admin

แนะนำหนังสือ 16 ต.ค. 2561

ชื่อหนังสือ: Spain เยือนถิ่นบอลดัง เมืองกระทิงดุ ชื่อผู้แต่ง: ตะวัน พันธ์แก้ว Call Number:  พ 914.604 ต258ส 2561 รายละเอียด: แนะนำหนังสือ “Spain เยือนถิ่นบอลดัง เมืองกระทิงดุ” คู่มือนำเที่ยวสเปนขึ้นมาในรูปแบบบันทึกการเดินทางผสมกับการเล่าเรื่อง โดยได้สอดแทรกประวัติศาสตร์และความรู้ที่เกี่ยวข้องกับสถานที่นั้นๆเอาไว้ เหมือนมีไกด์ส่วนตัวติดตามไปด้วย ทั้งจากเหนือจรดใต้บนดินแดนแห่งสองอารยธรรมเก่าแก่ โดยภายในเล่มมีเนื้อหานำเที่ยวอย่างละเอียด ซึ่งเริ่มจากการได้รู้จักประเทศสเปน Spain มาดริด เมืองหลวงของสเปน Madrid พระราชฐานเอลเอสโกเรียล El Escorial โตเลโด เมืองหลวงเก่าของสเปน Toledo ซาลามังกา เมืองมหาวิทยาลัยเก่าแก่ Salamanca กรานาดา ที่มั่นสุดท้ายของชาวมุสลิม บนคาบสมุทรไอบีเรีย Granada เซบียา เมืองหลวงแห่งอันดาลูเซีย Seville คอร์โดบา ศูนย์กลางแห่งความรู้ และวิทยาการ Cordoba บาเลนเซีย เมืองแห่งศิลปะและวิทยาศาสตร์ Valencia  บาร์เซโลนา มหานครแห่งสีสันและความอึกทึกครึกโครม Barcelona บิลเบา จากเมืองอุตสาหกรรม

แนะนำหนังสือ 16 ต.ค. 2561 Read More »

ท่องเที่ยววิถีไทย-My Brilliant Brain

แนะนำCD-DVD ประจำวันที่ 16 ตุลาคม 2561 ชื่อเรื่อง : รายงานประจำปี ๒๕๖๐ Annual Report 2017 การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ผู้แต่ง : การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย, Tourism Authority of Thailand CALL NUMBER: – รายละเอียด : แนะนำ CD การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ที่นำเสนอข้อมูลประจำปี 2560 ของการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (General Information on the Tourism Authority of Thailand) ทั้งในเรื่องประวัติความเป็นมา (TAT Background) พันธกิจ และเป้าหมายองค์กร วิสัยทัศน์ (TAT’s Vision, Mission and Organisational Targets) คณะกรรมการและคณะผู้บริหาร ททท. (TAT Board

แนะนำ CD-DVD ประจำวันที่ 16 ตุลาคม 2561 Read More »

วันล้างมือโลก 15 ตุลาคม

วันล้างมือโลก 15 ตุลาคม(Global Hand Washing Day) ตรงกับวันที่ 15 ตุลาคม ของทุกปี ถูกจัดขึ้นเป็นครั้งแรกในปี 2008 ณ เมืองสตอกโฮล์ม ประเทศสวีเดน โดยสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติ หรือยูเอ็น พร้อมกันนี้ได้มีการกำหนดให้ปี 2008 เป็นสากลแห่งการรักษาอนามัยด้วย เพื่อกระตุ้นเตือนให้ชาวโลก เห็นถึงความสำคัญของการล้างมือด้วยสบู่ว่า จะช่วยป้องกันโรคภัยไข้เจ็บได้ รวมถึงต้องการสร้างวัฒนธรรม การล้างมือให้สะอาดถูกสุขอนามัยขึ้นทั่วโลก วันล้างมือโลก จะช่วยให้ผู้คนตระหนักถึงความสำคัญของการล้างมือ สามารถลดโอกาสติดเชื้อโรคต่าง ๆ ได้เกือบ 50% โดย องค์การยูนิเซฟ ระบุว่า ในแต่ละปีนั้นมีเด็ก ๆ อายุต่ำกว่า 5 ขวบ เสียชีวิตจากโรคท้องร่วงถึงเกือบ 2 ล้านคน และจากโรคปอดบวมอีกราว 2 ล้านคน ซึ่งการล้างมือด้วยน้ำกับสบู่อย่างถูกวิธี จะช่วยลดการเสียชีวิตจากโรคท้องร่วงได้ถึง 50% และจากโรคปอดบวมได้อีกราว 25% ดังนั้น หัวใจหลักของ วันล้างมือโลก จึงต้องการมุ่งไปยังกลุ่มเด็กนักเรียน เพื่อหวังจะเพิ่มจำนวนเด็ก ๆ

วันล้างมือโลก 15 ตุลาคม Read More »

รัฐบาลเชิญชวนประชาชนสวมใส่เสื้อสีเหลือง ๑๓ ตุลาคม ๒๕๖๑

 ในวันเสาร์ที่ ๑๓ ตุลาคม ๒๕๖๑ ถือเป็นวันคล้ายวันสวรรคตพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร รัฐบาลเชิญชวนประชาชนสวมใส่เสื้อสีเหลือง ๑๓ ตุลาคม ๒๕๖๑ เนื่องในโอกาสครบรอบ 2 ปี หรือหากไม่มีเสื้อสีเหลือง ก็สามารถสวมเสื้อสีอื่นได้ แต่ไม่ควรสวมเสื้อสีดำ จะดูไม่เหมาะสม เนื่องจากไม่ได้มีการไว้ทุกข์แล้ว นอกจากนี้รัฐบาลยังได้จัดให้มีงานพระราชพิธีที่พระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัย รัฐบาลได้ประกาศเชิญชวนประชาชนทั่วประเทศ จัดกิจกรรมบำเพ็ญพระราชกุศลอุทิศถวายพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร โดยยึดแนวปฏิบัติเดิมที่ได้ดำเนินการมาแล้วในปี ๒๕๖๐ เช่น พิธีทำบุญตักบาตร พิธีทางศาสนาของศาสนาต่าง ๆ หรือกิจกรรมอื่น ๆ ตามความเหมาะสม ในห้วงก่อนหรือหลังวันคล้ายวันสวรรคตพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร ๑๓ ตุลาคม ๒๕๖๑ พิธีทำบุญตักบาตร กิจกรรมเจริญพระพุทธมนต์ กิจกรรมตามศาสนาที่ศาสนิกชนนับถือ กิจกรรมบำเพ็ญสาธารณประโยชน์ การจัดนิทรรศการ และกิจกรรมอื่นใดที่เป็นการน้อมรำลึกในพระราชกรณียกิจอันใหญ่หลวง ที่ทรงมีต่อประเทศชาติและประชาชน ในห้วงก่อนหรือหลังวันคล้ายวันสวรรคตพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร ๑๓ ตุลาคม ๒๕๖๑ การจัดพิธีถวายพระราชกุศลอุทิศถวายพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี (สปน.) ได้เชิญชวนให้ หน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และประชาชนทั่วไป

รัฐบาลเชิญชวนประชาชนสวมใส่เสื้อสีเหลือง ๑๓ ตุลาคม ๒๕๖๑ Read More »

วันสุขภาพจิต

วันสุขภาพจิตโลก (World Mental Health Day) ตรงกับวันที่ 10 ตุลาคม  เกิดขึ้นเพื่อให้สาธารณชนตระหนักถึงประเด็นปัญหาด้านสุขภาพจิตที่มีความสำคัญ โดยริเริ่มจาก สหพันธ์สุขภาพจิตโลก ( World Federation for Mental Health : WFMH) ร่วมกันทำงานกับสมาคมนานาชาติ เพื่อป้องกันการฆ่าตัวตาย (International  Assosiation for Suiside Prevention : IASP) และองค์กรอื่นๆ ร่วมสนับสนุนโดยองค์กรอนามัยโลก (WHO ) ประวัติความเป็นมา เกิดขึ้นครั้งแรกเมื่อ 10 ตุลาคม 1992 โดยรองเลขาธิการ (ในขณะนั้น) ริชาร์ด ฮันเตอร์  ( Richard Hunter) ในนามสมาพันธ์ และใช้อย่างเป็นทางการในวันที่ 10 ตุลาคมของทุกปี ในปี 1994 โดยคำแนะนำของนายยูจีน โบดี้ ( Eugene Brody

วันสุขภาพจิตโลก Read More »

วันที่อยู่อาศัยโลก

วันที่อยู่อาศัยโลก (World Habitat Day) องค์การสหประชาชาติ (UN) ได้กำหนดแผนการแก้ไขปัญหาที่อยู่อาศัยของประชากรมนุษย์ ตามแผน 40/202 เมื่อวันที่ 17 ธันวาคม 1985 เพื่อรณรงค์ให้ประเทศต่างๆ ทั่วโลก ได้ตระหนักถึงสิทธิพื้นฐานของการมีที่อยู่อาศัยที่เหมาะสม และการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์ และร่วมกันแก้ปัญหาให้มนุษย์ทุกคนมีที่อยู่อาศัย ในอนาคต เป็นการปฏิบัติกันทั่วโลก จนกระทั่งในปี ค.ศ.1989 (พ.ศ.2529)องค์การสหประชาชาติได้กำหนดให้วันจันทร์แรกของเดือนตุลาคม เป็นวันที่อยู่อาศัยโลก (World Habitat Day) วันที่อยู่อาศัยโลกปีนี้ องค์การสหประชาชาติกำหนดหัวข้อหลักในการรณรงค์เรื่อง “การจัดการขยะโดยเทศบาล” (Municipal Solid Waste Management) ซึ่งการขจัดขยะเป็นเรื่องสำคัญและมีผลต่อสิ่งแวดล้อม จำเป็นที่ชุมชน ท้องถิ่น และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะต้องร่วมมือกันในการจัดการ โดยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและชุมชน จะต้องมีบทบาทในเรื่องนี้มากขึ้น สถานะการณ์ที่อยู่อาศัยของประชากรในประเทศไทย รัฐบาลได้กำหนดแนวทางการพัฒนาที่อยู่อาศัยที่สอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) ขององค์การสหประชาติ เป้าหมายที่ 11 เรื่อง “การทำให้เมืองและการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์มีความสามารถในการปรับตัว มีภูมิต้านทานและยืดหยุ่นต่อการเปลี่ยนแปลงให้เกิดสุขภาวะอย่างครอบคลุมและยั่งยืน” และวาระใหม่ในการพัฒนาเมืองอย่างยั่งยืน (New Urban Agenda) โดยให้ความสำคัญกับการพัฒนาที่อยู่อาศัยสำหรับทุกคน (Housing

วันที่อยู่อาศัยโลก Read More »

ไปรษณีย์โลก-worldpostday

ก่อนที่จะมี วันไปรษณีย์โลก 9 ตุลาคม มนุษย์ในอดีต ได้ใช้วิธีการติดต่อส่งสารกันในรูปแบบต่างๆ เช่น ตีเกาะ เคาะไม้ จุดไฟ หรือส่งสัญญานควันไฟ การพัฒนาการติดต่อสื่อสารก้าวหน้าขึ้นจากเดิมที่เคยใช้วิธีท่องจำเสียงเป็นบทสวด เดินทางข้ามน้ำข้ามทะเลมาบอกต่อกันไปเป็นทอดๆ (Memorized messages) จนเมื่อมีการประดิษฐ์ตัวอักษรใช้แทนเสียงที่พูดจากัน การสื่อสารก็พัฒนาขึ้นไปอีกขั้น  คนในยุคปัจจุบันถือสมาร์ตโฟนส่องดูข่าวสารโต้ตอบกันได้ในทันที แต่ในยุคสมัยอารยธรรมโบราณหลายพันปีก่อนคริสต์ศักราช เขาพกพานกพิราบติดตัวเพื่อใช้ในการส่งข้อความติดต่อสื่อสารกัน  ในรัชสมัยพระจักรพรรดิออกัสตัส (Augustus, 63 ปีก่อนคริสต์ศักราช ค.ศ. 14) แห่ง จักรวรรดิโรมัน ได้มีการจัดตั้งระบบติดต่อสื่อสารในกองพลต่างๆ โดยใช้พลม้าเร็วในการส่งข่าวสาร เดินทางข้ามน้ำ ข้ามทะเลทรายและพักตามจุดที่ตั้งเฉพาะ เรียกว่า โพซิตัส (Positus) จึงเชื่อว่า นี่คือที่มาของคำว่า “post” (การไปรษณีย์) นั่นเอง ในยุคกลางพบว่ามีการใช้นกพิราบสื่อสาร (Pigeon post) ต่อมาในปี พ.ศ. 1848 อิตาลีและสเปน มีการ จัดตั้งบริษัทรับส่งข่าวสารขึ้นให้บริการตามเมืองสำคัญๆ ในยุโรป ส่วนเมืองที่ไม่มีบริการนี้ จะใช้วิธีการฝากจดหมาย และสิ่งของไปมากับพ่อค้า ในคริสต์ศตวรรษที่ 16 การเดินทางทางทะเล การค้าขายเจริญมากขึ้น ในระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 17

วันไปรษณีย์โลก 9 ตุลาคม Read More »

basic-infographic 2nd

อบรมเชิงปฏิบัติการ Basic Info-graphic ครั้งที่ 2 (ไม่มีค่าใช้จ่าย) วันพฤหัสบดีที่ 11 ตุลาคม 2561 เวลา เริ่มเวลา 09.00-16.00 น. ณ ห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ ศูนย์สารสนเทศ อาคาร 15 ชั้น 1 ผู้เข้าอบรมจำนวน 25 ท่าน จัดโดย ศูนย์ฝึกอบรม สำนักหอสมุดกลาง และทรัพยากรสารสนเทศ มหาวิทยาลัยสยาม ในปัจจุบันการใช้สื่ออินโฟกราฟฟิค ได้รับความนิยมและแพร่หลายเป็นอย่างมาก จึงได้มีการ อบรมเชิงปฏิบัติการ Basic Info-graphic ขึ้น เพื่อให้บุคคลากร ได้นำไปต่อยอดในการสร้างสื่อ ในหน่วยงานของตนเอง ต่อไป อบรมเชิงปฏิบัติการ Basic Info-graphic ครั้งที่ 2

ขอเชิญอบรมเชิงปฏิบัติการ Basic Info-graphic ครั้งที่ 2 พฤหัสบดีที่ 11 ตุลาคม 2561 Read More »

James Allison, Tasuku Honjo win Nobel

ศ. เจมส์ พี. แอลลิสัน จากมหาวิทยาลัยเทกซัสของสหรัฐฯ และ ศ. ทาซุกุ ฮอนโจ จากมหาวิทยาลัยเกียวโตของญี่ปุ่น คือสองนักวิจัยด้านวิทยาภูมิคุ้มกันผู้ได้รับรางวัลโนเบลสาขาสรีรวิทยาหรือการแพทย์ ประจำปีนี้ จากผลงานการค้นพบวิธีรักษามะเร็งแนวใหม่ โดยตั้งแต่ปี 1995 ทั้งคู่ต่างได้มีการค้นพบโปรตีน CTLA-4 และ PD-1 ซึ่งสร้างปัญหาด้วยการทำตัวเป็น “เบรก” หยุดยั้งการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันในผู้ป่วยมะเร็ง ทำให้ต่อมาก็สามารถค้นพบกลไกที่สามารถปลดปล่อย “เบรก” นี้ได้เป็นผลสำเร็จ ช่วยปลดปล่อยห้เซลล์ภูมิคุ้มกัน ที่มีอยู่ในตัวของผู้ป่วย สามารถเข้าหยุดยั้งเซลล์มะเร็งได้ อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น นำมาสู่การคิดค้นยาที่ใช้รักษาผู้ป่วยมะเร็งบางชนิด ซึ่งพบว่าได้ผลดีอย่างยิ่งกับมะเร็งผิวหนังชนิดร้ายแรงและมะเร็งปอดแม้อยู่ในระยะลุกลาม ศ. แอลลิสันได้ค้นพบโปรตีน CTLA-4 ซึ่งทำหน้าที่เป็นตัวรับบนเซลล์เม็ดเลือดขาวชนิดทีเซลล์ (T-cell) ซึ่งโมเลกุลของตัวรับชนิดนี้จะยับยั้งการทำงานของภูมิคุ้มกันร่างกาย ศ. ฮอนโจได้ค้นพบโปรตีน PD-1 ในช่วงเวลาเดียวกัน วิธีรักษาโรคมะเร็งดังกล่าวซึ่งเรียกว่า Immune Checkpoint Therapy นับว่าแตกต่างจากวิธีรักษามะเร็งด้วยภูมิคุ้มกันแบบดั้งเดิมที่มุ่งโจมตีเซลล์มะเร็งโดยตรง แต่วิธีใหม่นี้มุ่งไปจัดการกับโปรตีนบางอย่าง ที่ทำตัวเป็นเสมือน “เบรก” ยับยั้งไม่ให้ภูมิคุ้มกันตามธรรมชาติของคนไข้เข้าสังหารเซลล์มะเร็งได้อย่างคล่องตัว สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาของสหรัฐฯ (FDA) และได้มีการอนุมัติให้แอนติบอดีต้านโปรตีน CTLA-4 และ PD-1 เป็นยาเพื่อการทดลองรักษามะเร็งมาตั้งแต่ปี 2014 แล้ว

รางวัลโนเบล 2 ผู้ค้นพบโปรตีนวายร้าย “เบรก” ภูมิคุ้มกันของผู้ป่วยมะเร็ง Read More »

แนะนำวารสาร เดือนตุลาคม

แนะนำวารสาร ประจำปี 2561 ประจำวันที่ 1 ต.ค. 2561 ห้องสมุด มหาวิทยาลัยสยาม เช่น วารสารสาธารณสุขและการพัฒนา, วารสารวิชาการ เป็นต้น

แนะนำวารสาร ประจำปี 2561 Read More »