วันสาธารณสุขแห่งชาติ

วันสาธารณสุขแห่งชาติ วันที่ 27 พฤศจิกายน 2461 พระบาทสมเด็จ พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้า ฯ ให้รวมกองบัญชาการ กองสุขศึกษา กองสาธารณสุข กองยาเสพติดให้โทษ กองโอสถศาลารัฐบาล กองบุราภิบาล เข้าด้วยกัน แล้วเปลี่ยนชื่อเป็น กรมสาธารณสุข และต่อมาจึงเปลี่ยนเป็น กระทรวงสาธารณสุข จนมาถึงปัจจุบัน อีกทั้งทางราชการยังได้กำหนด ให้วันที่ 27 พฤศจิกายน ของทุกปี เป็นวันสาธารณสุขด้วย

เดิมทีในสมัยรัชกาลที่ 5 ประเทศไทยยังคงมีกิจการ ทางด้านการแพทย์ แบ่งออกเป็นหลายฝ่าย เช่น กองบัญชาการ กองสุขศึกษา กองสาธารณสุข กองยาเสพติดให้โทษ กองโอสถศาลารัฐบาล กองบุราภิบาล

รัชกาลที่ 6 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวการทำงานสาธารณสุขที่ซ้ำซ้อนและขาดการประสานงานที่ดีทำให้พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงดำริให้รวมหน่วยงานต่างๆ ที่แยกย้ายกันอยู่ให้เป็นแผนกเดียวกัน โดยการก่อตั้งกรมสาธารณสุขโดยมีสมเด็จฯ กรมพระยาชัยนาทนเรนทรเป็นอธิบดีคนแรก ในระยะแรก การรวมงานด้านการสาธารณสุขเข้าไว้ด้วยกันมีปัญหาและอุปสรรคหลายประการทั้งในเรื่องการแบ่งงาน การโอนความรับผิดชอบ และเรื่องงบประมาณ อย่างไรก็ตาม ปัญหาต่างๆ ก็ได้รับการแก้ไขจนสามารถดำเนินกิจการด้านการสาธารณสุข โดยถือหลัก “การป้องกันถูกกว่าการแก้” มุ่งเน้นการป้องกันโรคและส่งเสริมสุขอนามัยของประชาชน โดยเฉพาะการปราบโรคระบาด เช่น ไข้ทรพิษ อหิวาตกโรค และกาฬโรค มีการสำรวจยุงที่เป็นพาหะของโรค สำรวจและควบคุมโรคเรื้อน บำบัดโรคคุดทะราด และมีการสร้างความร่วมมือกับองค์กรระหว่างประเทศ เช่น มูลนิธิร็อคกี้เฟลเลอร์ในการรณรงค์กำจัดโรคพยาธิปากขอ นอกจากนั้น ยังมีการขยายกิจการมารดาทารกสงเคราะห์ จัดการสุขศึกษาแก่ประชาชนอย่างกว้างขวาง รวมทั้งยังมีการส่งคนไปเรียนการสาธารณสุขในต่างประเทศจำนวนมาก นับว่าการเกิดขึ้นของกรมสาธารณสุขใน พ.ศ. 2461 เป็นจุดเริ่มต้นของการสาธารณสุขยุคใหม่อย่างแท้จริง

 

กำเนิดกระทรวงสาธารณสุข (พ.ศ. 2548)

ภารกิจของกรมสาธารณสุขที่เพิ่มมากขึ้นตามกาลเวลา ทำให้หน่วยงานต่างๆ มีการขยายตัวเพิ่มมากขึ้นครั้นเมื่อถึง พ.ศ. 2585 ซึ่งเป็นสมัยของรัฐบาลจอมพล ป. พิบูลสงคราม สมัยแรก (พ.ศ. 2481-2487) แม้จะเป็นช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 และไทยอยู่ในภาวะสงคราม แต่รัฐบาลมีนโยบาย “สร้างชาติ” จึงได้รวมกิจการด้านการสาธารณสุขและยกระดับขึ้นเป็นกระทรวง โดยเหตุผลว่า ประชากรของชาติยังมีอนามัยไม่ดี คนเสียชีวิตแต่ยังเด็กเป็นจำนวนมาก การรักษาพยาบาลไม่ทั่วถึงและสมบูรณ์เพียงพอ ทั้งจำนวนพลเมืองก็ยังไม่เพิ่มตามที่รัฐต้องการ มีการออกพระราชกฤษฎีกาตั้งกระทรวงสาธารณสุข เมื่อวันที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2485 การให้ความสำคัญต่อการสาธารณสุขในสมัยรัฐบาลของจอมพล ป. พิบูลสงคราม ส่วนหนึ่งเป็นความพยายามที่จะเพิ่มจำนวนประชากรและทำให้พลเมืองไทยแข็งแรง เพื่อนำประเทศไปสู่ความเป็นมหาอำนาจตามแนวคิดของผู้นำประเทศ

การรักษาพยาบาลในระยะแรกนั้น รัฐบาลให้ความสำคัญต่อการปรับปรุงโรงเรียนแพทย์ โดยความร่วมมือกับมูลนิธิร็อคกี้เฟลเลอร์ในการผลิตแพทย์ให้ได้มาตรฐานการศึกษาของสหรัฐอเมริกา มีการสร้างโรงพยาบาลศิริราชใหม่ จัดหาอุปกรณ์การเรียนและการรักษาพยาบาล รวมทั้งส่งอาจารย์ไปเรียนต่อในต่างประเทศนอกจากนั้น ยังมีการปรับปรุงหลักสูตรพยาบาลและจัดตั้งโรงเรียนผดุงครรภ์และพยาบาลขึ้นเพื่อผลิตบุคลากรด้านการพยาบาล ในยุคเริ่มแรกนี้ โรงพยาบาลส่วนใหญ่ตั้งอยู่ในเมืองหลวง มีโรงพยาบาลตามหัวเมืองใหญ่ๆ อยู่บ้างเช่น ภูเก็ต ชลบุรี เพชรบุรี นครศรีธรรมราช นครราชสีมา และสงขลา เป็นต้น นอกจากโรงพยาบาลของรัฐบาลเหล่านี้แล้ว หัวเมืองบางแห่งมีโรงพยาบาลที่มิชชันนารีชาวตะวันตกไปสร้างไว้ด้วยภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 รัฐบาลคณะราษฎรให้ความสำคัญต่อการสาธารณสุข และการขยายความเจริญไปสู่หัวเมืองท้องถิ่น มีการประกาศใช้พระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ.2477อันเป็นรากฐานของการสาธารณสุขยุคใหม่ และมีคำสั่งให้กรมสาธารณสุขสร้างโรงพยาบาลขึ้นทั่วทุกจังหวัด

วันสาธารณสุขโดยเริ่มที่จังหวัดชายแดนก่อน ตาม“นโยบายอวดธง” เพื่อแสดงให้ประเทศเพื่อนบ้านเห็นว่า รัฐบาลไทยในยุคประชาธิปไตยเอาใจใส่ในชีวิตของราษฎร จังหวัดที่มีการสร้างโรงพยาบาลตามนโยบายอวดธง ได้แก่ อุบลราชธานีหนองคาย และ นครพนมในภาคอีสาน และโรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์ในภาคเหนือ ในขณะเดียวกันก็มีการสร้างสุขศาลาและผลิตบุคลากรทางการแพทย์การสาธารณสุขให้มากขึ้น ด้วยการอบรมผู้ช่วยแพทย์และนางผดุงครรภ์ชั้นสอง จนเมื่อถึง พ.ศ. 2485 ทั่วประเทศมีโรงพยาบาลของรัฐอยู่ 34 แห่ง (รวมเอาโรงพยาบาลของมิชชันนารีที่รัฐบาลยึดมาในช่วงสงครามโลกด้วย)การให้บริการสุขภาพในระบบสาธารณสุขไทยขยายตัวและก้าวหน้ามาตามลำดับ ใน พ.ศ. 2500 ประเทศไทยมีโรงพยาบาลประจำจังหวัดครอบคลุมทุกจังหวัดทั่วประเทศ มีการขยายและพัฒนาบริการสุขภาพในระดับอำเภอและตำบล โดยพัฒนาสุขศาลาชั้นหนึ่งมาเป็น “สถานีอนามัยชั้นหนึ่ง” ใน พ.ศ. 2497 และเป็น “ศูนย์การแพทย์อนามัยชนบท” ใน พ.ศ. 2515 เป็น “ศูนย์การแพทย์และอนามัย” ใน พ.ศ. 2517 จนเป็น “โรงพยาบาลอำเภอ” ใน พ.ศ.2518 และในช่วง พ.ศ. 2520  เป็นต้นมา มีการขยายโรงพยาบาลอำเภอจนครบทุกอำเภอ ในขณะที่ “สถานีอนามัยชั้นสอง” ได้รับการพัฒนาเป็น “สถานีอนามัย” ใน พ.ศ. 2515 และเป็น “ศูนย์สุขภาพชุมชน” ใน พ.ศ. 2546 และใน พ.ศ. 2551 ได้ยกระดับสถานีอนามัยและศูนย์สุขภาพชุมชนขึ้นเป็น “โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล” นอกจากการขยายบริการแล้ว ยังมีการพัฒนาด้านสวัสดิการการรักษาพยาบาล และการเข้าถึงบริการสุขภาพของประชาชนอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะเมื่อมีโครงการสงเคราะห์ประชาชนผู้มีรายได้น้อยด้านการรักษาพยาบาลใน พ.ศ. 2518 การเกิดขึ้นของระบบการประกันสังคม พ.ศ. 2533 และนโยบายหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าใน พ.ศ. 2545 ที่ให้สิทธิการรักษาพยาบาลโดยไม่คิดมูลค่าแก่ประชาชนไทยทุกคน

โครงสร้างการบริหารจัดการงานสาธารณสุขมีการเปลี่ยนแปลงมาอย่างต่อเนื่องเป็นระยะๆ ใน พ.ศ.2515 พ.ศ.  2517และ พ.ศ. 2535 และได้ปรับสถานะ สถาบันสุขภาพจิต เป็นกรมสุขภาพจิตใน พ.ศ. 2537 มีการจัดตั้งองค์กรใหม่ๆ ขึ้น ได้แก่ สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) ที่ก่อตั้งใน พ.ศ. 2535 เพื่อสนับสนุนการวิจัยเพื่อพัฒนาระบบสาธารณสุข ส านักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ที่ก่อตั้งขึ้นใน พ.ศ. 2544 เพื่อเน้นการสร้างเสริมสุขภาพด้วยการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของภาคีทุกภาคส่วน โดยมี งบประมาณจากภาษีเหล้าและบุหรี่ ส านักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) พ.ศ. 2545 เพื่อสร้าง หลักประกันการเข้าถึงระบบบริการสุขภาพของประชาชนอย่างถ้วนหน้า สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.) พ.ศ. 2550 เพื่อสร้างกระบวนการมีส่วนร่วมของสังคมในการกำหนดนโยบายสาธารณะที่เกี่ยวข้องกับ สุขภาพ สถาบันการแพทย์ฉุกเฉิน (สพฉ.) พ.ศ. 2551 เพื่อบริหารจัดการและประสานงานด้านบริการการแพทย์ ฉุกเฉิน และสถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล (องค์การมหาชน) (หรือ สรพ.) พ.ศ. 2552 เพื่อพัฒนามาตรฐานและรับรองคุณภาพบริการของสถานพยาบาล และมีการเกิดขึ้นของหน่วยงานลักษณะใหม่ คือโรงพยาบาลในกำกับของรัฐ โรงพยาบาลที่ถือเป็นโรงพยาบาลแรกตามแนวคิดดังกล่าว ได้แก่ โรงพยาบาลบ้านแพ้ว (องค์การมหาชน) จัดตั้งใน พ.ศ. 2543 นอกจากองค์กรภาครัฐใหม่ๆ แล้ว การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจสังคมในช่วง 2-3 ทศวรรษที่ผ่านมาได้เปิดโอกาสให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการกำหนดนโยบายสาธารณะมากขึ้น ทำให้มีองค์กรภาคประชาสังคม เช่น กลุ่ม ชมรม สมาคม องค์กรชุมชน องค์กรพัฒนาเอกชนต่างๆ มูลนิธิ และองค์การสาธารณประโยชน์รวมทั้งองค์กรวิชาชีพด้านการแพทย์ การสาธารณสุขต่างๆ เข้ามาท างานร่วมกับภาครัฐอย่างใกล้ชิดเพิ่มมากขึ้นไม่ว่าจะเป็นงานด้านการสาธารณสุขมูลฐาน การรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่ การควบคุมการดื่มสุรา การคุ้มครองผู้บริโภค การดำเนินงานเรื่องเอดส์ นโยบายหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า การประเมินผลกระทบด้านสุขภาพรวมทั้งงานด้านมนุษยธรรมและการรับมือภัยพิบัติต่างๆ

จากอดีตถึงปัจจุบัน ระบบสาธารณสุขไทยมีพัฒนาการมาอย่างต่อเนื่อง ความเปลี่ยนแปลงที่กำลังเกิดขึ้นภายใต้บริบทใหม่ๆ ทั้งด้านสังคม เศรษฐกิจ และการเมือง ผนวกกับปัญหาสุขภาพใหม่ๆ ที่ประเทศไทยต้องเผชิญไม่ว่าจะเป็นปัญหาสังคมสูงวัย ปัญหาโรคอุบัติใหม่และโรคอุบัติซ้ำปัญหาภัยพิบัติ ความรุนแรงและการก่อการร้ายรวมทั้งผลกระทบจากโลกาภิวัตน์ที่มีต่อสุขภาพ ล้วนแต่เป็นความท้าทายที่ต้องเผชิญในการก้าวสู่ศตวรรษที่สองของการสาธารณสุขไทย วาระ 100 ปีสาธารณสุขไทยที่จะมาบรรจบในวันที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561 จึงนับเป็นโอกาสที่ดีสำหรับการทบทวนประวัติศาสตร์และนำบทเรียนจากอดีตมาใช้เพื่อให้การก้าวสู่ศตวรรษที่สองของการสาธารณสุขไทย เป็นศตวรรษแห่งการสร้างสรรค์เพื่อสุขภาพของประชาชนไทยอย่างแท้จริง

เครื่องหมายของกระทรวงสาธารณสุข

เครื่องหมาย สาธารณสุข-logoคธาของเอสกูลาปิอุส ซึ่งมีงูพันอยู่โดยรอบนั้น แพทยสมาคมอเมริกัน ได้นำมาใช้เป็นเครื่องหมายประจำสมาคมอยู่แล้ว ตำนานของเครื่องหมายนี้มีว่า ในสมัยประมาณ 1,200 ปี ก่อนคริสตกาล ในขณะที่เอสกูลาปิอุสกำลังทำการบำบัดโรค ให้แก่ผู้ป่วยรายหนึ่ง ซึ่งมีนามว่ากลอคุส (Glovcus) ภายในสถานที่ทำงาน ของเขานั้นมีงูตัวหนึ่งเลื้อยเข้ามา และขึ้นพันคธาของหมอ โดยการณ์ปรากฎเช่นนี้ จึงเป็นที่เชื่อถือกันในครั้งนั้นว่า งูตัวนั้นได้บันดาลให้หมอเอสกูลาปิอุสมีความเฉลียวฉลาด สามารถในการบำบัดโรคยิ่งนัก เพราะในสมัยโบราณนับถือว่า งูเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ซึ่งบันดาลให้เกิด ความมั่งคั่งสมบูรณ์ของบ้านเมืองและทำให้โรคต่างๆ หายได้ งูในกาลก่อนจึงนับว่าเป็น เครื่องหมายแห่งสติปัญญา ความเฉลียวฉลาด อำนาจและสุขภาพอันดี ส่วนคธานั้นคือ เครื่องหมายแห่งการป้องกันภัยต่างๆ และเป็นประดุจเครื่องนำ และช่วยเหลือสำหรับผู้ที่ศึกษา ในทางวิทยาศาสตร์

ไม้ศักดิ์สิทธิ์ (Caduccus) ไม้คฑาศักดิ์สิทธิ์ มีลักษณะเป็นคธาเกลี้ยง มีปีก และมีงูพันอยู่ 2 ตัว มีตำนานว่า เมื่อประมาณ 4,000 ปี ก่อนคริสตกาล วันหนึ่งในขณะที่ เทพเจ้าอะพอลโลกำลังท่องเที่ยว อยู่ในดาร์คาเดีย (Arcadia) ได้พบงู 2 ตัว กำลังกัดกันอยู่ โดยมิประสงค์จะให้ สัตว์ศักดิ์สิทธิ์นี้ต่อสู้ และประหัตประหารกัน อะพอลโลจึงได้ใช้ไม้เท้าที่ถือนั้น แยกงูทั้งสอง ออกจากกันเสีย ไม้เท้านั้น จึงกลายมาเป็นเครื่องหมายแห่งความสงบ ตั้งแต่นั้นมา ภายหลังได้มีผู้เติมปีก 2 ปีก ติดกับหัวไม้เท้านั้น ซึ่งแสดงถึง ความว่องไว และปราดเปรียว

เครื่องหมายคฑามีปีกและงูพัน 2 ตัวนี้  เริ่มนำมาใช้เป็นเครื่องหมาย ของผู้มีวิชาชีพแพทย์ โดยความหมายของคธา มีดังนี้

  1. ตัวคฑา  เปรียบด้วย  ตัวอำนาจ
  2. งู  เปรียบด้วย  ความรอบรู้
  3. ปีกสองปีก  เปรียบด้วย ความขยันขันแข็ง คล่องแคล่ว ทะมัดทะแมง
  4. ความหมาย โดยรวมของ ไม้คธา นี้ คือ เครื่องหมายบอกคุณลักษณะแห่งสุขภาพดี ของร่างกาย

วันสาธารณสุข

กิจกรรมในวันสาธารณสุขแห่งชาติ

ในวันที่ 27 พฤศจิกายน ของทุกปี ทั้งหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชน จะมีการจัดกิจกรรมเนื่องในวันสาธารณสุขแห่งชาติ เพื่อเป็นการให้ความรู้เกี่ยวกับการสาธารณสุขในประเทศไทย ตลอดจนการจัดกิจกรรมรณรงค์เรื่องเกี่ยวกับสาธารณสุขให้แก่ประชาชน

 


  • กระปุกดอทคอม. (2556). 27 พฤศจิกายน วันสาธารณสุขแห่งชาติ. เข้าถึงได้จาก  https://hilight.kapook.com/view/93994
  • สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. สำนักวิชาการสาธารณสุข. กลุ่มวิจัยสังคมและสุขภาพ. หอจดหมายเหตุสาธารณสุขแห่งชาติ. (2561). 100 ปีการสาธารณสุขไทย (พ.ศ. 2461 – 2561). เข้าถึงได้จาก  https://www.moph.go.th/download/เนื้อหาประวัติศาสตร์100ปีการสาธารณสุขไทย.pdf
  • Salie edu. (2555, 21 พฤศจิกายน). วันสำคัญของไทย: วันสาธารณสุขแห่งชาติ [เว็บบล็อก]. http://saranarooh.blogspot.com/2012/11/blog-post_21.html

วันสาธารณสุขแห่งชาติ National Public Health Day

แนะนำหนังสือ อื่นๆ ในห้องสมุด ที่เกี่ยวข้อง

ห้องสมุด แนะนำวันสำคัญต่างๆ

แนะนำวารสาร อื่นๆ ในห้องสมุด ที่เกี่ยวข้อง