วันต่อต้านยาเสพติดโลก

หลินเจ๋อสวี-Lin Zexuวันต่อต้านยาเสพติดโลก 26 มิถุนายน 2561 (International Day against Drug Abuse and Illicit Trafficking) ตรงกับวันที่ 26 มิถุนายนของทุกปี ตามประกาศตามมติของสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติ (UNGA) เป็นวันสำคัญสากล เพื่อต่อต้านการใช้ยาในทางผิด และค้ายาที่ไม่ถูกต้องตามกฎหมาย โดยหมายความถึงยาเสพติด ยึดถือเป็นวันสำคัญประจำปีมาตั้งแต่การประกาศเมื่อ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2531 (ค.ศ. 1988) เหตุที่กำหนดวันที่นี้เพื่อเป็นที่ระลึกแก่การถอนสัมปทานการค้าฝิ่นโดยนายอำเภอ หลิน เจ๋อสวี ตำบลหู่เหมิน มณฑลกวางตุ้ง ก่อนเกิดสงครามฝิ่นในประเทศจีน

ผลจากปัญหายาเสพติด ได้ก่อให้เกิดความเสียหายร้ายแรงต่อมวลมนุษยชาติทั่วโลก เพื่อเน้นถึงความสำคัญของการต่อสู้กับปัญหาการใช้ยาในทางที่ผิด และการลักลอบค้ายาเสพติด และเพื่อส่งเสริมความร่วมมือระหว่างประเทศทั่วโลกใน การต่อสู้กับปัญหายาเสพติด ที่ประชุมระหว่างประเทศว่าด้วยการใช้ยาในทางที่ผิด และการลักลอบใช้ยาเสพติด (International Conference on Drug Abuse and llicit Trafficking I) ซึ่งจัดขึ้นที่กรุงเวียนนา ประเทศออสเตรีย ระหว่าง วันที่ 17-26 มิถุนายน 2530 ที่ประชุมได้เสนอเป็นข้อมติต่อสมัชชาใหญ่สหประชาชาติขอให้กำหนดวันที่ 26มิถุนายนของทุกปีเป็นวันต่อต้านยาเสพติดซึ่งที่ประชุมได้มีมติเห็นชอบตาม ข้อเสนอดังกล่าวในการประชุมเมื่อ วันที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2530

ประเทศไทย สำนักงาน ป.ป.ส.ใน ฐานะหน่วยงานกลางที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดในประเทศมาโดยตลอด ได้นำมติเรื่องวันต่อต้านยาเสพติดขององค์การสหประชาชาติเสนอต่อคณะรัฐมนตรี ในการประชุมเมื่อวันที่ 14 มิถุนายน 2531 ซึ่งที่ประชุมคณะรัฐมนตรีได้มีมติให้กำหนดวันที่ 26 มิถุนายน ของทุกปี เป็นวันต่อต้านยาเสพติดโดยเริ่มตั้งแต่ปี พ.ศ. 2531 เป็นต้นมา

ประเทศไทยได้เผชิญกับปัญหายาเสพติด มาเป็นเวลาช้านาน รัฐบาลในแต่ละยุคได้ดำเนินการแก้ไขปัญหายาเสพติดมาตลอด จนกระทั่งใน พ.ศ. 2501 คณะปฏิวัติภายใต้การนำของจอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ ได้ออกประกาศคณะปฏิวัติฉบับที่ 37 ลงวันที่ 9 ธันวาคม 2501 ให้เลิกการสูบฝิ่นทั่วราชอาณาจักรโดยมีการเผาทำลายฝิ่นและอุปกรณ์การสูบฝิ่นที่ท้องสนามหลวงในคืนวันที่ 30 มิถุนายน 2502 หลังจากนั้นปี พ.ศ. 2504 รัฐบาลได้จัดตั้ง คณะกรรมการปราบปรามยาเสพติดให้โทษ ใช้ชื่อย่อว่า ปปส. สังกัดสำนักนายกรัฐมนตรีโดยมีอธิบดีกรมตำรวจเป็นประธาน และมีผู้แทนจากทุกส่วนราชการที่เกี่ยวข้องเป็นกรรมการ

การประชุมคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 16 มกราคม 2561 คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่นายกรัฐมนตรี เสนอให้มีการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติ แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และยุทธศาสตร์การพัฒนาพื้นที่ เพื่อเสริมสร้างความมั่นคงของชาติไปสู่การปฏิบัติ ให้เกิดประโยชน์ต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชน อย่างเป็นรูปธรรม และสร้างความตระหนักรู้ถึงบทบาทหน้าที่ของประชาชนในการมีส่วนร่วมพัฒนาประเทศและ ในระบอบประชาธิปไตย ตามโครงการ “ไทยนิยม ยั่งยืน” โดยมีกรอบหลักการดำเนินการ 3 ด้าน คือ 1. ด้านความมั่นคง 2. ด้านเศรษฐกิจและสังคม 3. งานตามภารกิจของทุกหน่วยงาน (Function) โดยให้กระทรวงมหาดไทย และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง บูรณาการขับเคลื่อนการทำงานหน่วยงานในระดับพื้นที่ตามแนวทางประชารัฐ โดยมุ่งให้เกิดผลสัมฤทธิ์ และให้ทุกส่วนราชการ หน่วยงาน สนับสนุนกลไกการขับเคลื่อนในพื้นที่ทุกระดับ ตั้งแต่จังหวัด อำเภอ ตำบล และหมู่บ้าน ทั้งนี้ โครงการไทยนิยม ยั่งยืน ดำเนินการ 10 เรื่อง คือ

  1.  สัญญาประชาคมผูกใจไทยเป็นหนึ่ง
  2.  คนไทยไม่ทิ้งกัน
  3.  ชุมชนอยู่ดีมีสุข
  4.  วิถีไทยวิถีพอเพียง
  5.  รู้สิทธิ รู้หน้าที่ รู้กฎหมาย
  6.  รู้กลไกบริหารราชการ
  7.  รู้รักประชาธิปไตยไทยนิยม
  8.  รู้เท่าทัน เทคโนโลยี
  9.  ร่วมแก้ไขปัญหายาเสพติด และ
  10.  งานตามภารกิจของทุกหน่วยงาน (Function)

 

ต่อต้านยาเสพติด-International-Day-against-Dr​ug

เพื่อเป็นการร่วมแสดงออกของคนไทยในการร่วมกันป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด สำนักงาน ป.ป.ส. จึงกำหนดแนวทาง การจัดกิจกรรมรณรงค์ประชาสัมพันธ์เนื่องในวันต่อต้านยาเสพติดโลก (26 มิถุนายน) ประจำปี 2561 และร่วมแสดงสัญลักษณ์โดยการสวมเสื้อสีขาว ในวันต่อต้านยาเสพติดโลก ภายใต้กรอบแนวคิดและคำขวัญที่กำหนด คือ

ยาเสพติดคืออะไร

ยาเสพติด หมายถึง ยาหรือสารเคมี หรือวัตถุชนิดใดๆ ที่อาจเป็นผลิตภัณฑ์จากธรรมชาติ หรือจากการสังเคราะห์ ซึ่งเมื่อเสพเข้าสู่ร่างกายไม่ว่าจะโดยวิธีการกิน ดม สูบ ฉีด หรือวิธีใดๆก็ตาม เป็นช่วงระยะเวลาๆ หรือนานติดกัน จนทำให้ร่างกายทรุดโทรมและตกอยู่ไต้อำนาจหรือเป็นทาสของสิ่งนั้น ทั้งด้านร่างกายและจิตใจ หรือจิตใจเพียงอย่างเดียว เนื่องจากต้องเพิ่มขนาดการเสพมากขึ้นเรื่อย ๆ เพราะเมื่อเสพเข้าไปสักระยะจะเกิดภาวะดื้อยา ปริมาณยาเดิมไม่สามารถทำให้เมาได้ เมื่อถึงเวลาเสพ หากไม่ได้เสพจะทำให้เกิดอาการขาดยา ทำให้ทรมานทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจ หรือจิตใจเพียงอย่างเดียว ยาเสพติด ปัจจุบันยาเสพติดมีมากมายหลายร้อยประเภท ซึ่งสามารถแบ่งได้ดังนี้

แบ่งตามการออกฤทธิ์ต่อระบบประสาทส่วนกลาง

1. ประเภทกดประสาท ได้แก่ ฝิ่น มอร์ฟีน เฮโรอีน ยากล่อมประสาท สารระเหย ยานอนหลับ
2. ประเภทกระตุ้นประสาท ได้แก่ แอมเฟตามีน กระท่อม โคคาอีน ยาอี เอ็คตาซี
3. ประเภทหลอนประสาท ได้แก่ แอลเอสดี ดีเอ็มที เห็ดขี้ควาย ยาเค
4.ประเภทออกฤทธิ์ผสมผสาน ( อาจกด กระตุ้น หรือหลอนประสาท ร่วมกัน ) ได้แก่ กัญชา

วันต่อต้านยาเสพติดโลก

แบ่งตามแหล่งที่มา

1. จากธรรมชาติ เช่น ฝิ่น มอร์ฟีน กระท่อม กัญชา ฯลฯ
2. จากการสังเคราะห์ เช่น เฮโรอีน แอมเฟตามีน ยาอี เอ็คตาซี ฯลฯ

แบ่งตามกฎหมาย 

1. พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 เช่น แอมเฟตามีน เฮโรอีน LSD ยาอี ฯลฯ
2. พ.ร.บ.วัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตใจและประสาท พ.ศ. 2518 เช่น อีเฟดรีน
3. พระราชกำหนดป้องกันการใช้สารระเหย พ.ศ. 2533 เช่น ทินเนอร์ กาว แล็กเกอร์


สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด.  (2561).  ไทยนิยม ยั่งยืน ร่วมแก้ไขปัญหายาเสพติด.  เข้าถึงได้จาก https://www.oncb.go.th/Pages/againstdrugs2018.aspx


วันต่อต้านยาเสพติดโลก