วันป่าไม้โลก มีต้นกำเนิดมาจากการประชุมสมัชชาทั่วไปของสันนิบาตยุโรปด้านการเกษตร (European Confederation of Agriculture) ครั้งที่ 23 ในปี 2541 และในปีเดียวกันนั้น องค์กรอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) จึงได้มีการกำหนดให้ทุกวันที่ 21 มีนาคม ของทุกปี เป็นวันป่าไม้โลก (World Forestry Day) ตั้งแต่ปี 2514 เป็นต้นมา เพื่อให้คนทั่วโลกได้เล็งเห็นถึงคุณค่าและประโยชน์ของทรัพยากรป่าไม้ในปัจจุบันที่มีอยู่จำกัด
[quote font_size=”18″ color=”#ffdf42″ bgcolor=”#339933″ bcolor=”#ffdf42″ arrow=”yes”]ความสำคัญของป่าไม้[/quote]
ป่าไม้เป็นทรัพยากรที่มีความสำคัญต่อสิ่งมีชีวิต ไม่ว่าจะเป็นมนุษย์หรือสัตว์อื่นๆ เพราะป่าไม้มีประโยชน์ทั้งการเป็นแหล่งวัตถุดิบของปัจจัยสี่ ได้แก่ แหล่งอาหาร เครื่องนุ่งห่ม ที่อยู่อาศัยและยารักษาโรคสำหรับสิ่งมีชีวิต ซึ่งป่าไม้ยังมีประโยชน์ในการรักษาสมดุลของสิ่งแวดล้อม ถ้าป่าไม้ถูกทำลาย ย่อมส่งผลกระทบต่อสภาพแวดล้อมที่เกี่ยวข้องอื่น ๆ เช่น สัตว์ ดิน น้ำ อากาศ ฯลฯ เมื่อป่าไม้ถูกทำลายจะส่งผลไปถึงดินและแหล่งน้ำด้วย เพราะเมื่อมีการเผาหรือทำลายป่าจะส่งผลให้พื้นดินขาดพืชปกคบุมหน้าดิน เมื่อถึงฤดูฝนฝนที่ตกลงมาจะชะล้างหน้าดินและความอุดมสมบูรณ์ของดินไปทั้งหมด นอกจากนั้นถ้าไม่มีต้นไม้แล้วจะไม่มีพืชคอยดูดซับน้ำเอาไว้เมื่อฝนตกหนักจะทำให้เกิดน้ำไหล่บ่าลงท่วมพื้นที่บ้านเรือนของประชาชนที่อาศัยอยู่บริเวณที่ลุ่ม และเมื่อถึงฤดูแล้งก็จะไม่มีน้ำใต้ดินเพื่อหล่อเลี้ยงต้นน้ำลำธานทำให้เกิดปัญหาภัยแล้งขึ้น ซึ่งปัจจุบันประเทศไทยก็กำลังลังเผชิญหน้ากับปัญหาภัยแล้งนี้ด้วยเช่นกัน ซึ่งผลกระทบของปัญหาภัยแล้งจะส่งผลกระทบต่อมาถึงระบบเศรษฐกิจและสังคม เช่น การขาดแคลนน้ำในการการชลประทานทำให้เกษตรกรทำนาไม่ได้ ไม่สามารถผลิตไฟฟ้าจากพลังงานน้ำได้เนื่องจากมีแหล่งน้ำไม่เพียงพอ จะเห็นได้ว่าป่าไม้มีความสำคัญอย่างยิ่งในการดำเนินชีวิตของสิ่งมีชีวิตบนโลก ดังนั้นเราจึงต้องช่วยกันรักษาและฟื้นฟูป่าไม้ให้กลับมามีความอุดมสมบูรณ์เหมือนเดิม
[quote font_size=”18″ color=”#ffdf42″ bgcolor=”#339933″ bcolor=”#ffdf42″ arrow=”yes”]วิธีอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้[/quote]
การกำหนดนโยบายป่าไม้แห่งชาติ
- การปลูกป่า เป็นการดำเนินงานด้านการอนุรักษ์ป่าไม้อย่างหนึ่ง
- การป้องกันไฟไหม้ป่า ไฟป่าถือเป็นอันตรายร้ายแรงที่เกิดขึ้นกับป่าไม้และฟื้นฟูให้ป่ากลับมาอุดมสมบูรณ์เช่นเดิมได้ยาก
- การป้องกันการบุกรุกทำลายป่า ปัจจุบันมีการบุรุกละทำลายป่าไม้ในอัตราที่เพิ่มสูงขึ้น ทั้งการตัดไม้ และการสร้างสิ่งปลูกสร้างที่รุกล้ำเข้าไปในบริเวณป่าไม้ จึงต้องมีการป้องกันเพื่อไม่ให้ป่าถูกทำลายไปมากกว่าเดิม
การใช้วัสดุทดแทนไม้ ในการก่อสร้างต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นบ้านเรือน หรือสิ่งก่อสร้างอื่น - การใช้ไม้อย่างมีประสิทธิภาพ และประหยัด คือการนำเนื้อไม้มาใช้ให้เกิดประโยชน์มากที่สุด โดยใช้ทุกส่วนของต้นไม้
- ส่งเสริม ประชาสัมพันธ์ ให้การศึกษา ทั้งเยาวชนและประชาชนให้ตระหนักถึงความสำคัญของป่าไม้ รวมทั้งสร้างจิตสำนึกในการอนุรักษ์ และช่วยกันดูแลในการรักษาป่าไม้
ป่าไม้ หมายถึง บริเวณที่มีต้นไม้หลายชนิด ขนาดต่างๆ ขึ้นอยู่อย่างหนาแน่น และกว้างใหญ่พอ ที่จะมีอิทธิพลต่อสิ่งแวดล้อมในบริเวณนั้น เนื่องจากป่าไม้เป็นแหล่งอาหารที่สำคัญ ของทั้งคนและสัตว์ รวมไปถึงความสัมพันธ์ กับสิ่งมีชีวิตทุกชนิด ปัจจุบันนี้ป่าไม้ถูกทำลาย ไปเป็นจำนวนมาก ก่อให้เกิดผลกระทบต่างๆ ทั้งมนุษย์และสัตว์ เช่น ภัยธรรมชาติ และภาวะเรือนกระจก
[quote font_size=”18″ color=”#ffdf42″ bgcolor=”#ed3c3c” bcolor=”#ffdf42″ arrow=”yes”]บนพื้นโลกมีป่าไม้ต่าง ๆ มากมายหลายชนิด สามารถแบ่งป่าออกไปหลายชนิด คือ[/quote]
[dropcap font=”Arial” color=”#cc0033″]1[/dropcap]ป่าศูนย์สูตร (Equatorial Rainforest) เป็นป่าที่มีต้นไม้สูงขึ้นเบียดกันหนาแน่น แสงแดดไม่สามารถส่อง ลงมาถึงพื้นดินได้ เป็นป่าไม้ที่มีใบกว้างไม่ผลัดใบ และจะพบไม้เลื้อย หรือไม้เถาพันหรือเกาะตามกิ่งก้านของต้นไม้เต็มไปหมด[dropcap font=”Arial” color=”#ffdf42“]2[/dropcap]ป่าร้อนชื้น (Tropical Rain Forest) มีลักษณะคล้ายป่าศูนย์สูตร จะปรากฏอยู่ด้านหน้าของภูเขา ที่ตั้งรับลมประจำที่พัดจากทะเลเข้าสู่ฝั่ง จึงทำให้สภาพเป็นป่าดงดิบ ซึ่งมีต้นไม้น้อยกว่าป่าศูนย์สูตร
[dropcap font=”Arial” color=”#cc0033″]3[/dropcap]ป่ามรสุม (Monsoon Forest) เป็นป่าไม้ที่มีต้นไม้ขึ้นอยู่ห่าง ๆ บริเวณพื้นดินจะมีไม้เล็ก ๆ ขึ้น แสงแดดสามารถส่องผ่านทะลุไปถึงพื้นดินได้ ซึ่งมักจะเป็นไม้ที่ผลัดใบ
[dropcap font=”Arial” color=”#ff9900″]4[/dropcap]ป่าไม้อบอุ่นไม่ผลัดใบ (Temperate Rainforest) เป็นป่าไม้ในเขตอบอุ่นที่มีใบเขียวตลอดปี มีพรรณไม้น้อยชนิด แต่ละชนิดจะอยู่รวมกันเป็นกลุ่มขนาดและความสูงของต้นไม้เท่ากับป่าศูนย์สูตร
[dropcap font=”Arial” color=”#cc0033″]5[/dropcap]ป่าไม้อบอุ่นผลัดใบ (Temperate Deciduous Forest) เป็นป่าไม้ที่มีใบเขียวชอุ่มในฤดูร้อน แต่จะผลัดใบในฤดูหนาว ต้นไม้มีลำต้นสูงและมีใบขนาดใหญ่
[dropcap font=”Arial” color=”#ffdf42“]6[/dropcap]ป่าสน (Needle Leaf Forest) เป็นป่าที่มีต้นไม้ลักษณะลำต้นตรง กิ่งสั้นใบเล็กกลมคล้ายเข็มเย็บผ้า มีต้นไม้ขึ้นเบียดเสียดกันอย่างหนาแน่น และมีใบเขียวชอุ่มตลอดปี บริเวณพื้นดินแทบจะไม่มีต้นไม้เตี้ย ๆ ซึ่งต้นไม้ส่วนใหญ่เป็นไม้ตระกูลสนทั้งสิ้น
[dropcap font=”Arial” color=”#cc0033″]7[/dropcap]ป่าไม้เนื้อแข็งไม่ผลัดใบ (Evergreen Hardwood Forest) จะมีเป็นต้นไม้เตี้ย ๆ ลำต้นขนาดเล็ก ใบแข็ง และต้นมีกิ่งตั้งแต่ใกล้พื้นดิน จนถึงยอด ลักษณะคล้ายกับป่าไม้ผสมกับป่าละเมาะ (Scrub Forest)
[dropcap font=”Arial” color=”#ff9900″]8[/dropcap]ป่าสะวันน่า (Savanna Woodland) จะเป็นป่าไม้ที่มีไม้ขึ้นอยู่ห่าง ๆ บริเวณช่องว่างระหว่างต้นไม้ใหญ่ ๆ จะมีไม้พุ่มขึ้นอย่างหนาแน่น มีสภาพอากาศค่อนข้างแห้งแล้ง จึงทำให้ต้นไม้ขึ้นไม่หนาแน่น
[dropcap font=”Arial” color=”#cc0033″]9[/dropcap]ป่าหนามและป่าพุ่มเขตร้อน (Thornbush and Tropical Scrubs) เป็นป่าที่มีต้นไม้ที่ทนต่อความแห้งแล้งและไม้พุ่ม ซึ่งพืชเหล่านี้สามารถทนต่อสภาพความแห้งแล้งที่ยาวนานและมีฤดูฝนสั้นๆ ได้ดี ส่วนป่าหนามนั้น จะเป็นไม้พุ่มที่มีหนาม และจะผลัดใบในช่วงที่ขาดแคลนน้ำ [dropcap font=”Arial” color=”#e67e22″]10[/dropcap]ป่ากึ่งทะเลทราย (Semidesert Woodland) เป็นพืชพรรณที่ทนต่อความแห้งแล้ง ส่วนมากเป็นพวกไม้พุ่ม ตามพื้นดินของป่าชนิดนี้ จะมีวัชพืชหรือพืชต้นเล็ก ๆ ขึ้นอยู่น้อยมาก [dropcap font=”Arial”]11[/dropcap]พืชพรรณในทะเลทราย (Desert Vegetation) มักจะพบพืชที่มีใบเล็ก ๆ พืชที่มีหนาม ซึ่งเป็นพืชที่มีลำต้น สามารถเก็บน้ำไว้ใช้ได้เช่น ตะบองเพชร รวมทั้งมีพวกหญ้าแข็ง ๆ ขึ้นปะปนอยู่เป็นหย่อม ๆ
[dropcap font=”Arial” color=”#dd3333″]12[/dropcap]ป่าในเขตอากาศหนาว (Cold Woodland) เป็นพืชพรรณที่พบได้ในอากาศแถบขั้วโลกหรือเขตอากาศแบบทุนดรา ต้นไม้ที่ขึ้นมีขนาดเล็กมาก ต้นเตี้ยขึ้นอยู่ห่าง ๆ ส่วนใหญ่จะเป็นพวกไม้พุ่มเตี้ย ๆ พื้นดินเบื้องล่างปกคลุมด้วยมอส
[quote font_size=”18″ color=”#ffdf42″ bgcolor=”#339933″ bcolor=”#ffdf42″ arrow=”yes”]กิจกรรมวันป่าไม้[/quote]
1 จัดนิทรรศการเกี่ยวกับป่าไม้ให้ความรู้เกี่ยวกับป่าไม้ เพื่อสร้างจิตสำนึกและให้ความรู้กับผู้ที่เข้าชมนิทรรศการในเรื่องการรักษาฟื้นฟูป่าไม้
2 จัดกิจกรรมรณรงค์ปลูกป่าให้ประชาชนออกมาร่วมมือช่วยกันปลูกป่าเพื่อเพิ่มพื้นที่สีเขียวให้กับประเทศไทย
- กรมป่าไม้. (2558). วันป่าไม้โลก (World forestry day). เข้าถึงได้จาก http://www.forest.go.th/foreign/index.php?option=com_content&view=article&id=337&Itemid=457&lang=th
- เบญจมาศ ภัคโชค. (2551). วันป่าไม้โลก. เข้าถึงได้จาก
http://www.thaigoodview.com/node/16956 - iEnergyGuru.com. วันป่าไม้โลก. เข้าถึงได้จาก https://ienergyguru.com/2016/03/21-มีนาคม-วันป่าไม้โลก/
โพสอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง:
- วัน สืบ นาคะเสถียร
- วันคุ้มครองสัตว์ป่าแห่งชาติ
- 21 มีนาคม วันป่าไม้โลก (World forestry day)
- 3 มีนาคม วันสัตว์ป่าและพืชป่าโลก
- วันป่าชุมชนชายเลนไทย
- วันสิ่งแวดล้อมไทย
- วันเต่าโลก World Turtle Day 23 พ.ค.
- วันคุ้มครองโลก Earth Day