การประกันคุณภาพ-การพัฒนาหน่วยงานสู่การเป็นองค์กรการเรียนรู้ 2562

การประกันคุณภาพ-การพัฒนาหน่วยงานสู่การเป็นองค์กรการเรียนรู้ สำนักหอสมุดและทรัพยากรสารสนเทศ ปีการศึกษา 2562

องค์ประกอบที่ 3 การบริหารจัดการ

ตัวบ่งชี้คุณภาพ 3.2 การพัฒนาหน่วยงานสู่การเป็นองค์กรการเรียนรู้

คำอธิบายตัวบ่งชี้: มาตรฐานการอุดมศึกษาข้อที่ 3 กำหนดให้สถาบันมีการสร้างและพัฒนาสังคมฐานความรู้และสังคมแห่งการเรียนรู้ ซึ่งต้องมีการจัดการความรู้เพื่อมุ่งสู่การเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ โดยมีการรวบรวมองค์ความรู้ที่มีอยู่ในคณะซึ่งกระจัดกระจาย อยู่ในตัวบุคคลหรือเอกสารมาพัฒนาให้เป็นระบบ  เพื่อให้ทุกคนในหน่วยงานสามารถเข้าถึงความรู้ และพัฒนาตนเองให้เป็นผู้รู้ รวมทั้งปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ อันจะส่งผลให้หน่วยงาน มีความสามารถในเชิงแข่งขัน กระบวนการในการบริหารจัดการความรู้ในหน่วยงานประกอบด้วย การระบุความรู้ การคัดเลือก การรวบรวม การจัดเก็บความรู้ การเข้าถึงข้อมูล และการแลกเปลี่ยนความรู้ทั้งภายในและภายนอกสถาบัน การสร้างบรรยากาศและวัฒนธรรมการเรียนรู้ภายในหน่วยงานการกำหนดแนววิธีปฏิบัติงาน ตลอดจนการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการความรู้ในสถาบันให้ดียิ่งขึ้น

เกณฑ์มาตรฐานการประเมิน 5  ข้อ ดังนี้

  1. มีการกำหนดประเด็นความรู้และเป้าหมายของการจัดการความรู้ที่สอดคล้องกับแผนกลยุทธ์ของหน่วยงานอย่างน้อยครอบคลุมพันธกิจ
  2.  กำหนดบุคลากรกลุ่มเป้าหมายที่จะพัฒนาความรู้และทักษะด้านการปฏิบัติงานชัดเจนตามประเด็นความรู้ที่กำหนดในข้อ 1
  3. มีการแบ่งปันและแลกเปลี่ยนเรียนรู้จากความรู้ ทักษะของผู้มีประสบการณ์ตรง (tacit knowledge) เพื่อค้นหาแนวปฏิบัติที่ดีตามประเด็นความรู้ที่กำหนดในข้อ 1 และเผยแพร่ไปสู่บุคลากรกลุ่มเป้าหมายที่กำหนด
  4. มีการรวบรวมความรู้ตามประเด็นความรู้ที่กำหนดในข้อ 1 ทั้งที่มีอยู่ในตัวบุคคลและแหล่งเรียนรู้อื่นๆ ที่เป็นแนวปฏิบัติที่ดีมาพัฒนาและจัดเก็บอย่างเป็นระบบโดยเผยแพร่ออกมาเป็นลายลักษณ์อักษร (explicit knowledge)
  5. มีการนำความรู้ที่ได้จากการจัดการความรู้ในปีการศึกษาปัจจุบันหรือปีการศึกษาที่ผ่านมาที่เป็นลายลักษณ์อักษร (explicit knowledge) และจากความรู้ ทักษะของผู้มีประสบการณ์ตรง (tacit knowledge) ที่เป็นแนวปฏิบัติที่ดีมาปรับใช้ในการปฏิบัติงานจริง

เกณฑ์การประเมิน

ระดับคะแนน
1 2 3 4 5
1 ข้อ 2 ข้อ 3 ข้อ 4  ข้อ 5 ข้อ

หลักฐานที่ต้องการ:

  1. ประเด็นความรู้ที่เกี่ยวกับการผลิตบัณฑิตและด้านการวิจัย และด้านอื่นๆที่สอดคล้องกับแผนกลยุทธ์ของหน่วยงาน
  2. รายชื่อบุคลากรกลุ่มเป้าหมายที่จะพัฒนาความรู้และทักษะด้านการปฏิบัติงาน และด้านอื่นๆ
  3. เอกสารหลักฐาน กิจกรรมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อค้นหา/กำหนดแนวปฏิบัติที่ดี
  4. แนวปฏิบัติที่ดีตามประเด็นความรู้ในรูปของ explicit knowledge เช่น คู่มือการปฏิบัติงาน
  5. เอกสารหลักฐานแสดงการเผยแพร่แนวปฏิบัติที่ดีตามประเด็นความรู้

ผลการดำเนินงานของสำนักหอสมุดและทรัพยากรสารสนเทศ ตามเกณฑ์มาตรฐาน  ตัวบ่งชี้ที่ 3.2  การพัฒนาหน่วยงานสู่การเป็นองค์กรการเรียนรู้

เกณฑ์มาตรฐาน: 1. มีการกำหนดประเด็นความรู้และเป้าหมายของการจัดการความรู้ที่สอดคล้องกับแผนกลยุทธ์ของหน่วยงานอย่างน้อยครอบคลุมพันธกิจ

ผลการดำเนินงาน: สำนักฯ ได้มีการกำหนดประเด็นความรู้ที่ต้องการพัฒนาหน่วยงาน  เรื่อง “พัฒนาบุคลากรห้องสมุดสู่การเป็นนักสารสนเทศที่ทันสมัย” ซึ่งสอดคล้องกับแผนกลยุทธ์  “พัฒนาความรู้สู่การปฏิบัติ” และครอบคลุมพันธกิจของสำนักฯ และเป้าหมายของการจัดการความรู้ ตามที่ระบุไว้ในโครงการ: “การแบ่งปันและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ (KM) เพื่อการพัฒนาคุณภาพการปฏิบัติงาน ปีการศึกษา 2562”

ข้อมูลหลักฐาน: เอกสารหมายเลข 4 แผนงานการจัดการความรู้(KM)-โครงการ: “การแบ่งปันและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ (KM) เพื่อการพัฒนาคุณภาพการปฏิบัติงาน ปีการศึกษา 2562”


เกณฑ์มาตรฐาน: 2. กำหนดบุคลากรกลุ่มเป้าหมายที่จะพัฒนาความรู้และทักษะด้านการปฏิบัติงานชัดเจนตามประเด็นความรู้ที่กำหนดในข้อ 1

ผลการดำเนินงาน: สำนักฯ ได้มีการกำหนดบุคลากรกลุ่มเป้าหมาย ที่จะพัฒนาความรู้และทักษะด้านการปฏิบัติงานชัดเจนตามประเด็นความรู้ที่กำหนดในข้อ1 ไว้ใน โครงการ “การแบ่งปันและแลกเปลี่ยนเรียนรู้: เพื่อการพัฒนาคุณภาพการปฏิบัติงาน” ตามกิจกรรมการพัฒนางานด้านต่างๆ ได้แก่

1) กิจกรรม การแบ่งปันและแลกเปลี่ยนประสบการณ์: การจัดทำโครงการการจัดการความรู้(KM) ในหน่วยงานสนับสนุน กลุ่มเป้าหมาย คือ บุคลากรสำนัก/ศูนย์ที่รับผิดชอบการประกันคุณภาพด้านการจัดการความรู้ของหน่วยงาน

2) กิจกรรม การประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ (KM): การนำเข้าและเผยแพร่ข้อมูลทรัพยากรสารสนเทศออนไลน์ บนเว็บไซต์ กลุ่มเป้าหมาย คือ คณะทำงานนำเข้าและเผยแพร่ข้อมูล ตามโครงการ “ห้องสมุดออนไลน์ เพื่อสนับสนุนการเรียนการสอนออนไลน์”

3) กิจกรรม เข้าร่วมประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้(KM): ตัวบ่งชี้และแนวทางการประเมินคุณภาพภายใน ระดับหน่วยงาน ประจำปีการศึกษา 2562 จัดโดยสำนักประกันคุณภาพการศึกษา กลุ่มเป้าหมาย คือ บุคลากรที่รับผิดชอบการประกันคุณภาพของหน่วยงาน

ข้อมูลหลักฐาน: เอกสารหมายเลข 5 สรุปแผนปฏิบัติการประจำฯ-สรุปโครงการ: “การแบ่งปันและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ (KM) เพื่อการพัฒนาคุณภาพการปฏิบัติงาน ปีการศึกษา 2562”


เกณฑ์มาตรฐาน: 3. มีการแบ่งปันและแลกเปลี่ยนเรียนรู้จากความรู้ ทักษะของผู้มีประสบการณ์ตรง (tacit knowledge) เพื่อค้นหาแนวปฏิบัติที่ดีตามประเด็นความรู้ที่กำหนดในข้อ 1 และเผยแพร่ไปสู่บุคลากรกลุ่มเป้าหมายที่กำหนด

ผลการดำเนินงาน: บุคลากรกลุ่มเป้าหมายของสำนักฯ ได้รับการพัฒนาความรู้จากการแบ่งปันและแลกเปลี่ยนเรียนรู้จากความรู้ ทักษะของผู้มีประสบการณ์ตรง (tacit knowledge) ในกิจกรรมตามโครงการ “การแบ่งปันและแลกเปลี่ยนเรียนรู้: เพื่อการพัฒนาคุณภาพการปฏิบัติงาน” ตามกิจกรรมการพัฒนางานด้านต่างๆ ได้แก่

1) กิจกรรม การแบ่งปันและแลกเปลี่ยนประสบการณ์: การจัดทำโครงการการจัดการความรู้(KM) ในหน่วยงานสนับสนุน จัดขึ้นเมื่อวันพุธที่ 27 พฤศจิกายน 2562 ผู้แบ่งปันความรู้: คือ คุณพรรณี จิวพุทธิธรรม  แลกเปลี่ยนเรียนรู้กับกลุ่มเป้าหมาย คือ บุคลากรสำนัก/ศูนย์ที่รับผิดชอบการประกันคุณภาพด้านการจัดการความรู้ของหน่วยงาน จำนวน 15 คน ประกอบด้วย บุคลากรจากศูนย์ศิลปวัฒนธรรม จำนวน 2 คน คือ นางสาวณัฏฐ์ชาพร วรโชคเศรษฐกุล และนางสาวณัฏฐนันท์ อุ่นอาวรณ์ จากสำนักส่งเสริมและพัฒนางานวิจัย จำนวน 1 คน คือ อาจารย์ดวงฤทัย สังข์ทอง จากสำนักแนะแนวการศึกษาและจัดหางาน จำนวน 2 คน คือ อาจารย์กันทิมา ปลื้มใจ และ อาจารย์นฤมล ศรีวิลัย จากห้องสมุดมารวยมหาวิทยาลัยสยาม จำนวน 1 คน คือ นางสาวกัลยาณี วีระยุทธวิไล และจากสำนักหอสมุดและทรัพยากรสารสนเทศ จำนวน 9 คน ได้แก่ 1.อาจารย์สุธน สุภาวงศ์ 2.นางสาววีระนันท์ พิชิตสถิตพงษ์ 3.นางสาววรรณวิสา เกิดมงคลโชค 4.นางสาวกัลยา ศุภพันธุ์มณี 5.นางณัชชา เดชาเต็งประทีป 6.สุดา ทองชิว 7.อารี แก้วพิพัฒน์ 8.นายสุทธิพจน์ ลิ้มอุดมพัฒน์   และ9. นางสาวสิริยากร ภัคดี (นักศึกษาฝึกงาน)

2) กิจกรรม การประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ (KM): การนำเข้าและเผยแพร่ข้อมูลทรัพยากรสารสนเทศออนไลน์ บนเว็บไซต์ จัดเมื่อวันอังคารที่ 31 มีนาคม 2563 เวลา 10.00 – 12.00 น. และอบรมทางออนไลน์ผ่านทาง ZOOM (2 ครั้ง) ผู้แบ่งปันความรู้:  คุณพรรณี จิวพุทธิธรรม และคุณมโนณัฐ รัตนจันทร์ แลกเปลี่ยนเรียนรู้กับกลุ่มเป้าหมาย คือ คณะทำงานนำเข้าและเผยแพร่ข้อมูล ตามโครงการ “ห้องสมุดออนไลน์ เพื่อสนับสนุนการเรียนการสอนออนไลน์” จำนวน 12 คน ประกอบด้วย 1.นายมโนณัฐ รัตนจันทร์ 2.นางพรรณี จิวพุทธิธรรม  3.นางสาววีระนันท์ พิชิตสถิตพงษ์ 4.นางสาววรรณวิสา เกิดมงคลโชค 5.นางสาวกัลยา ศุภพันธุ์มณี 6.นางสาวกัลยาณี วีระยุทธวิไล 7.นายสุทธิพจน์ ลิ้มอุดมพัฒน์  8.นางณัชชา เดชาเต็งประทีป และ 9.นางสาวอรชร ยิ่งใหญ่ 10.นางสุดา ทองชิว 11.อารี แก้วพิพัฒน์ 12.นางสาวพรพิศ องค์ศรัทธา

3) กิจกรรม เข้าร่วมประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้(KM): ตัวบ่งชี้และแนวทางการประเมินคุณภาพภายใน ระดับหน่วยงาน ประจำปีการศึกษา 2562 จัดโดยสำนักประกันคุณภาพการศึกษา เมื่อวันศุกร์ที่ 11 กันยายน 2563  ผู้ถ่ายทอดควมรู้: ผศ.ดร.พล.ร.ต.หญิงสุภัทรา เอื้อวงศ์ ผู้อำนวยการสำนักสำนักประกันคุณภาพการศึกษา มหาวิทยาลัยสยาม ให้กับกลุ่มเป้าหมาย คือ บุคลากรที่รับผิดชอบการประกันคุณภาพของหน่วยงาน ซึ่งสำนักหอสมุดฯจัดส่งบุคลากรเข้าร่วม จำนวน 3 คน ได้แก่ 1.อาจารย์สุธน สุภาวงศ์ 2.อาจารย์คมเดช บุญประเสริฐ 3.นางพรรณี จิวพุทธิธรรม

ข้อมูลหลักฐาน: เอกสารหมายเลข 11.3 เว็บไซต์ของสำนักฯ ที่ https://e-library.siam.edu/ –ที่เมนู “เกี่ยวกับสำนักฯ” เลือกที่ การจัดการความรู้(KM)


เกณฑ์มาตรฐาน: 4. มีการรวบรวมความรู้ตามประเด็นความรู้ที่กำหนดในข้อ 1 ทั้งที่มีอยู่ในตัวบุคคลและแหล่งเรียนรู้อื่นๆ ที่เป็นแนวปฏิบัติที่ดีมาพัฒนาและจัดเก็บอย่างเป็นระบบโดยเผยแพร่ออกมาเป็นลายลักษณ์อักษร (explicit knowledge)

ผลการดำเนินงาน: มีการรวบรวมความรู้ตามประเด็นความรู้ที่กำหนดในข้อ 1 โดยได้ทำการรวบรวมองค์ความรู้ที่ได้จากการจัดกิจกรรมตามโครงการและได้จัดเก็บอย่างเป็นระบบโดยเผยแพร่ออกมาเป็นลายลักษณ์อักษร (explicit knowledge) ที่เว็บไซต์ของสำนักฯ ที่ https://e-library.siam.edu/ ที่เมนู “เกี่ยวกับสำนักฯ” เลือกที่ การจัดการความรู้(KM) ได้แก่

1)กิจกรรม การแบ่งปันและแลกเปลี่ยนประสบการณ์: การจัดทำโครงการการจัดการความรู้(KM) ในหน่วยงานสนับสนุน เผยแพร่เป็นลายลักษณ์อักษร (explicit knowledge)  ทางเว็บไซต์ของสำนักฯ ที่ https://e-library.siam.edu/km-library-2562-1/

2) กิจกรรม การประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ (KM): การนำเข้าและเผยแพร่ข้อมูลทรัพยากรสารสนเทศออนไลน์ บนเว็บไซต์ เผยแพร่เป็นลายลักษณ์อักษร (explicit knowledge)  ทางเว็บไซต์ของสำนักฯ ที่ https://e-library.siam.edu/km-elibrary-2020-03-31/

3) กิจกรรม เข้าร่วมประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้(KM): ตัวบ่งชี้และแนวทางการประเมินคุณภาพภายใน ระดับหน่วยงาน ประจำปีการศึกษา 2562 เผยแพร่เป็นลายลักษณ์อักษร (explicit knowledge)  ทางเว็บไซต์ของสำนักฯ ที่ https://e-library.siam.edu/km-qa-indicator-2020-09-11/

ข้อมูลหลักฐาน: เอกสารหมายเลข 11.3 เว็บไซต์ของสำนักฯ ที่ https://e-library.siam.edu/ –ที่เมนู “เกี่ยวกับสำนักฯ” เลือกที่ การจัดการความรู้(KM)


เกณฑ์มาตรฐาน: 5. มีการนำความรู้ที่ได้จากการจัดการความรู้ในปีการศึกษาปัจจุบันหรือปีการศึกษาที่ผ่านมาที่เป็นลายลักษณ์อักษร (explicit knowledge) และจากความรู้ ทักษะของผู้มีประสบการณ์ตรง (tacit knowledge) ที่เป็นแนวปฏิบัติที่ดีมาปรับใช้ในการปฏิบัติงานจริง

ผลการดำเนินงาน: บุคลากรกลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วมกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ตามโครงการได้นำความรู้ที่ได้รับจากความรู้และทักษะของผู้มีประสบการณ์ตรง (tacit knowledge) ตามข้อ 4 และนำความรู้มาปรับใช้ในการปฏิบัติงานจริง 4 เรื่องได้แก่

1) กิจกรรม การแบ่งปันและแลกเปลี่ยนประสบการณ์: การจัดทำโครงการการจัดการความรู้(KM) ในหน่วยงานสนับสนุน ผลสำเร็จตามตัวบ่งชี้ของกิจกรรม: บุคลากรกลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วมกิจกรรมสามารถนำประเด็นความรู้ที่ได้รับไปประยุกต์ ใช้ในการปฏิบัติงานจริงในการเขียนโครงการการจัดการความรู้ (KM) ได้ ในส่วนของสำนักหอสมุดและทรัพยากรสารสนเทศได้นำเสนอโครงการการจัดการความรู้ (KM) ในปีการศึกษา 2562 ในโครงการ: โครงการ “การแบ่งปันและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ (KM) เพื่อการพัฒนาคุณภาพการปฏิบัติงาน ปีการศึกษา 2562” 

2) กิจกรรม การประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ (KM): การนำเข้าและเผยแพร่ข้อมูลทรัพยากรสารสนเทศออนไลน์ บนเว็บไซต์ ผลสำเร็จตามตัวบ่งชี้ของกิจกรรม: บุคลากรกลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วมกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ได้นำความรู้ที่ได้รับไปใช้ในการปฏิบัติงานจริงในการนำเข้าและเผยแพร่ข้อมูลทรัพยากรสารสนเทศออนไลน์ บนเว็บไซต์ ที่ https://ectl.siam.edu/courses/ 

3) กิจกรรม เข้าร่วมประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้(KM): ตัวบ่งชี้และแนวทางการประเมินคุณภาพภายใน ระดับหน่วยงาน ประจำปีการศึกษา 2562 ผลสำเร็จตามตัวบ่งชี้ของกิจกรรม: บุคลากรกลุ่มเป้าหมายที่สำนักหอสมุดและทรัพยากรสารสนเทศ จัดส่งเข้าร่วมกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ได้นำความรู้ที่ได้รับไปปรับใช้ในการปฏิบัติงานจริงในการจัดทำ ตัวบ่งชี้และเกณฑ์มาตรฐานในการประเมินคุณภาพภายในเพิ่มเติมตามอัตลักษณ์ของสำนักหอสมุดและทรัพยากรสารสนเทศ ประจำปีการศึกษา 2562

ข้อมูลหลักฐาน: เอกสารหมายเลข 11.3  เว็บไซต์ของสำนักฯ ที่https://e-library.siam.edu/ –ที่เมนู “เกี่ยวกับสำนักฯ” เลือกที่ การจัดการความรู้(KM)   และเว็บไซต์https://ectl.siam.edu/courses/ 


เกณฑ์การประเมิน

1 คะแนน 2 คะแนน 3 คะแนน 4 คะแนน 5 คะแนน
1 ข้อ 2 ข้อ 3 ข้อ 4 ข้อ 5 ข้อ

เป้าหมายของสำนัก :  5  ข้อ

ผลการดำเนินงาน   :  5  ข้อ

ผลการประเมินตนเอง   :  5 คะแนน