที่ได้รับ: แนวคิดและการบริหารงานแบบ “Agile Organization” ซึ่งบรรณารักษ์ห้องสมุดต่างๆ ควรศึกษาไว้เพื่อใช้เป็นแนวทางหรือทางเลือกหนึ่งที่จะช่วยนำพาและยกระดับองค์กรให้สอดรับกับโลกที่เปลี่ยนแปลงไป สามารถศึกษาองค์ความรู้ย้อนหลังได้จากเอกสารประกอบการบรรยาย ดังนี้

. การประชุมของ คณะอนุกรรมการพัฒนาระบบและเครือข่ายห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษาเอกชน (อพส.) ชุดที่ ๑๘ ครั้งที่ ๔/๒๕๖๖ 

คณะอนุกรรมการพัฒนาระบบและเครือข่ายห้องสมุด สถาบันอุดมศึกษาเอกชน (อพส.) ชุดที่ ๑๘ ได้จัดการประชุมครั้งที่ ๔/๒๕๖๖ ในวันศุกร์ที่ ๒๑ กรกฎาคม ๒๕๖๖ เวลา ๑๓.๓๐ น. – ๑๖.๓๐ น.  โดยจัดประชุมในรูปแบบ Onsite ณ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ วิทยาเขตสุวรรณภูมิ และ Online ผ่านโปรแกรม ZOOM โดยมีประธานกลุ่มงานทั้ง ๒ กลุ่มงานในสังกัด อพส. เข้าร่วมประชุม เพื่อรายงานผลการดำเนินงานของกลุ่มงานด้วย ในส่วนของกลุ่มงานพัฒนาและวิเคราะห์ทรัพยากรสารสนเทศ อยู่ระหว่างการจัดทำ “รายงานการดำเนินงานของ กลุ่มงานพัฒนาและวิเคราะห์ทรัพยากรสารสนเทศ ชุดที่ ๑๘ ต่อที่ประชุมคณะอนุกรรมการพัฒนาระบบและเครือข่ายห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษาเอกชน (อพส.) ครั้งที่ ๔/๒๕๖๖” ซึ่งเมื่อจัดทำเสร็จเรียบร้อยแล้วจะจัดส่งให้คณะอนุกรรมการกลุ่มงานพัฒนาฯ เพื่อพิจารณาก่อนนำเสนอต่อที่ประชุม อพส. ต่อไป

. ความคืบหน้าโครงการพัฒนาหัวเรื่องใหม่โดยผ่าน google.doc 

ประธาน ได้ให้ที่ประชุมร่วมกันพิจารณาตรวจสอบ และรับรองหัวเรื่องทั้งหมดที่นำเสนอไว้ ที่ Link google.doc: https://shorturl.asia/YbItR ตามที่ผู้รับผิดชอบโครงการจาก ศูนย์เรียนรู้และหอสมุด มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ จัดสร้างลิงค์ดังกล่าวไว้ เพื่อใช้ในการนำเสนอหัวเรื่องใหม่ให้ที่ประชุมพิจารณารับรอง โดยมีหัวเรื่องใหม่ที่รอการพิจารณารับรอง รวมจำนวน ๑๙ หัวเรื่อง ซึ่งนำเสนอโดย มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ และมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย

มติที่ประชุม ที่ประชุมพิจารณาอนุมัติรับรองหัวเรื่องใหม่ ผ่าน จำนวน ๑๕ หัวเรื่อง รอการตรวจสอบจำนวน ๔ หัวเรื่อง โดยมีรายการหัวเรื่องใหม่ที่ผ่านการอนุมัติตาม Link google.doc: https://shorturl.asia/YbItR และได้มอบหมาย มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ เป็นผู้รับผิดชอบการรวบรวมและจัดทำรายการหัวเรื่องที่ผ่านการพิจารณาอนุมัติรับรองทั้งหมด ในรูปแบบไฟล์หรือแบบรูปเล่ม

. วามคืบหน้าโครงการรวบรวมแหล่ง Open Access eBook & eJournal / eTheses & eResearch

ผู้รับผิดชอบโครงการจากมหาวิทยาลัยสยาม นำเสนอความคืบหน้าโครงการรวบรวมแหล่ง Open Access eBook & eJournal / eTheses & eResearch โดยได้สรุปจำนวนแหล่ง Open Open Access eBook & eJournal / eTheses & eResearch ทั้งหมดที่รวบรวมได้ จำนวน ๗๗ ฐาน สามารถดาวน์โหลดรายชื่อฐานข้อมูลเป็นไฟล์ PDF  โดยเข้าไปที่เว็บไซต์ที่ https://e-library.siam.edu/open-access-database/ 

. ความคืบหน้าโครงการพัฒนาทักษะใหม่ (UpSkill / ReSkill) บุคลากรกลุ่มงานพัฒนาและวิเคราะห์ทรัพยากรสารสนเทศ อพส. กิจกรรม : การเพิ่มพูนความรู้ทักษะการสร้างสื่อมัลติมีเดียสำหรับบรรณารักษ์ในยุคดิจิทัล  เรื่อง การสร้างคลิปวิดีโอด้วยเสียงบรรยาย Botin voic

ตามมติที่ประชุม ครั้งที่ ๑๘/๕/๒๕๖๖ ที่ประชุมเห็นควรจัดกิจกรรมหัวข้อองค์ความรู้ เรื่อง การสร้างคลิปวิดีโอด้วยเสียงบรรยาย Botin voic นั้น ประธาน ได้ขอเลื่อนการจัดกิจกรรมและยังไม่สามารถกำหนดวันเวลาการจัดกิจกรรมได้ เนื่องจากวิทยากรยังไม่สามารถจัดสรรเวลาให้กับกิจกรรมของกลุ่มงานฯ ได้

๖. พิจารณา การจัดทำร่าง “รายงานการดำเนินงานของ กลุ่มงานพัฒนาและวิเคราะห์ทรัพยากรสารสนเทศ  ชุดที่ ๑๘” (๑ สิงหาคม ๒๔๖๔ – ๓๑ กรกฎาคม ๒๕๖๖) ต่อที่ประชุมของ คณะอนุกรรมการพัฒนาระบบและเครือข่ายห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษาเอกชน (อพส.) ชุดที่ ๑๘ ครั้งที่ ๔/๒๕๖๖

ตามที่ กลุ่มงานพัฒนาและวิเคราะห์ทรัพยากรสารสนเทศ  ชุดที่ ๑๘ จะหมดวาระในวันที่ ๓๑ กรกฎาคม ๒๕๖๖ ประธาน จึงได้สรุปผลการดำเนินงานโครงการ/กิจกรรม ของกลุ่มงานพัฒนาและวิเคราะห์ทรัพยากรสารสนเทศ ชุดที่ ๑๘ โดยได้จัดทำร่าง“รายงานการดำเนินงานของ กลุ่มงานพัฒนาและวิเคราะห์ทรัพยากรสารสนเทศ  ชุดที่ ๑๘” (๑ สิงหาคม ๒๔๖๔ – ๓๑ กรกฎาคม ๒๕๖๖) เพื่อรายงานต่อที่ประชุมของ คณะอนุกรรมการพัฒนาระบบและเครือข่ายห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษาเอกชน (อพส.) ชุดที่ ๑๘ ครั้งที่ ๔/๒๕๖๖ ซึ่งที่ประชุมกลุ่มงานฯ พิจารณาผลการดำเนินงาน ดังนี้

๑) การประชุมของกลุ่มงานพัฒนาและวิเคราะห์ทรัพยากรสารสนเทศ  ชุดที่ ๑๘ ได้ดำเนินการจัดประชุมรวม ๖ ครั้ง ได้แก่

  • ๑.๑) ครั้งที่ ๑๘/๑/๒๕๖๔  วันพุธที่ ๒๔ พฤศจิกายน ๒๕๖๔ เวลา ๑๔.๐๐-๑๖.๐๐ น. ผ่านระบบออนไลน์โปรแกรม Zoom ผู้เข้าร่วมประชุม จำนวน ๔๐ คน จาก ๒๕  สถาบัน
  • ๑.๒) ครั้งที่ ๑๘/๒/๒๕๖๕  วันศุกร์ที่ ๔ มีนาคม ๒๕๖๕ เวลา ๑๓.๓๐ น.–๑๖.๓๐ น. ผ่านระบบออนไลน์โปรแกรม Zoom ผู้เข้าร่วมประชุม จำนวน ๓๐ คน จาก ๑๗ สถาบัน
  • ๑.๓) ครั้งที่ ๑๘/๓/๒๕๖๕  วันพุธที่ ๑๗ สิงหาคม ๒๕๖๕ เวลา ๑๓.๓๐ น. – ๑๖.๓๐ น. ผ่านระบบออนไลน์โปรแกรม Zoom ผู้เข้าร่วมประชุม จำนวน ๔๑ คน จาก ๑๗ สถาบัน
  • ๑.๔) ครั้งที่ ๑๘/๔/๒๕๖๕  วันพฤหัสบดีที่ ๒๗ ตุลาคม ๒๕๖๕ เวลา ๑๓.๓๐ น. – ๑๖.๓๐ น. ผ่านระบบออนไลน์โปรแกรม Zoom ผู้เข้าร่วมประชุม จำนวน ๒๖ คน จาก ๑๖ สถาบัน
  • ๑.๕) ครั้งที่ ๑๘/๕/๒๕๖๖ วันอังคารที่ ๑๔ มีนาคม ๒๕๖๖ เวลา ๑๓.๓๐ น. – ๑๖.๓๐ น. ผ่านระบบออนไลน์โปรแกรม Zoom ผู้เข้าร่วมประชุม จำนวน ๓๐ คน จาก ๑๗ สถาบัน
  • ๑.๖) ครั้งที่ ๑๘/๖/๒๕๖๖ วันศุกร์ที่ ๓๐ มิถุนายน ๒๕๖๖ เวลา ๑๓.๓๐ น. – ๑๖.๐๐ น. ผ่านระบบออนไลน์โปรแกรม Zoom ผู้เข้าร่วมประชุม จำนวน ๒๖ คน จาก ๑๔ สถาบัน

๒) โครงการพัฒนาหัวเรื่องใหม่โดยผ่าน google.doc ได้ดำเนินการพิจารณาอนุมัติรับรองหัวเรื่องใหม่ โดยผ่านการพิจารณาจำนวน ๔๒ หัวเรื่อง สามารถตรวจสอบได้ที่ https://shorturl.asia/YbItR

๓) โครงการรวบรวมแหล่ง Open Access eBook & eJournal / eTheses & eResearch ได้ดำเนินการรวบรวมแหล่ง Open Open Access eBook & eJournal / eTheses & eResearch จำนวน ทั้งหมด ๗๗ ฐาน สามารถดาวน์โหลดรายชื่อฐานข้อมูลเป็นไฟล์ PDF  ได้ที่เว็บไซต์ https://e-library.siam.edu/open-access-database/ 

๔) โครงการการจัดการความรู้  (KM) / การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ได้ดำเนินการรวม ๓ กิจกรรม ได้แก่

  •  ๔.๑) กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้: เรื่อง ห้องสมุดสีเขียวสู่สำนักงานสีเขียว วิทยากรผู้แบ่งปันความรู้/ถ่ายทอดความรู้ โดย อาจารย์นฤมล พฤกษศิลป์ รองผู้อำนวยการ สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยรังสิต จัดเมื่อวันศุกร์ที่ ๔ มีนาคม ๒๕๖๕ โดยมีผู้เข้าร่วมกิจกรรมจำนวน ๓๒ คน
  • ๔.๒) กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้: เรื่อง UNION CATALOG: การนำเข้าข้อมูลบรรณานุกรม ผู้รับผิดชอบกิจกรรม มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ นำเสนอความรู้ด้วยรูปแบบ Flow Chart และคู่มือการลงรายการตามมาตรฐานบนฐานข้อมูลสหบรรณานุกรม UC-TAL
  • ๔.๓) กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้: เรื่อง การนำเข้าข้อมูล TDC-ThaiLis Digital Collection ผู้รับผิดชอบกิจกรรม มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ และมหาวิทยาลัยรังสิต นำเสนอความรู้ด้วยรูปแบบ Flow Chart และคู่มือการนำเข้าข้อมูล TDC-ThaiLis Digital Collection

๕) โครงการพัฒนาทักษะใหม่ (UpSkill / ReSkill) บุคลากรกลุ่มงานพัฒนาฯ ได้ดำเนินการรวม ๓ กิจกรรม และเข้าร่วม ๑ กิจกรรม รวมเป็น ๔ กิจกรรม ได้แก่

  • ๕.๑) กิจกรรม: การเพิ่มพูนความรู้ทักษะการสร้างสื่อมัลติมีเดียสำหรับบรรณารักษ์ในยุคดิจิทัล เรื่อง “การนำ Line Notify มาประยุกต์ใช้ในงานห้องสมุด” วิทยากรผู้แบ่งปันความรู้/ถ่ายทอดความรู้ โดย อาจารย์พรรณี จิวพุทธิธรรม ประธานกลุ่มงานพัฒนาและวิเคราะห์ทรัพยากรสารสนเทศ และหัวหน้าแผนกพัฒนาทรัพยากรสารสนเทศ สำนักหอสมุดและทรัพยากรสารสนเทศ มหาวิทยาลัยสยาม จัดเมื่อวันพุธที่ ๑๗ สิงหาคม ๒๕๖๕ โดยมีผู้เข้าร่วมกิจกรรมจำนวน ๔๑ คน
  • ๕.๒) กิจกรรม: การเพิ่มพูนความรู้ทักษะการสร้างสื่อมัลติมีเดียสำหรับบรรณารักษ์ในยุคดิจิทัล เรื่อง “FOLIO ระบบห้องสมุดอัตโนมัติที่ใช้มาตรฐานใหม่”  วิทยากรผู้แบ่งปันความรู้/ถ่ายทอดความรู้ โดย คุณนันทรัตน์ นนทิวัฒน์วณิช จากบริษัท EBSCO จัดเมื่อวันพฤหัสบดีที่ ๒๗ ตุลาคม ๒๕๖๕ โดยมีผู้เข้าร่วมกิจกรรมจำนวน ๕๐ คน
  •  ๕.๓) กิจกรรม: การเพิ่มพูนความรู้ทักษะการสร้างสื่อมัลติมีเดียสำหรับบรรณารักษ์ในยุคดิจิทัล เรื่อง “การสร้างสื่อให้ดึงดูดโดยใช้โปรแกรม Canva” วิทยากรผู้แบ่งปันความรู้/ถ่ายทอดความรู้ โดย อาจารย์พรรณี จิวพุทธิธรรม ประธานกลุ่มงานพัฒนาและวิเคราะห์ทรัพยากรสารสนเทศ และหัวหน้าแผนกพัฒนาทรัพยากรสารสนเทศ สำนักหอสมุดและทรัพยากรสารสนเทศ มหาวิทยาลัยสยาม จัดในวันอังคารที่ ๑๔ มีนาคม ๒๕๖๖ โดยมีบรรณารักษ์และเจ้าหน้าที่ของกลุ่มงานพัฒนาและวิเคราะห์ทรัพยากรสารสนเทศ เข้าร่วมกิจกรรมจำนวน ๒๙ คน
  •  ๕.๔) กิจกรรม: การเพิ่มพูนความรู้ด้านลิขสิทธิ์ในยุคดิจิทัล กลุ่มงานฯ ไม่ได้จัดกิจกรรมเองโดยตรง แต่ได้ประชาสัมพันธ์ให้คณะอนุกรรมการของกลุ่มงานเข้าร่วม โครงการการประชุมวิชาการหอสมุดแห่งชาติ ประจำปี ๒๕๖๕ เรื่อง “บทบาทและการปรับตัว ของห้องสมุดในยุคดิจิทัล: The Changing Roles of Libraries in the digital age” ซึ่งประกอบด้วยองค์ความรู้ ดังนี้ การจัดการและดูแลรักษาสารสนเทศดิจิทัล, การจัดการสารสนเทศดิจิทัลในห้องสมุด, การนำเสนอข้อมูลให้น่าสนใจด้วย Data Visualization, พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลกับงานห้องสมุด, และสารสนเทศดิจิทัล: ลิขสิทธิ์และการใช้งานอย่างเป็นธรรม จัดเมื่อวันที่ ๑๙-๒๐ กรกฎาคม ๒๕๖๕ ดาวน์โหลดเอกสารองค์ความรู้ข้างต้น ได้ที่ https://bit.ly/3AXvRub

๖) โครงการแบ่งปันความรู้สู่ชุมชนเพื่อการพัฒนาทักษะใหม่ (UpSkill / ReSkill) กลุ่มงานฯ ได้ดำเนินการจัดกิจกรรม ๑ ครั้ง คือ กิจกรรมเรื่อง “การสร้างสื่อให้ดึงดูดโดยใช้โปรแกรม Canva” โดยกลุ่มเป้าหมาย คือ ชุมชนของบุคลากร อาจารย์ และนักศึกษา ในสถาบันอุดมศึกษาเอกชน หรือบุคคลทั่วไปที่คณะอนุกรรมการของกลุ่มงานสามารถนำกิจกรรมของกลุ่มงานไปเผยแพร่ต่อได้ วิทยากรผู้แบ่งปันความรู้/ถ่ายทอดความรู้ โดย อาจารย์พรรณี จิวพุทธิธรรม ประธานกลุ่มงานพัฒนาและวิเคราะห์ทรัพยากรสารสนเทศ และหัวหน้าแผนกพัฒนาทรัพยากรสารสนเทศ สำนักหอสมุดและทรัพยากรสารสนเทศ มหาวิทยาลัยสยาม จัดในวันอังคารที่ ๑๔ มีนาคม ๒๕๖๖ ซึ่งกลุ่มเป้าหมาย ได้เข้าร่วมกิจกรรมจำนวน ๔๘ คน

มติที่ประชุม ที่ประชุมรับทราบ และเสนอแนะให้จัดส่ง “รายงานการดำเนินงานของ กลุ่มงานพัฒนาและวิเคราะห์ทรัพยากรสารสนเทศ  ชุดที่ ๑๘” (๑ สิงหาคม ๒๔๖๔ – ๓๑ กรกฎาคม ๒๕๖๖) ในไลน์ของกลุ่มงานฯ เพื่อตรวจสอบอีกครั้ง ก่อนที่จะนำเสนอต่อที่ประชุมของ คณะอนุกรรมการพัฒนาระบบและเครือข่ายห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษาเอกชน (อพส.) ชุดที่ ๑๘ ครั้งที่ ๔/๒๕๖๖


* รู้จัก กลุ่มงานพัฒนาและวิเคราะห์ทรัพยากรสารสนเทศ ในคณะอนุกรรมการพัฒนาระบบและเครือข่ายห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษาเอกชน (อพส.)

กลุ่มงานพัฒนาและวิเคราะห์ทรัพยากรสารสนเทศ จัดตั้งขึ้นโดยคณะอนุกรรมการพัฒนาระบบและเครือข่ายห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษาเอกชน (อพส.) หรือ ThaiPUL ก่อนจะรู้จักกับกลุ่มงาน ต้องทำความรู้จักกับ อพส.ก่อน  อพส. หรือ คณะอนุกรรมการพัฒนาระบบและเครือข่ายห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษาเอกชน ได้เริ่มขึ้น ณ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ เมื่อวันที่ 9 กรกฎาคม พุทธศักราช 2528 ด้วยความร่วมมือของกลุ่มบรรณารักษ์จากห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษาเอกชน จำนวน 11 แห่ง ได้นัดหมายมาประชุมปรึกษาหารือเพื่อพิจารณาหารูปแบบของความร่วมมือที่เหมาะสมที่ห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษาเอกชนทุกแห่งจะพึงร่วมมือกันได้ โยมีนายบุญสิริ สุวรรณเพ็ชร์ หัวหน้าบรรณารักษ์ สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ เป็นประธานจัดการประชุม และมี รศ.ดร.นวนิตย์ อินทรามะ เป็นที่ปรึกษาที่ประชุมได้คัดเลือกคณะกรรมการดำเนินงานความร่วมมือเป็นชุดแรกจำนวน 6 คน และได้จัดตั้งเป็น “ชมรมห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษาเอกชน (ชสอ. หรือ HPEL Group)” มีนายบุญสิริสุวรรณเพ็ชร์ เป็นประธานชมรม ในปี พุทธศักราช 2530 ชมรมห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษาเอกชนได้เปลี่ยนสถานภาพเป็น“คณะอนุกรรมการพัฒนาห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษาเอกชน (อพห.)” อยู่ภายใต้การคำแนะนำของคณะอนุกรรมการฝ่ายพัฒนาในสังกัดสมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย(สสอท.) และจากมติที่ประชุมคณะกรรมการฝ่ายบริหาร สมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย(สสอท.) ครั้งที่ 6/2543 วันที่ 25 ตุลาคม 2543 ณ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ มีมติให้ เปลี่ยนชื่อย่อ จาก อพห. เป็น อพส. และมีชื่อเต็มคือ คณะอนุกรรมการพัฒนาระบบและเครือข่ายห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษาเอกชน

พันธกิจ

สร้างข้อตกลงในความร่วมมือด้านการจัดหา การสนับสนุน และการใช้ทรัพยากรสารสนเทศ เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดกับแต่ละสถาบัน ด้วยความประหยัด และยุติธรรม

วัตถุประสงค์

อพส. คือ กลไกการรวมพลัง ความสามัคคีระหว่างห้องสมุด ศูนย์สารสนเทศ สถาบันอุดมศึกษาเอกชน เพื่อผลักดันให้เกิดการพัฒนาคุณภาพงานบริการทางด้านวิชาการ ซึ่งมีวัตถุประสงค์หลัก ดังนี้ 1. ส่งเสริมความร่วมมือในการพัฒนาทรัยากรการเรียนรู้และบริการสารสนเทศให้เกิดประโยชน์สูงสุด 2. ส่งเสริมการพัฒนาคุณภาพและการบริการทางวิชาการของห้องสมุดและศูนย์สารสนเทศ 3. ส่งเสริมการค้นคว้าและวิจัยเพื่อผลิตผลงานในสาขาวิชาบรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์ 4. เป็นศูนย์กลางการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นทางวิชาการประสบการณ์ของบุคลากรในวิชาชีพ

หน้าที่ ของคณะอนุกรรมการพัฒนาระบบและเครือข่ายห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษาเอกชน (อพส.)

1. กำหนดนโยบายและประสานงานให้บรรลุวัตถุประสงค์ 2. มอบหมายงานให้ผู้เกี่ยวข้อง 3. แต่งตั้งกลุ่ม 4. ร่วมมือกันแก้ปัญหา 5. ประสานงานพื่อให้เกิดการทำงานอย่างแท้จริง

กิจกรรม ที่คณะอนุกรรมการพัฒนาระบบและเครือข่ายห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษาเอกชน (อพส.) ควรจัดทำ

1. กำหนดนโยบาย โครงสร้างให้เป็นลายลักษณ์อักษร 2. อนาคตของห้องสมุดควรจะพัฒนาไปในทิศทางของศูนย์สารนิเทศแห่งชาติ 3. บริการยืมคืนระหว่างห้องสมุดควรมีการขยายกว้างขึ้น 4. การนำคอมพิวเตอร์เข้ามาใช้ 5. อุปกรณ์การสื่อสาร 6. ฐานข้อมูลสำเร็จรูป 7. มีกลุ่มเทคโนโลยีสารสนเทศขึ้น 8. ควรมีการประเมิณผลของกิจกรรมที่ผ่านมา 9. ควรมีการวางแผนระยะสั้น-ระยะยาว 10. เผยแพร่ข่าวสารเพื่อความเข้าใจที่ถูกต้อง 11. ควรมีการประชาสัมพันธ์

การแบ่งกลุ่มงาน

2528 นับตั้งแต่ได้ร่วมมือกันปฏิบัติงานมาตั้งแต่ พุทธศักราช 2528 จนถึงปัจจุบัน พุทธศักราช 2546ได้ดำเนินการร่วมมือแบ่งกลุ่มงานพร้อมกับความร่วมมือของห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษาเอกชน ออกเป็น 5 กลุ่ม ดังนี้ 1. กลุ่มงานเทคนิค 2. กลุ่มงานบริการ 3. กลุ่มงานโสตทัศนบริการ 4. กลุ่มงานวารสาร 5. กลุ่มงานเทคโนโลยีสารสนเทศ  2552 คณะอนุกรรมการพัฒนาระบบและเครือข่ายห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษาเอกชน (อพส.) ครั้งที่ 12/1/2552 วันพุธที่ 5 สิงหาคม 2552 ณ ห้องประชุมสุรัตน์ 1 อาคารหอสมุด สุรัตน์โอสถานุเคราะห์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ วิทยาเขตรังสิต มีมิติให้รวมกลุ่มงาน โดยยุบรวมกลุ่มงานวารสารรวมเข้ากับกลุ่มงานพัฒนาทรัพยากรสารสนเทศ กลุ่มงานโสตทัศนบริการยุบรวมในกลุ่มงานเทคโนโลยีสารสนเทศ เหลือ 4 กลุ่มงาน ดังนี้ 1. กลุ่มงานบริการสารสนเทศ 2. กลุ่มงานพัฒนาทรัพยากรสารสนเทศ 3. กลุ่มงานวิเคราะห์ทรัพยากรสารสนเทศ 4. กลุ่มงานเทคโนโลยีสารสนเทศ 2561 คณะอนุกรรมการพัฒนาระบบและเครือข่ายห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษาเอกชน (อพส.) ครั้งที่ 1/2561 วันจันทร์ที่ 29 มกราคม 2561 ณ ห้องประชุม ช้ัน 8 อาคาร 24 มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย มีมิติให้รวมกลุ่มงาน เหลือเพียง 2 กลุ่มงาน ดังนี้ 1. กลุ่มงานพัฒนาและวิเคราะห์ทรัพยากรสารสนเทศ 2. กลุ่มงานบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ

วัตถุประสงค์ของกลุ่มงาน

คณะอนุกรรมการพัฒนาระบบและเครือข่ายห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษาเอกชน (อพส.) มีมติให้การส่งตัวแทนเข้าร่วมกลุ่มงานโดยพิจารณาหัวหน้างานหรือผู้มีอำนาจในการตัดสินใจรองจากหัวหน้างานเข้าร่วมประชุมคณะทำงานโดยมีวัตถุประสงค์ในการดำเนินงาน ดังนี้ 1. ส่งเสริมการผลิตงานทางวิชาการ 2. เป็นศูนย์กลางการแลกเปลี่ยนทางวิชาการของบุคลากร 3. ส่งเสริมความร่วมมือในการใช้ทรัพยากรร่วมกัน 4. ส่งเสริมการพัฒนาคุณภาพการบริการวิชาการ * ที่มา :  http://www.thaipul.org/index.php/2016-02-19-07-17-31

การประชุมกลุ่มงานพัฒนาและวิเคราะห์ทรัพยากรสารสนเทศ ในคณะอนุกรรมการพัฒนาระบบและเครือข่ายห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษาเอกชน (อพส.) ครั้งที่ ๑๖/๕/๒๕๖๒