Phunnee Jewbuddhidham

เครือข่าย TU-THAIPUL  (Thammasat University Libraries & Thailand Private University Libraries) คือ เครือข่ายความร่วมมือระหว่างห้องสมุดในการแบ่งปันและใช้ข้อมูลทรัพยากรสารสนเทศร่วมกัน (Resources sharing) เพื่ออำนวยความสะดวกในการสืบค้นและให้บริการระหว่างห้องสมุด โดยใช้งานผ่านระบบ EDS (EBSCO Discovery Service) ของบริษัท EBSCO ความเป็นมา  ได้มีการประชุมเรื่องการใช้ทรัพยากรร่วมกันระหว่างกลุ่มความร่วมมือ TU-THAIPUL ในครั้งแรกเมื่อวันพุธที่ 31 พฤษภาคม 2559 ณ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย โดยสมาชิกที่เข้าร่วมในระยะที่ 1 และ 2 ได้มีข้อตกลงร่วมกันในการให้บริการยืมระหว่างห้องสมุดแบบไม่มีค่าใช้บริการ ในระยะที่ 1: มีสถาบันที่เข้าร่วม 5 แห่ง โดยเริ่มใช้ระบบ EDS ในการยืมระหว่างกันเมื่อวันศุกร์ที่ 10 มิถุนายน 2559 ได้แก่ TU Libraries     : หอสมุดแห่ง มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ BU Libraries  […]

TU-THAIPUL [EDS] Newsletter 2022 Read More »

ตัวบ่งชี้ที่ 3.3  ระบบการบริหารและพัฒนาบุคลากร เกณฑ์มาตรฐานและผลการดำเนินงาน เกณฑ์มาตรฐาน ผลการดำเนินงาน ข้อมูลหลักฐาน 1.      มีการกำหนดสมรรถนะที่จำเป็นของบุคลากรสำหรับการให้บริการ สำนักฯ มีการกำหนดสมรรถนะที่จำเป็นของบุคลากรผู้ให้บริการ ไว้ใน “คู่มือปฏิบัติงานแผนกบริการและประชาสัมพันธ์” ซึ่ง สมรรถนะที่จำเป็นของบุคลากรผู้ให้บริการประกอบด้วย ความรู้ความสามารถในการให้บริการแนะนำและช่วยเหลือผู้ใช้ (ผู้ให้บริการต้องมีความรู้ในวิชาชีพบรรณารักษ์  ความรู้ทางเทคโนโลยีสารสนเทศ และความรู้ภาษาอังกฤษ  เพื่อใช้ประกอบการให้บริการแนะนำและช่วยเหลือผู้ใช้บริการได้) ทักษะการให้บริการที่รวดเร็ว ถูกต้อง แม่นยำ (ผู้ให้บริการต้องมีทักษะในวิชาชีพบรรณารักษ์ ทักษะทางเทคโนโลยีสารสนเทศ และทักษะการทำงานเป็นทีม เพื่อใช้ประกอบการให้บริการที่รวดเร็ว ถูกต้อง แม่นยำ ได้) คุณลักษณะส่วนบุคคลที่ดีและมีจิตใจในการให้บริการ (Service Mind) (ผู้ให้บริการต้องไม่เลือกปฏิบัติและมีความเสมอภาคในการให้บริการผู้ใช้อย่างเท่าเทียมกัน มีความอดทน อดกลั้น มีมนุษยสัมพันธ์ มีความเสียสละ เพื่อให้ผู้ใช้ได้รับสิ่งที่ต้องการ โดยไม่หวังผลตอบแทนส่วนตน และมีความสุภาพ เรียบร้อย ยิ้มแย้ม มีอัธยาศัยไมตรี กระตือรือร้น และเต็มใจให้บริการ) นอกจากการกำหนดสมรรถนะทั้ง 3 ด้านข้างต้น สำนักฯยังได้กำหนด สมรรถนะเฉพาะของบรรณารักษ์บริการตอบคำถามและช่วยค้นคว้า และสมรรถนะร่วมของบรรณารักษ์ทุกตำแหน่งในห้องสมุดระดับมหาวิทยาลัย ไว้ด้วย รวมทั้งบรรณารักษ์ ต้องมี “จรรยาบรรณวิชาชีพบรรณารักษ์” และสำหรับบุคลากรที่มิใช่บรรณารักษ์ มีการกำหนดคุณสมบัติของผู้ให้บริการไว้ในเอกสาร “คุณสมบัติที่พึงประสงค์ของผู้ให้บริการที่มีคุณภาพ” ซึ่งอยู่ใน “คู่มือการประกันคุณภาพการปฏิบัติงานฯ” เอกสารหมายเลข

ระบบการบริหารและพัฒนาบุคลากร Read More »

การประชุม: เครือข่ายความร่วมมือ กลุ่มสมาชิก TU-THAIPUL / EDS-THAIPUL ครั้งที่ 2/2565 เมื่อวันจันทร์ที่ 30 พฤษภาคม 2565  เวลา 09.00 –12.00 น. บุคลากรของสำนักหอสมุดและทรัพยากรสารสนเทศ มหาวิทยาลัยสยาม (นางพรรณี จิวพุทธิธรรม) ได้เข้าร่วม การประชุม: เครือข่ายความร่วมมือ กลุ่มสมาชิก TU-THAIPUL / EDS-THAIPUL ครั้งที่ 2/2565 ประชุมออนไลน์ผ่านแอพลิเคชั่น MS Teams ซึ่งจัดขึ้นโดยบริษัท EBSCO มีสถาบันที่เข้าร่วมประชุมกลุ่มสมาชิก TU-THAIPUL / EDS-THAIPUL ในครั้งนี้ จำนวน 41 คน จาก 12 สถาบัน ได้แก่ ห้องสมุดมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, ห้องสมุดมหาวิทยาลัยมหิดล, ห้องสมุดมหาวิทยาลัยรังสิต, ห้องสมุดมหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์, ห้องสมุดมหาวิทยาลัยกรุงเทพ, ห้องสมุดมหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช, ห้องสมุดมหาวิทยาลัยศรีปทุม, ห้องสมุดมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย,  ห้องสมุดมหาวิทยาลัยสยาม, ห้องสมุดมหาวิทยาลัยพายัพ, ห้องสมุดมหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ และสถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น

การประชุมเครือข่ายความร่วมมือ กลุ่มสมาชิก TU-THAIPUL / EDS-THAIPUL ครั้งที่ 2/2565 Read More »

ตัวบ่งชี้ที่ 2.5 การให้บริการห้องสมุดดิจิทัล (Digital Library) เกณฑ์มาตรฐานและผลการดำเนินงาน เกณฑ์มาตรฐาน ผลการดำเนินงาน ข้อมูลหลักฐาน 1. มีการวางแผนและจัดระบบการให้บริการห้องสมุดดิจิทัล สำนักฯ มีเป้าหมายในการ “ให้บริการสารสนเทศและองค์ความรู้ที่สามารถเข้าถึงได้สะดวก รวดเร็ว และถูกต้อง” จึงได้วางแผนและจัดระบบการให้บริการห้องสมุดดิจิทัลไว้ ซึ่งอยู่ภายใต้ 2 แผนงาน และ 3 โครงการ ดังนี้ 1.แผนงานพัฒนาคลังข้อมูลดิจิทัลของมหาวิทยาลัยสยาม มีโครงการภายใต้แผนงาน 2 โครงการ ได้แก่ 1) โครงการ “การเผยแพร่ทรัพย์สินทางปัญญาของมหาวิทยาลัยสยามในระบบ TDC ของเครือข่าย ThaiLIS” 2) โครงการ “รวมรวมข้อมูลนักวิจัยของ มหาวิทยาลัยสยามที่มีผลงานในฐานข้อมูล SCOPUS” 2.แผนงานการประชาสัมพันธ์และการสื่อสาร มีโครงการภายใต้แผนงาน 1 โครงการ คือ โครงการ “การเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสารและบริการของสำนักหอสมุดและทรัพยากรสารสนเทศ” เอกสารหมายเลข 4 แผนปฏิบัติการประจำ (Routine Action  Plan : RAP) สำนักหอสมุดและทรัพยากรสารสนเทศ ปีการศึกษา 2564 2. มีการจัดบริการที่ครอบคลุมแหล่งสืบค้น ฐานข้อมูลด้านการสอนและการวิจัย สำนักฯ ได้จัดบริการโปรแกรมสืบค้นและแหล่งสืบค้นทรัพยากรสารสนเทศภายในสำนักฯ และทรัพยากรอันเป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยสยาม รวมทั้งฐานข้อมูลวิชาการออนไลน์ที่สอดคล้องและครอบคลุมกับหลักสูตรการเรียนการสอนและการวิจัย ดังนี้ 1. โปรแกรม EDS:

การให้บริการห้องสมุดดิจิทัล (Digital Library) Read More »

ชื่อวารสาร:   วารสารวิจัยสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ISSN: 2651-1770 (Online) , 1906-1137 (Print) TCI: กลุ่มที่ 2 สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  สำนักพิมพ์: คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น รายละเอียด: วารสารวิจัยสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น เป็นวารสารที่จัดทำโดยคณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น พัฒนาขึ้นในปี พ.ศ.2551 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นสื่อกลางในการเผยแพร่ผลงานวิจัยด้านวิทยาศาสตร์อนามัยสิ่งแวดล้อมอาชีวอนามัยและความปลอดภัย สุขศึกษาและส่งเสริมสุขภาพ การบริหารงานสาธารณสุข ชีวสถิติและประชากรศาสตร์ วารสารวิจัยสาธารณสุขศาสตร์ เริ่มมีการรวบรวมบทความวิชาการ ผลการศึกษาวิจัยสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดยเน้นการตีพิมพ์เผยแพร่งานวิจัยด้านสาธารณสุขศาสตร์และวิทยาศาสตร์สุขภาพ ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อการเผยแพร่ผลงานวิจัยด้านการสร้างเสริมสุขภาพ อนามัยสิ่งแวดล้อม อาชีวอนามัยและความปลอดภัย สุขศึกษา พฤติกรรมสุขภาพ การบริหารงานสาธารณสุข วิทยาการระบาด พยาบาล อนามัยชุมชน และโภชนาศาสตร์ และดำเนินการพิมพ์ครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ.2555 การตีพิมพ์เผยแพร่ ปีละ 2 ฉบับ ฉบับที่ 1 มกราคม-มิถุนายน ฉบับที่ 2 กรกฎาคม-ธันวาคม วารสารวิจัยสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี ผ่านการพิจารณาคุณภาพวารสารเพื่อเข้าสู่ฐานข้อมูล TCI 

วารสารวิจัยสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น Read More »

คู่มือ การปฏิบัติงาน การประกันคุณภาพ  การอ้างอิงและบรรณานุกรม กฏหมายและระเบียบการปฏิบัติ เกี่ยวกับห้องสมุด ที่ควรรู้ สำหรับบุคลากร ประเภท PDF ดาวน์โหลดเอกสาร PDF การปฏิบัติงาน คุณสมบัติที่พึงประสงค์ของผู้ให้บริการที่มีคุณภาพ คู่มือการใช้บริการห้องสมุดและทรัพยากรฯ ในระบบดิจิทัล (2567) คู่มือการปฏิบัติงานของแผนกพัฒนาทรัพยากรสารสนเทศ คู่มือการปฏิบัติงานของแผนกบริการและประชาสัมพันธ์ คู่มือการให้ บริการยืมระหว่างห้องสมุด Inter-Library Loan (ILL) เครือข่าย TU-THAIPUL / EDS THAIPUL คู่มือผู้ดูแลระบบ (EBSCOadmin): การใช้งานระบบหลังบ้าน HLM (Holding Management)   คำสั่งแต่งตั้ง “คณะกรรมการบริหารและคณะทำงาน สำนักหอสมุดและทรัพยากรสารสนเทศ” นโยบายการจัดหาทรัพยากรสารสนเทศ บันทึกข้อความเลขที่ 0304/015 เรื่อง ขออนุมัติปรับปรุงขั้นตอนการจัดซื้อและประชาสัมพันธ์การเสนอแนะ/แนะนำสั่งซื้อทรัพยากรฯทางออนไลน์ ซึ่งได้ลงนามเมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์2561 วิธีการสร้างสื่อโดยใช้โปรแกรม CANVA วิธีการสมัครเเพื่อใช้งานฐานข้อมูล McGraw Hill-AccessMedicine นอกสถาบัน  AccessMedicine User Guide

คู่มือ-สำหรับบุคลากร Read More »

คู่มือ การใช้ห้องสมุด การสืบค้นฐานข้อมูล การอ้างอิงและบรรณานุกรม สำหรับผู้ใช้บริการ ประเภท PDF ดาวน์โหลดเอกสาร PDF การใช้ห้องสมุด คู่มือการใช้บริการห้องสมุดและทรัพยากรฯ ในระบบดิจิทัล (2567) คู่มือการเข้าใช้บริการสำนักทรัพยากรสารสนเทศ (2559) คู่มือการค้นคว้าข้อมูลและการอ้างอิง คู่มือการค้นหาหนังสือในห้องสมุด Library Catalog คู่มือการใช้ บริการยืมระหว่างห้องสมุด Inter-Library Loan (ILL) เครือข่าย TU-THAIPUL / EDS THAIPUL คู่มือการยืมต่อด้วยตนเอง (Self Renew) ทางออนไลน์ วิธีการสมัครเเพื่อใช้งานฐานข้อมูล McGraw Hill-AccessMedicine นอกสถาบัน  วิธีการสมัครสมาชิก CU-eLibrary มหาวิทยาลัยสยาม TU-THAIPUL & 2LibPlus ILL (Inter-Library Loan) การสืบค้นฐานข้อมูล วิธีการใช้งานฐานข้อมูล McGraw Hill-AccessMedicine คู่มือการสืบค้นฐานข้อมูล Thai Digital Collection (TDC)

คู่มือ-สำหรับผู้ใช้บริการ Read More »

ชื่อวารสาร: วารสารเภสัชกรรมไทย: TJPP Thai Journal of Pharmacy Practice ISSN: 1906-5574 สำนักพิมพ์: คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์  TCI : กลุ่มที่ 1 ประเภท: วารสารอิเล็กทรอนิกส์, วารสารออนไลน์ รายละเอียด: วารสารเภสัชกรรมไทยเป็นวารสารวิชาการอิเล็กทรอนิกส์ของคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์  วารสารฯ มีวัตถุประสงค์คือเป็นสื่อกลางเผยแพร่และแลกเปลี่ยนวิชาการระหว่างนักวิจัยด้านเภสัชกรรม เภสัชกร นักวิชาการในสาขาที่เกี่ยวข้อง บุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขอื่น ๆ ตลอดจนเป็นแหล่งเผยแพร่ผลงานวิจัยระดับบัณฑิตศึกษา วารสารเภสัชกรรมไทยเผยแพร่บทความที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงานทางเภสัชกรรม ได้แก่การบริบาลทางเภสัชกรรม เภสัชกรรมสังคม การบริหารเภสัชกิจ เศรษฐศาสตร์ทางยา ระบาดวิทยาของยาและผลิตภัณฑ์สุขภาพ เภสัชสาธารณสุข เภสัชพฤติกรรมศาสตร์ การคุ้มครองผู้บริโภคด้านยาและสุขภาพ นิติเภสัชกรรม จริยศาสตร์เภสัชกรรม นโยบายด้านยาและสุขภาพ การประยุกต์ใช้ศาสตร์ทางสังคมและการบริหารในการปฏิบัติงานเภสัชกรรม ประเภทบทความที่รับตีพิมพ์ในวารสารเภสัชกรรมไทย คือ บทความวิจัยต้นฉบับ บทความทบทวนวรรณกรรมทั้งแบบเชิงบรรยาย (review article) การวิเคราะห์อภิมาน  (meta-analysis) และการทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบ (systematic review)  ตั้งแต่ปี พ.ศ.

วารสารเภสัชกรรมไทย TJPP Thai Journal of Pharmacy Practice Read More »

  ขอเชิญอบรม ปชส. โค้งสุดท้ายสำหรับการอบรมของปีการศึกษา 2564 สำนักหอสมุดฯ จัดกิจกรรมการฝึกอบรม “การค้นคว้าและการอ้างอิง” ครั้งที่ 3/2564 ในวันศุกร์ที่ 20 พฤษภาคม 2565 เวลา 18.00 – 21.00 น. ผ่านออนไลน์โปรแกรม ZOOM ลงทะเบียนเข้าร่วมอบรมออนไลน์ได้ ที่: https://forms.gle/Y7vh1regxyvCMrUj9 ดาวน์โหลดเอกสารประกอบการอบรม ได้ ที่: https://e-library.siam.edu/training-service/ โดยสามารถเข้าร่วมกิจกรรมได้ ที่: Join Zoom Meeting https://us02web.zoom.us/j/82703008920?pwd=eE1wV1BFVWVCazZZeXR0WW01dWhXdz09 Meeting ID: 827 0300 8920 Passcode: 023104 แบบประเมินการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ การค้นคว้าและการอ้างอิง ครั้งที่ 3/2564 : คลิก ผลการสำรวจความพึงพอใจ สรุปผลการสำรวจความพึงพอใจของผู้เข้าร่วมกิจกรรมอบรม “การค้นคว้าและการอ้างอิง” ครั้งที่ 3/2564 (PDF)

ขอเชิญอบรม: การค้นคว้าและการอ้างอิง ครั้งที่ 3/2564 Read More »

ชื่อวารสาร:     วารสารวิชาการสาธารณสุข (Journal of Health Science) ISSN: 0858-4923 (Printing), ISSN: 2730-4159 (Online)  TCI:    กลุ่มที่ 1 สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  สำนักพิมพ์: สำนักงานวิชาการสาธารณสุข กระทรวงสาธารณสุข รายละเอียด:  วารสารวิชาการสาธารณสุข (Journal of Health Science) มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1. เพื่อเป็นแหล่งรวบรวมผลงานวิชาการ และผลงานวิจัยทางการแพทย์และสาธารณสุข 2. เพื่อเผยแพร่องค์ความรู้ผลงานวิชาการ และผลงานวิจัยของนักวิชาการ บุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุข 3. เพื่อเสริมสร้างคุณภาพงานวิจัยของสำนักวิชาการสาธารณสุขและองค์กรด้านสุขภาพ 4. เพื่อจัดให้มีวารสารวิชาการทางการแพทย์และสาธารณสุขที่มีคุณภาพและมาตรฐาน 5. เพื่อประชาสัมพันธ์ผลงานของสำนักวิชาการสาธารณสุข โดยตีพิมพ์ติดต่อกันมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2535 จัดทำปีละ 6 ฉบับเป็นราย 2 เดือน มีกำหนดออกคือ ปลายเดือนกุมภาพันธ์ เมษายน มิถุนายน สิงหาคม

วารสารวิชาการสาธารณสุข Read More »

คุณสามารถบริจาคทรัพยากรสารสนเทศ หนังสือ วารสาร และงานวิจัย เป็นต้น ให้กับ สำนักหอสมุดและทรัพยากรสารสนเทศ มหาวิทยาลัยสยาม เพื่อเผยแพร่และให้บริการภายในห้องสมุด หรือ บริจาคทรัพยากรสารสนเทศในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อเผยแพร่และให้บริการผ่านเว็บไซต์ของสำนักฯ https://e-library.siam.edu ทั้งนี้ หนังสือที่นำมาบริจาคควรมีสภาพสมบูรณ์ ไม่ชำรุด เสียหาย ทรัพยากรสารสนเทศที่สามารถนำมาบริจาคให้กับห้องสมุด ได้แก่ หนังสือ เช่น หนังสือทั่วไป หนังสือวิชาการ นวนิยาย วรรณกรรมเยาวชน หนังสือหายาก หนังสืออนุสรณ์งานศพ เป็นต้น สิ่งพิมพ์ต่อเนื่อง เช่น วารสารวิชาการ นิตยสาร เอกสาร รายงานต่าง ๆ งานวิจัย เช่น งานวิจัยส่วนบุคคล งานวิจัยของหน่วยงานต่าง ๆ  วิธีการบริจาค/HOW TO DONATE บริจาคด้วยตนเอง โดยติดต่อห้องสมุด ตามวันเวลาเปิดบริการ ห้องสมุดเปิดบริการ (LIBRARY OPEN HOURS) บริจาคโดยจัดส่งทางไปรษณีย์ โดยจัดส่งตามที่อยู่ ด้านล่าง บริจาคหนังสือเป็นไฟล์ดิจิทัล แจ้งความประสงค์

บริจาคหนังสือ Read More »

ตัวบ่งชี้ที่ 2.3  การประเมินความพึงพอใจของผู้รับบริการ เกณฑ์การประเมินและผลการดำเนินงาน   เกณฑ์มาตรฐาน ผลการดำเนินงาน ข้อมูลหลักฐาน 1. มีการประเมินความพึงพอใจจากผู้รับบริการของหน่วยงานด้านสมรรถนะของบุคลากรผู้ให้บริการ สำนักหอสมุดและทรัพยากรสารสนเทศ ได้สำรวจความพึงพอใจของผู้ใช้บริการสำนักฯ ด้านบุคลากร/ผู้ให้บริการ โดยได้ประเมินความพึงพอใจในข้อของสมรรถนะต่างๆของบุคลากร/ผู้ให้บริการ ได้แก่ มีจิตใจในการให้บริการ (Service Mind) ยิ้มแย้ม สุภาพ เรียบร้อย มีอัธยาศัยไมตรี กระตือรือร้น และเต็มใจให้บริการ ผลการประเมินความพึงพอใจจากผู้รับบริการอยู่ในระดับมาก คะแนนเฉลี่ย  3.86 มีสมรรถนะ ด้านทักษะการให้บริการที่รวดเร็ว ถูกต้อง แม่นยำ ผลการประเมินความพึงพอใจจากผู้รับบริการอยู่ในระดับมาก คะแนนเฉลี่ย  3.82 มีสมรรถนะ ด้านความรู้ ความสามารถในการให้บริการแนะนำ และช่วยเหลือผู้ใช้ ผลการประเมินความพึงพอใจจากผู้รับบริการอยู่ในระดับมาก คะแนนเฉลี่ย  3.89 มีคุณลักษณะส่วนบุคคลที่ดี ไม่เลือกปฏิบัติและมีความเสมอภาคในการให้บริการผู้ใช้อย่างเท่าเทียมกัน มีความอดทน อดกลั้น มีมนุษยสัมพันธ์ และมีความเสียสละ เพื่อให้ผู้ใช้ได้รับสิ่งที่ต้องการ โดยไม่หวังผลตอบแทนส่วนตน ผลการประเมินความพึงพอใจจากผู้รับบริการอยู่ในระดับมาก คะแนนเฉลี่ย  3.80 บุคลากรมีเพียงพอต่อการให้บริการ ผลการประเมินความพึงพอใจจากผู้รับบริการอยู่ในระดับมาก คะแนนเฉลี่ย  3.76 เอกสารหมายเลข 18

การประเมินความพึงพอใจของผู้รับบริการ Read More »