การประกันคุณภาพ-ระบบและกลไกการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน 2561

การประกันคุณภาพการศึกษา-ระบบและกลไกการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน -สำนักหอสมุดและทรัพยากรสารสนเทศ ปีการศึกษา 2561

องค์ประกอบที่ 3 การบริหารจัดการ

ตัวบ่งชี้คุณภาพ 3.6 ระบบและกลไกการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน

คำอธิบายตัวบ่งชี้: การประกันคุณภาพการศึกษาภายใน เป็นภารกิจสำคัญของคณะตามที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 แก้ไขเพิ่มเติม(ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545 ซึ่งหน่วยงานต้องมีระบบและกลไกในการควบคุมตรวจสอบ ประเมิน และพัฒนาการดำเนินงานของหน่วยงาน ให้เป็นไปตามนโยบายเป้าประสงค์ และระดับคุณภาพตามมาตรฐานที่กำหนดโดยสถาบันและหน่วยงานต้นสังกัดตลอดจนหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง มีการวัดผลสำเร็จของการประกันคุณภาพการศึกษาภายในรวมทั้งการรายงานผลการประกันคุณภาพต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และเปิดเผยต่อสาธารณชน มีการประเมินและปรับปรุงอย่างต่อเนื่องและมีนวัตกรรมที่เป็นแบบอย่างที่ดี การประกันคุณภาพการศึกษาภายใน ถือเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการบริหารการศึกษาที่ต้องดำเนินการอย่างต่อเนื่อง โดยมีการสร้างจิตสำนึกให้เห็นว่าเป็นความรับผิดชอบร่วมกันของทุกคนในการพัฒนาคุณภาพการศึกษา ทั้งนี้ เพื่อเป็นหลักประกันแก่สาธารณชนให้มั่นใจได้ว่า หน่วยงานสามารถสร้างผลผลิตที่มีคุณภาพ

เกณฑ์มาตรฐานการประเมิน 5  ข้อ ดังนี้

1. มีระบบและกลไกการประกันคุณภาพการศึกษาภายในที่เหมาะสมและสอดคล้องกับพันธกิจหน่วยงาน และดำเนินการตามระบบที่กำหนด
2. มีการดำเนินงานด้านการประกันคุณภาพการศึกษาภายในที่ครบถ้วน ประกอบด้วย
1) การควบคุม ติดตามการดำเนินงาน และประเมินคุณภาพ
2) การจัดทำรายงานประจำปีที่เป็นรายงานประเมินคุณภาพเสนอต่อสถาบันตามกำหนดเวลา โดยเป็นรายงานที่มีข้อมูลครบถ้วนตามที่สถาบันกำหนด
3) การนำผลการประเมินคุณภาพไปทำแผนการพัฒนาคุณภาพของหน่วยงาน

3. มีการนำผลการประกันคุณภาพการศึกษาภายในมาปรับปรุงการทำงาน และส่งผลให้มีการพัฒนาผลการดำเนินงานตามตัวบ่งชี้ของแผนกลยุทธ์ทุกตัวบ่งชี้
4. มีระบบสารสนเทศที่ให้ข้อมูลสนับสนุนการประกันคุณภาพการศึกษาภายในครบทุกองค์ประกอบคุณภาพ
5. มีการสนับสนุนการประกันคุณภาพการศึกษาระดับหลักสูตร/ คณะวิชา/ มหาวิทยาลัย

เกณฑ์การประเมิน

ระดับคะแนน
1 2 3 4 5
1 ข้อ 2 ข้อ 3 ข้อ 4  ข้อ 5 ข้อ

หลักฐานที่ต้องการ:

  1. คู่มือประกันคุณภาพของหน่วยงาน
  2. ผู้รับผิดชอบการประกันคุณภาพ
  3. นโยบายและแผนการดำเนินงานประกันคุณภาพของหน่วยงาน
  4. ตัวบ่งชี้ตามอัตลักษณ์ของหน่วยงานที่สอดคล้องกับ พันธกิจของหน่วยงาน
  5. มีการดำเนินการตามแผนในการควบคุม ติดตาม การดำเนินงานของหน่วยงานภายใน
  6. รายงานประเมินตนเอง
  7. แผนการปรับปรุงและพัฒนาตามผลการประเมิน
  8. ระบบข้อมูลสารสนเทศที่ใช้ในการประกันคุณภาพ
  9. เอกสารหลักฐานการประเมินของผู้เกี่ยวข้องกับการประกันคุณภาพของหน่วยงาน

ผลการดำเนินงานของสำนักหอสมุดและทรัพยากรสารสนเทศ ตามเกณฑ์มาตรฐาน 3.6 ระบบและกลไกการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน

เกณฑ์มาตรฐาน: 1. มีระบบและกลไก การประกันคุณภาพการศึกษาภายใน ที่เหมาะสมและสอดคล้องกับพันธกิจหน่วยงาน และดำเนินการตามระบบที่กำหนด

ผลการดำเนินงาน: สำนักฯ  ได้ดำเนินงานด้าน การประกันคุณภาพการศึกษาภายใน ของสำนักฯ มาอย่างเป็นระบบและอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่ปีการศึกษา 2544  เป็นต้นมา  โดยได้แต่งตั้ง “คณะกรรมการดำเนินการประกันคุณภาพการปฏิบัติงานสำนักหอสมุดมหาวิทยาลัยสยาม” ซึ่งในปีการศึกษา 2557 ได้เปลี่ยนชื่อเป็น “คณะกรรมการบริหารสำนักทรัพยากรสารสนเทศ”  ซึ่งประกอบด้วย  ผู้อำนวยการ  หัวหน้าแผนกและหัวหน้างาน   จำนวนรวม 10 คน เข้าร่วมประชุม  โดยมีองค์ประชุมเข้าร่วมประชุมเกินกว่า 90% ทุกครั้ง คณะกรรมการฯ เป็นผู้รับผิดชอบในการดำเนินงานตั้งแต่เริ่มต้นด้วยการจัดทำ “แผนงานสร้างระบบประกันคุณภาพการปฏิบัติงานสำนักหอสมุดมหาวิทยาลัยสยาม”  ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของ “แผนพัฒนามหาวิทยาลัย พ.ศ. 2544-2547” และได้จัดทำโครงการ “การประกันคุณภาพการปฏิบัติงานของสำนักหอสมุด” ต่อเนื่องมาโดยลำดับในทุกปีการศึกษา  รวมทั้งได้มีการกำหนดนโยบายและวัตถุประสงค์และภารกิจของบุคลากรในการประกันคุณภาพการปฏิบัติงาน  และลักษณะของการให้บริการสารสนเทศที่มีคุณภาพไว้ใน “คู่มือการประกันคุณภาพฯ”

ในปีการศึกษา 2561 สำนักฯ ได้วางแผนงานด้านการประกันคุณภาพใน“แผนงานพัฒนาคุณภาพการบริการ” ซึ่งอยู่ภายใต้ “แผนปฏิบัติการประจำ (Routine Action Plan : RAP) สำนักหอสมุดและทรัพยากรสารสนเทศ ปีการศึกษา 2561” ด้วย เพื่อให้การประกันคุณภาพของสำนักฯ ดำเนินไปอย่างสอดคล้องกับแนวทางของมหาวิทยาลัยสยาม ซึ่งภายใต้แผนงานนี้ประกอบด้วย 2 โครงการซึ่งรวมโครงการ “การประกันคุณภาพการปฏิบัติงานของ สำนักหอสมุดและทรัพยากรสารสนเทศ ประจำปีการศึกษา 2561”  และโครงการ“การสำรวจความพึงพอใจของผู้ใช้บริการของสำนักหอสมุดและทรัพยากรสารสนเทศ ปีการศึกษา2561” เพื่อให้การดำเนินการประกันคุณภาพฯ เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและเป็นรูปธรรม

ข้อมูลหลักฐาน:
เอกสารหมายเลข 1.1  นโยบายการประกันคุณภาพการปฏิบัติงาน
เอกสารหมายเลข 1.5 คำสั่งแต่งตั้ง“คณะกรรมการบริหารสำนักหอสมุดและทรัพยากรสารสนเทศ”
เอกสารหมายเลข 4 แผนงานพัฒนาคุณภาพการบริการตามผลการประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน ปีการศึกษา 2560- โครงการ “การประกันคุณภาพการปฏิบัติงานของสำนักหอสมุดและทรัพยากรสารสนเทศ มหาวิทยาลัยสยาม ปีการศึกษา 2561
เอกสารหมายเลข 8.1 คู่มือการประกันคุณภาพการปฏิบัติงานสำนักหอสมุดฯ


เกณฑ์มาตรฐาน: 2. มีการดำเนินงานด้านการประกันคุณภาพการศึกษาภายในที่ครบถ้วน ประกอบด้วย
1) การควบคุม ติดตามการดำเนินงาน และประเมินคุณภาพ                                                                2) การจัดทำรายงานประจำปีที่เป็นรายงานประเมินคุณภาพเสนอต่อสถาบันตามกำหนดเวลา โดยเป็นรายงานที่มีข้อมูลครบถ้วนตามที่สถาบันกำหนด
3) การนำผลการประเมินคุณภาพไปทำแผนการพัฒนาคุณภาพของหน่วยงาน

ผลการดำเนินงาน:  สำนักฯ มีการดำเนินงานด้านการประกันคุณภาพการศึกษาภายในที่ครบถ้วน ประกอบด้วย

1) การควบคุม ติดตามการดำเนินงาน และประเมินคุณภาพ: ผลการตรวจประเมินจาก“คณะกรรมการประเมินคุณภาพ”  จากปีการศึกษา 2560 ได้ให้ข้อเสนอแนะในภาพรวมที่ควรพัฒนาและปรับปรุง 5 ข้อ ซึ่งผู้อำนวยการได้มีการมอบหมายผู้รับผิดชอบดำเนินงานตามข้อเสนอแนะ ดังนี้

    1. ควรจัดทำแผนระยะสั้น ระยะยาวของสำนักฯ เพื่อจัดทำแผนประจำปี ให้สอดคล้องกับเป้าหมาย ผู้รับผิดชอบ โดยผู้ช่วยผู้อำนวยการสำนักฯ
    2. สำนักฯ ควรเพิ่มการประชาสัมพันธ์ให้เข้าถึงผู้ใช้ให้มากขึ้น และควรเพิ่มการให้บริการในเชิงรุกมากขึ้น ผู้รับผิดชอบ โดยหัวหน้าแผนกบริการและประชาสัมพันธ์
    3. ควรมีการให้การอบรม education application สำหรับการศึกษาอื่นๆ รวมทั้งจัดกลุ่มตามพื้นฐานของผู้เข้าอบรมผู้รับผิดชอบ โดยหัวหน้าศูนย์ฝึกอบรมและพัฒนาระบบสารสนเทศ
    4. ควรขยายผลการจัดการความรู้ไปสู่ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย เช่น นักศึกษา คณาจารย์ และผู้ใช้บริการอื่นๆ เพื่อต่อยอดและขยายผลผู้รับผิดชอบ โดยผู้ช่วยผู้อำนวยการสำนักฯ
    5. ตัวบ่งชี้ 2.4-2.6 ควรปรับเกณฑ์มาตรฐานให้มีการประเมินทั้งคุณภาพและปริมาณของ software และ hardware เพื่อให้เกิดการพัฒนาต่อเนื่อง ที่ส่งผลต่อคุณภาพการบริการ ผู้รับผิดชอบ โดย หัวหน้าแผนกพัฒนาทรัพยากรสารสนเทศ    

โดยผู้อำนวยการสำนักฯ ทำหน้าที่ควบคุม ติดตาม ตรวจสอบ และประเมินคุณภาพการปฏิบัติงานให้บรรลุผลสำเร็จตามที่คณะกรรมการได้เสนอแนะ

2) การจัดทำรายงานประจำปีที่เป็นรายงานประเมินคุณภาพเสนอต่อสถาบันตามกำหนดเวลา โดยเป็นรายงานที่มีข้อมูลครบถ้วนตามที่สถาบันกำหนด:  สำนักฯ ได้รายงานการดำเนินงานด้านการประกันคุณภาพการปฏิบัติงานไว้ใน  “รายงานการประเมินตนเอง (SAR) ของสำนักหอสมุดและทรัพยากรสารสนเทศ มหาวิทยาลัยสยาม ปีการศึกษา 2561”  พร้อมทั้งได้จัดทำ  “รายงานประจำปี 2561 สำนักหอสมุดและทรัพยากรสารสนเทศ มหาวิทยาลัยสยาม” ซึ่งเป็นรายงานการประเมินคุณภาพที่มีข้อมูลครบถ้วนตามที่สถาบันกำหนดและนำเสนอต่อสถาบันตามกำหนดเวลา ของการตรวจประเมินคุณภาพ

3) การนำผลการประเมินคุณภาพไปทำแผนการพัฒนาคุณภาพของหน่วยงาน: จากข้อเสนอแนะในภาพรวมที่ควรพัฒนาและปรับปรุง 5 ข้อ ของ“คณะกรรมการประเมินคุณภาพ”  เมื่อปีการศึกษา 2560 สำนักฯได้นำข้อเสนอแนะ ไปวางแผนพัฒนาคุณภาพหน่วยงาน ไว้ในแผนปฏิบัติการประจำ (Routine Action  Plan : RAP) สำนักหอสมุดและทรัพยากรสารสนเทศ ปีการศึกษา 2561 ประกอบด้วย 12 แผนงาน 25 โครงการ

ข้อมูลหลักฐาน:
เอกสารหมายเลข 2 รายงานการประชุมคณะกรรมการบริหารสำนักหอสมุดและทรัพยากรสารสนเทศ ปีการศึกษา 2561 (สิงหาคม 2561-กรกฏาคม2562)
เอกสารหมายเลข 5 สรุปแผนงานพัฒนาคุณภาพการบริการตามผลการประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน ปีการศึกษา 2560- สรุปโครงการ “การประกันคุณภาพการปฏิบัติงานของสำนักหอสมุดและทรัพยากรสารสนเทศ มหาวิทยาลัยสยาม ปีการศึกษา 2561
เอกสารหมายเลข 9 รายงานประจำปี 2561 สำนักหอสมุดและทรัพยากรสารสนเทศ มหาวิทยาลัยสยาม
เอกสารหมายเลข 20 รายงานการประเมินตนเอง (SAR) ของสำนักหอสมุดและทรัพยากรสารสนเทศ มหาวิทยาลัยสยาม ปีการศึกษา 2561
เอกสารหมายเลข 10 รายงานผลการประเมินคุณภาพภายในสำนักหอสมุด ปีการศึกษา 2560


เกณฑ์มาตรฐาน: 3. มีการนำผลการประกันคุณภาพการศึกษาภายในมาปรับปรุงการทำงาน และส่งผลให้มีการพัฒนาผลการดำเนินงานตามตัวบ่งชี้ของแผนกลยุทธ์ทุกตัวบ่งชี้

ผลการดำเนินงาน: สำนักฯ ดำเนินงานไม่บรรลุตามเกณฑ์มาตรฐานในข้อ 3. นี้ เนื่องจาก ได้มีการดำเนินงานแต่ยังไม่บรรลุตามข้อเสนอแนะทั้งหมดตามเป้าหมาย โดยได้นำผลการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน จากข้อเสนอแนะในภาพรวมที่ควรพัฒนาและปรับปรุง 5 ข้อ ของ“คณะกรรมการประเมินคุณภาพ” เมื่อปีการศึกษา 2560 โดยอยู่ในแผนงานพัฒนาคุณภาพการบริการ ตามผลการประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน ปีการศึกษา 2560 ซึ่งสำนักฯ ดำเนินงานบรรลุเพียง 2 ข้อ จากทั้งหมด 5 ข้อคิดเป็นร้อยละ 40  ดังนี้

1) ควรมีการให้การอบรม education application สำหรับการศึกษาอื่นๆ รวมทั้งจัดกลุ่มตามพื้นฐานของผู้เข้าอบรม สำนักฯ ได้มีการจัดอบรม 4 ครั้ง/ 3 เรื่อง ในโครงการ “อบรม Basic Infographic 2018” ครั้งที่ 1, โครงการ “อบรม Basic Infographic 2018”ครั้งที่ 2, โครงการ “อบรมทักษะศิลปะ เพื่อสร้างเสริมสุขภาวะ” และโครงการ “อบรมเชิงปฏิบัติการ SEO 2019 for Beginner เตรียมความพร้อมให้เว็บคุณขึ้นอันดับ 1 Google

2) ตัวบ่งชี้ 2.4-2.6 ควรปรับเกณฑ์มาตรฐานให้มีการประเมินทั้งคุณภาพและปริมาณของ software และ hardware เพื่อให้เกิดการพัฒนาต่อเนื่อง ที่ส่งผลต่อคุณภาพการบริการ โดยสำนักฯ ได้มีการกำหนดตัวบ่งชี้คุณภาพและเกณฑ์การประเมินคุณภาพ เพิ่มเติมตามอัตลักษณ์ ใหม่ในปีการศึกษา 2561 ในตัวบ่งชี้ที่ 2.4-2.6 เพื่อให้สอดคล้องกับพันธกิจของหน่วยงาน 

ในส่วนของข้อเสนอแนะที่ยังไม่บรรลุผลสำเร็จ 3 ข้อ คือ 1. ควรจัดทำแผนระยะสั้น ระยะยาวของสำนักฯ เพื่อจัดทำแผนประจำปี ให้สอดคล้องกับเป้าหมาย 2. สำนักฯ ควรเพิ่มการประชาสัมพันธ์ให้เข้าถึงผู้ใช้ให้มากขึ้น และควรเพิ่มการให้บริการในเชิงรุกมากขึ้น 3.ควรขยายผลการจัดการความรู้ไปสู่ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย เช่น นักศึกษา คณาจารย์ และผู้ใช้บริการอื่นๆ เพื่อต่อยอดและขยายผล

ข้อมูลหลักฐาน: 
เอกสารหมายเลข 5 สรุปแผนปฏิบัติการประจำ (Routine Action  Plan : RAP) สำนักหอสมุดและทรัพยากรสารสนเทศ ปีการศึกษา 2561 –แผนงานพัฒนาคุณภาพการบริการ
เอกสารหมายเลข 8.5 องค์ประกอบ ตัวบ่งชี้ และเกณฑ์ในการประเมินคุณภาพภายในเพิ่มเติมตามอัตลักษณ์ของสำนักหอสมุดและทรัพยากรสารสนเทศ ประจำปีการศึกษา 2561


เกณฑ์มาตรฐาน: 4. มีระบบสารสนเทศที่ให้ข้อมูลสนับสนุนการประกันคุณภาพการศึกษาภายในครบทุกองค์ประกอบคุณภาพ

ผลการดำเนินงาน: ในส่วนของระบบฐานข้อมูลและสารสนเทศที่สนับสนุนการประกันคุณภาพการศึกษา ซึ่งใช้ร่วมกันทั้งระดับบุคคล   และในระดับสถาบัน นั้น สำนักฯ ได้รวบรวมข้อมูลต่างๆ ไว้ที่เว็บไซต์ของสำนักฯ  ทั้ง “รายงานการประเมินตนเอง (SAR)” “รายงานประจำปี 2561” ซึ่งมีข้อมูลทรัพยากรสารสนเทศ ข้อมูลการพัฒนาบุคลากร สรุปผลความพึงพอใจของผู้ใช้บริการสำนักฯ รวมทั้งเอกสารอ้างอิงอื่นๆ อีกทั้งใช้ระบบฐานข้อมูลฯจากศูนย์กลางข้อมูลโดยได้จัดการเชื่อมโยงเว็บไซต์ของสำนักหอสมุดฯ กับเว็บไซต์ของสำนักประกันคุณภาพการศึกษา มหาวิทยาลัยสยาม เพราะข้อมูลด้านการประกันคุณภาพต่างๆใช้ระบบรวมศูนย์เพื่อให้ข้อมูลการประกันคุณภาพเป็นเอกภาพ ซึ่งสำนักทรัพยากรสารสนเทศและคณะ/หน่วยงานต่างๆ สามารถเรียกดู ผลการประเมินคุณภาพภายในระดับสำนัก ได้ตั้งแต่ปีการศึกษา 2549-2560 ซึ่งจากการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในระบบประกันคุณภาพทำให้สามารถค้นหาเอกสารอ้างอิงได้อย่างถูกต้องและรวดเร็ว

ข้อมูลหลักฐาน: เอกสารหมายเลข  11.3 เว็บไซต์ของสำนักฯที่ https://e-library. siam.edu ที่เมนู “การประกันคุณภาพการศึกษา”และเมนู รายงานประจำปี


เกณฑ์มาตรฐาน: 5. มีการสนับสนุนการประกันคุณภาพการศึกษาระดับหลักสูตร/ คณะวิชา/ มหาวิทยาลัย

ผลการดำเนินงาน: สำนักฯ มีการสนับสนุนการประกันคุณภาพการศึกษาระดับหลักสูตร/ คณะวิชา/ มหาวิทยาลัย โดยได้รายงานผลการดำเนินงานประกันคุณภาพภายในตามตัวบ่งชี้กลางที่มหาวิทยาลัยกำหนด โดยเฉพาะในตัวบ่งชี้ที่ 2.3 ระดับความพึงพอใจของผู้ใช้บริการ  และตามตัวบ่งชี้หลักที่ใช้ในระดับหลักสูตร/ คณะวิชา/ มหาวิทยาลัย คือ ตัวบ่งชี้ที่ 2.4 ระบบและกลไกการจัดหาทรัพยากรสารสนเทศ ซึ่งทุกหลักสูตร/คณะวิชาและมหาวิทยาลัย สามารถนำผลการดำเนินงานตามตัวบ่งชี้นี้ไปใช้ในการประกันคุณภาพได้ อีกทั้งสำนักฯได้รายงานผลการดำเนินงานในตัวบ่งชี้ตามอัตลักษณ์เพิ่มเติ่มใน ตัวบ่งชี้ที่ 2.5  การจัดสภาพแวดล้อมและสิ่งอำนวยความสะดวกให้เอื้อต่อการเรียนรู้ และตัวบ่งชี้ที่ 2.6  ระดับความสำเร็จของการส่งเสริมการใช้บริการห้องสมุด ซึ่งทุกหลักสูตรสามารถนำไปใช้อ้างอิงประกอบการประกันคุณภาพได้

ข้อมูลหลักฐาน: เอกสารหมายเลข  11.3 เว็บไซต์ของสำนักฯที่ https://e-library. siam.eduที่เมนู “การประกันคุณภาพการศึกษา


เกณฑ์การประเมิน

1 คะแนน 2 คะแนน 3 คะแนน 4 คะแนน 5 คะแนน
1 ข้อ 2 ข้อ 3 ข้อ 4 ข้อ 5 ข้อ

เป้าหมายของสำนัก :  5  ข้อ

ผลการดำเนินงาน   :  4  ข้อ

ผลการประเมินตนเอง   :  4 คะแนน